คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชวลิต พรายภู่

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 225 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2826/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้จากสัญญาสัญญาประนีประนอมยอมความ เป็นหนี้กู้ยืมเงินและจำนอง รวมถึงดอกเบี้ยผิดนัด
ภายหลังจากโจทก์ จำเลย และว.ทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยจำเลย และว. ยอมรับผิดร่วมกันชดใช้เงินค่าใช้จ่ายในการส่งคนงานไปทำงานต่างประเทศจำนวน 293,813 บาท ให้แก่โจทก์แล้ว โจทก์จำเลยได้ตกลงกันใหม่ว่าจำเลยรับว่าได้กู้ยืมเงินโจทก์ 293,813 บาท และจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้เงินกู้ดังกล่าว ดังนี้ถือได้ว่าโจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาแปลงหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นหนี้เงินกู้และจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้เงินกู้ที่ปรากฏข้อความในหนังสือสัญญาจำนอง สัญญาจำนองจึงมีผลบังคับตามกฎหมาย การที่โจทก์จะรับชำระหนี้จำนองไว้บางส่วนตามหนังสือสัญญาชำระหนี้ซึ่งมีข้อความสงวนสิทธิในการจะฟ้องบังคับจำนองหากจำเลยชำระหนี้จำนองไม่ครบ ภายหลังจากที่โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยแล้วก็ตาม ไม่ถือว่าโจทก์สละเจตนาที่จะบังคับจำนองกับจำเลยยังถือเป็นหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองอยู่ การบอกกล่าวบังคับจำนองชอบแล้ว แม้ในหนังสือสัญญาจำนองมีข้อความระบุว่าไม่มีดอกเบี้ยก็ตามแต่หนังสือสัญญาจำนองนี้เป็นทั้งสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาจำนองข้อความที่ว่าไม่มีดอกเบี้ยจึงหมายความว่าที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์293,813 บาท นั้นไม่ต้องเสียดอกเบี้ยและสัญญาจำนองก็ไม่ต้องรับผิดในดอกเบี้ยตามสัญญากู้ยืมเงินแต่เมื่อจำเลยมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามกำหนดเวลาในหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนอง จำเลยย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 244

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2820/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับตัวเด็กและหญิงเพื่อการอนาจารและค้าประเวณี การรับฟังพยานบอกเล่า และการรับรองสำเนาเอกสาร
แม้คำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายจะเป็นพยานบอกเล่าแต่กฎหมายก็ไม่ได้ห้ามไม่ให้รับฟัง เพียงแต่ลำพังมีน้ำหนักน้อยจึงรับฟังคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายประกอบกับพยานบุคคลและพยานเอกสารลงโทษจำเลยที่ 1 ได้ ภาพถ่ายธนบัตรที่มีลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 ซึ่งพนักงานสอบสวนลงลายมือชื่อรับรองว่าถ่ายมาจากต้นฉบับจริงเป็นสำเนาเอกสารที่เจ้าพนักงานรับรองจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านความถูกต้องแท้จริงย่อมรับฟังได้โดยชอบตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 238 จำเลยรับเด็กหญิงและหญิงหลายคนซึ่งมีผู้จัดหา ล่อไปหรือชักพาไปเพื่อการอนาจารเพื่อสำเร็จความใคร่ของผู้อื่น โดยรับไว้หลายครั้งครั้งละ 2 คนบ้าง 1 คนบ้างนั้น การรับไว้แต่ละครั้งเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน แต่ในครั้งเดียวกันแม้รับเด็กหญิงหรือหญิงไว้หลายคนก็เป็นการกระทำกรรมเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2806/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: การลงวันที่เช็คหลังเกิดเหตุ และสิทธิของผู้รับอาวัลในการไล่เบี้ย
