คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปรีชา เฉลิมวณิชย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,328 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2580/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องเคลือบคลุมในคดีประกันภัย จำเลยไม่ต้องรับผิดหากคำฟ้องไม่แสดงนิติสัมพันธ์ผู้เอาประกันภัย
จำเลยผู้รับประกันวินาศภัยจะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนก็ต่อเมื่อผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ก่อวินาศภัยอันจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุการณ์นั้นแต่เมื่อคำฟ้องบรรยายเพียงว่าจำเลยเป็นผู้รับประกันภัยรถบรรทุกทั้งสองคันที่ไปก่อนเหตุวินาศภัยขึ้นโดยมิได้บรรยายถึงบุคคลผู้เอาประกันที่ต้องผูกพันรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในเบื้องต้นอันเป็นนิติสัมพันธ์ตามกรมธรรม์ประกันภัยที่จะเป็นเหตุให้จำเลยต้องร่วมรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้ได้รับความเสียหายเช่นนี้เป็นคำฟ้องที่มิได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้นจึงเป็นคำฟ้องเคลือบคลุม โจทก์เพียงแต่ขอให้ย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่มิได้ขอให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดีจึงเป็นคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และฎีกาเพียงศาลละ200บาทตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ตาราง1ข้อ2(ข)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2580/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องเคลือบคลุมในคดีประกันภัย จำเป็นต้องระบุความสัมพันธ์ของผู้เอาประกันภัยกับความรับผิด
จำเลยผู้รับประกันวินาศภัยจะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนก็ต่อเมื่อผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ก่อวินาศภัยอันจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุการณ์นั้น แต่เมื่อคำฟ้องบรรยายเพียงว่าจำเลยเป็นผู้รับประกันภัยรถบรรทุกทั้งสองคันที่ไปก่อนเหตุวินาศภัยขึ้นโดยมิได้บรรยายถึงบุคคลผู้เอาประกันที่ต้องผูกพันรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในเบื้องต้นอันเป็นนิติสัมพันธ์ตามกรมธรรม์ประกันภัยที่จะเป็นเหตุให้จำเลยต้องร่วมรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้ได้รับความเสียหายเช่นนี้ เป็นคำฟ้องที่มิได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้น จึงเป็นคำฟ้องเคลือบคลุม โจทก์เพียงแต่ขอให้ย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่มิได้ขอให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดี จึงเป็นคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และฎีกาเพียงศาลละ 200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตาราง 1 ข้อ 2(ข)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2521/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คคืนเงิน, การไล่เบี้ย, อายุความ, การสลักหลัง, สิทธิเรียกร้อง
โจทก์มิได้เสียค่าอ้างเอกสาร เพราะไม่ทราบว่ามีค่าอ้างเอกสารค้างชำระอยู่ ครั้นเมื่อโจทก์ทราบก็รีบจัดการชำระค่าอ้างเอกสารก่อนยื่นคำแก้อุทธรณ์และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับไว้ อันเป็นการแก้ไขข้อผิดหลงให้ถูกต้องแล้วไม่ทำให้การรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวของโจทก์เสียไป
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้รับเช็คตามฟ้องจากจำเลยทั้งสามเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์ โจทก์สลักหลังเช็คนั้นไปขายลดแก่ธนาคารต่าง ๆ เมื่อเช็คดังกล่าวถึงกำหนด ธนาคารที่รับซื้อลดเช็คนำไปเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินทุกฉบับ โจทก์ได้ใช้เงินตามเช็คนั้นให้แก่ธนาคารผู้ทรงเช็คเรียบร้อยแล้วและได้รับเช็คคืนมา พร้อมทั้งมีคำขอบังคับให้จำเลยรับผิดชำระเงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ย จึงเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ส่วนข้อที่ว่าโจทก์นำเงินไปชำระแก่ธนาคารและรับเช็คคืนมาเมื่อวันที่เท่าใดเป็นเพียงรายละเอียดที่สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาท ซึ่งเป็นเช็คสั่งจ่ายเงินสดหรือสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ โจทก์สลักหลังเช็คพิพาทนำไปขายลดแก่ธนาคารต่าง ๆ ธนาคารผู้รับซื้อลดเช็คไว้ย่อมเป็นผู้ทรงเช็ค การสลักหลังของโจทก์จึงเป็นเพียงประกัน (อาวัล)สำหรับผู้สั่งจ่าย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 921 ประกอบมาตรา 989 โจทก์อยู่ในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ตามเช็คพิพาทที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อผู้ทรงเท่านั้น หาได้ถือว่าเป็นผู้สลักหลังตามกฎหมายไม่ เมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้ตามเช็คพิพาทแทนจำเลยไปแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยตาม ป.