คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เริงธรรม ลัดพลี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 325 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3558/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วมประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลภายนอก นายจ้างและผู้รับประกันภัยต้องรับผิดร่วม
จำเลยที่ 1 เป็นคนขับรถยนต์คันหนึ่ง ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 และเป็นคนขับรถยนต์อีกคันหนึ่งซึ่งเอาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 4 วันเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันดังกล่าวเฉี่ยวชนกับรถยนต์คันที่จำเลยที่ 2 เป็นคนขับในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 3 เป็นเหตุให้รถยนต์คันที่จำเลยที่ 2 ขับเสียหลักแล่นไปชนกับรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ทำให้รถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยได้รับความเสียหาย โจทก์จ่ายค่าซ่อมรถยนต์ให้แก่ผู้เอาประกันภัยแล้วจึงรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยมาเรียกร้องจากจำเลย ดังนี้ แม้จะได้ความว่าเหตุเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ด้วยเท่า ๆ กับความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 แต่เมื่อได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รถยนต์ที่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้รับประกันภัยไว้ จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2ล้วนมีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายดังกล่าวทั้งหมด จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องร่วมกันรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างลูกหนี้ร่วม โดยจำเลยทั้งสองหรือคนใดคนหนึ่งต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้รับช่วงสิทธิเต็มจำนวนความเสียหายโดยจะแบ่งความรับผิดต่อโจทก์หาได้ไม่ จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นนายจ้างและจำเลยที่ 4ผู้รับประกันภัยจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ในผลแห่งละเมิดดังกล่าวทั้งหมดเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3523/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบัตรลูกตะกร้อพลาสติก: ละเมิดหรือไม่พิจารณาที่ผลิตภัณฑ์ ไม่ใช่กรรมวิธีการผลิต
สิทธิบัตรที่โจทก์ร่วมได้รับเป็นสิทธิบัตรการประดิษฐ์ลูกตระกร้อพลาสติกไม่ใช่การประดิษฐ์ที่ได้มาซึ่งกรรมวิธีใหม่ การวินิจฉัยว่าการกระทำของผู้ผลิตรายใดจะเป็นการละเมิดสิทธิบัตรของโจทก์ร่วมหรือไม่ จะต้องพิจารณาที่ผลิตภัณฑ์เป็นหลัก มิใช่พิจารณาที่กรรมวิธีการผลิต ดังนั้นไม่ว่าผู้ผลิตรายใดซึ่งผลิตตะกร้อพลาสติกจะพัฒนาวิธีการสานตะกร้อพลาสติกให้ดีกว่าหรือต่างไปจากวิธีการสานของโจทก์ร่วมเพียงใดก็ตามหากลูกตะกร้อพลาสติกที่ผลิตออกมามีรูปทรงรูปร่างลักษณะเหมือนกับของโจทก์ร่วมแล้ว ถือว่าผลิตภัณฑ์นั้นผลิตโดยละเมิดข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรของโจทก์ร่วม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3512/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิ vs. ปลอมเอกสารทั่วไป และผลของการถอนฟ้องอาญา
ในวันสืบพยานจำเลยแต่ละนัด จำเลยนำพยานเข้าสืบครั้งละ1 ปาก คงมีการสืบพยาน 2 ปากเพียงครั้งเดียว และเลื่อนไปขอสืบพยานประเด็นอีกหลายปาก ซึ่งรวมพยาน 2 ปาก ที่ศาลชั้นต้นงดสืบด้วย ศาลที่รับประเด็นไม่ได้สืบเพราะจำเลยไม่ไปศาล เมื่อส่งประเด็นคืนจำเลยขอเลื่อนคดีและแถลงรับรองว่าถึงวันนัดจำเลยไม่มีพยานมาสืบก็จะไม่ติดใจสืบ พอถึงวันนัดจำเลยไม่สามารถนำตัวพยานมาสืบได้ ศาลชั้นต้นสอบจำเลยแล้วเห็นว่า พยานที่จำเลยจะขอสืบเป็นพยานแวดล้อม ไม่ใช่ประเด็นหลักไม่เสียเปรียบในการต่อสู้คดี จึงถือว่าจำเลยไม่ติดใจสืบพยานทั้งสองปาก ตามเหตุผลดังกล่าวพอถือได้ว่าจำเลยมีพฤติการณ์ประวิงคดีที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจงดสืบพยาน 2 ปาก ดังกล่าวจึงชอบแล้ว
ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยฐานปลอมเอกสารสิทธิเป็น3 กระทง ตาม ป.อ. มาตรา 265 โดยปรับบทลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 264 ด้วยนั้นเห็นว่า เมื่อผิดบทเฉพาะตามมาตรา 265 แล้ว ก็ไม่จำต้องปรับบททั่วไปตามมาตรา264 อีก
เอกสารสิทธิตาม ป.อ. มาตรา 1(9) หมายถึงเอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ แต่ใบเสนอราคาเป็นเพียงคำเสนอที่จะขายหินให้แก่โจทก์ร่วม ยังไม่แน่ว่าโจทก์ร่วมจะตกลงซื้อหินหรือไม่ ใบเสนอราคาดังกล่าวจึงมิใช่เอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อสิทธิ มิใช่เอกสารสิทธิตามความใน ป.อ. มาตรา 1(9) การกระทำของจำเลยซี่งปลอมใบเสนอราคาและใช้เอกสารดังกล่าว จึงไม่เป็นการปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอม คงเป็นความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารปลอมตาม ป.อ. มาตรา 264 วรรคแรก,268 วรรคแรกประกอบมาตรา 264 วรรคแรก เท่านั้น
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยคืนเงินจำนวน 850,000 บาท แก่โจทก์ร่วม แต่โจทก์ร่วมได้ถอนคำร้องทุกข์ในความผิดฐานฉ้อโกง ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39(2) โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้บังคับจำเลยใช้เงินคืนแก่โจทก์ร่วม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3512/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารปลอม, เอกสารสิทธิ, การงดสืบพยาน, และผลกระทบจากการถอนฟ้อง
ในวันสืบพยานจำเลยแต่ละนัด จำเลยนำพยานเข้าสืบครั้งละ1 ปาก คงมีการสืบพยาน 2 ปากเพียงครั้งเดียว และเลื่อนไปขอสืบพยานประเด็นอีกหลายปาก ซึ่งรวมพยาน 2 ปาก ที่ศาลชั้นต้นงดสืบด้วยศาลที่รับประเด็นไม่ได้สืบเพราะจำเลยไม่ไปศาล เมื่อส่งประเด็นคืนจำเลยขอเลื่อนคดีและแถลงรับรองว่าถึงวันนัดจำเลยไม่มีพยานมาสืบก็จะไม่ติดใจสืบ พอถึงวันนัดจำเลยไม่สามารถนำตัวพยานมาสืบได้ศาลชั้นต้นสอบจำเลยแล้วเห็นว่า พยานที่จำเลยจะขอสืบเป็นพยานแวดล้อมไม่ใช่ประเด็นหลักไม่เสียเปรียบในการต่อสู้คดี จึงถือว่าจำเลยไม่ติดใจสืบพยานทั้งสองปาก ตามเหตุผลดังกล่าวพอถือได้ว่าจำเลยมีพฤติการณ์ประวิงคดีที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจงดสืบพยาน 2 ปากดังกล่าวจึงชอบแล้ว ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยฐานปลอมเอกสารสิทธิเป็น3 กระทง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 โดยปรับบทลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 ด้วยนั้นเห็นว่า เมื่อผิดบทเฉพาะตามมาตรา 265 แล้ว ก็ไม่จำต้องปรับบททั่วไปตามมาตรา 264 อีก เอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(9) หมายถึงเอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ แต่ใบเสนอราคาเป็นเพียงคำเสนอที่จะขายหินให้แก่โจทก์ร่วมยังไม่แน่ว่าโจทก์ร่วมจะตกลงซื้อหินหรือไม่ ใบเสนอราคาดังกล่าวจึงมิใช่เอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อสิทธิ มิใช่เอกสารสิทธิตามความในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(9) การกระทำของจำเลยซึ่งปลอมใบเสนอราคาและใช้เอกสารดังกล่าว จึงไม่เป็นการปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอม คงเป็นความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 วรรคแรก 268 วรรคแรกประกอบมาตรา 264 วรรคแรก เท่านั้น ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยคืนเงินจำนวน 850,000 บาท แก่โจทก์ร่วม แต่โจทก์ร่วมได้ถอนคำร้องทุกข์ในความผิดฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้บังคับจำเลยใช้เงินคืนแก่โจทก์ร่วม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3206/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีและการกระทำแทนของกรรมการบริษัท: การวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามที่คู่ความนำสืบเท่านั้น
