คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชวลิต พรายภู่

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 225 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1798/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฎีกา: หน้าที่นำส่งสำเนาฎีกาและการเพิกเฉยถือเป็นการทิ้งฎีกา
จำเลยมีหน้าที่นำส่งหรือเสียค่าธรรมเนียมในการส่งสำเนาฎีกาแก่โจทก์ภายในเวลาอันสมควร การที่จำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีนับแต่วันที่ถือว่าทราบคำสั่งถึงวันที่ศาลชั้นต้นส่งสำนวนมาศาลฎีกาเป็นเวลาถึง 24 วัน ถือได้ว่าจำเลยทิ้งฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1711/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ งดบังคับคดีชั่วคราว: คดีสินสมรสกระทบสิทธิบุคคลภายนอก
ระหว่างบังคับคคีตามคำพิพากษาตามยอม ปรากฏข้อเท็จจริงว่าม.ภริยาจำเลยได้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์และจำเลยต่อศาลแพ่ง ขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายที่ดินและสัญญาประนีประนอมระหว่างโจทก์กับจำเลย โดยอ้างว่าที่ดินตามสัญญาซื้อขาย และสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ม. ซึ่งคดีแพ่งดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ หากต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีทั้งสองถึงที่สุดให้ ม.ชนะคดี และที่ดินดังกล่าวได้โอนไปเป็นของโจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมแล้ว ม.ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจะได้รับความเสียหาย ดังนี้เมื่อศาลเห็นสมควรก็มีอำนาจใช้ดุลพินิจสั่งให้งดการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมไว้ได้ โดยอาศัยอำนาจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 292 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1711/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ งดบังคับคดีรอผลคดีเพิกถอนสัญญาซื้อขายและประนีประนอมเมื่อมีข้อพิพาทเรื่องสินสมรส
ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับภริยาจำเลย แต่จำเลยกลับทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทและสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลกับโจทก์โดยมิได้รับความยินยอมจากภริยาจำเลยก่อน ต่อมาจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีระหว่างการบังคับคดีภริยาจำเลยฟ้องโจทก์และจำเลยให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อขายที่ดินและสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว ดังนี้ศาลชอบที่จะใช้ดุลพินิจสั่งงดการบังคับคดีไว้ได้เพื่อรอฟังผลคดีที่ภริยาจำเลยฟ้องโจทก์และจำเลยก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1711/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ งดบังคับคดีรอผลคดีสินสมรส: กรณีภริยาฟ้องเพิกถอนสัญญาซื้อขายที่ดินที่ทำไปแล้ว
ระหว่างบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอม ปรากฏข้อเท็จจริงว่าม.ภริยาจำเลยได้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์และจำเลยต่อศาลแพ่ง ขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายที่ดินและสัญญาประนีประนอมระหว่างโจทก์กับจำเลย โดยอ้างว่าที่ดินตามสัญญาซื้อขาย และสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ม. ซึ่งคดีแพ่งดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ หากต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีทั้งสองถึงที่สุดให้ ม. ชนะคดี และที่ดินดังกล่าวได้โอนไปเป็นของโจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมแล้ว ม. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจะได้รับความเสียหาย ดังนี้เมื่อศาลเห็นสมควรก็มีอำนาจใช้ดุลพินิจสั่งให้งดการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมไว้ได้ โดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 292(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1632/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากการจ้างงานและการร่วมทำสัญญาขนส่ง กรณีรถออกนอกเส้นทาง
