คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชวลิต พรายภู่

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 225 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 166/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเวนคืนและค่าทดแทน: ผู้ว่าฯ กทม.มอบอำนาจได้, การพิสูจน์ราคาซื้อขายเพื่อกำหนดค่าทดแทน
คณะรัฐมนตรีได้มีมติมอบการดำเนินการก่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ให้แก่กรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 และ พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ตอนแขวงวัดท่าพระ -แขวงสามเสนนอก พ.ศ.2524 มาตรา 4 กำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตาม พ.ร.ฎ.ฉบับดังกล่าวอีกด้วย ดังนั้น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 และในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ย่อมมีสิทธิมอบอำนาจให้ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 4 ดำเนินการสำรวจออกแบบและกำหนดให้จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินการตาม พ.ร.ฎ. จึงมีผลทำให้จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหา-ริมทรัพย์ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515ข้อ 64 (2) และมีหน้าที่จ่ายค่าทดแทนตามข้อ 67 และข้อ 74 ถึงข้อ 77 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาท ในการจ่ายค่าทดแทนหากจำเลยที่ 4 ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์กำหนดค่าทดแทนไม่ถูกต้อง ก็ต้องถือว่าเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้
คดีที่ฟ้องเรียกเอาค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ไม่ใช่คดีฟ้องบังคับตามสัญญาซื้อขาย จึงไม่อยู่ในบังคับที่ไม่ให้สืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขจำนวนเงินในสัญญาซื้อขาย เพราะเป็นการนำสืบถึงราคาซื้อขายที่แท้จริงให้ประจักษ์เพื่อเป็นหลักในการกำหนดราคาทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 166/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การคำนวณค่าทดแทนตามราคาซื้อขายจริง และดอกเบี้ยนับแต่วันที่ประกาศใช้กฎหมาย
ที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืน อยู่ในแนวเขตที่พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ตอนแขวงวัดท่าพระ-แขวงสามเสนนอกพ.ศ. 2524 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติมอบการดำเนินการก่อสร้างให้แก่กรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1 และตามพระราชกฤษฎีกากำหนด แนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกตอนแขวงวัดท่าพระ-แขวงสามเสนนอก พ.ศ. 2524 มาตรา 4 กำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295ข้อ 64(2) และมีหน้าที่จ่ายค่าทดแทน ตามข้อ 67 และข้อ 74ถึง 77 ดังนั้น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 และในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ย่อมมีสิทธิมอบอำนาจให้ ก. ดำเนินการสำรวจออกแบบและก่อสร้างทางหลวงเพื่ออนุมัติตามมติคณะรัฐมนตรีได้ เมื่อ โจทก์เห็นว่าที่ 1 กำหนดเงินค่าทดแทนไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรมโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มจากจำเลยที่ 1 ได้ และถือว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ด้วย กรณีฟ้องเรียกเอาค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนไม่มี กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ไม่ใช่คดีฟ้อง บังคับตามสัญญาซื้อขาย จึงไม่อยู่ในบังคับที่ไม่ให้สืบพยาน บุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขจำนวนเงินในสัญญาซื้อขาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 166/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การกำหนดราคาทดแทนที่ดินตามราคาซื้อขายจริง และดอกเบี้ยเริ่มนับจากวันประกาศใช้ พ.ร.ฎ.เวนคืน
ที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืน อยู่ในแนวเขตที่ พ.ร.ฎ. กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกตอนแขวงวัดท่าพระ-แขวงสามเสนนอก พ.ศ. 2524 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติมอบการดำเนินการก่อสร้างให้แก่กรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1และตาม พ.ร.ฎ. กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ตอนแขวงวัดท่าพระ-แขวงสามเสนนอก พ.ศ. 2524มาตรา 4 กำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 2เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ข้อ 64(2) และมีหน้าที่จ่ายค่าทดแทน ตามข้อ 67 และข้อ 74 ถึง 77 ดังนั้นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 และในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ย่อมมีสิทธิมอบอำนาจให้ ก. ดำเนินการสำรวจออกแบบและก่อสร้างทางหลวงเพื่ออนุวัตตามมติคณะรัฐมนตรีได้ เมื่อโจทก์เห็นว่าจำเลยที่ 1 กำหนดเงินค่าทดแทนไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรม โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มจากจำเลยที่ 1 ได้ และถือว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ด้วย กรณีฟ้องเรียกเอาค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ไม่ใช่คดีฟ้องบังคับตามสัญญาซื้อขายจึงไม่อยู่ในบังคับที่ไม่ให้สืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขจำนวนเงินในสัญญาซื้อขาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษจำคุกในคดีที่ฟ้องแยกกันและไม่เกี่ยวพันกัน ไม่เข้าข่ายมาตรา 91(2) ป.อ.
ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91(2) ที่บัญญัติให้ศาลลงโทษ ผู้กระทำความผิดทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่กรณีความผิด กระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน 3 ปีแต่ไม่เกิน 10 ปี โทษจำคุกทั้งสิ้นรวมกันต้องไม่เกิน 20 ปี นั้นเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการลงโทษจำคุกจำเลยในกรณีที่จำเลยกระทำ ความผิดหลายกรรมแต่ถูกฟ้องเป็นคดีเดียว หรือในกรณีที่จำเลย ถูกฟ้องหลายคดี แต่เป็นคดีที่เกี่ยวพันกันจนศาลได้มีคำสั่ง ให้รวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน ส่วนคดีที่เกี่ยวพันกัน ซึ่งโจทก์ควรจะฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันหรือควรจะมีการรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน แต่โจทก์กลับแยกฟ้องเป็นหลายคดี และไม่มีการรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน ก็จะต้องอยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91(2) เช่นเดียวกัน คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7008/2533 พนักงานอัยการ ฟ้องจำเลยในข้อหาฉ้อโกงประชาชน ส่วนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 837/2531 และ 8729/2532 นั้น พนักงานอัยการฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7222/2532 เป็นข้อหายักยอกคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7009/2533 เป็นข้อหายักยอก และข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499 ซึ่งความผิดตามที่ฟ้องและพยานหลักฐาน ที่จะต้องนำสืบในคดีต่าง ๆ ดังกล่าวแตกต่างกับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7008/2533 จึงเป็นคดีที่ไม่เกี่ยวพันกัน ไม่อาจจะฟ้องเป็นคดี เดียวกันหรือรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ ส่วนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7024/2533 นั้น พนักงานอัยการฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522เกี่ยวกับความผิดที่จำเลยได้กระทำขึ้นในบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เฉลิมโลก จำกัด ซึ่งเป็นคนละบริษัทกับที่จำเลยได้กระทำความผิดขึ้นในคดีอื่น ๆ จึงเป็นคดีที่ไม่เกี่ยวพันกัน ไม่อาจฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันหรือรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้เช่นกันจึงนับโทษจำคุกจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7008/2533,7024/2533 และคดีทั้งสี่ดังกล่าวติดต่อกันเกินกว่า 20 ปีได้คดีไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษจำคุกในคดีที่เกี่ยวพันหรือไม่เกี่ยวพันกัน และขอบเขตการบังคับใช้มาตรา 91(2) ป.อ.
ป.อ. มาตรา 91(2) เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการลงโทษจำคุกจำเลยในกรณีจำเลยกระทำความผิดหลายกรรม แต่ถูกฟ้องเป็นคดีเดียวหรือกรณีจำเลยถูกฟ้องหลายคดีแต่เป็นคดีที่เกี่ยวพันกันจนศาลได้มีคำสั่งให้รวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน และรวมถึงคดีที่เกี่ยวพันกันซึ่งโจทก์กลับแยกฟ้องเป็นหลายคดีและไม่มีการรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน เมื่อโจทก์จำเลยเป็นคู่ความเดียวกัน แต่ปรากฏว่า ฐานความผิดตามที่ฟ้องในคดีที่สี่และพยานหลักฐานที่จะต้องนำสืบแตกต่างกับสามคดีแรก และความผิดตามที่ฟ้องในคดีที่หกนั้นเป็นความผิดที่จำเลยได้กระทำขึ้นในบริษัท ค. ซึ่งไม่ใช่บริษัทที่จำเลยได้กระทำความผิดในคดีอื่น ๆ คดีที่สี่และที่หกจึงเป็นคดีที่ไม่เกี่ยวพันกัน ไม่อาจฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันหรือรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้คดีจึงไม่อยู่ในบังคับของ ป.อ. มาตรา 91(2).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรวมโทษคดีอาญาและการพิจารณาความเกี่ยวพันของคดี การจำกัดโทษตาม ป.อ.มาตรา 91(2)
ตาม ป.อ.มาตรา 91 (2) ที่บัญญัติให้ศาลลงโทษผู้กระทำความผิดทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่กรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน 3 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี โทษจำคุกทั้งสิ้นรวมกันต้องไม่เกิน 20 ปีนั้น เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการลงโทษจำคุกจำเลยในกรณีที่จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมแต่ถูกฟ้องเป็นคดีเดียว หรือในกรณีที่จำเลยถูกฟ้องหลายคดี แต่เป็นคดีที่เกี่ยวพันกันจนศาลได้มีคำสั่งให้รวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน ส่วนคดีที่เกี่ยวพันกันซึ่งโจทก์ควรจะฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันหรือควรจะมีการรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน แต่โจทก์กลับแยกฟ้องเป็นหลายคดี และไม่มีการรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน ก็จะต้องอยู่ภายใต้บังคับของ ป.อ.มาตรา 91 (2) เช่นเดียวกัน
คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7008/2533 พนักงานอัยการฟ้องจำเลยในข้อหาฉ้อโกงประชาชน ส่วนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 837/2531 และ8729/2532 นั้น พนักงานอัยการฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7222/2532 เป็นข้อหายักยอก คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7009/2533 เป็นข้อหายักยอก และข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิพ.ศ.2499 ซึ่งความผิดตามที่ฟ้องและพยานหลักฐานที่จะต้องนำสืบในคดีต่าง ๆดังกล่าวแตกต่างกับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7008/2533 จึงเป็นคดีที่ไม่เกี่ยวพันกัน ไม่อาจจะฟ้องเป็นคดีเดียวกันหรือรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ ส่วนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7024/2533 นั้น พนักงานอัยการฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 เกี่ยวกับความผิดที่จำเลยได้กระทำขึ้นในบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เฉลิมโลก จำกัด ซึ่งเป็นคนละบริษัทกับที่จำเลยได้กระทำความผิดขึ้นในคดีอื่น ๆ จึงเป็นคดีที่ไม่เกี่ยวพันกัน ไม่อาจฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันหรือรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้เช่นกัน จึงนับโทษจำคุกจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7008/2533, 7024/2533 และคดีทั้งสี่ดังกล่าวติดต่อกันเกินกว่า20 ปีได้ คดีไม่อยู่ในบังคับของ ป.อ.มาตรา 91 (2)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2535)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 76/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของตัวแทนและหุ้นส่วนผู้จัดการในการซื้อขายไม้: ศาลฎีกาวินิจฉัยอำนาจฟ้องและขอบเขตความรับผิด
จำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1มอบหมายให้จำเลยที่ 4 ซื้อไม้จากโจทก์ จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดชำระราคาไม้แก่โจทก์ ส่วนจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ได้กระทำการแทนจำเลยที่ 1 ในการซื้อไม้จากโจทก์ตามที่ได้รับมอบหมาย จึงไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 4 ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 4 มิได้ฎีกาขึ้นมาศาลฎีกาก็เห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย และพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 4 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 76/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการและตัวแทนในการซื้อขาย
จำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1มอบหมายให้จำเลยที่ 4 ซื้อไม้จากโจทก์ จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1รับผิดชำระราคาไม้แก่โจทก์ ส่วนจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1ได้กระทำการแทนจำเลยที่ 1 ในการซื้อไม้จากโจทก์ตามที่ได้รับมอบหมาย จึงไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 4 ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อ-กฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 4 มิได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย และพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 4 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 76/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องจำเลยในฐานะตัวแทนซื้อของ เมื่อโจทก์มีสิทธิฟ้องเฉพาะเจาะจงกับผู้รับมอบอำนาจเท่านั้น
จำเลยที่ 4 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ในการซื้อไม้มา จากโจทก์และจำเลยที่ 4 กระทำการแทนจำเลยที่ 1 ตามที่ได้ รับ มอบหมาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 4 รับผิด ตามฟ้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 62/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐาน: ข้อขัดแย้งในคำเบิกความและบันทึกการจับกุม ทำให้เกิดความสงสัยในความผิด
ประจักษ์พยานโจทก์ซึ่งเป็นผู้จับกุมจำเลยเบิกความยืนยันว่าเห็นจำเลยนอนเสพฝิ่นกับ ส. แต่ในบันทึกการจับกุมและบันทึกการตรวจสถานที่เกิดเหตุต่างระบุตรงกันว่า เป็นเรื่องมีฝิ่นไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต มิได้ระบุข้อกล่าวหาว่าจำเลยเสพฝิ่น นอกจากนี้พยานเบิกความถึงเหตุการณ์ตอนจับกุมจำเลยขัดกับที่ได้บันทึกไว้ในบันทึกการจับกุม และข้อหาฐานเสพฝิ่นพนักงานสอบสวนได้แจ้งเพิ่มเติมภายหลัง ดังนี้ พยานหลักฐานโจทก์มีความสงสัยตามสมควร ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย.
of 23