คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชวลิต พรายภู่

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 225 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3173/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจวินิจฉัยคดีแรงงาน: อธิบดีศาลแรงงานกลางมีอำนาจแต่เพียงผู้เดียว
คดีนี้เมื่อศาลแรงงานเห็นสมควรยกปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ขึ้นวินิจฉัย แสดงว่ามีปัญหาเกิดขึ้นแล้วว่าคดีนี้จะอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่ ตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 9 วรรคสอง ที่บัญญัติให้อำนาจแก่อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้นเป็นผู้วินิจฉัย เมื่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดว่าคดีนี้จะอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่ การที่ศาลแรงงานกลางเป็นผู้วินิจฉัยเสียเองว่าคดีนี้ไม่อยู่ในอำนาจของศาลแรงงานกลางจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3172/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขาดนัดพิจารณาคดีแรงงานและผลกระทบต่อฟ้องแย้ง: ศาลยังต้องพิจารณาฟ้องแย้งต่อไป
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ในคดีแรงงานนัดแรก ทนายจำเลยมาศาลส่วนโจทก์ทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ถือว่าโจทก์ขาดนัด-พิจารณา แม้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 201 วรรคแรก ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ให้ศาลแรงงานมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์เสียจากสารบบความก็ตาม แต่คดีนี้จำเลยฟ้องแย้งโจทก์ จำเลยจึงมีฐานะเป็นโจทก์ตามฟ้องแย้งและโจทก์เดิมจึงตกเป็นจำเลยตามฟ้องแย้ง ต้องถือว่าโจทก์ตามฟ้องแย้งมาศาลแล้ว และตาม ป.วิ.พ.มาตรา 202 บัญญัติว่า ถ้าได้ส่งหมายกำหนดวันนัดสืบพยานให้จำเลยทราบโดยชอบแล้ว จำเลยขาดนัดพิจารณา ให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา แล้วให้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้นไปฝ่ายเดียว ซึ่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522มาตรา 31 ให้นำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.โดยอนุโลม แม้การที่ศาลแรงงานมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์อันทำให้ไม่มีคำฟ้องเดิมที่จะดำเนินกระบวน-พิจารณาต่อไปก็ตาม แต่ก็ยังมีตัวโจทก์ที่ยังคงเป็นจำเลยของฟ้องแย้งอยู่ต่อไปจึงมีคู่ความครบถ้วนทั้งสองฝ่ายที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ ดังนี้ การที่ศาลแรงงานมีคำสั่งจำหน่ายคดีทั้งหมด รวมทั้งคดีตามฟ้องแย้งของจำเลยออกเสียจากสารบบความเพราะเหตุโจทก์ขาดนัดพิจารณา จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3172/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขาดนัดพิจารณาคดีแรงงาน จำหน่ายคดีฟ้องแย้งไม่ชอบ ศาลต้องดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป
ในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก ทนายจำเลยมาศาล ส่วนโจทก์ ไม่มา ถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา แม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 วรรคแรกประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ให้ศาลแรงงานมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์เสียจากสารบบความก็ตาม แต่คดีนี้จำเลยฟ้องแย้งโจทก์ด้วย จำเลยจึงมีฐานเป็นโจทก์ และโจทก์เดิมตกเป็นจำเลยตามฟ้องแย้ง ต้องถือว่าโจทก์ตามฟ้องแย้งมาศาลแล้วและตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 202 ถ้าจำเลยขาดนัดพิจารณา ให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา แล้วให้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้นไปฝ่ายเดียว แม้การที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์อันทำให้ไม่มีคำฟ้องเดิมที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปก็ตาม แต่ก็ยังมีตัวโจทก์ที่ยังคงเป็นจำเลยของฟ้องแย้งอยู่ต่อไป จึงมีคู่ความครบถ้วนทั้งสองฝ่ายที่ศาลแรงงานจะดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนของฟ้องแย้งต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3172/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีเมื่อโจทก์ขาดนัด และผลกระทบต่อคดีฟ้องแย้ง: ศาลต้องดำเนินกระบวนพิจารณาฟ้องแย้งต่อไป
