พบผลลัพธ์ทั้งหมด 225 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3351/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คู่สมรสตามพรบ.ประกันสังคม ต้องเป็นการจดทะเบียนสมรส การอยู่กินฉันสามีภริยาไม่ถือเป็นคู่สมรส
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 ไม่ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า "คู่สมรส" ว่า มีความหมายอย่างไร จึงต้องแปลความหมายโดยเทียบเคียงกับคำว่า "คู่สมรส" ในกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตามมาตรา 4แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งก็คือบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่ง-และพาณิชย์ บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัว บทบัญญัติดังกล่าวให้ความหมายคู่สมรสว่าหมายถึงชายหญิงที่ทำการสมรสกันและการสมรสจะมีได้เฉพาะเมื่อได้จดทะเบียนแล้วเท่านั้น คำว่าคู่สมรสตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 65วรรคแรก จึงหมายถึงสามีภริยาที่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายด้วย ขณะภริยาโจทก์คลอดบุตร โจทก์และภริยายังมิได้จดทะเบียนสมรสกัน จึงมิใช่คู่สมรสของโจทก์ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีภริยาคลอดบุตร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3351/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนสมรสเป็นเงื่อนไขการเป็นคู่สมรสตาม พ.ร.บ. ประกันสังคม เพื่อสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตร
คำว่า คู่สมรสตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533มาตรา 65 วรรคแรก หมายถึงสามีภริยาที่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3351/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์ทดแทนประกันสังคมกรณีคลอดบุตร: คู่สมรสต้องจดทะเบียนสมรส
แม้ พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 จะไม่ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า "คู่สมรส" ว่ามีความหมายว่าอย่างไร แต่เนื่องจากเป็นถ้อยคำในจดหมาย จึงต้องแปลความหมายโดยเทียบเคียงกับคำว่า"คู่สมรส" ในกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตามบทบัญญัติ มาตรา 4แห่ง ป.พ.พ. คือ มาตรา 1552,1553 และ 1559 ซึ่งหมายถึงสามีภริยาที่จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายเท่านั้น คำว่า คู่สมรสตามพ.ร.บ. ประกันสังคม มาตรา 65 วรรคแรก จึงต้องหมายถึงสามีภริยาที่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายด้วยเช่นกัน ขณะที่น.ภริยาโจทก์คลอดบุตรโจทก์และ น. ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันน. จึงไม่ใช่คู่สมรสของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีที่ น. คลอดบุตร.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3323/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจของผู้จัดการบริษัทในการเป็นนายจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทจำกัดมีจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 เป็นกรรมการและจำเลยที่ 5 เป็นผู้จัดการ มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานได้และทำการแทนจำเลยที่ 1 ได้ จำเลยที่ 5 จึงเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนกรรมการของจำเลยที่ 1 ต้องถือว่าจำเลยที่ 5เป็นนายจ้างของโจทก์ทั้งยี่สิบสองตามคำนิยามคำว่า นายจ้างในข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3323/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตนายจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ผู้รับมอบหมายทำงานแทนกรรมการถือเป็นนายจ้าง