การที่ผู้ตายได้ออกเช็คพิพาทโดยเว้นรายการวันที่ออกเช็คไว้ให้ลูกแชร์คือผู้ทรงไป โดยมีข้อตกลงว่าให้ผู้ทรงไปลงวันที่เองตามกำหนดที่เปียแชร์ได้ แต่นายวงแชร์ถึงแก่ความตาย วงแชร์จึงล้มไม่มีการเปีย เวลาพึงชำระหนี้ตามเช็คที่อาศัยการเปียแชร์เป็นวิธีกำหนดจึงตกเป็นการพ้นวิสัย และจะอนุมานจากพฤติการณ์ทั้งปวงก็มิได้เจ้าหนี้คือผู้ทรงเช็คย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ชำระหนี้ได้โดยพลัน แต่ผู้ตายถูกคนร้ายฆ่าเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2528 สิทธิของผู้ทรงที่จะลงวันที่สั่งจ่ายในเช็คพิพาทเพื่อบังคับตามสิทธิเรียกร้องที่มีอยู่ต่อผู้สั่งจ่ายจึงเริ่มมีขึ้นและมีอยู่ตลอดไปถึงวันครบกำหนดอายุความที่อาจบังคับใช้สิทธิเรียกร้องตามมูลตั๋วเงินนั้น ซึ่งสิทธิเรียกร้องดังกล่าวมีกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่วันตั๋วเงินถึงกำหนด ตามที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1002 ปรากฏว่าผู้ทรงได้ลงวันที่สั่งจ่ายในเช็คพิพาทเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2529 ยังอยู่ในกำหนดเวลาที่อาจใช้สิทธิได้ดังกล่าว จึงเป็นการลงวันที่สั่งจ่ายโดยถูกต้องแท้จริงตามสิทธิโดยสุจริตแล้วรายการในเช็คพิพาทจึงสมบูรณ์ครบถ้วน เมื่อการลงวันที่ในเช็คพิพาทมีผลตามกฎหมายวันที่ลงในเช็คพิพาทอันเป็นวันที่เช็คถึงกำหนดใช้เงินที่ปรากฏดังกล่าวคือวันที่ 20 พฤศจิกายน 2529 และธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินในวันนั้น โจทก์ผู้ทรงฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2530 จึงไม่เกินกำหนด 1 ปี ยังไม่ขาดอายุความ โจทก์สลักหลังเช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คออกให้แก่ผู้ถือ จึงมีผลเป็นการประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่าย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921,989 เมื่อได้ชำระเงินตามเช็คพิพาทให้แก่ผู้ทรงตามที่เรียกร้องแล้ว โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะผู้รับอาวัลที่ได้ใช้เงินตามเช็คไปแล้ว ย่อมได้สิทธิในอันจะไล่เบี้ยเอาแก่ผู้สั่งจ่ายซึ่งเป็นบุคคลที่ตนได้ประกันไว้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 940 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2806/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาทลงวันที่หลังออกเช็ค: สิทธิเรียกร้อง, อายุความ, การสลักหลัง, และการไล่เบี้ย
ผู้ตายได้ออกเช็คพิพาทโดยเว้นรายการวันที่ออกเช็คไว้ให้ลูกแชร์ คือผู้ทรงไป โดยมีข้อตกลงว่าให้ผู้ทรงไปลงวันที่เองตามกำหนดที่เปียแชร์ได้ แต่นายวงแชร์ถึงแก่ความตาย วงแชร์จึงล้มไม่มีการเปีย เวลาพึงชำระหนี้ตามเช็คที่อาศัยการเปียแชร์เป็นวิธีกำหนดจึงตกเป็นการพ้นวิสัย และจะอนุมานจากพฤติการณ์ทั้งปวงก็มิได้ เจ้าหนี้คือผู้ทรงเช็คย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ชำระหนี้ได้โดยพลัน แต่ผู้ตายถูกคนร้ายฆ่าเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน2528 สิทธิของผู้ทรงที่จะลงวันที่สั่งจ่ายในเช็คพิพาทเพื่อบังคับตามสิทธิเรียกร้องที่มีอยู่ต่อผู้สั่งจ่ายจึงเริ่มมีขึ้นและมีอยู่ตลอดไปถึงวันครบกำหนดอายุความที่อาจบังคับใช้สิทธิเรียกร้องตามมูลตั๋วเงินนั้น ซึ่งสิทธิเรียกร้องดังกล่าวมีกำหนดอายุความ1 ปี นับแต่วันตั๋วเงินถึงกำหนด ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1002 ปรากฏว่าผู้ทรงได้ลงวันที่สั่งจ่ายในเช็คพิพาทเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2529 ยังอยู่ในกำหนดเวลาที่อาจใช้สิทธิได้ดังกล่าว จึงเป็นการลงวันที่สั่งจ่ายโดยถูกต้องแท้จริงตามสิทธิโดยสุจริตแล้ว รายการในเช็คพิพาทจึงสมบูรณ์ครบถ้วน เมื่อการลงวันที่ในเช็คพิพาทมีผลตามกฎหมาย วันที่ลงในเช็คพิพาทอันเป็นวันที่เช็คถึงกำหนดใช้เงินที่ปรากฏดังกล่าวคือวันที่ 20 พฤศจิกายน 2529 และธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินในวันนั้น โจทก์ผู้ทรงฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2530 จึงไม่เกินกำหนด 1 ปี ยังไม่ขาดอายุความ โจทก์สลักหลังเช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คออกให้แก่ผู้ถือ จึงมีผลเป็นการประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่าย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921,989 เมื่อได้ชำระเงินตามเช็คพิพาทให้แก่ผู้ทรงตามที่เรียกร้องแล้ว โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะผู้รับอาวัลที่ได้ใช้เงินตามเช็คไปแล้ว ย่อมได้สิทธิในอันจะไล่เบี้ยเอาแก่ผู้สั่งจ่ายซึ่งเป็นบุคคลที่ตนได้ประกันไว้ตามมาตรา 940 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2777/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาท การให้การที่อ้างกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ไม่ถือว่าขัดแย้ง
ที่ดินของโจทก์จำเลยมีเขตติดต่อกัน ที่ดินของจำเลยเป็นที่ดินโฉนดแบบเก่า ทำการปูโฉนดสอบเขตไม่ได้ขณะจำเลยให้การ จำเลยจึงยังอาจไม่ทราบแน่ชัดว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตที่ดินของโจทก์หรือของจำเลยดังนั้นการที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทและจำเลยให้การว่าคันคูดินอยู่ในเขตที่ดินของจำเลยหากที่ดินบริเวณคันคูดินอยู่ในเขตที่ดินของโจทก์ที่ดินบริเวณดังกล่าวก็ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์นั้น นับว่ามีเหตุผลที่จำเลยจะให้การเช่นนั้นได้ ยังถือไม่ได้ว่าคำให้การของจำเลยขัดกันไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2716/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ชิงทรัพย์โดยข่มขู่ด้วยการแสดงอาวุธและท่าทางข่มขู่ ผู้เสียหายกลัวจึงมอบเงินให้
จำเลยทั้งสองเดินเข้ามาหาผู้เสียหายทั้งสองและจำเลยที่ 1พูดขอเงิน 5 บาท ผู้เสียหายที่ 1 บอกว่าไม่ค่อยมีเงิน จำเลยคนหนึ่งก็พูดว่ามีเท่าไรก็เอามาเถอะ พร้อมกับที่จำเลยทั้งสองเดินเข้ามาหาผู้เสียหายทั้งสอง จำเลยที่ 2 ถือของแข็งยาวประมาณ1 แขน ห่อด้วยกระดาษและเคาะของแข็งกับฝ่ามืออีกข้างหนึ่ง ส่วนจำเลยที่ 1 ยกขาข้างหนึ่งขึ้นมาและใช้มือข้างหนึ่งตบที่ขากางเกงข้างนั้น ผู้เสียหายทั้งสองกลัว จึงให้เงินแก่จำเลยที่ 1 ไป ดังนี้การกระทำและคำพูดของจำเลยทั้งสองถือได้ว่าเป็นการขู่เข็ญผู้เสียหายทั้งสองว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อให้ผู้เสียหายทั้งสองส่งเงินให้แก่จำเลยทั้งสองนั่นเอง จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานร่วมกันชิงทรัพย์ตั้งแต่สองคนขึ้นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2656/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมา: การชำระเงินค่าจ้างเมื่อผลงานเสร็จและผ่านการตรวจรับ แม้จำเลยยังไม่ได้รับเงินจากผู้ว่าจ้าง
ข้อความในสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง ข้อ 5 ที่ว่า "ผู้ว่าจ้าง(จำเลย) ตกลงจ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ผู้รับจ้าง (โจทก์) เป็นจำนวนเงิน 36,977 บาท เมื่อผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างตกลงทำสัญญาจ้างเหมา เงินส่วนที่เหลือจะจ่ายเป็นงวด งวดละ 1 เดือน ตามผลงานที่ผู้รับจ้างทำเสร็จจริงและได้ผ่านการตรวจรับงานจากบริษัท ว. และและวิศวกรผู้ควบคุมงานแล้ว โดยผู้ว่าจ้างจะจ่ายเงินให้แก่ผู้รับจ้างภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ผู้ว่าจ้างได้รับเงินงวดนั้นจากบริษัท ว." นั้น สามารถแยกพิจารณาได้เป็น 2 ส่วน ส่วนแรกที่ว่า "เงินส่วนที่เหลือจะจ่ายเป็นงวด งวดละ 1 เดือน ตามผลงานที่ผู้รับจ้างทำเสร็จจริง และได้ผ่านการตรวจรับงานตามที่ระบุไว้ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้าง แต่ข้อความส่วนที่สองที่ว่า" โดยผู้ว่าจ้างจะจ่ายเงินให้แก่ผู้รับจ้างภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ผู้ว่าจ้างได้รับเงินงวดนั้นจากบริษัทว." หาใช่เงื่อนไขบังคับก่อนที่จะกำหนดการชำระเงินค่าจ้างไม่ เป็นแต่เพียงข้อตกลงที่มุ่งหมายให้จำเลยเร่งรัดให้บริษัท ว. ชำระค่าก่อสร้างแก่จำเลยตามสัญญาที่จำเลยทำกับบริษัท