พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,328 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6190/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็นในที่ดินที่ถูกล้อม – การพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ที่ดินของโจทก์ตามโฉนดเลขที่ 50352 ซึ่งอยู่ท้ายซอยสุดของทางพิพาท ถูกที่ดินแปลงอื่นของบุคคลอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้เว้นเสียแต่จะผ่านไปตามทางพิพาทในที่ดินของจำเลยเพื่อออกสู่ถนนภายในหมู่บ้านและออกสู่ถนนซึ่งเป็นทางสาธารณะเพียงทางเดียว ฉะนั้น โดยนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคแรก โจทก์จึงชอบที่จะใช้ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นผ่านไปสู่ทางสาธารณะได้ การที่จำเลยสร้างรั้วกำแพงปิดกั้นทางพิพาทจึงเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่โจทก์อันเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 421 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้เปิดทางพิพาทซึ่งเป็นทางจำเป็นได้
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าที่ดินของโจทก์และจำเลยเป็นที่ดินคนละแปลงโดยแบ่งโอนมาจากที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 7210 ไม่ใช่แบ่งโอนมาจากที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 1654 เป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ โจทก์จะต้องไปเรียกร้องขอใช้ทางจำเป็นผ่านออกไปสู่ทางสาธารณะได้เฉพาะบนที่ดินแปลงโฉนดที่ดินเลขที่ 7210 จะมาเรียกร้องเอาทางจำเป็นจากที่ดินของจำเลยซึ่งเป็นที่ดินแปลงอื่นและไม่ได้แบ่งโอนมาจากโฉนดที่ดินเลขที่ 7210 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 ไม่ได้ โดยศาลอุทธรณ์พิจารณาจากข้อเท็จจริงที่นอกฟ้องนอกประเด็นและไม่เกี่ยวกับที่คู่ความจะต้องนำสืบจึงเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าที่ดินของโจทก์และจำเลยเป็นที่ดินคนละแปลงโดยแบ่งโอนมาจากที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 7210 ไม่ใช่แบ่งโอนมาจากที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 1654 เป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ โจทก์จะต้องไปเรียกร้องขอใช้ทางจำเป็นผ่านออกไปสู่ทางสาธารณะได้เฉพาะบนที่ดินแปลงโฉนดที่ดินเลขที่ 7210 จะมาเรียกร้องเอาทางจำเป็นจากที่ดินของจำเลยซึ่งเป็นที่ดินแปลงอื่นและไม่ได้แบ่งโอนมาจากโฉนดที่ดินเลขที่ 7210 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 ไม่ได้ โดยศาลอุทธรณ์พิจารณาจากข้อเท็จจริงที่นอกฟ้องนอกประเด็นและไม่เกี่ยวกับที่คู่ความจะต้องนำสืบจึงเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6114/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาให้บริการแจ้งเหตุฉุกเฉิน ไม่ครอบคลุมความรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากทรัพย์สินถูกโจรกรรม ผู้รับประกันภัยไม่มีสิทธิรับช่วง
ตามสัญญาให้บริการเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 2 จะต้องให้บริการเป็นผู้ประสานงานส่งข้อมูลขอความช่วยเหลือไปยังหน่วยงานที่ระบุไว้เพื่อขอความช่วยเหลือที่รวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ และเมื่อปรากฏว่าเครื่องส่งสัญญาณเอส.โอ.