จำเลยที่ 3 มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการขนส่งคนโดยสารมีหน้าที่จัดระเบียบการเดินรถยนต์โดยสารขนาดเล็กในเขตกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 3 อนุญาตให้รถยนต์โดยสารขนาดเล็กคันเกิดเหตุของจำเลยที่ 2 ร่วมเดินรถกับจำเลยที่ 3 ในเส้นทางสาย 1014 จากปากซอยอุดมสุขถึงปลายซอยดังกล่าว จำเลยที่ 3 ได้ประโยชน์ตอบแทนคือค่าทำสัญญาปีละ 500 บาท เมื่อรถยนต์โดยสารขนาดเล็กได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมเดินรถกับจำเลยที่ 3 แล้ว จะมีการประทับตราจำเลยที่ 3 ไว้ที่ตัวรถ นอกจากนั้นจำเลยที่ 3 ยังสงวนสิทธิในการหาประโยชน์จากการโฆษณาทั้งภายในและภายนอกตัวรถยนต์โดยสารขนาดเล็กที่เข้าร่วมเดินรถกับจำเลยที่ 3 อีกทั้งลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบวินัย และคำสั่งของจำเลยที่ 3 ทุกประการด้วย ถือได้ว่ากิจการเดินรถของรถยนต์โดยสารขนาดเล็กคันเกิดเหตุเป็นกิจการร่วมกันระหว่างจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 2 จ้างจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจึงถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ด้วย
เจ้าของรถที่เข้าร่วมกับจำเลยที่ 3 สามารถนำรถออกนอกเส้นทางได้ด้วยเหตุ 3 ประการ คือ ใช้ในราชการ ใช้ในกิจการส่วนตัว และใช้ในเรื่องสาธารณประโยชน์ แต่ต้องขออนุญาตจากจำเลยที่ 3 ก่อน หากฝ่าฝืนสัญญาข้อ 6 ก็ระบุไว้ว่า จำเลยที่ 3 มีสิทธิสั่งห้ามมิให้เจ้าของรถนำรถออกวิ่งรับผู้โดยสารในเส้นทางมีระยะเวลาตามที่จำเลยที่ 3 กำหนด หรือบอกเลิกสัญญาได้ แสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 2 สามารถที่จะนำรถยนต์โดยสารขนาดเล็กคันเกิดเหตุไปใช้นอกเส้นทางที่กำหนดไว้ตามสัญญาได้ เพียงแต่ต้องได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 3 ก่อนเท่านั้น แม้จะฝ่าฝืนสัญญาข้อนี้ ก็ไม่เป็นเหตุให้สัญญาเลิกกัน เพียงแต่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 3 มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเท่านั้น ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1จะขับรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุออกนอกเส้นทาง แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ดังกล่าวโดยประมาทเป็นเหตุให้ชนรถยนต์ที่ผู้ตายขับและผู้ตายถึงแก่ความตายจึงถือได้ว่า จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1
ที่จำเลยที่ 3 ฎีกาว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์โดยสารขนาดเล็กคันเกิดเหตุรับจ้างเหมาขนส่งนักศึกษารักษาดินแดนเป็นการรับจ้างทำของ นอกวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 3 นั้น แม้จำเลยที่ 3 จะยกประเด็นนี้ขึ้นต่อสู้ในคำให้การ แต่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 นำรถไปใช้นอกเส้นทางจำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดโดยไม่ได้วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าว เมื่อโจทก์อุทธรณ์ให้จำเลยที่ 3 รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 จำเลยที่ 3 ก็มิได้แก้อุทธรณ์ และยกประเด็นนี้ขึ้นว่ากล่าวไว้ในชั้นอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยที่ 3 ดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1632/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของนายจ้างต่อการกระทำของลูกจ้าง และความสัมพันธ์ทางธุรกิจที่ก่อให้เกิดความรับผิดร่วมกัน
