คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชวลิต พรายภู่

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 225 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2365/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รับมอบงานก่อสร้างแล้ว ยึดหน่วง/หักค่าเสียหายได้ แต่ไม่มีสิทธิเบี้ยปรับหากไม่สงวนสิทธิ
โจทก์ทวงถามจำเลยให้ส่งมอบงานพ้นกำหนดเวลาที่กำหนดในสัญญาและได้เข้าอยู่ในบ้านพิพาทขณะที่จำเลยขนย้ายออกจากบ้านพิพาทถือได้ว่าโจทก์รับมอบงานจากจำเลยแล้ว โจทก์มิได้กล่าวสงวนสิทธิเรียกเอาค่าปรับฐานผิดสัญญาไว้ จึงไม่มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับจากจำเลย เมื่องานก่อสร้างของจำเลยล่าช้าเกินกำหนดเวลาตามสัญญาและมีความชำรุดบกพร่อง โจทก์ชอบที่จะยึดหน่วงสินจ้างไว้จนกว่าจำเลยจะซ่อมแซมเสร็จแต่เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาและเข้าอยู่ในบ้านพิพาทก็ชอบที่จะหักเป็นค่าซ่อมแซมความเสียหายตามควรค่าแห่งการนั้นได้หากมีค่าสินจ้างเหลือต้องคืนให้จำเลยไม่ชอบที่โจทก์จะไม่ชำระค่าสินจ้างเสียเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2352/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อระงับเมื่อทรัพย์สูญหาย ผู้เช่าซื้อไม่ต้องชำระค่าเช่าซื้อค้างชำระ แต่ต้องชดใช้ค่าเสียหายตามสมควร
สัญญาเช่าซื้อเป็นสัญญาเช่าทรัพย์ประเภทหนึ่งจึงต้องนำบทบัญญัติลักษณะเช่าทรัพย์มาใช้บังคับด้วยเมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายสัญญาเช่าซื้อย่อมระงับไปตั้งแต่วันที่รถยนต์สูญหาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 567 ผู้ให้เช่าซื้อจะฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อที่ยังค้างชำระอยู่ตั้งแต่วันที่รถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายไปหาได้ไม่ แม้ตามสัญญาเช่าซื้อจะกำหนดให้ผู้เช่าซื้อรับผิดชำระค่าเช่าซื้อจนครบในกรณีที่รถยนต์ที่เช่าซื้อถูกโจรภัยหรือสูญหายก็ตาม แต่การที่ผู้เช่าซื้อตกลงไว้เช่นนั้น ถือได้ว่าผู้เช่าซื้อได้ตกลงที่จะชำระค่าเสียหายให้ผู้เช่าซื้อในกรณีนี้ไว้ด้วย ผู้เช่าซื้อจึงต้องรับผิดแต่ศาลก็มีอำนาจกำหนดให้ตามจำนวนที่เห็นสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2350/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนและฟ้องชอบด้วยกฎหมาย แม้ข้อเท็จจริงในชั้นพิจารณาต่างจากฟ้อง ศาลมีอำนาจพิจารณาตามความจริง
ป. ได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสี่และ ส.ในความผิดฐานร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขัง ภ. โดยร่วมกันกระทำความผิดตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 วรรคสองซึ่งเป็นความผิดที่ไม่อาจยอมความกันได้ และพนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนได้ แม้จะไม่มีคำร้องทุกข์เพราะมิใช่คดีความผิดต่อส่วนตัวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 121 พนักงานสอบสวนได้ดำเนินการสอบสวนแล้วเสนอความเห็นควรสั่งฟ้อง พนักงานอัยการมีคำสั่งและฟ้องจำเลยทั้งสี่ในความผิดฐานดังกล่าว การสอบสวนและอำนาจฟ้องเป็นไปโดยชอบทุกขั้นตอน แม้ต่อมาในชั้นพิจารณาข้อเท็จจริงจะต่างจากฟ้องก็เป็นอำนาจศาลที่จะพิพากษาตามที่พิจารณาได้ความตามกฎหมาย หาเป็นเหตุให้กระทบกระเทือนถึงอำนาจการสอบสวนของพนักงานสอบสวน และอำนาจฟ้องของโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2350/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนและฟ้องคดีอาญา: แม้ข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงในชั้นพิจารณา ก็ไม่กระทบอำนาจเดิม
ป.ได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสี่และ ส.ในความผิดฐานร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขัง ภ.โดยร่วมกันกระทำความผิดตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปตาม ป.อ.มาตรา 309 วรรคสอง ซึ่งเป็นความผิดที่ไม่อาจยอมความกันได้ และพนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนได้ แม้จะไม่มีคำร้องทุกข์เพราะมิใช่คดีความผิดต่อส่วนตัว ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 121 พนักงานสอบสวนได้ดำเนินการสอบสวนแล้วเสนอความเห็นควรสั่งฟ้องพนักงานอัยการมีคำสั่งและฟ้องจำเลยทั้งสี่ในความผิดฐานดังกล่าว การสอบสวนและอำนาจฟ้องเป็นไปโดยชอบทุกขั้นตอน แม้ต่อมาในชั้นพิจารณาข้อเท็จจริงจะต่างจากฟ้องก็เป็นอำนาจศาลที่จะพิพากษาตามที่พิจารณาได้ความตามกฎหมาย หาเป็นเหตุให้กระทบกระเทือนถึงอำนาจการสอบสวนของพนักงานสอบสวน และอำนาจฟ้องของโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2243/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ค้ำประกันหลายรายรับผิดร่วมกันในหนี้เดียวกัน แม้ค้ำประกันต่างเวลากัน
ผู้ค้ำประกันหลายคนที่เข้าเป็นผู้ค้ำประกันในหนี้รายเดียวกันซึ่งจะต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมนั้นไม่จำต้องเข้าเป็นผู้ค้ำประกันพร้อมกัน จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์ จำเลยที่ 2 เข้าเป็นผู้ค้ำประกันการทำงานเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2521 จำเลยที่ 3เข้าเป็นผู้ค้ำประกันเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2524 โดยจำเลยที่ 3ค้ำประกันย้อนไปตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 1 เข้าทำงาน การที่จำเลยที่ 1ปฏิบัติงานในทางการที่จ้างทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย 6 ครั้งความเสียหายดังกล่าวถือว่าเป็นหนี้รายเดียวกัน จำเลยที่ 2 และที่ 3จึงต้องรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2208/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนรถยนต์ที่ประมาทเลินเล่อ ทำให้ผู้ซื้อรถยนต์ได้รับความเสียหายจากข้อมูลเท็จในทะเบียน
แม้ทะเบียนรถยนต์มิได้เป็นหลักฐานแห่งกรรมสิทธิ์ในตัวรถยนต์แต่ก็เป็นเอกสารราชการสำคัญ และเป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะยังประโยชน์ให้สามารถใช้สอยรถยนต์ได้โดยถูกต้องตามกฎหมาย การที่จำเลยที่ 2ที่ 3 ซึ่งมีหน้าที่รับจดทะเบียนรถยนต์กระทำการโดยประมาทเลินเล่อรับจดทะเบียนรถยนต์โดยไม่ถูกต้อง ทำให้โจทก์ซึ่งซื้อรถยนต์ต่อมาโดยหลงเชื่อในสิทธิของผู้มีชื่อที่ปรากฏในทะเบียนรถยนต์ต้องได้รับความเสียหาย การรับจดทะเบียนรถยนต์ที่ไม่ถูกต้องจึงเป็นเหตุโดยตรงที่ก่อให้เกิดข้อผิดหลง และความเสียหายดังกล่าว โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2165/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยร่ำรวยผิดปกติของ ป.ป.ป. เจ้าหน้าที่รัฐไม่มีสิทธิฟ้องร้องก่อนถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ. 2518 ไม่มีบทบัญญัติใดบัญญัติให้เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งถูกกล่าวหาว่า ทุจริตหรือประพฤติมิชอบในวงราชการใช้สิทธิทางศาล การที่คณะกรรมการ ป.ป.ป. วินิจฉัยว่าโจทก์ร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติย่อมมีผลเพียงว่าคณะกรรมการ ป.ป.ป. จะต้องแจ้งพนักงานอัยการเพื่อพิจารณาดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ศาลสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินแล้วเสนอความเห็นไปยังนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งหรือดำเนินการให้มีการสั่งลงโทษโจทก์ ซึ่งจะมีการดำเนินการดังกล่าวหรือไม่อยู่ที่การพิจารณาของพนักงานอัยการหรือนายกรัฐมนตรีแล้วแต่กรณีอีกชั้นหนึ่ง จึงเป็นเรื่องเหตุการณ์ในอนาคต ซึ่งโจทก์คาดคะเนเอาเองยังไม่มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตามกฎหมายแพ่ง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2165/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยร่ำรวยผิดปกติของ ป.ป.ป. เจ้าหน้าที่ไม่มีสิทธิฟ้องหากยังไม่มีผลกระทบทางกฎหมาย
