พบผลลัพธ์ทั้งหมด 178 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 860/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดิน, การขาดนัดพิจารณา, การสืบพยาน, และดุลพินิจศาลในการรับฟังพยานหลักฐาน
ในชั้นอุทธรณ์ โจทก์อุทธรณ์ว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในรายละเอียดว่าที่พิพาทไม่ใช่ของโจทก์จำเลย หรือจำเลยร่วม แต่เป็นที่สาธารณะประโยชน์ ที่วินิจฉัยดังกล่าวเพราะอาศัยพยานเอกสารในสำนวน ถือว่าศาลอุทธรณ์ วินิจฉัยชี้ขาดตรงประเด็นแล้ว การที่จำเลยขาดนัดพิจารณาไม่มาศาลย่อมทำให้เสียประโยชน์คือ ไม่มีสิทธิถามค้านพยานโจทก์ที่สืบไปแล้วในวันที่จำเลยไม่มาศาลเท่านั้น และหากว่าโจทก์สืบพยานหมดในวันนั้น จำเลยก็ไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบได้ในวันหลังอีก เพราะหมดเวลาที่จำเลยจะนำพยานเข้าสืบแล้ว แต่คดีนี้โจทก์นำพยานเข้าสืบในวันนัดแรกเพียงปากเดียวการสืบพยานยังไม่เสร็จบริบูรณ์ แล้วเลื่อนไปสืบพยานโจทก์ที่เหลือในนัดต่อไป จำเลยจึงไม่มีสิทธิถามค้านพยานปากที่เบิกความไปแล้วเท่านั้นส่วนในนัดต่อไปจำเลยมาศาล จำเลยชอบที่จะถามค้านพยานโจทก์ที่เบิกความในนัดต่อมาได้ และนำพยานจำเลยเข้าเบิกความได้ เพราะยังไม่พ้นเวลาที่จะนำพยานของตนเข้าสืบ แม้จำเลยร่วมไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันสืบพยานโจทก์ 3 วันแต่จำเลยร่วมว่าความด้วยตนเอง เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี ศาลชอบที่จะใช้ดุลพินิจให้จำเลยร่วมนำพยานเข้าสืบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 860/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบจากการขาดนัดพิจารณาคดี และการใช้ดุลพินิจศาลในการรับฟังพยานหลักฐาน
การที่จำเลยขาดนัดพิจารณาไม่มาศาลย่อมทำให้เสียประโยชน์คือ ไม่มีสิทธิถามค้านพยานโจทก์ที่สืบไปแล้วหรือคัดค้านการระบุเอกสารหรือคัดค้านคำขอที่ให้ศาลไปทำการตรวจหรือตั้งผู้เชี่ยวชาญของศาลเฉพาะในวันที่ขาดนัดไม่มาศาลเท่านั้น และหากว่าโจทก์สืบพยานหมดในวันนั้น จำเลยก็ไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบได้ในวันหลังอีกเพราะหมดเวลาที่ตนจะนำพยานเข้าสืบแล้ว เมื่อปรากฏว่าในวันนัดแรกโจทก์มีหน้าที่นำพยานเข้าสืบก่อนได้นำตัวโจทก์เข้าเบิกความเพียงปากเดียว การสืบพยานยังไม่เสร็จบริบูรณ์ แล้วเลื่อนไปสืบพยานโจทก์ที่เหลือในนัดต่อไป จำเลยจึงไม่มีสิทธิถามค้านพยานปากตัวโจทก์เท่านั้น ส่วนในนัดต่อไปจำเลยมาศาล จำเลยชอบที่จะถามค้านพยานโจทก์ที่เบิกความในนัดต่อมาได้และนำพยานจำเลยเข้าเบิกความได้เพราะยังไม่พ้นเวลาที่จะนำพยานของตนเข้าสืบ การที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยถามค้านพยานโจทก์ที่นำสืบในนัดต่อมา ทั้งนำพยานจำเลยเข้าเบิกความจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 คู่ความจะต้องยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันสืบพยาน 3 วัน แต่ในกรณีที่ศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีโดยฝ่าฝืนต่อมาตรา 88 คือไม่ต้องยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันสืบพยาน 3 วัน