คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิทูรย์ สุทธิประภา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 178 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4047/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นบัญชีระบุพยานในชั้นอนาถาเพียงครั้งเดียว มีผลใช้ได้ในชั้นพิจารณาคดี
ก่อนนัดไต่สวนคำร้องขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถา โจทก์ได้ยื่นบัญชีระบุพยานแล้วโดยบัญชีระบุพยานนั้นเป็นบัญชีระบุพยาน"ชั้นไต่สวนอนาถา นัดสืบพยานโจทก์" จึงถือได้ว่าโจทก์ได้ยื่นบัญชีระบุพยานทั้งคดีแล้ว ไม่จำต้องยื่นบัญชีระบุพยานใหม่ในชั้นพิจารณาคดีอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4040/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดชอบต่อความเสียหายของรถราชการ: ผู้รับรถไม่ต้องรับผิดหากความเสียหายเกิดจากลูกจ้างที่ลักรถไปโดยพลการ
ระเบียบกระทรวงกลาโหมว่าด้วยรถราชการทหาร พ.ศ. 2525 ข้อ 171ข้อ 19.2.3 ข้อ 21.3 สรุปความว่า การเก็บรักษารถประจำตำแหน่งให้อยู่ในความควบคุมและความรับผิดชอบของผู้ที่ได้รับรถประจำตำแหน่งตามระเบียบดังกล่าวมุ่งประสงค์ให้ผู้รับรถประจำตำแหน่งรับผิดเฉพาะการกระทำของตนเองหรือตามคำสั่งของตนเองเท่านั้น จำเลยรับรถประจำตำแหน่งจากกองทัพเรือโจทก์มาใช้แต่จำเลยไม่ได้ทำละเมิดต่อโจทก์และไม่มีกฎหมายให้รับผิดร่วมกับผู้อื่นเป็นพิเศษ การที่พลขับรถประจำตำแหน่งลักรถประจำตำแหน่งขับไปและเกิดอุบัติเหตุทำให้รถเสียหาย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดร่วมกับพลขับรถประจำตำแหน่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3943/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระการพิสูจน์สัญชาติ: พยานหลักฐานไม่เพียงพอ ศาลยกฟ้อง
เมื่อโจทก์อ้างว่าโจทก์เป็นคนสัญชาติไทย แต่จำเลยโต้แย้งว่า โจทก์เป็นคนต่างด้าวและให้คืนบัตรประจำตัวประชาชนแก่จำเลย โจทก์จึงต้องมีภาระการพิสูจน์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3943/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระการพิสูจน์สัญชาติไทย: พยานหลักฐานที่ไม่เพียงพอ ศาลยกฟ้อง
เมื่อโจทก์อ้างว่าโจทก์เป็นคนสัญชาติไทย แต่จำเลยโต้แย้งว่าโจทก์เป็นคนต่างด้าวและให้คืนบัตรประจำตัวประชาชนแก่จำเลยโจทก์จึงต้องมีภาระการพิสูจน์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3924/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายความย้ายภูมิลำเนาแล้วไม่ติดตามผลการส่งหมายนัด ถือเป็นเหตุทิ้งฟ้องอุทธรณ์ได้ ศาลพิจารณาค่าฤชาธรรมเนียม
ผู้คัดค้านยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2534ศาลชั้นต้นสั่งในวันเดียวกันว่า "รับอุทธรณ์ผู้คัดค้าน สำเนาให้ผู้ร้อง ให้ผู้คัดค้านนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้ผู้ร้องภายใน 7 วัน หากส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 15 วัน เพื่อดำเนินการต่อไป มิฉะนั้นถือว่าทิ้งฟ้องอุทธรณ์" ผู้คัดค้านได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายในกำหนดแล้ว ต่อมาวันที่ 26 มกราคม 2534พนักงานส่งหมายรายงานว่า ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้แก่ น. ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้ร้องไม่ได้ จากผลดังกล่าวผู้คัดค้านต้องแถลงให้ศาลทราบภายใน 15 วัน ว่าจะจัดการอย่างไรต่อไปกล่าวคือต้องแถลงภายในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2534 ต่อมาวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2534 รองจ่าศาลได้รายงานให้ศาลทราบว่า ผู้คัดค้านไม่ได้แถลงภายในกำหนด ถือว่าผู้คัดค้านจงใจทิ้งฟ้องอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3691/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาผู้ให้เช่าสำคัญกว่าการบอกเลิกสัญญาเช่าเมื่อครบกำหนด หากมีหนังสือทักท้วงแล้ว ไม่ถือเป็นการเช่าใหม่ไม่มีกำหนด