พ.พ.มาตรา 940 วรรคสาม ประกอบมาตรา 989 กรณีดังกล่าวนี้ไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะให้ต้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องภายในกำหนดเวลาเท่าใด สิทธิของโจทก์ในฐานะผู้ไล่เบี้ยจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 หาใช่มีอายุความ 6 เดือน ตามป.พ.พ.มาตรา 1003 ไม่
ฟ้องโจทก์บรรยายว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันสั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งหกฉบับรวมเป็นเงิน 1,757,500 บาท ชำระหนี้ให้โจทก์ แม้จำเลยที่ 1และที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระหนี้ตามเช็คพิพาททั้งหกฉบับแก่โจทก์ไปแล้วบางส่วนเป็นจำนวนเงิน 670,603.56 บาท โดยมิได้ให้การต่อสู้ว่าจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระไปนั้นเป็นเงินค่าดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดก็ตาม แต่ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกเงินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 อ้างว่าเป็นค่าดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทั้งปัญหาดังกล่าวเกิดจากการนำสืบของโจทก์ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นข้อเท็จจริงในกระบวนพิจารณาโดยชอบแม้ไม่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาเป็นประเด็นขึ้นมาได้ในชั้นอุทธรณ์และฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2467/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลและการกำหนดภูมิลำเนาของจำเลยที่ถูกจำคุก
ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 22 วรรคหนึ่ง คำว่า จำเลยถูกจับในท้องที่หนึ่ง หมายถึง เจ้าพนักงานจับจำเลยตามข้อหาที่ถูกกล่าวหาในคดีที่จะนำมาฟ้องเท่านั้น แต่ตามบันทึกการจับกุมจำเลยกับคำร้องขออนุญาตฟ้องคดีของโจทก์ปรากฏว่าจำเลยถูกจับในความผิดฐานพยายามฆ่าและต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่และความผิดฐานอื่น ๆ นอกเขตอำนาจศาลจังหวัดกบินทร์บุรีซึ่งมิใช่ความผิดตามที่ถูกกล่าวหาในคดีนี้ แต่เจ้าพนักงานตำรวจได้อายัดตัวจำเลยมาสอบสวนในคดีนี้และโจทก์ขอยื่นคำร้องขออนุญาตฟ้องคดีนี้ต่อศาลจังหวัดกบินทร์บุรีดังนี้ กรณีถือไม่ได้ว่าคดีนี้จำเลยถูกจับในท้องที่ซึ่งอยู่เขตอำนาจศาลจังหวัดกบินทร์บุรี
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 47 ภูมิลำเนาของผู้ที่ถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลหรือตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย ได้แก่ เรือนจำหรือทัณฑสถานที่ถูกจำคุกอยู่จนกว่าจะได้รับการปล่อยตัว บทบัญญัติดังกล่าวได้แยกผู้ที่ถูกจำคุกออกเป็น 2 กรณีต่างหากจากกัน กล่าวคือ ถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลเป็นกรณีหนึ่ง และถูกจำคุกตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นอีกกรณีหนึ่ง หาใช่เป็นกรณีเดียวกันไม่ เมื่อปรากฏว่าในขณะที่โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตฟ้องคดีนี้ต่อศาลจังหวัดกบินทร์บุรีซึ่งเป็นศาลชั้นต้น จำเลยถูกจำคุกตามคำพิพากษาซึ่งยังไม่ถึงที่สุดอยู่ที่เรือนจำอำเภอกบินทร์บุรี ดังนี้ จะถือว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่เรือนจำอำเภอกบินทร์บุรีตาม ป.พ.พ.มาตรา 47 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2467/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: การจับกุมและภูมิลำเนาผู้ต้องจำคุกไม่เป็นเหตุให้ฟ้องคดีต่อศาลในเขตอำนาจนั้นได้