ศาลก็มีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวได้ตามมาตรา 87(2) การที่จำเลยร่วมไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันนัดสืบพยานโจทก์ 3 วัน ศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยร่วมว่าความด้วยตนเอง จึงใช้ดุลพินิจให้จำเลยร่วมนำพยานเข้าสืบได้ถึงแม้ไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้นั้น เป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 859/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผลิตสินค้าทางภาษี: การใช้ลวดทำลวดเสียบกระดาษถือเป็นการผลิตสินค้าและเป็นของใช้ที่ต้องเสียภาษี
การที่จะถือว่าผู้ใดเป็นผู้ผลิตตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 77นั้น นอกจากจะหมายถึงว่า ผู้นั้น ทำการเกษตร หรือขุดค้นทรัพยากรธรรมชาติ ประกอบแปรรูป แปรสภาพสินค้า แล้วยังให้รวมถึงการที่ผู้ใดทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้มีขึ้นซึ่งสินค้าไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ด้วย ซึ่งการกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้มีขึ้นซึ่งสินค้าดังกล่าวนั้น มีความหมายว่าทำอย่างใดอย่างหนึ่งให้เกิดสินค้าใหม่ขึ้นมา ซึ่งอาจใช้วัตถุดิบของสินค้าเดิมมาทำเป็นสินค้าใหม่โดยไม่แปรเปลี่ยนสภาพของสินค้าเดิมก็ได้และไม่จำต้องคำนึงว่าสินค้าใหม่นั้นอาจแปรเปลี่ยนกลับคืนมาเป็นสินค้าเดิมได้หรือไม่ ดังนั้น การที่โจทก์ใช้ลวดซึ่งเป็นสินค้าเดิมที่โจทก์ซื้อมาเข้าเครื่องปั๊มออกมาเป็นลวดเสียบกระดาษซึ่งเป็นสินค้าใหม่โดยลวดซึ่งเป็นวัตถุดิบนั้นยังมีสภาพเป็นลวดเช่นเดิมอยู่ เพียงแต่ใช้เครื่องปั๊มตัดและดัดงอให้อยู่ในสภาพเป็นของใช้เสียบกระดาษตามที่โจทก์ต้องการแล้วนำสินค้าลวดเสียบกระดาษนั้นไปจำหน่ายทั่วไปถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ผลิตสินค้าลวดเสียบกระดาษตาม มาตรา 77 ตามบัญชีที่ 1 หมวดที่ 9 ได้กำหนดลักษณะของสินค้าอื่น ๆ ไว้ว่า"เครื่องมือ เครื่องใช้...ของใช้ใด ๆ ทั้งนี้เฉพาะที่ผลิตจาก...โลหะหรือโลหะเคลือบอย่างใดอย่างหนึ่ง..." และคำว่า "ของใช้"นั้น ประมวลรัษฎากรไม่ได้วิเคราะห์ศัพท์ไว้ แต่ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายคำว่าของใช้ไว้ว่า"ของสำหรับใช้" ซึ่งเป็นที่เข้าใจของคนทั่ว ๆ ไปว่า ของใช้ที่ว่านี้ประชาชนทั่วไปที่มีของนั้นอยู่สามารถนำของนั้นไปใช้ประโยชน์ได้ทันทีโดยลำพัง ไม่ต้องนำไปประกอบกับสิ่งของอื่นเสียก่อนจึงจะนำไปใช้ได้ สำหรับลวดเสียบกระดาษรายนี้ ผู้ใดมีอยู่ในความครอบครองย่อมสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันทีโดยลำพัง จึงเป็นของใช้ตามบัญชีที่ 1 ดังกล่าว เมื่อได้ความว่าลวดเสียบกระดาษนี้ผลิตจากโลหะเคลือบจึงเป็นของใช้ผลิตจากโลหะเคลือบอันเข้าลักษณะสินค้าอื่น ๆ ในหมวด 9 บัญชีที่ 1 ท้ายพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 54)พ.