คำให้การต่อสู้เพียงว่า นายแสงชัยนายไชยยงค์ และนายเจริญ จะเป็นกรรมการมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์หรือไม่ เพียงใด จำเลยไม่รับรองและบุคคลทั้งสามจะมีความสามารถสมบูรณ์ตามกฎหมายเพียงใดหรือไม่ขณะที่ทำหนังสือมอบอำนาจจำเลยไม่ทราบ ลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจในช่องผู้มอบอำนาจ ไม่ใช่ลายมือชื่ออันแท้จริงของผู้มอบอำนาจ เป็นลายมือปลอม ตราประทับก็เป็นตราปลอมเท่านั้น คำให้การดังกล่าวในตอนแรกที่ว่ากรรมการของโจทก์ทั้งสามจะมีอำนาจกระทำแทนโจทก์หรือไม่เพียงใด จำเลยไม่รับรองนั้น เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งถือว่าไม่ได้ทำการปฏิเสธจึงไม่มีประเด็นจะต้องวินิจฉัย ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่านายแสงชัยนายไชยยงค์ และนายเจริญ เป็นกรรมการ ซึ่งกรรมการ 2 ใน 3 ของจำนวนกรรมการดังกล่าวลงชื่อร่วมกันและประทับตราของบริษัทโจทก์มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ตามฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยในปัญหาว่านายแสงชัยกรรมการคนหนึ่งในจำนวนสองคนของโจทก์ที่ได้ลงชื่อร่วมกันมอบอำนาจให้นายจิรัฐฟ้องคดีนี้ได้ลาออกจากการเป็นกรรมการโจทก์แล้วหรือไม่จึงเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ภาค 3ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3206/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจปลอมและการวินิจฉัยประเด็นนอกคำคู่ความ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำให้การต่อสู้เพียงว่า นายแสงชัย นายไชยยงค์ และนายเจริญจะเป็นกรรมการมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์หรือไม่ เพียงใด จำเลยไม่รับรองและบุคคลทั้งสามจะมีความสามารถสมบูรณ์ตามกฎหมายเพียงใดหรือไม่ ขณะที่ทำหนังสือมอบอำนาจจำเลยไม่ทราบ ลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจในช่องผู้มอบอำนาจ ไม่ใช่ลายมือชื่ออันแท้จริงของผู้มอบอำนาจ เป็นลายมือปลอม ตราประทับก็เป็นตราปลอมเท่านั้น คำให้การดังกล่าวในตอนแรกที่ว่ากรรมการของโจทก์ทั้งสามจะมีอำนาจกระทำแทนโจทก์หรือไม่เพียงใด จำเลยไม่รับรองนั้น เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งถือว่าไม่ได้ให้การปฏิเสธจึงไม่มีประเด็นจะต้องวินิจฉัย ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่านายแสงชัย นายไชยยงค์ และนายเจริญ เป็นกรรมการ ซึ่งกรรมการ 2 ใน 3ของจำนวนกรรมการดังกล่าวลงชื่อร่วมกันและประทับตราของบริษัทโจทก์มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ตามฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยในปัญหาว่านายแสงชัยกรรมการคนหนึ่งในจำนวนสองคนของโจทก์ที่ได้ลงชื่อร่วมกันมอบอำนาจให้นายจิรัฐฟ้องคดีนี้ได้ลาออกจากการเป็นกรรมการโจทก์แล้วหรือไม่จึงเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ภาค 3 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1624/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหลังศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้น คดีอาญาจำคุกเกินห้าปี ถือเป็นการฎีกาที่ไม่ได้รับอนุญาต
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลย 6 ปี 8 เดือน ที่โจทก์ฎีกาว่า ตามพฤติการณ์แห่งคดีส่อแสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยได้ว่า จำเลยมีเจตนาเข้าร่วมกับพวกของจำเลยฆ่าผู้ตาย จึงเป็นตัวการร่วมกับคนร้ายใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายนั้น เป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 1 อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1624/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง: การวินิจฉัยเจตนาตัวการร่วม, ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลย 6 ปี 8 เดือน ที่โจทก์ฎีกาว่า ตามพฤติการณ์แห่งคดีส่อแสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยได้ว่า จำเลยมีเจตนาเข้าร่วมกับพวกของจำเลยฆ่าผู้ตายจึงเป็นตัวการร่วมกับคนร้ายใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายนั้น เป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 1 อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1401/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องหนี้: ผลของการผ่อนชำระหลังลูกหนี้ถึงแก่กรรม และการนับอายุความใหม่
การผ่อนชำระหนี้ของจำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันและอาวัลตั๋วเงินกระทำภายในกำหนด 1 ปี นับแต่จำเลยที่ 1 ลูกหนี้ถึงแก่กรรมจึงเป็นการรับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/14 เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง ต้องเริ่มนับอายุความกันใหม่ตามอายุความแห่งมูลหนี้เดิม นับแต่เมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนั้นสิ้นสุดลง สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกฎหมายมิได้กำหนดไว้ว่ามีอายุความเท่าไรจึงถือตามกำหนดอายุความทั่วไป ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/30 คือมีกำหนด 10 ปี อายุความที่ผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินจะฟ้องผู้รับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินมีกำหนดสามปีนับแต่วันที่ตั๋วสัญญาใช้เงินแต่ละฉบับถึงกำหนดจ่ายเงิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1001ประกอบด้วยมาตรา 940 และมาตรา 985 จำเลยที่ 3 ได้ผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์ครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 8มิถุนายน 2527 และโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2530 จึงเป็นการฟ้องจำเลยที่ 3 ให้รับผิดชำระเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีภายในกำหนดอายุความ 10 ปี และฟ้องให้จำเลยที่ 3 รับผิดชำระเงินในฐานะเป็นผู้รับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินภายในกำหนด 3 ปีนับแต่เมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดลง ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1253/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นต้องจดแจ้งในทะเบียนผู้ถือหุ้นจึงจะมีผลทางกฎหมาย ผู้ถือหุ้นที่ไม่ได้จดแจ้งไม่มีสิทธิออกเสียง
การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1129 วรรคสาม จะนำมาใช้แก่บริษัทหรือบุคคลภายนอกไม่ได้จนกว่าจะได้จดแจ้งการโอนทั้งชื่อและสำนักของผู้รับโอนนั้นลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น เมื่อจำเลยยังไม่ได้จดแจ้งการรับโอนหุ้นของโจทก์ทั้งสองลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น จึงไม่ถือว่าโจทก์ทั้งสองเป็นผู้ถือหุ้นไม่มีสิทธิที่จะเข้าประชุมในฐานะผู้ถือหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1176 และไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนมติของที่ประชุมดังกล่าว การประชุมวิสามัญเป็นการประชุมใหญ่ครั้งอื่นนอกจากการประชุมสามัญที่กฎหมายกำหนดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นทั่วไปอย่างน้อยครั้งหนึ่งทุกระยะเวลาสิบสองเดือน ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1171 ซึ่งการประชุมวิสามัญโดยปกติจะเป็นเรื่องรีบด่วนสำคัญที่ต้องให้ที่ประชุมใหญ่วินิจฉัย ไม่อาจรอจนกว่าจะมีการประชุมสามัญได้และผู้ถือหุ้นอาจต้องออกเสียงลงมติดังเช่นในกรณีเพิ่มทุนและลดทุนของจำเลยนี้ หากไม่มีการพักการโอนหุ้นก็อาจมีปัญหาในการตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าประชุมและผู้มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน ที่ประชุมกรรมการจำเลยจึงมีมติให้ปิดสมุดพักการโอนหุ้นได้ไม่ขัดต่อกฎหมายแต่อย่างใด
of 33