เอส. ที่จำเลยที่ 2 ติดตั้งไว้ที่เครื่องบริการเงินด่วนของธนาคาร ท. ส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือไปยังศูนย์ข้อมูลของจำเลยที่ 2 เนื่องจากถูกคนร้ายงัดทำลายเข้าไปในเครื่องบริการเงินด่วนแล้ว เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2ละเลยไม่แจ้งเหตุร้ายต่อไปยังสถานีตำรวจท้องที่เพื่อขอความช่วยเหลือตามข้อตกลงที่ระบุไว้ในสัญญา จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ปฏิบัติผิดสัญญาต่อธนาคาร ท. ผู้ซื้อบริการ แต่การที่จำเลยที่ 2 ละเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวไม่อาจถือได้ว่าเป็นการทำละเมิดต่อธนาคาร ท. คู่สัญญาเพราะการละเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาในกรณีดังกล่าวมิได้เป็นการกระทำโดยผิดกฎหมายต่อบุคคลอื่น เป็นเหตุให้เขาเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยวินาศภัยในความเสียหายของเงินสดในเครื่องบริการเงินด่วน ของธนาคาร ท. ที่ถูกคนร้ายลักไป ได้ใช้ค่าเสียหายแก่เจ้าหนี้ผู้เอาประกันภัยไปแล้วมาฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิจากเจ้าหนี้ โดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 880 วรรคแรก เมื่อไม่ปรากฏว่ามีข้อสัญญาว่าหากจำเลยที่ 2 ผิดสัญญา จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ธนาคาร ท. สัญญาให้บริการเป็นเพียงสัญญาให้บริการแก่ธนาคาร ท. เพื่อช่วยป้องกันการโจรกรรมทรัพย์สินของธนาคารอีกทางหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่สัญญา ที่จำเลยที่ 2 ตกลงยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่ธนาคาร ท.ในกรณีที่ทรัพย์สินของธนาคารถูกโจรกรรม ธนาคาร ท.คงมีสิทธิตามสัญญาข้อ 3 ที่กำหนดให้ธนาคาร ท. ได้รับการประกันตามขอบข่ายของกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัท ค.ซึ่งตามกรมธรรม์ประกันภัยได้ระบุว่า ธนาคาร ท.ผู้ใช้บริการเป็นผู้เอาประกันภัยด้วย ดังนั้น ธนาคาร ท.จึงไม่มีสิทธิตามสัญญาที่จะฟ้องจำเลยที่ 2 เพื่อเรียกค่าเสียหายตามจำนวนเงินที่ถูกคนร้ายลักไปได้ และโจทก์ย่อมไม่อาจรับช่วงสิทธิของธนาคาร ท. มาฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6114/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในสัญญาและการรับช่วงสิทธิจากสัญญาให้บริการ การชดใช้ค่าเสียหายจากความผิดสัญญา
ตามสัญญาให้บริการเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 2 จะต้องให้บริการเป็นผู้ประสานงานส่งข้อมูลขอความช่วยเหลือไปยังหน่วยงานที่ระบุไว้เพื่อขอความช่วยเหลือที่รวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ และเมื่อปรากฏว่าเครื่องส่งสัญญาณ เอส.โอ.เอส. ที่จำเลยที่ 2 ติดตั้งไว้ที่เครื่องบริการเงินด่วนของธนาคาร ท.ส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือไปยังศูนย์ข้อมูลของจำเลยที่ 2เนื่องจากถูกคนร้ายงัดทำลายเข้าไปในเครื่องบริการเงินด่วนแล้ว เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ละเลยไม่แจ้งเหตุร้ายต่อไปยังสถานีตำรวจท้องที่เพื่อขอความช่วยเหลือตามข้อตกลงที่ระบุไว้ในสัญญา จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ปฏิบัติผิดสัญญาต่อธนาคาร ท.ผู้ซื้อบริการ
แต่การที่จำเลยที่ 2 ละเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวไม่อาจถือได้ว่าเป็นการทำละเมิดต่อธนาคาร ท.คู่สัญญา เพราะการละเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาในกรณีดังกล่าวมิได้เป็นการกระทำโดยผิดกฎหมายต่อบุคคลอื่น เป็นเหตุให้เขาเสียหายตาม ป.พ.พ.มาตรา 420
โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยวินาศภัยในความเสียหายของเงินสดในเครื่องบริการเงินด่วนของธนาคาร ท.ที่ถูกคนร้ายลักไป ได้ใช้ค่าเสียหายแก่เจ้าหนี้ผู้เอาประกันภัยไปแล้วมาฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิจากเจ้าหนี้ โดยอาศัยอำนาจตาม ป.พ.พ.มาตรา 880 วรรคแรก เมื่อไม่ปรากฏว่ามีข้อสัญญาว่าหากจำเลยที่ 2 ผิดสัญญา จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ธนาคาร ท.สัญญาให้บริการเป็นเพียงสัญญาให้บริการแก่ธนาคาร ท.เพื่อช่วยป้องกันการโจรกรรมทรัพย์สินของธนาคารอีกทางหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่สัญญาที่จำเลยที่ 2 ตกลงยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่ธนาคาร ท.ในกรณีที่ทรัพย์สินของธนาคารถูกโจรกรรม ธนาคาร ท.คงมีสิทธิตามสัญญาข้อ 3 ที่กำหนดให้ธนาคาร ท.ได้รับการประกันตามขอบข่ายของกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัท ค.ซึ่งตามกรมธรรม์ประกันภัยได้ระบุว่า ธนาคาร ท.ผู้ใช้บริการเป็นผู้เอาประกันภัยด้วย ดังนั้นธนาคาร ท. จึงไม่มีสิทธิตามสัญญาที่จะฟ้องจำเลยที่ 2 เพื่อเรียกค่าเสียหายตามจำนวนเงินที่ถูกคนร้ายลักไปได้ และโจทก์ย่อมไม่อาจรับช่วงสิทธิของธนาคาร ท.มาฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ได้
แต่การที่จำเลยที่ 2 ละเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวไม่อาจถือได้ว่าเป็นการทำละเมิดต่อธนาคาร ท.คู่สัญญา เพราะการละเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาในกรณีดังกล่าวมิได้เป็นการกระทำโดยผิดกฎหมายต่อบุคคลอื่น เป็นเหตุให้เขาเสียหายตาม ป.พ.พ.มาตรา 420
โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยวินาศภัยในความเสียหายของเงินสดในเครื่องบริการเงินด่วนของธนาคาร ท.ที่ถูกคนร้ายลักไป ได้ใช้ค่าเสียหายแก่เจ้าหนี้ผู้เอาประกันภัยไปแล้วมาฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิจากเจ้าหนี้ โดยอาศัยอำนาจตาม ป.พ.พ.มาตรา 880 วรรคแรก เมื่อไม่ปรากฏว่ามีข้อสัญญาว่าหากจำเลยที่ 2 ผิดสัญญา จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ธนาคาร ท.สัญญาให้บริการเป็นเพียงสัญญาให้บริการแก่ธนาคาร ท.เพื่อช่วยป้องกันการโจรกรรมทรัพย์สินของธนาคารอีกทางหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่สัญญาที่จำเลยที่ 2 ตกลงยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่ธนาคาร ท.ในกรณีที่ทรัพย์สินของธนาคารถูกโจรกรรม ธนาคาร ท.คงมีสิทธิตามสัญญาข้อ 3 ที่กำหนดให้ธนาคาร ท.ได้รับการประกันตามขอบข่ายของกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัท ค.ซึ่งตามกรมธรรม์ประกันภัยได้ระบุว่า ธนาคาร ท.ผู้ใช้บริการเป็นผู้เอาประกันภัยด้วย ดังนั้นธนาคาร ท. จึงไม่มีสิทธิตามสัญญาที่จะฟ้องจำเลยที่ 2 เพื่อเรียกค่าเสียหายตามจำนวนเงินที่ถูกคนร้ายลักไปได้ และโจทก์ย่อมไม่อาจรับช่วงสิทธิของธนาคาร ท.มาฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5955/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยค่าสินไหมทดแทนและการสละประเด็นค่าฤชาธรรมเนียม
เมื่อสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของจำเลยเกิดขึ้นแล้วตั้งแต่วันเกิดเหตุ ดังนั้นโดยนัยแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 206, 224 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงชอบที่จะฟ้องเรียกดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของต้นเงินค่าสินไหมทดแทนเอาแก่โจทก์นับแต่วันฟ้องซึ่งเป็นวันในระหว่างเวลาที่โจทก์ผิดนัดได้ แต่เมื่อมีคำท้ากันคู่ความมิได้กำหนดค่าเสียหายส่วนนี้ไว้ด้วย จึงถือได้ว่าได้ตกลงกันสละประเด็นในส่วนนี้ไปแล้ว ศาลจึงพิพากษาให้จำเลยได้เฉพาะจำนวนเงินค่าเสียหายตามคำท้าเท่านั้น จะพิพากษาให้โจทก์รับผิดชำระดอกเบี้ยดังกล่าวนับแต่วันฟ้องย่อมเป็นการพิพากษาเกินคำขอและนอกคำท้า
