คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชวลิต พรายภู่

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 225 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4116/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ งานต่อเนื่องในสายงานหลักของนายจ้าง แม้มีสัญญาจ้างสิ้นสุด ก็ต้องจ่ายค่าชดเชย
งานหลักของนายจ้างคืองานผลิตต้นคริสต์มาสประดิษฐ์ นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในฝ่ายผลิตต้นคริสต์มาสในสายงานหลักของนายจ้างและลักษณะงานที่ลูกจ้างทำไม่แตกต่างไปจากงานของลูกจ้างที่จ้างไว้ทำตลอดปี กระบวนการผลิตของนายจ้างมีต่อเนื่องกันไปตลอดปีไม่มีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นการจรเป็นไปตามฤดูกาล หรือเป็นงานตามโครงการ แต่เป็นงานที่มีลักษณะต่อเนื่องกันไปโดยตลอด ดังนั้นแม้นายจ้างจะให้ลูกจ้างหยุดงานเมื่อครบกำหนดตามสัญญาจ้าง ก็ไม่เป็นเหตุให้ลูกจ้างหมดสิทธิได้รับค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4116/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักษณะงานต่อเนื่องไม่เข้าข้อยกเว้นค่าชดเชย: แม้งานมีกำหนดเวลา แต่หากเป็นงานต่อเนื่องตลอดปี ไม่ถือเป็นงานครั้งคราวตามกฎหมาย
งานหลักของจำเลยคืองานผลิตต้นคริสต์มาสประดิษฐ์ จำเลยให้โจทก์ทั้งสามทำงานในฝ่ายผลิตต้นคริสต์มาสในสายงานหลักของจำเลยและลักษณะงานที่โจทก์ทำไม่แตกต่างไปจากงานของลูกจ้างที่จำเลยจ้างไว้ทำตลอดปี กระบวนการผลิตของจำเลยมีต่อเนื่องกันไปตลอดปี ลักษณะของงานที่จำเลยจ้างโจทก์ทั้งสามนั้น จึงไม่มีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นการจร เป็นไปตามฤดูกาล หรือเป็นงานตามโครงการ แต่เป็นงานที่มีลักษณะต่อเนื่องกันไปโดยตลอด ดังนั้น แม้จำเลยจะให้โจทก์ทั้งสามหยุดงานเมื่อครบกำหนดตามสัญญาจ้าง ก็หาเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสามหมดสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่
แม้โจทก์ทั้งสามจะกล่าวในฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามโดยไม่ปรากฎสาเหตุ แต่จำเลยก็ได้ให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ทั้งสาม เพราะจำเลยจ้างโจทก์ทั้งสามเพื่อทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นการจร เป็นไปตามฤดูกาล หรือเป็นงานตามโครงการ มีการทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือกำหนดเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของสัญญาไว้ จึงมีประเด็นพิพาทเกิดขึ้นตามคำฟ้องและคำให้การว่า งานที่จำเลยจ้างโจทก์ทั้งสามทำนั้นมีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นการจร เป็นไปตามฤดูกาลหรือเป็นงานตามโครงการหรือไม่ การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องและไม่ขัดต่อกฎหมายวิธีพิจารณาความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4116/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยกรณีสัญญาจ้างหมดอายุ: งานต่อเนื่องไม่เข้าข้อยกเว้น
กรณีที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเพราะสัญญาจ้างสิ้นสุดระยะเวลาการจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคท้าย นั้นจะต้องเป็นการจ้างเพื่อทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นการจร เป็นไปตามฤดูกาลหรือเป็นงานตามโครงการ งานหลักของจำเลยคืองานผลิตต้นคริสต์มาสประดิษฐ์ จำเลยให้โจทก์ทำงานในฝ่ายผลิตต้นคริสต์มาส ในสายงานหลักของจำเลยและลักษณะงานที่โจทก์ทำไม่แตกต่างไปจากงานของลูกจ้างที่จำเลยจ้างไว้ทำตลอดปี กระบวนการผลิตของจำเลยมีต่อเนื่องกันไปตลอดปี ลักษณะของงานที่จำเลยจ้างโจทก์ทำนั้นเป็นงานที่มีลักษณะต่อเนื่องกันไปโดยตลอด ดังนั้นแม้จำเลยจะให้โจทก์ทั้งสามหยุดงานเมื่อครบกำหนดตามสัญญาจ้างก็หาเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสามหมดสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3848/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายในการประนีประนอมยอมความผูกพันจำเลย แม้เกินขอบเขตที่จำเลยบอกไว้
