คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชวลิต พรายภู่

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 225 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4712/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชัดเจนของฟ้องทรัพย์สิน: การระบุรายละเอียดทรัพย์สินรวมๆ เพียงพอหากจำเลยเข้าใจได้
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวพร้อมเครื่องเรือน ของใช้สำนักงาน โรงงานและเครื่องจักรต่าง ๆซึ่งตั้งอยู่บนที่ดินดังกล่าวขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไปแม้ตามคำฟ้องโจทก์จะระบุข้อเท็จจริงเกี่ยวกับทรัพย์เพียงรวม ๆก็ตาม แต่ก็ได้ระบุชัดถึงชนิดและประเภทของทรัพย์ โดยยืนยันจำนวนทรัพย์ด้วยว่าทั้งหมดที่ตั้งอยู่บนที่ดินพิพาทซึ่งจำเลยเป็นผู้ใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินนั้น จำเลยซึ่งเป็นผู้ครอบครองทรัพย์สินที่พิพาท ย่อมสามารถเข้าใจได้ว่าหมายถึงทรัพย์ใดบ้าง ความเข้าใจของจำเลยนี้เห็นได้ชัดจากที่จำเลยเป็นฝ่ายนำสืบก่อนได้อ้างเอกสารและให้รายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์พิพาทเอง ฟ้องโจทก์จึงได้ระบุข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวทรัพย์พิพาทพอที่จำเลยสามารถเข้าใจและต่อสู้คดีได้ถูกต้องแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4678/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดบังคับคดีตามมาตรา 293 วรรคแรก ต้องมีการยึดทรัพย์สินก่อน และไม่ลิดรอนสิทธิเจ้าหนี้
โจทก์ที่ 2 มิได้ร่วมกับโจทก์ที่ 1 ยื่นคำร้องของดการบังคับคดีไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องของโจทก์ที่ 1 แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 รับอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 2 ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิฎีกา การขอให้งดการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 293 วรรคแรกจะต้องมีการบังคับคดีโดยการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาอยู่ก่อนแล้วในขณะนั้น เนื่องจากวิธีการบังคับคดีที่จะงดคือการขายทอดตลาดหรือจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาโดยวิธีอื่น เพื่อเป็นการคุ้มครองป้องกันมิให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้รับความเสียหายจากการขายทอดตลาดหรือจำหน่ายทรัพย์สินก่อนที่จะได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดในคดีที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นโจทก์ หาได้ให้ความคุ้มครองแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาถึงขนาดลิดรอนสิทธิของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามิให้ดำเนินการเพื่อผลในการบังคับคดีตามคำพิพากษากับทรัพย์อื่นต่อไปไม่ คำร้องของโจทก์ที่ 1 ในฐานะลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่ขอให้งดการบังคับคดีที่อาจมีต่อไปในอนาคตไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4646/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดใช้ในการดำเนินคดีที่จำเลยเลิกสัญญา แม้จะยังไม่ได้ฟ้องคดี
โจทก์ได้ดำเนินการตามที่จำเป็นในการที่จะฟ้อง ม. กับพวกแล้วและที่ไม่สามารถฟ้อง ม. กับพวกนั้นมิใช่ความผิดของโจทก์เมื่อปรากฏว่าในเดือนกรกฎาคม 2530 จำเลยได้ตกลงให้คนอื่นดำเนินการเกี่ยวกับคดีต่าง ๆ แทนโจทก์ จึงฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบว่าโจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญาจ้าง จำเลยจึงต้องชดใช้เงินให้แก่โจทก์ตามควรค่าแห่งการที่โจทก์ได้ทำไปเพื่อฟ้อง ม. กับพวก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4576/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรรมการและการร้องคัดค้านฟ้อง: ผู้ไม่มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท ไม่อาจร้องคัดค้านฟ้องแทนบริษัทได้
ผู้ร้องมิใช่กรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทนบริษัทจำเลยและผู้ร้องก็มิได้มีฐานะเป็นนายจ้างโจทก์ตามกฎหมาย ผู้ร้องร้องคัดค้านและปฏิเสธฟ้องโจทก์เข้ามาในฐานะกรรมการผู้ไม่มีอำนาจกระทำแทนบริษัทจำเลย เป็นการกระทำเป็นส่วนตัวซึ่งไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ คำร้องคัดค้านดังกล่าวของผู้ร้องถือไม่ได้ว่าเป็นการร้องสอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4576/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการร้องคัดค้านคดีแรงงาน: ผู้ถือหุ้นเดิมที่ถูกจำกัดอำนาจ ย่อมไม่มีสิทธิร้องคัดค้านในฐานะนายจ้าง
ผู้ร้องมิใช่กรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทนบริษัทจำเลยและผู้ร้องก็มิได้มีฐานะเป็นนายจ้างโจทก์ตามกฎหมายผู้ร้องคัดค้านและปฏิเสธฟ้องโจทก์เข้ามาในฐานะกรรมการผู้ไม่มีอำนาจกระทำแทนบริษัทจำเลยซึ่งกระทำเป็นการส่วนตัวจึงไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ คำร้องคัดค้านดังกล่าวของผู้ร้องถือไม่ได้ว่าเป็นการร้องสอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4576/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดี: ผู้ร้องไม่มีอำนาจกระทำแทนบริษัท และไม่เป็นนายจ้างโจทก์ จึงไม่มีอำนาจคัดค้านการฟ้อง