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 141(5), 167 บัญญัติให้ศาลสั่งเกี่ยวกับเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในคำพิพากษาทุกเรื่อง ฉะนั้นไม่ว่าคู่ความจะมีคำร้องขอเกี่ยวด้วยเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมหรือไม่ก็ตามศาลต้องวินิจฉัยอยู่แล้ว ที่ศาลพิพากษาตามยอม แต่ให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนจำเลยจึงไม่เกินคำขอหรือคำท้าที่คู่ความได้ตกลงท้ากันไว้
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 141(5), 167 บัญญัติให้ศาลสั่งเกี่ยวกับเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในคำพิพากษาทุกเรื่อง ฉะนั้นไม่ว่าคู่ความจะมีคำร้องขอเกี่ยวด้วยเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมหรือไม่ก็ตามศาลต้องวินิจฉัยอยู่แล้ว ที่ศาลพิพากษาตามยอม แต่ให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนจำเลยจึงไม่เกินคำขอหรือคำท้าที่คู่ความได้ตกลงท้ากันไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5783/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีประกันภัยและการไม่เป็นฟ้องซ้ำ กรณีเรียกจำเลยร่วมในคดีละเมิด
จำเลยได้ขอให้ศาลชั้นต้นหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นคู่ความในคดีตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3)เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยให้ใช้ค่าทดแทนหากจำเลยแพ้คดีตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนระหว่างจำเลยกับจำเลยร่วม จึงเป็นกรณีที่จำเลยในฐานะผู้เอาประกันประสงค์จะเรียกให้จำเลยร่วมผู้รับประกันภัยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ตามสัญญา จึงต้องฟ้องหรือหมายเรียกให้จำเลยร่วมเข้ามาในคดีภายในกำหนด 2 ปีนับแต่วันที่เกิดวินาศภัย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นอายุความฟ้องบังคับตามสัญญาประกันภัยมาใช้บังคับ และกรณีมิใช่โจทก์ฟ้องบังคับจำเลยร่วมให้รับผิดในมูลละเมิดที่กระทำต่อโจทก์จึงไม่อาจนำอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับดังนั้น เมื่อเกิดเหตุวินาศภัยวันที่ 22 มีนาคม 2534 จำเลยได้หมายเรียกจำเลยร่วมเพื่อใช้สิทธิเรียกร้องให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนวันที่ 22 มีนาคม 2536 ภายในกำหนด 2 ปี คดีของจำเลยย่อมไม่ขาดอายุความ และเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้วันที่26 มิถุนายน 2534 โดยมูลละเมิดระหว่างโจทก์และจำเลยเกิดวันที่ 22 มีนาคม 2534 ยังอยู่ในอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 448 วรรคหนึ่ง คดีจึงไม่ขาดอายุความ การที่จำเลยซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อนได้หมายเรียกจำเลยร่วมเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคราวก่อน แต่จำเลยได้ถอนฟ้องคดีดังกล่าวไปก่อนที่ศาลชั้นต้นจะได้มีคำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยชี้ขาดหรือในประเด็นข้อใดแห่งคดีนั้น แม้จำเลยจะได้เรียกให้จำเลยร่วมเข้ามาร่วมรับผิดในคดีนี้เป็นครั้งที่สองก็ตาม การกระทำของจำเลยก็หาเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 วรรคหนึ่งไม่ประกอบกับในคดีก่อนโจทก์ในคดีนี้ก็หาได้ยื่นคำฟ้องจำเลยร่วมเป็น จำเลยร่วมมาแต่ต้นไม่ ทั้งศาลก็ยังมิได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้วในประเด็นแห่งคดี เพราะจำเลยได้ถอนฟ้องไปก่อนคดีในส่วนของโจทก์ทั้งสองและจำเลยร่วมจึงไม่เป็นการฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5783/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าทดแทนจากสัญญาประกันภัยและการฟ้องซ้ำ