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ในคดีแรงงานนัดแรก ทนายจำเลยมาศาลส่วนโจทก์ทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา แม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 วรรคแรกประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ให้ศาลแรงงานมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์เสียจากสารบบความก็ตาม แต่คดีนี้จำเลยฟ้องแย้งโจทก์ จำเลยจึงมีฐานะเป็นโจทก์ตามฟ้องแย้งและโจทก์ เดิมจึงตกเป็นจำเลยตามฟ้องแย้ง ต้องถือว่าโจทก์ตามฟ้องแย้ง มาศาลแล้ว และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 202 บัญญัติว่า ถ้าได้ส่งหมายกำหนดวัดนัดสืบพยานให้จำเลยทราบโดยชอบแล้ว จำเลยขาดนัดพิจารณา ให้ศาลมีคำสั่ง แสดงว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา แล้วให้พิจารณาและชี้ขาด ตัดสิน คดีนั้นไปฝ่ายเดียว ซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับแก่การ ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้ง กับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติโดยอนุโลม แม้การที่ ศาลแรงงานมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์อันทำให้ไม่มีคำฟ้องเดิม ที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปก็ตาม แต่ก็ยังมีตัวโจทก์ ที่ยังคงเป็นจำเลยของฟ้องแย้งอยู่ต่อไปจึงมีคู่ความครบถ้วน ทั้งสองฝ่ายที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ ดังนี้ การที่ศาลแรงงานมีคำสั่งจำหน่ายคดีทั้งหมด รวมทั้งคดี ตามฟ้องแย้งของจำเลยออกเสียจากสารบบความเพราะเหตุโจทก์ ขาดนัดพิจารณา จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3102/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจทั่วไป: อำนาจต่อสู้คดีและแต่งตั้งทนายความ
สำเนาหนังสือมอบอำนาจท้ายคำให้การของจำเลยที่มีใจความสำคัญว่า จำเลยขอมอบอำนาจให้ ท.เป็นผู้มีอำนาจและดำเนินการต่าง ๆ ของจำเลยจัดการเกี่ยวกับงานในประเทศไทย ตลอดจนมอบอำนาจช่วงให้ผู้อื่นดำเนินการแทนได้จำเลยขอรับผิดชอบในการกระทำของผู้รับมอบอำนาจเสมือนหนึ่งจำเลยได้กระทำเองทุกประการนั้น มีลักษณะเป็นหนังสือมอบอำนาจที่ตั้ง ท.เป็นตัวแทนรับมอบรับมอบอำนาจทั่วไป ท. จึงมีอำนาจทำกิจใด ๆ ในทางจัดการแทนจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 801 วรรคแรกหนังสือมอบอำนาจของจำเลยดังกล่าวมีผลเท่ากับว่าจำเลยได้มอบอำนาจให้ ท. เข้ามาต่อสู้คดีแทนจำเลยกับมีอำนาจแต่งตั้งทนายความเข้ามาดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแทนจำเลยได้ ดังนั้น การมาศาล การยื่นคำให้การและการสืบพยานจำเลยของทนายความที่ ท. แต่งตั้งไว้ถือได้ว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3102/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจตัวแทนตามหนังสือมอบอำนาจทั่วไปและการดำเนินกระบวนพิจารณาแทนจำเลย
สำเนาหนังสือมอบอำนาจท้ายคำให้การของจำเลยที่มีใจความสำคัญว่า จำเลยขอมอบอำนาจให้ ท.เป็นผู้มีอำนาจและดำเนินการต่างๆ ของจำเลยจัดการเกี่ยวกับงานในประเทศไทย ตลอดจนมอบอำนาจช่วงให้ผู้อื่นดำเนินการแทนได้จำเลยขอรับผิดชอบในการกระทำของผู้รับมอบอำนาจเสมือนหนึ่งจำเลยได้กระทำเองทุกประการ นั้น มีลักษณะเป็นหนังสือมอบอำนาจที่ตั้ง ท.เป็นตัวแทนรับมอบอำนาจทั่วไปท.จึงมีอำนาจทำกิจใดๆ ในทางจัดการแทนจำเลยได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 801วรรคแรก หนังสือมอบอำนาจของจำเลยดังกล่าวมีผลเท่ากับว่าจำเลยได้มอบอำนาจให้ ท.เข้ามาต่อสู้คดีแทนจำเลย กับมีอำนาจแต่งตั้งทนายความเข้ามาดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแทนจำเลยได้ ดังนั้น การมาศาล การยื่นคำให้การ และการสืบพยานจำเลยของทนายความที่ ท.