ศ. 2517 แต่โจทก์ผลิตขายในราชอาณาจักร จึงต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 9 ของรายรับ คดีมีปัญหาวินิจฉัยว่า โจทก์เป็นผู้ผลิตลวดเสียบกระดาษหรือไม่และลวดเสียบกระดาษเป็นของใช้หรือไม่ เมื่อตามคำฟ้องและคำให้การฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้ผลิตสินค้าลวดเสียบกระดาษ และคำฟ้องโจทก์กับความเห็นของผู้เชี่ยวชาญได้ความว่า ลวดเสียบกระดาษรายนี้เป็นของใช้ที่ผลิตจากโลหะเคลือบ เช่นนี้ ข้อเท็จจริงย่อมเพียงพอที่ศาลจะพิพากษาได้แล้ว แม้จะทำการสืบพยานคู่ความต่อไปก็ไม่อาจทำให้ข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นเปลี่ยนแปลงไป คดีจึงไม่มีประโยชน์ที่จะทำการสืบพยานโจทก์จำเลยต่อไป ศาลภาษีอากรกลางชอบที่จะสั่งงดสืบพยานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 859/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผลิตสินค้าทางภาษีอากร: การแปรรูปลวดเป็นลวดเสียบกระดาษถือเป็นการผลิตและต้องเสียภาษี
ผู้ผลิตตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 77 นั้น รวมถึงการที่ผู้ใดทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้มีขึ้นซึ่งสินค้าไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ด้วยซึ่งอาจใช้วัตถุดิบของสินค้าเดิมมาทำเป็นสินค้าใหม่โดยไม่แปรเปลี่ยนสภาพของสินค้าเดิมก็ได้ และไม่จำต้องคำนึงว่าสินค้าใหม่นั้นอาจแปรเปลี่ยนกลับคืนมาเป็นสินค้าเดิมได้หรือไม่ การที่โจทก์ใช้ลวดซึ่งเป็นสินค้าเดิมที่โจทก์ซื้อมาเข้าเครื่องปั๊มออกมาเป็นลวดเสียบกระดาษซึ่งเป็นสินค้าใหม่ โดยลวดซึ่งเป็นวัตถุดิบนั้นยังมีสภาพเป็นลวดเช่นเดิมอยู่เพียงแต่ใช้เครื่องปั๊มตัดและดัดงอให้อยู่ในสภาพเป็นของใช้เสียบกระดาษแล้วนำไปจำหน่าย ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ผลิตสินค้าลวดเสียบกระดาษ คำว่า "ของใช้" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525หมายถึง "ของสำหรับใช้" เป็นที่เข้าใจของคนทั่ว ๆ ไปว่าประชาชนทั่วไปที่มีของนั้นอยู่สามารถนำของนั้นไปใช้ประโยชน์ได้ทันทีโดยลำพังไม่ต้องนำไปประกอบกับของสิ่งอื่นเสียก่อน ลวดเสียบกระดาษที่พิพาทผู้ใดมีอยู่ในความครอบครองสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันทีโดยลำพัง จึงเป็นของใช้ตามบัญชี 1 หมวดที่ 9 ท้ายพระราชกฤษฎีกา ออกตามความใน ประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 ลวดเสียบกระดาษผลิตจากโลหะเคลือบจึงเป็นของใช้ผลิตจากโลหะเคลือบอันเข้าลักษณะสินค้าอื่น ๆ ในหมวด 9 บัญชีที่ 1 ท้าย พระราชกฤษฎีกา ดังกล่าวแต่โจทก์ผลิตขายในราชอาณาจักร จึงต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ9 ของรายรับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 842/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษทางอาญา: เจตนาปกปิดความผิดของผู้อื่นไม่ถือเป็นเหตุลดโทษ
ชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันฆ่าผู้ตาย ชั้นพิจารณาของศาลจำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ แต่ขณะสืบพยานจำเลย จำเลยที่ 2 เบิกความว่า ตนเป็นคนฆ่าผู้ตายเพียงคนเดียว ทำให้เห็นเจตนาว่าไม่ประสงค์ให้จำเลยที่ 1 ต้องรับโทษด้วย คำเบิกความของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวจึงไม่ได้ให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ไม่เป็นเหตุลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 741/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของกรรมการสหกรณ์ในการถอนเงิน หากไม่ได้ประมาทเลินเล่อ และใช้ความระมัดระวังตามวิญญูชน