จำเลยได้ขอให้ศาลชั้นต้นหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นคู่ความในคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (3) เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยให้ใช้ค่าทดแทนหากจำเลยแพ้คดี ตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนระหว่างจำเลยกับจำเลยร่วม จึงเป็นกรณีที่จำเลยในฐานะผู้เอาประกันประสงค์จะเรียกให้จำเลยร่วมผู้รับประกันภัยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ตามสัญญา จึงต้องฟ้องหรือหมายเรียกให้จำเลยร่วมเข้ามาในคดีภายในกำหนด 2 ปีนับแต่วันที่เกิดวินาศภัย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 882 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นอายุความฟ้องบังคับตามสัญญาประกันภัยมาใช้บังคับ และกรณีมิใช่โจทก์ฟ้องบังคับจำเลยร่วมให้รับผิดในมูลละเมิดที่กระทำต่อโจทก์ จึงไม่อาจนำอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 448วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับ ดังนั้น เมื่อเกิดเหตุวินาศภัยวันที่ 22 มีนาคม 2534 จำเลยได้หมายเรียกจำเลยร่วมเพื่อใช้สิทธิเรียกร้องให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนวันที่ 22 มีนาคม2536 ภายในกำหนด 2 ปี คดีของจำเลยย่อมไม่ขาดอายุความ และเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้วันที่ 26 มิถุนายน 2534 โดยมูลละเมิดระหว่างโจทก์และจำเลยเกิดวันที่22 มีนาคม 2534 ยังอยู่ในอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 448 วรรคหนึ่ง คดีจึงไม่ขาดอายุความ
การที่จำเลยซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อนได้หมายเรียกจำเลยร่วมเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคราวก่อน แต่จำเลยได้ถอนฟ้องคดีดังกล่าวไปก่อนที่ศาลชั้นต้นจะได้มีคำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยชี้ขาดคดีหรือในประเด็นข้อใดแห่งคดีนั้น แม้จำเลยจะได้เรียกให้จำเลยร่วมเข้ามาร่วมรับผิดในคดีนี้เป็นครั้งที่สองก็ตาม การกระทำของจำเลยก็หาเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ.มาตรา 144วรรคหนึ่งไม่ ประกอบกับในคดีก่อนโจทก์ในคดีนี้ก็หาได้ยื่นคำฟ้องจำเลยร่วมเป็นจำเลยร่วมมาแต่ต้นไม่ ทั้งศาลก็ยังมิได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้วในประเด็นแห่งคดี เพราะจำเลยได้ถอนฟ้องไปก่อน คดีในส่วนของโจทก์ทั้งสองและจำเลยร่วมจึงไม่เป็นการฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148
การที่จำเลยซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อนได้หมายเรียกจำเลยร่วมเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคราวก่อน แต่จำเลยได้ถอนฟ้องคดีดังกล่าวไปก่อนที่ศาลชั้นต้นจะได้มีคำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยชี้ขาดคดีหรือในประเด็นข้อใดแห่งคดีนั้น แม้จำเลยจะได้เรียกให้จำเลยร่วมเข้ามาร่วมรับผิดในคดีนี้เป็นครั้งที่สองก็ตาม การกระทำของจำเลยก็หาเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ.มาตรา 144วรรคหนึ่งไม่ ประกอบกับในคดีก่อนโจทก์ในคดีนี้ก็หาได้ยื่นคำฟ้องจำเลยร่วมเป็นจำเลยร่วมมาแต่ต้นไม่ ทั้งศาลก็ยังมิได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้วในประเด็นแห่งคดี เพราะจำเลยได้ถอนฟ้องไปก่อน คดีในส่วนของโจทก์ทั้งสองและจำเลยร่วมจึงไม่เป็นการฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5638/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้าง ลูกจ้าง และผู้รับประกันภัยในกรณีละเมิดจากการขับรถประมาท
