พบผลลัพธ์ทั้งหมด 225 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1140/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินฉ้อฉลเจ้าหนี้ ผู้รับโอนรู้ถึงการทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ
ขณะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 ยังเป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์อยู่ไม่มีทรัพย์สินพอจะชำระหนี้แก่โจทก์เช่นนี้เห็นได้ว่า จำเลยที่ 1 ย่อมรู้ดีว่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ย่อมทำให้โจทก์ไม่ได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1แม้ในขณะที่จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2โจทก์จะยังไม่ได้ฟ้องให้จำเลยที่ 1 และผู้ค้ำประกันชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีก็ถือว่าจำเลยที่ 1 รู้ว่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้จำเลยที่ 2 จะเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบการกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการฉ้อฉลโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 มีความสนิทสนมกันมาก จำเลยที่ 2จึงน่าจะทราบถึงฐานะการเงินของจำเลยที่ 1 ว่าขณะที่จำเลยที่ 1โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 นั้น จำเลยที่ 1 เป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์อยู่ถือว่าขณะที่รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 รู้ว่าการที่จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ทำให้โจทก์เสียเปรียบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 955/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพักงานและลงโทษทางวินัยของลูกจ้าง กรณีชักชวนเพื่อนร่วมงานละเลยหน้าที่ จนทำให้องค์กรเสียหาย และสิทธิประโยชน์อื่นของลูกจ้าง
แม้ข้อบังคับของจำเลย ฉบับที่ 46 ไม่มีข้อความห้ามพนักงานจัดนำเที่ยวหรือชักชวนพนักงานอื่นไปเที่ยวก็ตาม แต่หมวดว่าด้วยวินัยของพนักงานมีว่า พนักงานต้องตั้งใจปฏิบัติตามข้อบังคับ ระเบียบคำสั่ง แบบแผน และวิธีปฏิบัติของจำเลยด้วย การที่โจทก์ชักชวนพนักงานที่มีเวรหยุดและวันทำงานตรงกับวันเกิดเหตุไปเที่ยวโจทก์ย่อมเล็งเห็นว่าจะไม่มีพนักงานเพียงพอที่จะนำรถยนต์โดยสารออกแล่นได้ ทำให้จำเลยขาดรายได้ ถือว่าโจทก์ทำผิดวินัย จำเลยสั่งพักงานโจทก์ได้ เงินช่วยเหลือบุตรเป็นสวัสดิการที่จำเลยจ่ายให้แก่พนักงานเป็นสิทธิประโยชน์อื่นตามข้อบังคับของจำเลย แม้โจทก์จะถูกพักงานก็มีสิทธิได้รับเงินจำนวนนี้ ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยให้จำเลยรับผิด หนึ่งแสนสี่หมื่นบาทเศษแต่พิพากษาให้จ่ายเป็นเงินจำนวนหนึ่งแสนห้าหมื่นบาทเศษเป็นการผิดพลาดในการรวมจำนวนเงิน ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้มาซึ่งทรัพย์สินก่อนและหลังการบวชเป็นพระภิกษุ ผลต่อการเป็นสมบัติของวัด
การที่ ช. เช่าซื้อที่พิพาท และชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนก่อนบวชเป็นพระภิกษุแต่ผู้ให้เช่าซื้อโอนที่พิพาทให้ขณะ ช.บวชเป็นพระภิกษุนั้น ต้องถือว่า ช. ได้ที่พิพาทมาแล้วก่อนที่จะบวช เพราะการจดทะเบียนการได้มาภายหลังเป็นเพียงทำให้การได้มาสมบูรณ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคแรกเท่านั้น แม้ ช. จะถึงแก่กรรมในระหว่างที่อยู่ในสมณเพศที่พิพาทก็ไม่ตกเป็นสมบัติของวัด ตามมาตรา 1623
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์สินที่ได้มาก่อนบวชไม่ตกเป็นสมบัติของวัด แม้จดทะเบียนโอนในขณะเป็นพระ
แม้พระภิกษุช.จะได้จดทะเบียนรับโอนที่ดินที่เช่าซื้อมาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศก็ตาม แต่พระภิกษุ ช.ได้เช่าซื้อและชำระค่าเช่าซื้อจนครบถ้วนแล้วก่อนที่จะมาบวชเป็นพระภิกษุซึ่งหากผู้ให้เช่าซื้อไม่จดทะเบียนโอนที่ดินให้ พระภิกษุ ช.ก็ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ให้เช่าซื้อโอนที่ดินได้อันเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งที่พระภิกษุ ช.มีก่อนที่จะมาบวชเป็นพระภิกษุจึงต้องถือว่าพระภิกษุ ช.ได้ที่ดินมาแล้วก่อนที่จะบวชเป็นพระภิกษุการจดทะเบียนการได้มาในภายหลังเป็นแต่เพียงทำให้การได้มาบริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคแรก เท่านั้นฉะนั้นเมื่อที่ดินมิใช่ทรัพย์สินที่พระภิกษุ ช.ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศจึงไม่ตกเป็นสมบัติของวัด ตามมาตรา 1623 หากแต่เป็นทรัพย์มรดกตกได้แก่บรรดาทายาทของพระภิกษุ ช.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 856/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีผู้ค้ำประกัน: ใช้ระยะเวลาตามกฎหมายอาญาเมื่อมูลเหตุเกิดจากความผิดอาญา