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา22วรรคหนึ่งคำว่าจำเลยถูกจับในท้องที่หนึ่งหมายถึงเจ้าพนักงานจับจำเลยตามข้อหาที่ถูกกล่าวหาในคดีที่จะนำมาฟ้องเท่านั้นแต่ตามบันทึกการจับกุมจำเลยกับคำร้องขออนุญาตฟ้องคดีของโจทก์ปรากฎว่าจำเลยถูกจับในความผิดฐานพยายามฆ่าและต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่และความผิดฐานอื่นๆนอกเขตอำนาจศาลจังหวัดกบินทร์บุรีซึ่งมิใช่ความผิดตามที่ถูกกล่าวหาในคดีนี้แต่เจ้าพนักงานตำรวจได้อายัดตัวจำเลยมาสอบสวนในคดีนี้และโจทก์ขอยื่นคำร้องขออนุญาตฟ้องคดีนี้ต่อศาลจังหวัดกบินทร์บุรีดังนี้กรณีถือไม่ได้ว่าคดีนี้จำเลยถูกจับในท้องที่ซึ่งอยู่เขตอำนาจศาลจังหวัดกบินทร์บุรี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา47ภูมิลำเนาของผู้ที่ถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลหรือตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายได้แก่เรือนจำหรือทัณฑสถานที่ถูกจำคุกอยู่จนกว่าจะได้รับการปล่อยตัวบทบัญญัติดังกล่าวได้แยกผู้ที่ถูกจำคุกออกเป็น2กรณีต่างหากจากกันกล่าวคือถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลเป็นกรณีหนึ่งและถูกจำคุกตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นอีกกรณีหนึ่งหาใช่เป็นกรณีเดียวกันไม่เมื่อปรากฎว่าในขณะที่โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตฟ้องคดีนี้ต่อศาลจังหวัดกบินทร์บุรีซึ่งเป็นศาลชั้นต้นจำเลยถูกจำคุกตามคำพิพากษาซึ่งยังไม่ถึงที่สุดอยู่ที่เรือนจำอำเภอกบินทร์บุรีดังนี้จะถือว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่เรือนจำอำเภอกบินทร์บุรีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา47ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2384/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเป็นอันยุติเมื่อไม่โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจวินิจฉัยเอง
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าวเท่ากับโจทก์ยอมรับแล้วว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้ไม่ได้ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์จึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นการที่ศาลอุทธรณ์ยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัยเองว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องที่โจทก์ไม่ได้โต้แย้งแล้วจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2384/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง: ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นที่ไม่ได้อุทธรณ์ไม่ได้ การยอมรับคำวินิจฉัยศาลชั้นต้น
การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องและโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าวเท่ากับโจทก์ยอมรับแล้วว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้ไม่ได้ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ศาลอุทธรณ์ภาค3ยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัยเองว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องทั้งที่โจทก์ไม่ได้โต้แย้งแล้วจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2384/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง: การไม่โต้แย้งคำวินิจฉัยศาลชั้นต้นในประเด็นอำนาจฟ้อง ถือเป็นการยอมรับ ทำให้ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าว เท่ากับโจทก์ยอมรับแล้วว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้ไม่ได้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์จึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นการที่ศาลอุทธรณ์ยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัยเองว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องทั้งที่โจทก์ไม่ได้โต้แย้งแล้ว จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2383/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดเรื่องทุนทรัพย์ในการอุทธรณ์ฎีกาในคดีพิพาทกรรมสิทธิ์ที่ดิน และอำนาจศาล
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินมีอาณาเขตติดต่อกับที่ดินของจำเลย ต่อมาจำเลยได้รื้อรั้วไม้ขัดแตะ ซึ่งกั้นแนวเขตออกแล้วนำสังกะสีมาล้อมเป็นรั้วรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 3 ตารางวา ขอให้พิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ ให้จำเลยรื้อรั้วสังกะสีออกไปจำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยซ่อมแซมรั้วไม้ขัดแตะโดยเปลี่ยนรั้วสังกะสีในแนวเดิมมิได้รุกล้ำที่ดินของโจทก์และฟ้องแย้งว่า โจทก์ปลูกสร้างบ้านใหม่โดยชายคาบ้านรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของจำเลยประมาณ 2 ตารางวาขอให้บังคับโจทก์รื้อถอนชายคาบ้านในส่วนที่รุกล้ำที่ดินของจำเลยออกไป ซึ่งโจทก์ทั้งสามได้ให้การแก้ฟ้องแย้งว่า