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุโดยคำสั่งและในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 และขับโดยประมาทชนรถยนต์โดยสารซึ่งโจทก์โดยสารมา ทำให้โจทก์ได้รับอันตรายสาหัส และศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ขณะเกิดเหตุว.ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 ขับรถยนต์มาด้วยความประมาทเป็นเหตุให้ชนกับรถยนต์ซึ่งโจทก์โดยสารมาได้รับความเสียหายมีผู้โดยสารได้รับอันตรายสาหัสและเสียชีวิตโดย ว.ประมาทแต่ฝ่ายเดียว ชั้นอุทธรณ์จำเลยที่ 3 อุทธรณ์แต่เพียงว่า จำเลยที่ 1ไม่ได้เป็นผู้ขับรถยนต์คันที่เอาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 3 โดยมิได้อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ขณะเกิดเหตุ ว.ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 2 ด้วยความประมาทแต่ฝ่ายเดียวและก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์นั้นไม่ถูกต้องอย่างไร ข้อเท็จจริงจึงยุติตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย ดังนี้เมื่อนายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างตาม ป.พ.พ.มาตรา 425 ดังนั้น โจทก์ซึ่งเป็นผู้ได้รับความเสียหายจึงอาจจะฟ้องนายจ้างหรือลูกจ้างคนใดก็ได้ และเมื่อโจทก์บรรยายฟ้องถึงความรับผิดในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2ไว้ชัดแจ้งครบถ้วนแล้วว่า ลูกจ้างจำเลยที่ 2 ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้างและข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย แม้ข้อเท็จจริงจะฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1เป็นผู้ขับรถของจำเลยที่ 2 ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 2 พ้นความรับผิด และเมื่อจำเลยที่ 2ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5638/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง แม้ผู้ขับไม่ใช่ลูกจ้างโดยตรง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุโดยคำสั่งและในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 และขับโดยประมาทชนรถยนต์โดยสารซึ่งโจทก์โดยสารมา ทำให้โจทก์ได้รับอันตรายสาหัสและศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ขณะเกิดเหตุ ว.ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 ขับรถยนต์มาด้วยความประมาทเป็นเหตุให้ชนกับรถยนต์ซึ่งโจทก์โดยสารมาได้รับความเสียหายมีผู้โดยสารได้รับอันตรายสาหัสและเสียชีวิตโดย ว.ประมาทแต่ฝ่ายเดียวชั้นอุทธรณ์จำเลยที่ 3 อุทธรณ์แต่เพียงว่า จำเลยที่ 1ไม่ได้เป็นผู้ขับรถยนต์คันที่เอาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 3โดยมิได้อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ขณะเกิดเหตุ ว.ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 2ด้วยความประมาทแต่ฝ่ายเดียวและก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์นั้นไม่ถูกต้องอย่างไร ข้อเท็จจริงจึงยุติตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยดังนี้เมื่อนายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 ดังนั้น โจทก์ซึ่งเป็นผู้ได้รับความเสียหายจึงอาจจะฟ้องนายจ้างหรือลูกจ้างคนใดก็ได้ และเมื่อโจทก์บรรยายฟ้องถึงความรับผิดในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ไว้ชัดแจ้งครบถ้วนแล้วว่า ลูกจ้างจำเลยที่ 2 ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้างและข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย แม้ข้อเท็จจริงจะฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับรถของจำเลยที่ 2 ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 2 พ้นความรับผิดและเมื่อจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5510/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกกล่าวการประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และผลกระทบต่อมติที่ประชุม