แต่งตั้งไว้ถือได้ว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3080/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินบำเหน็จตามระเบียบข้อบังคับนายจ้าง ไม่ถือเป็นค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ระเบียบข้อบังคับของนายจ้างมีข้อความว่า "อัตราการจ่ายเงินจำนวนเท่ากับอัตราเงินเดือนหรือค่าจ้างปกติในขณะนั้น หนึ่งเดือนทุกเวลาหนึ่งปีเต็มที่ผู้นั้นได้ทำงานกับบริษัทโดยติดต่อกัน หักด้วยเงินชดเชยการบอกเลิกจ้างล่วงหน้าหรือเงินทดแทนอื่นใดในการสูญเสียงาน ซึ่งพนักงานผู้นั้นมีสิทธิได้รับตามข้อความในสัญญาจ้างหรือกฎหมาย" คำว่า "เงินชดเชยการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้า" นั้นมีความหมายชัดเจนว่าหมายถึงเงินที่ให้แทนการบอกเลิกจ้างล่วงหน้า ไม่อาจแปลว่าเป็นเงิน"ค่าชดเชย" ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3080/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขต 'เงินชดเชยการบอกเลิกจ้างล่วงหน้า' ไม่รวมถึงค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ระเบียบข้อบังคับของนายจ้างมีข้อความว่า "อัตราการจ่ายเงินจำนวนเท่ากับอัตราเงินเดือนหรือค่าจ้างปกติในขณะนั้นหนึ่งเดือนทุกเวลาหนึ่งปีเต็มที่ผู้นั้นได้ทำงานกับบริษัทโดยติดต่อกัน หักด้วยเงินชดเชยการบอกเลิกจ้างล่วงหน้าหรือเงินทดแทนอื่นใดในการสูญเสียงาน ซึ่งพนักงานผู้นั้นมีสิทธิได้รับตามข้อความในสัญญาจ้างหรือกฎหมาย" คำว่า "เงินชดเชยการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้า" นั้นมีความหมายชัดเจนว่าหมายถึงเงินที่ให้แทนการบอกเลิกจ้างล่วงหน้า ไม่อาจแปลว่าเป็นเงิน "ค่าชดเชย" ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3046/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเรียกค่าทดรองจ่าย: ตัวแทน vs. พ่อค้า - อายุความ 10 ปี
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม 2528 ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2หุ้นส่วนผู้จัดการ ได้ติดต่อให้โจทก์จัดหาห้องพักที่ฮ่องกงให้แก่ลูกค้าของจำเลยที่ 1 โจทก์ได้จัดหาห้องพักและออกเงินทดรองสำหรับห้องพักให้ลูกค้าของจำเลยที่ 1ในเดือนสิงหาคมและตุลาคม 2528 โจทก์จัดหาห้องพักและออกเงินทดรองค่าห้องพัก 2 ครั้ง เป็นเงิน 5,085 เหรียญฮ่องกงส่วนเดือนตุลาคม 2528 โจทก์หาห้องพักและจ่ายเงินทดรองค่าห้องพักเป็นเงิน 18,130 เหรียญฮ่องกง เมื่อถึงกำหนดจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ให้โจทก์นอกจากนั้นโจทก์ยังแนบเอกสาร ที่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องดังกล่าวมาท้ายฟ้องด้วย ฟ้องของ โจทก์ได้บรรยายถึงสภาพแห่งข้อหาคือจำเลยที่ 1 ให้โจทก์ จัดหาห้องพักให้ลูกค้าจำเลยที่ 1 และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลัก แห่งข้อหาคือโจทก์ได้จัดหาห้องพักและออกเงินทดรอง ค่าห้องพักดังกล่าวแต่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระเงินทดรอง ค่าห้องพักแก่โจทก์โดยแจ้งชัดพอที่จำเลยทั้งสองจะเข้าใจแล้ว ส่วนที่ฟ้องของโจทก์มิได้บรรยายว่าโจทก์จัดหาห้องพักและ จ่ายค่าห้องพักที่ไหนนั้น เป็นรายละเอียดโจทก์สามารถ นำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องของโจทก์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แล้วไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม จำเลยที่ 1 ให้โจทก์จัดหาห้องพักที่ฮ่องกง และ ทดรองจ่ายค่าห้องพักแก่ลูกค้าของจำเลยที่ 1 แล้วโจทก์ มาฟ้องเรียกเงินทดรองจ่ายค่าห้องพักดังกล่าว เป็นเรื่อง ตัวแทนเรียกเงินที่ออกทดรองจ่ายไปในการจัดทำกิจการของ ตัวการ มิใช่เป็นเรื่องโจทก์เป็นพ่อค้าเรียกเอาเงินที่ ได้ออกทดรองไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)(เดิม) ซึ่งในกรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายกำหนด อายุความไว้เป็นการเฉพาะต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164(เดิม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2965/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการครอบครองที่ดินและสัญญาเช่า: การพิสูจน์ว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ที่ดินที่โจทก์ยกให้แก่ทางราชการซึ่งต่อมาทางราชการมีโครงการจัดสรรสำหรับราษฎรอยู่อาศัยร่วมกันเป็นคนละแปลงกับที่ดินพิพาทที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทจัดสรรสำหรับราษฎรอาศัยร่วมกัน และเมื่อจำเลยเป็นผู้ทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทกับโจทก์ จำเลยจะเถียงว่าโจทก์ไม่มีสิทธิให้เช่าที่ดินพิพาทหาได้ไม่โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
of 23