โจทก์ทั้งสามปลูกสร้างบ้านในเขตที่ดินของโจทก์มิได้รุกล้ำที่ดินของจำเลยจำเลยสร้างรั้วสังกะสีรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ทำให้ชายคาบ้านโจทก์ทั้งสามล้ำแนวรั้วสังกะสีที่จำเลยทำขึ้นใหม่ จึงเป็นกรณีที่โจทก์และจำเลยต่างอ้างว่าตนเองเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทอันเป็นกรณีพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ในที่ดิน จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์แม้โจทก์จะมีคำขอให้บังคับจำเลยรื้อรั้วสังกะสีออกไปจากที่พิพาทและจำเลยจะมีคำขอให้โจทก์รื้อถอนชายคาบ้านในส่วนที่รุกล้ำออกไปจากที่พิพาทมาด้วยก็ตาม แต่คำขอให้รื้อถอนดังกล่าวจะบังคับให้ได้หรือไม่เพียงใดนั้นเป็นเพียงผลต่อเนื่องมาจากข้อวินิจฉัยในเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทอันเป็นประเด็นสำคัญในคดีคดีนี้จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์อย่างเดียว หาใช่เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วยไม่ ที่พิพาทมีเนื้อที่ครึ่งตารางวาซึ่งโจทก์ตีราคาที่พิพาทตารางวาละ 70,000 บาท และจำเลยตีราคาที่พิพาทตารางวาละ 375 บาทดังนี้ ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์จึงไม่เกิน 50,000 บาท และทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาทจึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง และมาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยอุทธรณ์ว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยและศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้โดยพิพากษาคดีมาก็ดีและที่โจทก์ฎีกาต่อมาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ และศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์ทั้งสามมาก็ดี เป็นการไม่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2383/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดเรื่องทุนทรัพย์ในการอุทธรณ์ฎีกา คดีพิพาทกรรมสิทธิ์ที่ดิน
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินมีอาณาเขตติดต่อกับที่ดินของจำเลย ต่อมาจำเลยได้รื้อรั้วไม้ขัดแตะซึ่งกั้นแนวเขตออกแล้วนำสังกะสีมาล้อมเป็นรั้วรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ3 ตารางวา ขอให้พิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ ให้จำเลยรื้อรั้วสังกะสีออกไปจำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยซ่อมแซมรั้วไม้ขัดแตะโดยเปลี่ยนรั้วสังกะสีในแนวเดิมมิได้รุกล้ำที่ดินของโจทก์และฟ้องแย้งว่า โจทก์ปลูกสร้างบ้านใหม่โดยชายคาบ้านรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของจำเลยประมาณ 2 ตารางวา ขอให้บังคับโจทก์รื้อถอนชายคาบ้านในส่วนที่รุกล้ำที่ดินของจำเลยออกไป ซึ่งโจทก์ทั้งสามได้ให้การแก้ฟ้องแย้งว่า โจทก์ทั้งสามปลูกสร้างบ้านในเขตที่ดินของโจทก์มิได้รุกล้ำที่ดินของจำเลย จำเลยสร้างรั้วสังกะสีรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ทำให้ชายคาบ้านโจทก์ทั้งสามล้ำแนวรั้วสังกะสีที่จำเลยทำขึ้นใหม่ จึงเป็นกรณีที่โจทก์และจำเลยต่างอ้างว่าตนเองเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่พิพาท อันเป็นกรณีพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ในที่ดิน จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ แม้โจทก์จะมีคำขอให้บังคับจำเลยรื้อรั้วสังกะสีออกไปจากที่พิพาทและจำเลยจะมีคำขอให้โจทก์รื้อถอนชายคาบ้านในส่วนที่รุกล้ำออกไปจากที่พิพาทมาด้วยก็ตาม แต่คำขอให้รื้อถอนดังกล่าวจะบังคับให้ได้หรือไม่เพียงใดนั้นเป็นเพียงผลต่อเนื่องมาจากข้อวินิจฉัยในเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทอันเป็นประเด็นสำคัญในคดีคดีนี้จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์อย่างเดียว หาใช่เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วยไม่
ที่พิพาทมีเนื้อที่ครึ่งตารางวาซึ่งโจทก์ตีราคาที่พิพาทตารางวาละ70,000 บาท และจำเลยตีราคาที่พิพาทตารางวาละ 375 บาท ดังนี้ ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์จึงไม่เกิน 50,000 บาท และทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง และมาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยอุทธรณ์ว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้โดยพิพากษาคดีมาก็ดีและที่โจทก์ฎีกาต่อมาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ และศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์ทั้งสามมาก็ดี เป็นการไม่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว
of 133