จำเลยที่ 3 มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการขนส่งคนโดยสารมีหน้าที่จัดระเบียบการเดิน รถยนต์โดยสารขนาดเล็กในเขตกรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 3 อนุญาตให้รถยนต์โดยสารขนาดเล็กคันเกิดเหตุของจำเลยที่ 2 ร่วมเดินรถกับจำเลยที่ 3ในเส้นทางสาย 1014 จากปากซอยอุดมสุขถึงปลายซอยดังกล่าวจำเลยที่ 3 ได้ประโยชน์ตอบแทนคือค่าทำสัญญาปีละ 500 บาทเมื่อรถยนต์โดยสารขนาดเล็กได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมเดินรถกับจำเลยที่ 3 แล้ว จะมีการประทับตราจำเลยที่ 3 ไว้ที่ตัวรถนอกจากนั้นจำเลยที่ 3 ยังสงวนสิทธิในการหาประโยชน์จากการโฆษณาทั้งภายในและภายนอกตัวรถยนต์โดยสารขนาดเล็กที่เข้าร่วมเดินรถกับจำเลยที่ 3 อีกทั้งลูกจ้างของจำเลยที่ 2ก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบวินัย และคำสั่งของจำเลยที่ 3ทุกประการด้วย ถือได้ว่ากิจการเดินรถของรถยนต์โดยสารขนาดเล็กคันเกิดเหตุเป็นกิจการร่วมกันระหว่างจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3จำเลยที่ 2 จ้างจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจึงถือว่าจำเลยที่ 1เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ด้วย เจ้าของรถที่เข้าร่วมกับจำเลยที่ 3 สามารถนำรถออกนอกเส้นทาง ได้ด้วยเหตุ 3 ประการ คือ ใช้ในราชการ ใช้ในกิจการส่วนตัว และใช้ในเรื่องสาธารณประโยชน์ แต่ต้องขออนุญาตจาก จำเลยที่ 3 ก่อน หากฝ่าฝืนสัญญาข้อ 6 ก็ระบุไว้ว่าจำเลยที่ 3 มีสิทธิสั่งห้ามมิให้เจ้าของรถนำรถออกวิ่งรับผู้โดยสารในเส้นทางมีระยะเวลาตามที่จำเลยที่ 3 กำหนดหรือบอกเลิกสัญญาได้ แสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 2 สามารถที่จะนำรถยนต์โดยสารขนาดเล็กคันเกิดเหตุไปใช้นอกเส้นทางที่กำหนดไว้ตามสัญญาได้ เพียงแต่ต้องได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 3 ก่อนเท่านั้น แม้จะฝ่าฝืนสัญญาข้อนี้ ก็ไม่เป็นเหตุให้สัญญาเลิกกัน เพียงแต่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 3 มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเท่านั้น ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 จะขับรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุออกนอกเส้นทาง แต่เมื่อจำเลยที่ 1ขับรถยนต์ดังกล่าวโดยประมาทเป็นเหตุให้ชนรถยนต์ที่ผู้ตายขับและผู้ตายถึงแก่ความตายจึงถือได้ว่า จำเลยที่ 1กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ที่จำเลยที่ 3 ฎีกาว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1ขับรถยนต์โดยสารขนาดเล็กคันเกิดเหตุรับจ้างเหมาขนส่งนักศึกษารักษาดินแดนเป็นการรับจ้างทำของ นอกวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 3 นั้น แม้จำเลยที่ 3 จะยกประเด็นนี้ขึ้นต่อสู้ในคำให้การ แต่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 นำรถไปใช้นอกเส้นทาง จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดโดยไม่ได้วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าว เมื่อโจทก์อุทธรณ์ให้จำเลยที่ 3 รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 จำเลยที่ 3 ก็มิได้แก้อุทธรณ์และยกประเด็นนี้ขึ้นว่ากล่าวไว้ในชั้นอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยที่ 3 ดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1554/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เกษียณอายุถือเป็นการเลิกจ้าง: สิทธิในการรับค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปี
การที่พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 9,11 กำหนดให้พนักงานรัฐวิสาหกิจต้องมีอายุไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์และให้พนักงานรัฐวิสาหกิจที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์พ้นจากตำแหน่งนั้น เป็นการกำหนดคุณสมบัติของพนักงานรัฐวิสาหกิจโดยทั่ว ๆ ไป เมื่อพนักงานรัฐวิสาหกิจคนใดอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ซึ่งขาดคุณสมบัติที่จะเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจต่อไป รัฐวิสาหกิจผู้เป็นนายจ้างก็ต้องดำเนินการให้พนักงานรัฐวิสาหกิจเช่นว่านั้นพ้นจากตำแหน่งซึ่งเรียกกันว่าให้พ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุดังที่จำเลยปฏิบัติต่อโจทก์ทั้งยี่สิบสาม ซึ่งการที่จำเลยให้โจทก์ทั้งยี่สิบสามพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุดังกล่าวจะเป็นการเลิกจ้างหรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 45ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่จำเลยให้โจทก์ทั้งยี่สิบสามพ้นจากตำแหน่งซึ่งได้ให้ความหมายของการเลิกจ้างไว้ว่าหมายถึงการที่รัฐวิสาหกิจให้ออกจากงาน ปลดออกจากงานหรือไล่ออกจากงาน โดยที่พนักงานไม่ได้กระทำความผิดตามข้อ 46 ดังนั้น การที่จำเลยให้โจทก์ทั้งยี่สิบสาม พ้น จากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุโดยที่โจทก์ทั้งสี่สิบสามไม่ได้กระทำความผิดตามข้อ 56 แห่งระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงาน รัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 จึงเป็นการเลิกจ้าง ส่วนที่ระเบียบ คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐาน ของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 47 กำหนดว่าพนักงานที่ต้องต้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุ ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามข้อ 45 ซึ่งกำหนดให้รัฐวิสาหกิจ จ่ายค่าชดเชยแก่พนักงานซึ่งเลิกจ้างนั้น ก็เป็นเพียงข้อกำหนด ให้พนักงานที่เกษียณอายุไม่มีสิทธิได้ค่าชดเชยโดยให้ได้รับเงิน เพื่อตอบแทนความชอบในการทำงาน หากปฏิบัติงานก่อนครบเกษียณมาครบห้าปีขึ้นไป มิใช่เป็นข้อกำหนดว่าการที่รัฐวิสาหกิจให้พนักงานออกจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุไม่เป็นการเลิกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1516/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำบังคับศาลเพื่อรอการลงโทษ: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจแก้ไขคำบังคับที่ผิดพลาดได้ตามหลักวิธีพิจารณาความอาญา
คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์เห็นได้ว่า ประสงค์จะรอการลงโทษให้จำเลยแต่ไม่ปรากฏในคำบังคับของศาลอุทธรณ์ว่าให้รอการลงโทษจำเลย ข้อแตกต่างดังกล่าวเป็นเพราะความผิดหลง หรือเขียนคำบังคับผิดพลาดไป ซึ่งศาลอุทธรณ์ชอบที่จะแก้ไขให้ถูกต้องได้ เพราะประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 190 มิได้มีข้อห้ามไว้ว่าถ้อยคำที่เขียนหรือพิมพ์ผิดพลาดข้อไหนแก้ได้หรือไม่ประการใด จึงน่าจะทำได้ทำนองเดียวกับที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 เมื่อข้อความที่แก้ไขหรือขยายความมิได้กลับหรือแก้คำวินิจฉัยในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์หากแต่แก้คำบังคับที่ผิดพลาดให้ถูกต้องจึงย่อมทำได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 190

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1439/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ไม่เข้าข่ายพรากเด็กเพื่อการอนาจาร หากเด็กไปโดยสมัครใจ
เด็กหญิงม. อายุ 14 ปี รักใคร่ฉันชู้สาวกับจำเลยมาก่อนและสมัครใจไปกินอยู่หลับนอนกับจำเลยซึ่งยังไม่มีภรรยาที่บ้านญาติจำเลยเป็นเวลาประมาณ 1 เดือนเศษ และได้เสียกับจำเลยหลายครั้ง เมื่อบิดามารดาตามไปพบบอกให้เด็กหญิงม.ไปเรียนหนังสือต่อ เด็กหญิงม.ก็ยอมกลับบ้านโดยมีจำเลยติดตามมาด้วย มารดาจำเลยมาสู่ขอเด็กหญิงม.แต่ตกลงกับบิดาเด็กหญิงม.เรื่องค่าสินสอดกันไม่ได้การกระทำของจำเลยไม่เป็นพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปีไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1388/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ตีความเอกสารแต่โต้เถียงข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย เหตุเป็นอุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงาน
จำเลยอุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยข้อความในเอกสารหมาย จ.9ไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้องเป็นดังที่จำเลยอุทธรณ์ และอุทธรณ์ต่อไปอีกว่า แต่โจทก์ไม่สามารถทำงานได้ตามนั้น จึงไม่มีสิทธิรับเงิน แม้จะเป็นอุทธรณ์เรื่องตีความเอกสาร แต่จำเลยก็ได้โต้เถียงข้อเท็จจริงว่าโจทก์ไม่มีสิทธิรับเงินค่าตอบแทนเพราะไม่สามารถทำงานตามข้อตกลงในเอกสารได้ อันเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางฟังมา เป็นอุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯมาตรา 54
of 23