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกัน ส. จำเลยจึงมีสิทธิยกข้อต่อสู้ทั้งหลายซึ่ง ส. มีต่อโจทก์รวมทั้งเรื่องอายุความที่โจทก์อาจฟ้อง ส. เป็นคดีแพ่งขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 694 การที่โจทก์ฟ้องให้ ส. ชดใช้เงินที่ยักยอกคืนโจทก์ เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดอันเป็นความผิดมีโทษตามกฎหมายอาญาและศาลพิพากษาแล้วว่า ส. มีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 353 ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีจึงมีอายุความที่จะต้องฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมาภายใน 10 ปี นับแต่วันกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(3) กำหนดอายุความทางอาญาจึงยาวกว่าอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448วรรคแรก ที่กำหนดไว้เพียง 1 ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน จึงต้องเอาอายุความที่ยาวกว่ามาใช้บังคับ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448วรรคสอง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้อง ส. ได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ส. กระทำความผิดเบียดบังยักยอกเงินของโจทก์ไปโดยทุจริตเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ ส. กระทำผิดจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 856/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีแพ่งของผู้ค้ำประกัน ยึดตามอายุความอาญาเมื่อมูลหนี้เกิดจากความผิดทางอาญา
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกัน ส. ดังนั้นจำเลยจึงมีสิทธิยกข้อต่อสู้ทั้งหลายซึ่ง ส. มีต่อโจทก์ รวมทั้งเรื่องอายุความที่โจทก์อาจฟ้อง ส.เป็นคดีแพ่งขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 694 การที่โจทก์จะฟ้องให้ ส. ชดใช้เงินที่ยักยอกคืนโจทก์นั้นเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดซึ่งเกิดจากการกระทำความผิดฐานยักยอกของ ส. ตามประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งมีอายุความที่จะต้องฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลภายใน 10 ปีนับแต่วันกระทำความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(3)กำหนดอายุความทางอาญาจึงยาวกว่าอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก ที่กำหนดไว้เพียง 1 ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน จึงต้องเอาอายุความที่ยาวกว่านั้นมาใช้บังคับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคสองโจทก์จึงฟ้องจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกัน ส. ได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ ส. กระทำความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 807/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งในคดีแรงงาน: ความสัมพันธ์กับการฟ้องเดิม และสิทธิในการเรียกร้องค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้เลิกจ้างโจทก์ จำเลยฟ้องแย้งว่าไม่ได้เลิกจ้าง แต่โจทก์หยุดงานไปเองจนเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายเป็นกรณีที่โจทก์จำเลยโต้เถียงกันโดยมีข้ออ้างที่เกี่ยวพันกันว่าเหตุที่โจทก์หยุดงานไปนั้น เป็นเพราะจำเลยเลิกจ้างตามคำฟ้องของโจทก์หรือจำเลยหยุดงานไปเองตามฟ้องแย้งของจำเลย ฟ้องแย้งของจำเลยในส่วนนี้จึงเกี่ยวกับคำฟ้องเดิมของโจทก์ ส่วนที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยค้างจ่ายค่าเปอร์เซ็นต์จากการขายสินค้า จำเลยฟ้องแย้งว่าโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะได้รับเงินค่าเปอร์เซ็นต์ดังกล่าว เพราะโจทก์ขายสินค้าได้ต่ำกว่าที่กำหนด ซึ่งโจทก์ต้องรับผิดชดใช้เงินสำหรับส่วนของสินค้าที่ขายต่ำกว่าที่กำหนดไว้ก็เป็นกรณีที่โจทก์จำเลยโต้เถียงกันโดยมีข้ออ้างที่เกี่ยวพันกันว่าโจทก์ขายสินค้าให้จำเลยมากกว่าจำนวนที่กำหนด และมีสิทธิได้รับเงินเปอร์เซ็นต์จากการขายสินค้าจากจำเลยตามคำฟ้องหรือขายสินค้าได้น้อยกว่าที่กำหนด และจะต้องรับผิดชำระเงินให้จำเลยตามฟ้องแย้ง ฟ้องแย้งของจำเลยในส่วนนี้จึงเกี่ยวกับคำฟ้องเดิมเช่นกัน ฟ้องแย้งตามจำเลยจึงเป็นฟ้องแย้งที่ชอบจะรับไว้พิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสาม ประกอบด้วย พระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานฯมาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 807/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งเกี่ยวพันกับคำฟ้องเดิม: การเลิกจ้าง, ค่าเปอร์เซ็นต์การขาย และการชดใช้ความเสียหาย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้เลิกจ้างโจทก์ จำเลยฟ้องแย้งว่าจำเลยไม่ได้เลิกจ้างโจทก์ แต่โจทก์หยุดงานไปเองจนเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายนั้น เป็นกรณีที่โจทก์จำเลยโต้เถียงกันโดยมีข้ออ้างที่เกี่ยวพันกันว่า เหตุที่โจทก์หยุดงานไปนั้น เป็นเพราะจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตามคำฟ้องของโจทก์ หรือจำเลยหยุดงานไปเองตามฟ้องแย้งของจำเลย ฟ้องแย้งของจำเลยในส่วนนี้จึงเกี่ยวกับคำฟ้องเดิมของโจทก์ และที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยค้างจ่ายค่าเปอร์เซ็นต์จากการขายสินค้า จำเลยฟ้องแย้งว่าโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะได้รับเงินค่าเปอร์เซ็นต์ดังกล่าวจากจำเลย เพราะโจทก์ขายสินค้าให้จำเลยได้ต่ำกว่าที่กำหนด ซึ่งโจทก์ต้องรับผิดชดใช้เงินสำหรับส่วนของสินค้าที่ขายต่ำกว่าที่กำหนดไว้นั้น ก็เป็นกรณีที่โจทก์จำเลยโต้เถียงกันโดยมีข้ออ้างที่เกี่ยวพันกันว่า โจทก์ขายสินค้าให้จำเลยมากกว่าจำนวนที่กำหนดและมีสิทธิได้รับเงินเปอร์เซ็นต์จากการขายสินค้าจากจำเลยตามคำฟ้องหรือขายสินค้าได้น้อยกว่าที่กำหนดและจะต้องรับผิดชำระเงินให้จำเลยตามฟ้องแย้ง ฟ้องแย้งของจำเลยในส่วนนี้จึงเกี่ยวกับคำฟ้องเดิมเช่นกัน ฟ้องแย้งของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นฟ้องแย้งที่ชอบจะให้รับไว้พิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 807/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งเกี่ยวกับการเลิกจ้างและค่าเสียหายเป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกับคำฟ้องเดิม ศาลฎีกาเห็นควรรับไว้พิจารณา
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยฟ้องแย้งว่าจำเลยไม่ได้เลิกจ้างโจทก์ แต่โจทก์หยุดงานไปเองจนเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหาย เป็นกรณีที่โจทก์จำเลยโต้เถียงกันโดยมีข้ออ้างที่เกี่ยวพันกันว่าเหตุที่โจทก์หยุดงานไปนั้น เป็นเพราะจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตามคำฟ้องของโจทก์ หรือจำเลยหยุดงานไปเองตามฟ้องแย้งของจำเลย ฟ้องแย้งของจำเลยในส่วนนี้จึงเกี่ยวกับคำฟ้องเดิมของโจทก์ และที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยค้างจ่ายค่าเปอร์เซ็นต์จากการขายสินค้า จำเลยฟ้องแย้งว่าโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะได้รับเงินเปอร์เซ็นต์จากจำเลย เพราะโจทก์ขายสินค้าให้จำเลยได้ต่ำกว่าที่กำหนดซึ่งโจทก์ต้องรับผิดชดใช้เงินสำหรับส่วนของสินค้าที่ขายต่ำกว่าที่กำหนดไว้นั้นก็เป็นกรณีที่โจทก์จำเลยโต้เถียงกันโดยมีข้ออ้างที่เกี่ยวพันกันว่า โจทก์ขายสินค้าให้จำเลยมากกว่าจำนวนที่กำหนดและมีสิทธิได้รับเงินเปอร์เซ็นต์จากการขายสินค้าจากจำเลยตามคำฟ้องหรือขายสินค้าได้น้อยกว่าที่กำหนดและจะต้องรับผิดชำระเงินให้จำเลยตามฟ้องแย้งฟ้องแย้งของจำเลยในส่วนนี้จึงเกี่ยวกับคำฟ้องเดิมเช่นกันฟ้องแย้งของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นฟ้องแย้งที่ชอบจะให้รับไว้พิจารณาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 780/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการร่วมพยายามฆ่า: การปรึกษาหารือและไล่ติดตามผู้เสียหายบ่งชี้เจตนา
จำเลยที่ 2 รู้อยู่ว่าจำเลยที่ 1 มีอาวุธปืนติดตัวอยู่และได้มีการปรึกษาหารือกันก่อนตั้งแต่ในระหว่างที่จำเลยที่ 2 ลุกขึ้นไปพูดซุบซิบกับจำเลยที่ 1 ที่หน้าร้านที่เกิดเหตุประมาณ 2-3 ครั้งและเมื่อจำเลยทั้งสองหวนกลับมายังที่เกิดเหตุอีกเป็นครั้งที่สองปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ถืออาวุธปืนมาด้วย ซึ่งในขณะนั้นผู้เสียหายกับพวกยังคงยืนอยู่ในบริเวณที่เกิดเหตุ เมื่อผู้เสียหายกับพวกเห็นเช่นนั้นจึงวิ่งหลบหนีเข้าไปในวัด จำเลยทั้งสองยังไล่ตามผู้เสียหายกับพวกไปอีกเล็กน้อย จำเลยที่ 1 ก็ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย 1 นัดแล้วจำเลยทั้งสองวิ่งหนีไปด้วยกัน ดังนี้ แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ได้เป็นคนยิงผู้เสียหาย กรณีเช่นนี้ก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 มีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1