จำเลยที่ 2 ได้แต่งตั้ง ส. เป็นทนายของตน โดยระบุไว้ในใบแต่งทนายความว่าให้มีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความได้ด้วยเมื่อทนายจำเลยที่ 2 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมไปแล้ว คำพิพากษานั้นย่อมผูกพันจำเลยที่ 2 แม้จะฟังเป็นความจริงว่า ทนายจำเลยที่ 2 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์โดยยอมรับจะผ่อนชำระเงินแต่ละงวดเกินกว่าจำนวนที่จำเลยที่ 2ได้บอกแก่ทนายจำเลยที่ 2 ไว้ก็ตาม ก็เป็นเรื่องระหว่างจำเลยที่ 2กับทนายของตนจำเลยที่ 2 ไม่อาจจะยกเหตุดังกล่าวขึ้นอ้างเพื่อให้เปลี่ยนแปลงสัญญาประนีประนอมยอมความหรือคำพิพากษาตามยอมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดในคดีแรงงาน: การพิจารณาตาม พ.ร.บ.แรงงาน vs. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การขาดนัดที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน และวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 40,41 เป็นกรณีที่ศาลสั่งรับฟ้องคดีโจทก์แล้วได้สั่งให้โจทก์ มาศาลในวันเวลานัดตามมาตรา 37 เพื่อที่ศาลจะได้ทำการ ไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ตกลงกันตาม มาตรา 38 เท่านั้น เมื่อศาลแรงงานกลางได้มีคำสั่งรับฟ้องของโจทก์แล้ว ได้นัดพิจารณา และสั่งให้โจทก์มาศาลในวันเวลานัดด้วย ซึ่งต่อมาโจทก์และจำเลยที่ 2 ก็ได้มาศาลตามวันเวลานัด ดังกล่าวและศาลได้ทำการไกล่เกลี่ยตามมาตรา 38 แต่ตกลงกัน ไม่ได้ จึงได้จดประเด็นข้อพิพาทไว้ตามมาตรา 39 และได้นัดวัน สืบพยานโจทก์ดังกล่าว จึงมิใช่เป็นการไม่มาศาลตามมาตรา 37 เพราะขั้นตอนต่าง ๆ ตามมาตรา 37,38 และ 39 ได้ผ่านพ้นไปแล้ว และกรณีที่โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ภายหลังจากนั้น พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มิได้บัญญัติวิธีการดำเนินกระบวนพิจารณาไว้ โดยเฉพาะ จึงต้องนำเอาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 200 มาใช้บังคับโดยอนุโลมดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดในคดีแรงงาน: การนำ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับเมื่อ พ.ร.บ.แรงงานฯ ไม่ได้บัญญัติไว้
กรณีขาดนัดที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานมาตรา 40,41 เป็นกรณีที่ศาลรับฟ้องแล้วสั่งให้คู่ความมาศาลในวันนัดตามมาตรา 37 เพื่อศาลจะได้ไกล่เกลี่ยตามมาตรา 38 หากตกลงกันไม่ได้จึงจะจดประเด็นข้อพิพาทตามมาตรา 39 และนัดสืบพยานโจทก์แต่กรณีที่คู่ความไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานภายหลังจากนั้นพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ ไม่ได้บัญญัติไว้เฉพาะต้องนำ ป.วิ.พ.มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงาน มาตรา 31.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีแรงงาน: การใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยอนุโลมเมื่อ พ.ร.บ.แรงงานไม่ได้บัญญัติไว้
บทบัญญัติเกี่ยวกับกรณีขาดนัดที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 40,41 นั้น เป็นกรณีที่ศาลสั่งรับฟ้องแล้วได้สั่งให้โจทก์มาศาลในวันเวลานัดตามมาตรา 37 เพื่อที่ศาลจะได้ทำการไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ตกลงกันตามมาตรา 38 เท่านั้น ส่วนกรณีที่โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ภายหลังจากนั้น พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มิได้บัญญัติวิธีการดำเนินกระบวนพิจารณาไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำเอาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 200 มาใช้บังคับโดยอนุโลมดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3479/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราปกติของสถาบันการเงินต้องมีการนำสืบหลักฐานยืนยันอัตราที่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี
การที่โจทก์อ้างว่า โจทก์เป็นสถาบันการเงินมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตาม พ.ร.บ. ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2524ซึ่งให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนดอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินอาจคิดจากผู้กู้ยืมสูงกว่าร้อยละ 15 ต่อปี แต่ไม่เกินร้อยละ 19 ต่อปีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ประกาศให้สถาบันการเงินมีสิทธิคิดดอกเบี้ยเงินกู้ตามกฎหมายดังกล่าวแล้ว แม้ประกาศดังกล่าวหากมีอยู่จริงไม่ใช่ข้อกฎหมายที่ศาลจะรับรู้เอง และมิใช่เป็นข้อเท็จจริงที่ศาลรับรู้ได้เอง แต่เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์จะต้องนำสืบ เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบให้ปรากฏ ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราตามที่โจทก์อ้าง ซึ่งเกินไปจากอัตราปกติตามที่กฎหมายกำหนด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3355/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเนื่องจากหนังสือเตือนหมดอายุ และขาดการตักเตือนเป็นหนังสือก่อนเลิกจ้าง
หากนับจากวันออกหนังสือเตือนถึงวันที่โจทก์กระทำผิดอันเป็นเหตุให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์ เป็นเวลา 1 ปี 4 เดือน 13 วัน หรือหากนับตั้งแต่วันที่โจทก์กระทำผิดอันเป็นเหตุให้จำเลยออกหนังสือเตือนจนถึงวันที่โจทก์กระทำผิดอันเป็นเหตุให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์ก็เป็นเวลา 1 ปี 5 เดือน 21 วัน ซึ่งไม่ว่าจะเริ่มนับระยะเวลาของหนังสือเตือน โดยวิธีใด ก็ล้วนแต่เป็นระยะเวลาที่เนิ่นนานเกินสมควร ถือว่าหนังสือเตือนดังกล่าวสิ้นผล ไม่สามารถจะนำมาเป็นเหตุในการพิจารณาประกอบการเลิกจ้างโจทก์ตามข้อบังคับได้ถือว่าโจทก์ไม่ได้ถูกตักเตือนเป็นหนังสือมาก่อน จำเลยไม่มีสิทธิที่จะเลิกจ้างโจทก์ตามความในข้อ 9 แห่งข้อบังคับของจำเลย การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3355/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม เนื่องจากหนังสือเตือนหมดอายุ และนายจ้างไม่มีสิทธิเลิกจ้างตามข้อบังคับ
ตามข้อบังคับของนายจ้างมีข้อความว่านายจ้างจะลงโทษผู้กระทำผิดด้วยการให้ออกได้ก็ต่อเมื่อผู้กระทำผิดเคยถูกตักเตือนเป็นหนังสือมาก่อน เมื่อหนังสือเตือนฉบับสุดท้ายก่อนที่ลูกจ้างกระทำความผิดอันเป็นเหตุให้นายจ้างเลิกจ้างหากนับตั้งแต่วันออกหนังสือเตือนถึงวันกระทำความผิดเป็นเวลา 1 ปี 4 เดือน 13 วัน หรือนับตั้งแต่วันกระทำความผิดอันเป็นเหตุให้นายจ้างออกหนังสือเตือนจนถึงวันกระทำผิดอันเป็นเหตุให้นายจ้างเลิกจ้างก็เป็นเวลาถึง 1 ปี5 เดือน 15 วัน ซึ่งไม่ว่าจะนับโดยวิธีใด ก็เป็นระยะเวลาที่เนิ่นนานเกินสมควรไม่สามารถนำมาเป็นเหตุในการพิจารณาประกอบการเลิกจ้างลูกจ้างตามข้อบังคับของนายจ้างได้ หนังสือเตือนดังกล่าวจึงสิ้นผลไปก่อนที่ลูกจ้างกระทำผิดวินัย อันเป็นเหตุให้นายจ้างเลิกจ้างจึงถือว่าลูกจ้างมิได้ถูกตักเตือนเป็นหนังสือในความผิดนั้นมาก่อนนายจ้างไม่มีสิทธิที่จะเลิกจ้างตามข้อบังคับดังกล่าวได้ การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างจึงไม่ชอบด้วยข้อบังคับของนายจ้าง เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
of 23