ผู้ร้องมิใช่กรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทนบริษัทจำเลย และผู้ร้องก็มิได้มีฐานะเป็นนายจ้างโจทก์ตามกฎหมาย ผู้ร้องคัดค้านและปฏิเสธฟ้องโจทก์เข้ามาในฐานะกรรมการผู้ไม่มีอำนาจกระทำแทนบริษัทจำเลยซึ่งกระทำเป็นการส่วนตัว จึงไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ คำร้องคัดค้านดังกล่าวของผู้ร้องถือไม่ได้ว่าเป็นการร้องสอดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4434/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดอัตราดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย การยกข้ออ้างใหม่ในชั้นอุทธรณ์
จำเลยอุทธรณ์ว่า นับแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2525 ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศให้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เรียกดอกเบี้ยได้ไม่เกินร้อยละ 18 ต่อปี โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 21 ต่อปี และฎีกาขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 18 ต่อปี แต่จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ในประเด็นนี้ไว้ โดยให้การเพียงว่ากรณีผิดนัดโจทก์เรียกดอกเบี้ยได้ไม่เกินร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีเท่านั้น อุทธรณ์ดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาตั้งแต่ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4434/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดอัตราดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวตั้งแต่ชั้นต้น ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยอุทธรณ์ว่า นับแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2525ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศให้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เรียกดอกเบี้ยได้ไม่เกินร้อยละ 18 ต่อปี โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 21 ต่อปี และฎีกาขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 18 ต่อปี แต่จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ในประเด็นนี้ไว้โดยให้การเพียงว่ากรณีผิดนัดโจทก์เรียกดอกเบี้ยได้ไม่เกินร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีเท่านั้น อุทธรณ์ดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4370/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินหลังซื้อขาย: ประเด็นสิทธิครอบครองเกิดขึ้นเมื่อมีข้อพิพาทหลังการซื้อขายเท่านั้น
คำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่าโจทก์จำเลยแสดงเจตนาลวงทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างกัน หาได้กล่าวอ้างว่าโจทก์จำเลยทำนิติกรรมซื้อขายกันจริง และหลังจากทำนิติกรรมซื้อขายกันแล้วโจทก์ได้ครอบครองที่ดิน-พิพาทและสิ่งปลูกสร้างอย่างเป็นเจ้าของ จึงได้สิทธิครอบครองไม่ แม้จำเลยให้การว่าโจทก์ขายที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างให้จำเลย ถือว่าสละความเป็นเจ้าของแล้วการที่โจทก์อยู่ต่อมาเป็นเพียงอาศัยสิทธิของจำเลยไม่ได้สิทธิครอบครอง ก็เป็นเพียงกล่าวถึงผลของการที่โจทก์จำเลยซื้อขายที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างเท่านั้น คำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลยดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทในเรื่องที่ว่าหลังจากโจทก์ขายที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างให้จำเลยแล้ว โจทก์ได้สิทธิครอบ-ครองที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4370/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นข้อพิพาทเรื่องสิทธิครอบครองหลังการซื้อขาย: คำฟ้องไม่ชัดเจน ทำให้ศาลไม่รับวินิจฉัย
คำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่าโจทก์จำเลยแสดงเจตนาลวงทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างกัน หาได้กล่าวอ้างว่าโจทก์จำเลยทำนิติกรรมซื้อขายกันจริง และหลังจากทำนิติกรรมซื้อขายกันแล้วโจทก์ได้ครอบครองที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างอย่างเป็นเจ้าของ จึงได้สิทธิครอบครองไม่ แม้จำเลยให้การว่าโจทก์ขายที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างให้จำเลย ถือว่าสละความเป็นเจ้าของแล้วการที่โจทก์อยู่ต่อมาเป็นเพียงอาศัยสิทธิของจำเลยไม่ได้สิทธิครอบครอง ก็เป็นเพียงกล่าวถึงผลของการที่โจทก์จำเลยซื้อขายที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างเท่านั้น คำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลยดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทในเรื่องที่ว่าหลังจากโจทก์ขายที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างให้จำเลยแล้ว โจทก์ได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างหรือไม่
of 23