ว. เพื่อนำเงินมาชำระแก่โจทก์เมื่อโจทก์ทำงานเสร็จและผ่านการตรวจรับงานตามเงื่อนไขในสัญญาส่วนแรกแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ทำงานเสร็จส่งมอบงานและมีการตรวจรับงานตามเงื่อนไขแล้ว จำเลยต้องชำระค่าจ้างให้โจทก์ จำเลยจะอ้างว่าจำเลยยังไม่ได้รับเงินงวดจากบริษัท ว. จึงไม่ต้องชำระค่าจ้างให้โจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2646/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การหลังนัดชี้สองสถาน: ข้อจำกัดและเหตุผลที่ต้องห้ามตามกฎหมาย
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การในวันนัดชี้สองสถาน เนื้อหาสาระที่ขอแก้ไขมิใช่ปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทั้งเป็นข้อต่อสู้ที่มีพื้นฐานข้อเท็จจริงที่มีอยู่ก่อนจำเลยที่ 1 และที่ 2 อาจยกขึ้นต่อสู้ได้ก่อนวันชี้สองสถาน และจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้ระบุอ้างเหตุขัดข้องที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่อาจยื่นคำร้องดังกล่าวได้ก่อนวันชี้สองสถาน คำร้องของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 วรรคสอง (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2645/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่เป็นไปตามรูปแบบ เหตุไม่โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และมิได้ยกข้อเท็จจริง/ข้อกฎหมายใหม่
ฎีกาของโจทก์มี 3 ข้อ กล่าวคือ ข้อ 1. เป็นคำฟ้อง คำให้การของจำเลยทั้งสอง คำพิพากษาศาลชั้นต้น และคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ข้อ 2. โจทก์นำคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นมาเขียนไว้เกือบทั้งหมด และข้อ 3.โจทก์เขียนไว้ในฎีกาเพียงว่า "โจทก์ขอถือเอาคำอุทธรณ์ของโจทก์เป็นส่วนหนึ่งของคำฎีกาโจทก์" กับท้ายฎีกาของโจทก์ระบุว่า ดังนั้นขอศาลฎีกาได้โปรดพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเสียหายจำนวน395,147 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ฎีกาของโจทก์เช่นนี้เป็นฎีกาที่โจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาไม่ชอบและโจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์เพราะเหตุใด คำอุทธรณ์ของโจทก์ที่โจทก์ขอถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฎีกาโจทก์นั้นก็เป็นการคัดค้านเฉพาะคำพิพากษาศาลชั้นต้น ไม่อาจนำมาเป็นคำคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ ฎีกาของโจทก์จึงเป็นฎีกาที่มิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงไว้โดยชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก (เดิม)ศาลฎีกาไม่อาจรับวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2613/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน - อายุความฟ้องขับไล่ - ศาลไม่รับวินิจฉัยประเด็นการให้การขัดแย้ง
เมื่อศาลชั้นต้นชี้สองสถานมิได้กำหนดประเด็นว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่ และในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 3ก็วินิจฉัยให้จำเลยเป็นฝ่ายชนะคดีโดยฟังว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยมิได้วินิจฉัยในเรื่องจำเลยแย่งการครอบครองที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยให้การและอุทธรณ์ขัดแย้งกัน โดยในตอนแรกให้การและอุทธรณ์ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของจำเลย ส่วนในตอนหลังให้การและอุทธรณ์ว่าหากที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยก็ครอบครองมา 1 ปี แล้วคำฟ้องโจทก์ขาดอายุความ คำให้การและอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นคำให้การและอุทธรณ์ที่เคลือบคลุมนั้น ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ฎีกาของโจทก์จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 23