พบผลลัพธ์ทั้งหมด 225 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2924/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลแรงงานมีอำนาจนับอายุงานต่อเนื่องตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานฯ
ศาลแรงงานได้กำหนดประเด็นเรื่องค่าเสียหายไว้โดยไม่ได้กำหนดประเด็นว่ามีเหตุควรให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามฟ้องหรือไม่ แต่เมื่อศาลแรงงานเห็นว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมศาลแรงงานก็พิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานต่อไปได้ตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 49พระราชบัญญัติ ญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 49 กำหนดให้ศาลแรงงานมีอำนาจที่จะคุ้มครองป้องกันมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่เป็นธรรม โดยบัญญัติให้ศาลแรงงานอาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างผู้นั้นเข้าทำงานต่อไปในอัตราค่าจ้างที่ได้รับขณะเลิกจ้าง ซึ่งย่อมหมายความว่าเป็นการสั่งให้รับลูกจ้างกลับเข้าทำงานต่อไปในฐานะเดิมก่อนถูกเลิกจ้างการที่ศาลแรงงานพิพากษาให้นับอายุงานของโจทก์ต่อเนื่องจากอายุงานเดิมก่อนถูกเลิกจ้าง โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 49 จึงชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นการพิพากษานอกคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2924/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานและนับอายุงานต่อเนื่อง กรณีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นเรื่องค่าเสียหายโดยมิได้กำหนดประเด็นว่ามีเหตุควรให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานหรือไม่ แต่หากศาลแรงงานกลางเห็นว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมศาลแรงงานกลางก็พิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานต่อไปได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 49 โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานในหน้าที่และค่าจ้างเดิมโดยไม่ได้ขอให้นับอายุงานต่อเนื่อง แต่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 49 กำหนดให้ศาลแรงงานมีอำนาจที่จะคุ้มครองป้องกันมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่เป็นธรรม โดยบัญญัติให้ศาลแรงงานอาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานต่อไปในอัตราค่าจ้างที่ได้รับขณะเลิกจ้าง ซึ่งย่อมหมายความว่าเป็นการสั่งให้รับลูกจ้างกลับเข้าทำงานต่อไปในฐานะเดิมก่อนถูกเลิกจ้างการที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้นับอายุงานของโจทก์ต่อเนื่องจากอายุงานเดิมก่อนถูกเลิกจ้าง โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 49 แห่งบทกฎหมายดังกล่าว จึงชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นการพิพากษานอกคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2906/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องรื้อถอนบ้านรุกที่ดิน: การบรรยายฟ้องไม่เคลือบคลุม แม้ไม่ได้ระบุรายละเอียดบ้าน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยอยู่บ้านเลขที่ 152/6ถนนเจริญนคร แขวงบุคคโลเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์บางส่วนในที่ดินโฉนดเลขที่ 1266 และ 3751แขวงบุคคโลเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร จำเลยได้อยู่อาศัยในบ้านเลขที่ดังกล่าวโดยปลูกอยู่บนที่ดินของโจทก์ทั้งสองแปลงนี้โดยจำเลยและสามีจำเลยขออนุญาตจากโจทก์และเจ้าของร่วม ต่อมาจำเลยยินยอมให้บุคคลภายนอกเข้ามาอาศัยในบ้านดังกล่าว โจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยรื้อถอนบ้านออกจากที่ดินของโจทก์ แต่จำเลยก็เพิกเฉยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เป็นการบรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสถานแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ส่วนบ้านเลขที่ 152/6 เป็นบ้านตึกหรือบ้านไม้ มีความกว้างยาวและเนื้อที่เท่าใดนั้น เป็นรายละเอียดที่ไม่จำต้องบรรยายในฟ้องทั้งจำเลยก็อาศัยในบ้านดังกล่าวย่อมรู้รายละเอียดดังกล่าวได้ดีอยู่แล้ว ไม่ทำให้จำเลยหลงข้อต่อสู้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2906/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินโดยไม่สุจริตหลังได้รับอนุญาต และภาระการพิสูจน์กรรมสิทธิ์เมื่ออ้างว่าถือแทนทายาท
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าจำเลยและสามีได้ขออนุญาตปลูกบ้านพิพาทจากโจทก์และเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วม แต่โจทก์นำสืบว่า สามีจำเลยได้ขออนุญาต ร. ปลูกบ้านเมื่อประมาณ 30 ปี ก่อนโจทก์เบิกความคดีนี้ ต่อมา ร. ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่บ้านพิพาทปลูกอยู่ให้แก่โจทก์และผู้อื่นเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันก็ตามก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการนำสืบแตกต่างไปจากฟ้อง เพราะเมื่อ ร.โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์และบุคคลอื่นแล้ว การที่จำเลยยังคงอาศัยอยู่ในบ้านพิพาทก็เท่ากับโจทก์และเจ้าของร่วมในที่ดินได้อนุญาตให้จำเลยปลูกบ้านอยู่ต่อไปนั่นเอง กฎหมายสันนิษฐานว่าผู้มีชื่อในโฉนดเป็นเจ้าของที่ดินในโฉนดเมื่อจำเลยกล่าวอ้างว่าโจทก์และผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทนบุคคลอื่นจำเลยจึงมีภาระการพิสูจน์ แต่ในทางนำสืบนั้น จำเลยคงมีแต่ตัวจำเลย พ.บุตรสาวของจำเลยและส. มาเบิกความลอย ๆ ว่าร. ถือกรรมสิทธิ์แทนบุคคลอื่น โดยปราศจากพยานหลักฐานอื่นสนับสนุนจึงมีน้ำหนักน้อย ไม่สามารถหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าวได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยหรือสามีจำเลยมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมในที่พิพาท การที่จำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทจึงเป็นการอยู่โดยอาศัยสิทธิของโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยอาศัยอยู่ต่อไปและได้บอกกล่าวให้จำเลยออกไปจากที่พิพาทแล้วแต่จำเลยไม่ออกไปจึงเป็นการละเมิดและต้องใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2834/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกเช็คเพื่อกู้ยืมเงิน ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค หากไม่มีหนี้เดิม
ข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยขอกู้ยืมเงินผู้เสียหาย โดยจำเลยออกเช็คตามฟ้องทั้ง 2 ฉบับให้ผู้เสียหาย แล้วผู้เสียหายจึงเอาเงินเท่ากับจำนวนเงินตามเช็คทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวมอบให้จำเลย แสดงให้เห็นว่า ก่อนจำเลยออกเช็คพิพาททั้ง 2 ฉบับให้ผู้เสียหายนั้นจำเลยกับผู้เสียหายมิได้มีหนี้ต่อกัน การออกเช็คของจำเลยจึงมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงให้ผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง จำเลยจึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2823/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการร่วมทำร้ายจนถึงแก่ความตาย: เจตนาทำร้ายร่วมกันแม้แบ่งแยกหน้าที่ชัดเจน