พระราชบัญญัติ ญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ. 2518 ไม่มีบทบัญญัติใดให้เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งถูกกล่าวหาว่าทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการใช้สิทธิทางศาลขอให้ศาลวินิจฉัยได้ เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ป. ดำเนินการพิจารณาสอบสวนโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและมีมติว่าร่ำรวยผิดปกติ หรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นจนผิดปกติ จึงไม่มีกรณีที่โจทก์ต้องใช้สิทธิทางศาล มติของคณะกรรมการ ป.ป.ป. ดังกล่าวย่อมมีผลแต่เพียงว่าหากโจทก์ไม่สามารถชี้แจงได้ว่าทรัพย์สินได้มาโดยชอบ ต้องถือว่าโจทก์กระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ. 2518มาตรา 21 ทวิ และคณะกรรมการ ป.ป.ป. ต้องแจ้งพนักงานอัยการเพื่อพิจารณาดำเนินการตามมาตรา 21 ตรี ขอให้ศาลสั่งให้ทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน และเสนอความเห็นไปยังนายกรัฐมนตรีต่อไป การได้รับผลกระทบโดยตรงจากมติดังกล่าวจึงเป็นเหตุการณ์ในอนาคตที่โจทก์คาดคะเนเอง กรณียังไม่มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2140/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการยึดถือเพื่อตนเองในที่ดินมรดก แม้การแลกเปลี่ยนที่ดินของผู้เยาว์เป็นโมฆะ
เดิมมารดาจำเลยได้ยกที่ดินมี น.ส.3 ให้โจทก์จำเลย โดยจำเลยเป็นฝ่ายครอบครองทำประโยชน์ในที่ดิน ต่อมาบิดาโจทก์ได้ตกลงมอบที่ดินส่วนของโจทก์ให้จำเลย ส่วนจำเลยได้ซื้อที่ดินของบุคคลอื่นมอบให้ฝ่ายโจทก์เป็นการแลกเปลี่ยนกันแล้ว แม้ขณะนั้นโจทก์อายุ 14 ปี ยังเป็นผู้เยาว์อยู่ และไม่ปรากฏว่าบิดาโจทก์ได้รับอนุญาตจากศาลให้แลกเปลี่ยนที่ดินของโจทก์กับจำเลยได้อันทำให้การแลกเปลี่ยนนี้เป็นโมฆะก็ตาม ก็ถือว่าจำเลยซึ่งอยู่ในฐานะครอบครองที่ดินส่วนของโจทก์แทนโจทก์มาตั้งแต่ได้รับการยกให้นั้นได้ยึดถือเพื่อตนในส่วนของโจทก์แล้ว จำเลยจึงมีสิทธิครอบครองในที่ดินทั้งหมด หาใช่ยังคงครอบครองแทนในส่วนของโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1964-1965/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปีของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจที่เกษียณอายุ แม้ไม่ได้ร้องทุกข์ก่อนฟ้อง
ตามพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534ไม่มีบทบัญญัติในมาตราใดที่บังคับว่าเมื่อมีข้อโต้แย้งว่าโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจมีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดประจำปีหรือไม่ โจทก์จะต้องร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์เสียก่อนฟังคดี สำหรับมาตรา 18(2)ที่บัญญัติว่า ให้คณะกรรมการกิจการสัมพันธ์มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (2) พิจารณาคำร้องทุกข์ของพนักงานหรือของสมาคมเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในข้อบังคับของ รัฐวิสาหกิจนั้นมีความหมายเพียงว่า ถ้าโจทก์ได้ร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ในเรื่องที่เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ก็ให้คณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ มีอำนาจพิจารณาคำร้องทุกข์นั้นได้แต่ไม่ได้มีความหมายว่า ถ้าโจทก์ไม่ได้ร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ โจทก์จะนำคดีมาฟ้องต่อศาลไม่ได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 9 และมาตรา 11 ที่กำหนดให้พนักงานซึ่งเกษียณอายุคือมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์พ้นจากตำแหน่งนั้น เป็นเพียงบทกำหนดคุณสมบัติและเหตุที่พนักงานรัฐวิสาหกิจจะต้องพ้นจากตำแหน่งเพื่อให้รัฐวิสาหกิจถือปฏิบัติเป็นแนวเดียวกัน การที่การท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ ดังกล่าว จึงเป็นการเลิกจ้างตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 45 วรรคสอง การที่โจทก์ไม่ใช้สิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปี เมื่อปรากฏว่าจำเลยไม่ได้กำหนดล่วงหน้าให้โจทก์หยุดพักผ่อนประจำปีในวันเวลาใด ตามที่กำหนดในระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 8 จึงถือไม่ได้ว่า การที่โจทก์ไม่ใช้สิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปี เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิได้รับค่าจ้าง สำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามระเบียบคณะกรรมการ รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของ พนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 21
of 23