ป.พ.พ.มาตรา 1175 และ 1195 ได้บัญญัติเรื่องการบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ไว้โดยมุ่งประสงค์ให้มีการแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้าว่าบริษัทจะได้จัดให้มีการประชุมใหญ่ในกิจการใด ที่ใด เมื่อใด เพื่อผู้ถือหุ้นจะได้มีโอกาสเตรียมตัวสอบถามหรือแสดงความคิดเห็นได้โดยเต็มที่ ไม่ให้ผู้บริหารเอาเปรียบรวบรัดในการประชุม แม้ว่าบทบัญญัติดังกล่าวจะมิได้บังคับโดยเด็ดขาดว่าถ้าไม่ปฏิบัติตามแล้วการแจ้งดังกล่าวจะต้องเป็นโมฆะเสียเปล่าก็ตาม แต่ก็ให้สิทธิกรรมการหรือผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดร้องขอให้ศาลเพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่อันผิดระเบียบนั้นเสีย โดยต้องร้องขอภายในกำหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันลงมตินั้นถ้าหากไม่มีการร้องขอให้ศาลเพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่อันผิดระเบียบภายในเดือนหนึ่งแล้ว มติของที่ประชุมดังกล่าวก็มีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้ ผู้ใดจะขอให้เพิกถอนไม่ได้ ดังนั้น เมื่อคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ของผู้คัดค้านที่ส่งไปยังผู้ร้องก่อนวันนัดประชุมน้อยกว่าเจ็ดวัน ทั้งไม่ปรากฏว่ามีการแจ้งให้ผู้ร้องทราบคำบอกกล่าวก่อนกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 1175ดังกล่าวข้างต้น การนัดเรียกประชุมใหญ่ในครั้งนี้จึงไม่ชอบและเป็นผลให้มติของที่ประชุมใหญ่ในวันดังกล่าวเป็นมติอันผิดระเบียบตามมาตรา 1195 ซึ่งกรรมการหรือผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดสามารถร้องขอให้ศาลเพิกถอนเสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5510/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกกล่าวการประชุมผู้ถือหุ้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่งผลให้มติที่ประชุมเป็นโมฆะ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1175 และ 1195ได้บัญญัติ เรื่องการบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ไว้โดยมุ่งประสงค์ให้มีการแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้าว่าบริษัทจะได้จัดให้มีการประชุมใหญ่ในกิจการใด ที่ใด เมื่อใด เพื่อผู้ถือหุ้นจะได้มีโอกาสเตรียมตัวสอบถามหรือแสดงความคิดเห็นได้โดยเต็มที่ ไม่ให้ผู้บริหารเอาเปรียบรวบรัดในการประชุมแม้ว่าบทบัญญัติดังกล่าวจะมิได้บังคับโดยเด็ดขาดว่าถ้าไม่ปฏิบัติตามแล้วการแจ้งดังกล่าวจะต้องเป็นโมฆะเสียเปล่าก็ตาม แต่ก็ให้สิทธิกรรมการหรือผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดร้องขอให้ศาลเพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่อันผิดระเบียบนั้นเสียโดยต้องร้องขอภายในกำหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันลงมตินั้นถ้าหากไม่มีการร้องขอให้ศาลเพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่อันผิดระเบียบภายในเดือนหนึ่งแล้ว มติของที่ประชุมดังกล่าวก็มีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้ ผู้ใดจะขอให้เพิกถอนไม่ได้ดังนั้น เมื่อคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ของผู้คัดค้านที่ส่งไปยังผู้ร้องก่อนวันนัดประชุมน้อยกว่าเจ็ดวันทั้งไม่ปรากฏว่ามีการแจ้งให้ผู้ร้องทราบคำบอกกล่าวก่อนกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 1175ดังกล่าวข้างต้น การนัดเรียกประชุมใหญ่ในครั้งนี้จึงไม่ชอบและเป็นผลให้มติของที่ประชุมใหญ่ในวันดังกล่าวเป็นมติอันผิดระเบียบตามมาตรา 1195 ซึ่งกรรมการหรือผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดสามารถร้องขอให้ศาลเพิกถอนเสียได้