ขณะเกิดการทำร้ายผู้ตายกับพวกในครั้งแรกที่จำเลยที่ 1 ใช้มีดฟัน พ. จำเลยที่ 2 ก็ถือมีดและอยู่ด้วยในเหตุการณ์ต่อเนื่องกันขณะพวกจำเลยถีบรถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายนั่งซ้อนท้ายล้มลง แล้วจำเลยที่ 2 ใช้มีดแทงผู้ตาย ผู้ตายลุกขึ้นวิ่งหนีโดยมีจำเลยที่ 2วิ่งไล่ตาม จำเลยที่ 1 ก็ถือมีดดาบวิ่งตามไปด้วย พฤติการณ์เช่นนี้เท่ากับจำเลยทั้งสองกับพวกมีเจตนาร่วมกันที่จะทำร้ายผู้ตายกับพวกโดยไม่ได้แบ่งแยกว่าจำเลยทั้งสองกับพวกแต่ละคนจะแบ่งแยกกันทำร้ายผู้ตายกับพวกผู้ตายคนใดเป็นการเฉพาะเจาะจง แต่เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองมีเจตนายอมรับผลที่เกิดจากการกระทำของแต่ละคนเมื่อจำเลยที่ 2 ใช้มีดแทงผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานเป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 2 ฆ่าผู้ตายด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2724/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายทำให้เกิดบาดแผลหลายแห่ง ถือเป็นอันตรายแก่กายตามประมวลกฎหมายอาญา
โจทก์ร่วมมีบาดแผลที่ถูกจำเลยทำร้ายคือ ศีรษะบวมโนด้านหลังดั้งจมูกช้ำ หลังมือขวาบวม ไหล่ซ้ายเขียวช้ำ แขนซ้ายท่อนล่างเขียวช้ำ หลังมือซ้ายเขียวช้ำ ชายโครงซ้ายเขียวช้ำ ศีรษะข้างขวาบวมจากลักษณะบาดแผลของโจทก์ร่วมดังกล่าว แม้จะเป็นเพียงบาดแผลและเขียวช้ำ แต่ก็มีบาดแผลถึง 8 แห่ง และแพทย์ผู้ตรวจชันสูตรบาดแผลมีความเห็นว่า บาดแผลดังกล่าวเกิดเพราะได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงเป็นเหตุให้เส้นเลือดฝอยและเส้นเลือดที่ใหญ่กว่าเส้นเลือดฝอยแตกต้องใช้เวลารักษาประมาณ 10 ถึง 15 วัน จึงจะหายเป็นปกติ ถือได้ว่าโจทก์ร่วมได้รับอันตรายแก่กาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2638/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยต้องใช้เหตุเลิกจ้างตามที่ระบุในคำสั่งเท่านั้น และค่าน้ำมันรถถือเป็นค่าจ้างต้องนำมารวมคำนวณค่าชดเชย
จำเลยระบุเหตุเลิกจ้างโจทก์ไว้ในคำสั่งเลิกจ้าง เมื่อจำเลยถูกฟ้องจะยกเหตุอื่นนอกเหนือจากที่ระบุในคำสั่งเลิกจ้างเป็นข้อต่อสู้ไม่ได้ ค่าน้ำมันรถที่จำเลยจ่ายให้โจทก์เป็นประจำทุกเดือนเป็นเงินจำนวนแน่นอนมีลักษณะเช่นเดียวกับเงินเดือน ถือว่าเป็นเงินที่จำเลยจ่ายแก่โจทก์เป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติค่าน้ำมันรถดังกล่าวจึงเป็น "ค่าจ้าง" ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ชอบที่จะต้องนำมารวมคำนวณค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2638/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุเลิกจ้างต้องตรงกับที่ระบุในคำสั่ง และค่าน้ำมันรถเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง
จำเลยระบุในคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ว่า จำเลยอยู่ในระหว่างปรับปรุงกิจการ มีงานน้อย จึงมีความจำเป็นเพื่อลดค่าใช้จ่ายและให้พนักงานอื่นมีงานทำ ขอปลดโจทก์ออกจากการเป็นพนักงานเท่ากับจำเลยประสงค์จะถือเอาเฉพาะเหตุที่ระบุในคำสั่งเลิกจ้างเป็นเหตุเลิกจ้างเพียงประการเดียว ไม่ได้ถือเอาเหตุอื่นเป็นเหตุเลิกจ้างด้วย เมื่อจำเลยถูกฟ้องก็ชอบที่จะยกเหตุตามที่ระบุในคำสั่งเลิกจ้างนั้นเป็นข้อต่อสู้ จะยกเหตุอื่นนอกเหนือจากที่ระบุในคำสั่งเลิกจ้างเป็นข้อต่อสู้ไม่ได้ ค่าน้ำมันรถที่ลูกจ้างได้รับจากนายจ้างเดือนละ 5,000 บาทเป็นประจำทุกเดือนมีจำนวนแน่นอน มีลักษณะเช่นเดียวกับเงินเดือนถือว่าเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติ จึงเป็น "ค่าจ้าง" ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 ต้องนำไปรวมคำนวณค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2566/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดที่ดินและการเพิกถอน หากราคาประเมินต่ำกว่าตลาดและชำระหนี้ได้ ศาลต้องไต่สวนข้อเท็จจริง
เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยที่ 3 จำนวน2 แปลง จำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องว่าที่ดินแปลงที่ 2 มีราคาเพียงพอชำระหนี้ ขอให้ระงับการขายที่ดินแปลงที่ 1 กับอ้างว่าการประเมินราคาและการขายทอดตลาดที่ดินทั้งสองแปลงต่ำกว่าราคาท้องตลาดทำให้จำเลยที่ 3 เสียหาย หากเป็นจริงก็ชอบที่จะขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้ ศาลชั้นต้นชอบที่จะไต่สวนคำร้องของ จำเลยที่ 3 เสียก่อนที่จะพิจารณาสั่ง