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นกรรมการ จำเลยที่ 5 เป็นผู้จัดการ มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานและทำการแทนจำเลยที่ 1 ได้ เป็นการได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนกรรมการของจำเลยที่ 1 จึงถือว่าจำเลยที่ 5 เป็นนายจ้างของโจทก์ทั้งยี่สิบสองตามคำนิยามของคำว่า "นายจ้าง" ในข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ซึ่งให้คำนิยามของคำว่า"นายจ้าง" ไว้ว่าให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนผู้มีอำนาจกระทำแทนนิติบุคคลด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3109/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจลงโทษทางวินัย: การพักงานเป็นโทษที่เบากว่าการปลดออกได้ แม้ระเบียบจะไม่ได้กำหนดโทษไว้เป็นการเฉพาะ
โดยทั่วไปสิ่งใดที่กล่าวยกขึ้นเป็นตัวอย่างไว้ สิ่งนั้นย่อมเป็นสิ่งที่สามารถทำได้หรือต้องละเว้นไม่กระทำตามแต่ข้อความก่อนมีการยกตัวอย่างได้ระบุไว้ คำว่า "ตัดค่าจ้าง ถูกพักงาน ถูกภาคทัณฑ์"เป็นข้อความในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในหัวข้อระเบียบวินัยและโทษทางวินัย จึงเป็นโทษทางวินัยอย่างหนึ่ง แต่การกระทำผิดทางวินัยในความผิดประเภทต่าง ๆ ได้มีกำหนดโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำผิดไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ดังนั้น โทษดังที่กล่าวข้างต้นซึ่งมิได้ระบุถึงในโทษที่กำหนดไว้เป็นการเฉพาะนี้ จำเลยจึงนำมาลงโทษได้เฉพาะเมื่อประสงค์จะลงโทษที่เบากว่าโทษที่กำหนดไว้เป็นการเฉพาะแล้วเท่านั้น จำเลยมาทำงานสายเป็นครั้งที่ 4 ซึ่งโทษที่กำหนดไว้เป็นการเฉพาะคือปลดออกจากงาน การที่จำเลยลงโทษเพียงพักงานโจทก์ ซึ่งเป็นโทษที่เบากว่าการปลดออกจากงานจึงชอบด้วยระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยแล้ว และเมื่อการลงโทษพักงานชอบด้วยระเบียบ จำเลยก็มีสิทธิหักค่าจ้างโจทก์ในวันที่พักงานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2989/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งสัญชาติโดยสมัครใจและการไม่โต้แย้งสิทธิ ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง
บิดามารดาโจทก์ทั้งหกแจ้งการเกิดของโจทก์ทั้งหกต่อสำนักงานกิจการญวนอพยพด้วยความสมัครใจมิได้ถูกผู้ใดบังคับให้ไปแจ้งและบิดาพาโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 ไปทำบัตรประจำตัวคนญวนอพยพก็โดยเข้าใจเอาเองว่าโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นคนญวนอพยพโดยมิได้มีผู้ใดบังคับเช่นกัน ส่วนที่ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีประกาศให้คนญวนอพยพไปแจ้งต่อสำนักงานกิจการญวนอพยพนั้น ก็เป็นประกาศที่มีลักษณะเป็นการทั่ว ๆ ไป ไม่ใช่คำสั่งเฉพาะเจาะจงบังคับให้โจทก์ทั้งหกไปทำบัตรประจำตัวคนญวนอพยพ เหตุที่มีชื่อโจทก์ทั้งหกในทะเบียนบ้านญวนอพยพก็เนื่องจากบิดาของโจทก์ทั้งหกไปแจ้งต่อนายทะเบียนบ้านญวนอพยพอุบลราชธานีจำเลยที่ 3 ว่า โจทก์ทั้งหกเป็นคนญวนอพยพโดยเข้าใจเอาเองว่าโจทก์ทั้งหกเป็นคนญวนอพยพมิใช่เกิดจากการกระทำของผู้อำนวยการสำนักงาน 114 อุบลราชธานีจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ที่เพิ่มชื่อโจทก์ทั้งหกในทะเบียนบ้านญวนอพยพโดยพลการ ทั้งโจทก์ทั้งหกก็ไม่เคยโต้แย้งต่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ว่าโจทก์ทั้งหกมิใช่คนญวนอพยพ จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งหกโจทก์ทั้งหกจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2989/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งสัญชาติและการโต้แย้งสิทธิ: การที่บิดามารดาแจ้งสัญชาติด้วยความสมัครใจ และการที่โจทก์ไม่เคยโต้แย้งสิทธิ ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง
บิดามารดาโจทก์ทั้งหกแจ้งการเกิดของโจทก์ทั้งหกต่อสำนักงานกิจการญวนอพยพด้วยความสมัครใจมิได้ถูกผู้ใดบังคับให้ไปแจ้ง และ ง. บิดาโจทก์ทั้งหกพาโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 ไปทำบัตรประจำตัวคนญวนอพยพ ก็โดยเข้าใจเอาเองว่าโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3เป็นคนญวนอพยพโดยมิได้มีผู้ใดบังคับเช่นกัน การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีประกาศให้คนญวนอพยพไปแจ้งต่อสำนักงานกิจการญวนอพยพนั้นก็น่าจะเป็นประกาศที่มีลักษณะเป็นการประกาศทั่ว ๆ ไป ไม่ใช่คำสั่งเฉพาะเจาะจงบังคับให้โจทก์ทั้งหกไปทำบัตรประจำตัวคนญวนอพยพ เหตุที่มีชื่อโจทก์ทั้งหกในทะเบียนบ้านญวนอพยพ ก็เนื่องจากบิดาของโจทก์ทั้งหกไปแจ้งต่อจำเลยที่ 3 ว่า โจทก์ทั้งหกเป็นคนญวนอพยพ โดยเข้าใจเอาเองว่าโจทก์ทั้งหกเป็นคนญวนอพยพ มิใช่เกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 2และที่ 3 ที่เพิ่มชื่อโจทก์ทั้งหกในทะเบียนบ้านญวนอพยพโดยพลการทั้งโจทก์ทั้งหกก็ไม่เคยโต้แย้งต่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ว่าโจทก์ทั้งหกมิใช่คนญวนอพยพ คดียังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3โต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งหก โจทก์ทั้งหกจึงไม่มีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2988/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญชาติไทยโดยการเกิดและการโต้แย้งสิทธิ: คดีไม่ขาดอายุความแม้ฟ้องเกิน 10 ปี
โจทก์ซึ่งเกิดในราชอาณาจักรไทยโดยมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508 มาตรา 7 (1) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สัญชาติ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 มาตรา 4 ประกอบมาตรา 10 ซึ่งบัญญัติให้บทบัญญัติมาตรา 7 (1) แห่งพ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวให้มีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่ พ.ร.บ.สัญชาติ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ใช้บังคับด้วย
โจทก์มีสัญชาติไทยแล้วตั้งแต่เกิด แต่กลับถูกถอนสัญชาติไทยแล้วนำไปจดแจ้งไว้ในทะเบียนบ้านญวนอพยพอันเป็นสัญชาติอื่น ถือได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิว่าไม่ได้เป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทยตลอดมานับแต่ถูกถอนสัญชาติ ดังนั้นแม้โจทก์ฟ้องคดีเกิน 10 ปี นับแต่ทราบเหตุโต้แย้งสิทธิดังกล่าวคดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ
โจทก์มีสัญชาติไทยแล้วตั้งแต่เกิด แต่กลับถูกถอนสัญชาติไทยแล้วนำไปจดแจ้งไว้ในทะเบียนบ้านญวนอพยพอันเป็นสัญชาติอื่น ถือได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิว่าไม่ได้เป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทยตลอดมานับแต่ถูกถอนสัญชาติ ดังนั้นแม้โจทก์ฟ้องคดีเกิน 10 ปี นับแต่ทราบเหตุโต้แย้งสิทธิดังกล่าวคดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2924/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลมีอำนาจสั่งให้นับอายุงานต่อเนื่องได้
จำเลยอุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยไม่ถูกต้องตามพยานหลักฐานในสำนวน แปลพยานหลักฐานไม่ถูกต้อง ฟังข้อเท็จจริงผิดไปจากพยานหลักฐานในสำนวนและหยิบยกพยาน เหตุผลต่าง ๆ ขึ้นอ้างให้ศาลฎีกาฟังว่าโจทก์ไม่ได้ป่วยแตกต่างไปจากที่ศาลแรงงานกลางฟังมาเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ในคดีที่มีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมหรือไม่นั้น แม้ศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นเรื่องค่าเสียหายไว้ โดยไม่ได้กำหนดประเด็นว่ามีเหตุควรให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานหรือไม่ ถ้าศาลแรงงานกลางเห็นว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม ศาลแรงงานกลางก็พิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานต่อไปได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯมาตรา 49 ซึ่งกำหนดให้ศาลแรงงานมีอำนาจที่จะคุ้มครองป้องกันมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่เป็นธรรมโดยบัญญัติให้ศาลแรงงานอาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานต่อไปในอัตราค่าจ้างที่ได้รับในขณะเลิกจ้าง ดังนั้น การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้นับอายุงานของโจทก์ต่อเนื่องจากอายุงานเดิมก่อนถูกเลิกจ้าง โดยอาศัยมาตราดังกล่าว จึงชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นการพิพากษานอกคำฟ้อง.