จำเลยที่ 3 เป็นหนึ่งในจำนวน 5 คน ที่ได้รับแต่งตั้งจากสหกรณ์โจทก์ให้เป็นผู้มีอำนาจฝากเงินและถอนเงินจากธนาคารจำเลยที่ 3 ได้ลงชื่อร่วมกับจำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็ค ถอนเงินจากธนาคาร ก. เพื่อนำเงินไปชำระหนี้ให้ธนาคาร ส. แล้วจำเลยที่ 1ยักยอกเงินดังกล่าวไป แม้ทางปฏิบัติจำเลยที่ 3 ต้องถอนเงินพร้อมจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 3 ได้ให้ ห. ซึ่งเป็นสมาชิกของโจทก์เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 3 ไปถอนเงินกับจำเลยที่ 1ถือว่าจำเลยที่ 3 ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วมิได้ประมาทเลินเล่อ จึงไม่ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ชำระเงินให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 725/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงหลังถอนฟ้องไม่เป็นประนีประนอมยอมความ สิทธิในการขอกันส่วนยังคงอยู่
การตกลงหรือประนีประนอมยอมความกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 ต้องเป็นการตกลงหรือประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดี โดยมิได้มีการถอนฟ้อง หากคู่ความตกลงกันหลังจากถอนฟ้องแล้วย่อมไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความเพราะไม่มีคำฟ้องที่จะทำการตกลงหรือประนีประนอมยอมความกันอีก ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเพียงข้อแถลงของคู่ความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 725/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตกลงถอนคำร้องขัดทรัพย์มิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ สิทธิขอกันส่วนยังคงมีอยู่
แม้ในชั้นร้องขัดทรัพย์ผู้ร้องจะตกลงกับโจทก์ว่า ผู้ร้องจะชำระหนี้แทนจำเลยภายในเวลาที่กำหนดเพื่อให้โจทก์ถอนการยึดทรัพย์ที่ร้องขัดทรัพย์และในที่สุดผู้ร้องก็ผิดนัดไม่นำเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์ก็ตาม ข้อตกลงดังกล่าวก็หาเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 ไม่ เพราะการตกลงหรือประนีประนอมยอมความกัน ตามบทกฎหมายดังกล่าวต้องเป็นการตกลงหรือประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดีโดยมิได้มีการถอนคำฟ้องเมื่อผู้ร้องขัดทรัพย์ได้ถอนคำร้องขัดทรัพย์เสียแล้ว จึงไม่มีคำฟ้องที่จะทำการตกลงหรือประนีประนอมยอมอีกต่อไป ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่เป็นการประนีประนอมยอมความ แต่เป็นเพียงข้อแถลงของคู่ความประกอบคำร้องขัดทรัพย์เพื่อให้ศาลพิจารณาสั่งคำร้องดังกล่าวเท่านั้นทั้งศาลชั้นต้นสั่งเพียงว่า อนุญาตให้ถอนคำร้องขัดทรัพย์ได้และจำหน่ายคดีจากสารบบความ มิได้สั่งหรือพิพากษาตามที่ผู้ร้องตกลงกับโจทก์แต่อย่างใด ตามคำร้องขอถอนคำร้องขัดทรัพย์ ผู้ร้องยังสงวนสิทธิที่ผู้ร้องมีเหนือทรัพย์สินที่โจทก์นำยึด และตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นระบุว่า "วันนี้ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอถอนคำร้องขัดทรัพย์และแถลงว่าจะไม่เกี่ยวข้องกับทรัพย์ที่ยึดอีกต่อไป ไม่ร้องขัดทรัพย์อีก" และศาลได้ขีดฆ่าคำว่า"ไม่ขอร้องกันส่วนด้วย" ออก แสดงว่าผู้ร้องจะไม่เกี่ยวข้องกับที่ดินเฉพาะการร้องขัดทรัพย์เท่านั้น แต่ยังติดใจที่จะขอกันส่วนอยู่ดังนั้น สิทธิของผู้ร้องในการขอกันส่วนจึงยังมีอยู่ และการใช้สิทธิของผู้ร้องหาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ไม่เพราะผู้ร้องได้แสดงเจตนาสงวนสิทธิไว้แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 725/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงหลังร้องขัดทรัพย์ไม่เป็นประนีประนอมยอมความ สิทธิในการขอกันส่วนยังคงมี
แม้ในชั้นร้องขัดทรัพย์ผู้ร้องจะตกลงกับโจทก์ว่า ผู้ร้องจะชำระหนี้แทนจำเลยภายในเวลาที่กำหนดเพื่อให้โจทก์ถอนการยึดทรัพย์ที่ร้องขัดทรัพย์และในที่สุดผู้ร้องก็ผิดนัดไม่นำเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์ก็ตาม ข้อตกลงดังกล่าวก็หาเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 13 ไม่ เพราะการตกลงหรือประนีประนอมยอมความกันตามบทกฎหมายดังกล่าวต้องเป็นการตกลงหรือประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดีโดยมิได้มีการถอนคำฟ้อง เมื่อผู้ร้องขัดทรัพย์ได้ถอนคำร้องขัดทรัพย์เสียแล้ว จึงไม่มีคำฟ้องที่จะทำการตกลงหรือประนีประนอมยอมความอีกต่อไป ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่เป็นการประนีประนอมยอมความ แต่เป็นเพียงข้อแถลงของคู่ความประกอบคำร้องขัดทรัพย์เพื่อให้ศาลพิจารณาสั่งคำร้องดังกล่าวเท่านั้น ทั้งศาลชั้นต้นสั่งเพียงว่า อนุญาตให้ถอนคำร้องขัดทรัพย์ได้ และจำหน่ายคดีจากสารบบความ มิได้สั่งหรือพิพากษาตามที่ผู้ร้องตกลงกับโจทก์แต่อย่างใด ตามคำร้องขอถอนคำร้องขัดทรัพย์ ผู้ร้องยังสงวนสิทธิที่ผู้ร้องมีเหนือทรัพย์สินที่โจทก์นำยึด และตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นระบุว่า"...วันนี้ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอถอนคำร้องขัดทรัพย์และแถลงว่าจะไม่เกี่ยวข้องกับทรัพย์ที่ยึดอีกต่อไป ไม่ร้องขัดทรัพย์อีก..." และศาลได้ขีดฆ่าคำว่า "ไม่ขอร้องกันส่วนด้วย"ออก แสดงว่าผู้ร้องจะไม่เกี่ยวข้องกับที่ดินเฉพาะการร้องขัดทรัพย์เท่านั้น แต่ยังติดใจที่จะขอกันส่วนอยู่ ดังนั้น สิทธิของผู้ร้องในการขอกันส่วนจึงยังมีอยู่ และการใช้สิทธิของผู้ร้องหาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ไม่เพราะผู้ร้องได้แสดงเจตนาสงวนสิทธิไว้แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 690/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องวันเกิดเหตุ: เพียงพอต่อการเข้าใจของจำเลย
บรรยายฟ้องว่า เหตุเกิดประมาณต้นเดือนกันยายน 2532 เวลากลางวัน วันใดไม่แน่ชัดนั้น ในชั้นพิจารณาโจทก์ก็นำสืบเกี่ยวกับวันเกิดเหตุเช่นเดียวกับที่กล่าวในฟ้อง จำเลยเองก็นำสืบอ้างฐานที่อยู่แสดงว่าไม่ได้หลงข้อต่อสู้แต่อย่างใด จึงเป็นการบรรยายฟ้องเกี่ยวกับวันกระทำความผิดพอที่จำเลยจะเข้าใจได้แล้ว