การที่จะถือว่าเมื่อสิ้นกำหนดการเช่าแล้วมีการเช่ากันใหม่ต่อไป ไม่มีกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 570นั้น กฎหมายไม่ได้กำหนดว่าผู้ให้เช่ามีหน้าที่จะต้องบอกเลิกการเช่าหรือบอกกล่าวให้ผู้เช่าทราบก่อนหรือในวันครบกำหนดการเช่าว่าจะไม่ให้เช่าต่อไป หากแต่ให้ดูเจตนาของผู้ให้เช่าว่ามีการยินยอมให้ผู้เช่าอยู่ต่อไปหรือไม่ ซึ่งการยินยอมนั้นรวมถึงการไม่ทักท้วงเมื่อรู้ว่าผู้เช่าครอบครองทรัพย์สินที่เช่าต่อมหลังจากสิ้นกำหนดเวลาเช่าแล้ว สัญญาเช่าที่ดินมีกำหนดเวลาแน่นอน โจทก์มีหนังสือบอกเลิกการเช่าไปยังจำเลยในวันครบกำหนดการเช่า แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์ว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยเช่าต่อไปนับแต่วันครบกำหนดการเช่าแล้ว และหนังสือดังกล่าวนั้นจำเลยได้รับแล้ว ถือได้ว่าโจทก์ได้ทักท้วงในการที่จำเลยจะอยู่ในที่เช่าต่อไป ดังนี้ การที่จำเลยอยู่ในที่เช่า ต่อมาภายหลังสัญญาเช่าครบกำหนดแล้ว จึงไม่ใช่การเช่ากันใหม่โดยไม่มีกำหนดเวลาตามมาตรา 570 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องโดยไม่จำต้องบอกเลิกการเช่าตามมาตรา 566 อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3691/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาผู้ให้เช่าสำคัญกว่าการบอกเลิกสัญญาเช่าใหม่ หากไม่ยินยอมให้เช่าต่อ แม้ผู้เช่าอยู่ต่อก็ไม่ถือเป็นสัญญาเช่าใหม่ไม่มีกำหนดเวลา
การที่จะถือว่าเมื่อสิ้นกำหนดการเช่าแล้วมีการเช่ากันใหม่ต่อไปไม่มีกำหนดเวลาตาม ป.พ.พ. มาตรา 570 นั้น กฎหมายไม่ได้กำหนดว่า ผู้ให้เช่ามีหน้าที่จะต้องบอกเลิกการเช่า หรือบอกกล่าวให้ผู้เช่าทราบก่อนหรือในวันครบกำหนดการเช่าว่าจะไม่ให้เช่าต่อไปหากแต่ให้ดูเจตนาของผู้ให้เช่าว่า มีการยินยอมให้ผู้เช่าอยู่ต่อไปหรือไม่ ซึ่งการยินยอมนั้นรวมถึงการไม่ทักท้วงเมื่อรู้ว่าผู้เช่าครอบครองทรัพย์สินที่เช่าต่อมาหลังจากสิ้นกำหนดเวลาเช่าแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3678/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อนุญาตก่อสร้างอาคารเนื่องจากขัดประกาศกระทรวงมหาดไทย และการพิจารณาคำอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมาย
ภายหลังจากที่โจทก์ยื่นคำขออนุญาตปลูกสร้างอาคารพาณิชย์2 ชั้นต่อจำเลยแล้ว ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 10มิถุนายน 2528 กำหนดบริเวณห้ามทำการก่อสร้างอาคารในบริเวณบางส่วนของตำบลป่าตองอำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต ซึ่งรวมถึงบริเวณที่โจทก์ขออนุญาตปลูกสร้างอาคารรายนี้ด้วย ต่อจากนั้นจำเลยจึงได้มีคำสั่งไม่อนุญาต ดังนี้ เมื่ออาคารที่โจทก์ขออนุญาตก่อสร้างเป็นอาคารพาณิชย์ 2 ชั้นสูงเกิน 5 เมตร ซึ่งต้องห้ามมิให้ก่อสร้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่ไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ก่อสร้างได้ ถือว่าจำเลยปฏิบัติหน้าที่ราชการตามอำนาจหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย ฉะนั้นคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่ไม่อนุญาตยืนตามคำสั่งของจำเลย จึงเป็นคำวินิจฉัยที่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน ไม่มีเหตุที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิกถอนแม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่เสร็จภายใน60 วัน แต่ก็มิใช่เหตุที่จะทำให้คำสั่งนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลชั้นต้นสืบพยานจำเลยโดยไม่ได้ให้ตัวจำเลยเข้าสืบก่อนพยานปากอื่น แต่จำเลยเป็นนิติบุคคล พยานจำเลยที่นำเข้าสืบเป็นเจ้าพนักงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพิจารณาคำร้องของโจทก์ และทนายจำเลยได้แถลงเหตุขัดข้องของพยานที่จะนำเข้าสืบในแต่ละนัดไว้ซึ่งโจทก์ก็มิได้แถลงคัดค้าน ประกอบกับไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายกำหนดห้ามมิให้นำพยานปากใดเข้าสืบก่อนหลัง การสืบพยานของศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3608/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพยายามฆ่าเจ้าพนักงาน, บุกรุก, ข่มขืนใจ, ชิงทรัพย์ และการแก้ไขโทษตามประมวลกฎหมายอาญา
ความผิดฐานฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่มีโทษสถานเดียวคือประหารชีวิต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 เมื่อจำเลยมีความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษดังกล่าวตามมาตรา 80 เท่ากับลดโทษลงมาหนึ่งในสามนั่นเอง ซึ่งคงเหลือเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิตสถานเดียว ตามมาตรา 52(1) หลังจากจำเลยใช้อาวุธปืนยิง ท.แล้ว จำเลยได้ใช้อาวุธปืนจี้เอารถจักรยานยนต์ของ ร.ขับหลบหนีไป แล้วนำรถจักรยานยนต์นั้นไปทิ้งไว้ข้างทางห่างจากที่เกิดเหตุประมาณ 20 กิโลเมตร ไม่ได้นำรถจักรยานยนต์ไปเป็นประโยชน์ของตนหรือผู้อื่น แสดงให้เห็นว่าจำเลยไม่มีเจตนาประสงค์จะเอาทรัพย์คือรถจักรยานยนต์นั้น คงมีเจตนาเพียงต้องการใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อหลบหนีเท่านั้นจำเลยจึงไม่มีความผิดฐานชิงทรัพย์ตามฟ้อง แต่การกระทำของจำเลยเป็นการใช้อาวุธปืนข่มขืนใจ ร. ให้มอบรถจักรยานยนต์โดย ทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกาย อันเป็นความผิดต่อเสรีภาพตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 วรรคสอง ซึ่งศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามทางพิจารณาที่ได้ความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคท้าย โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกานับโทษจำเลยต่อจากคดีอื่น ปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้มีคำขอมาท้ายฟ้องหรือขอแก้เพิ่มเติมฟ้องในเรื่องขอให้นับโทษต่อเสียก่อนมีคำพิพากษาศาลชั้นต้น เพิ่งจะขอมาหลังจากศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาและจำเลยฎีกาต่อมา จึงไม่อาจนับโทษจำเลยต่อจากคดีอื่นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3608/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยใช้อาวุธปืนข่มขืนใจผู้อื่นและหลบหนี แม้ไม่มีเจตนาชิงทรัพย์ แต่ผิดฐานข่มขืนใจและบุกรุก
ความผิดตาม พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ และ ป.อ. มาตรา 371 ซึ่งเป็นความผิดสองกรรมแรก ศาลชั้นต้นให้ลงโทษฐานมีอาวุธปืนไม่ได้รับอนุญาตจำคุก 1 ปี ฐานพาอาวุธปืนไม่รับอนุญาตจำคุก 6 เดือนและความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335(3)(7) วรรคสาม ประกอบด้วยมาตรา 80,83 มาตรา 364,365 ซึ่งเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่งศาลชั้นต้นให้ลงโทษบทหนักตามมาตรา 335 วรรคสามประกอบด้วยมาตรา 80,83 จำคุก 1 ปี นั้น ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลดโทษลง 1 ใน 3 เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขเล็กน้อยความผิดทั้งสามกรรมดังกล่าวจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก จำเลยใช้อาวุธปืนยิง ท. แล้วใช้อาวุธปืนจี้เอารถจักรยานยนต์ของ ร.ขับหลบหนีไป แล้วจำเลยนำรถจักรยานยนต์นั้นไปทิ้งไว้ข้างทางห่างจากที่เกิดเหตุประมาณ 20 กิโลเมตร จำเลยไม่ได้นำรถจักรยานยนต์ดังกล่าวไปเป็นประโยชน์ของตนหรือผู้อื่นพฤติการณ์ของจำเลยไม่มีเจตนาประสงค์จะเอาทรัพย์คืนรถจักรยานยนต์นั้นแต่ประการใด คงมีเจตนาเพียงต้องการใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อหลบหนีเท่านั้น จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานชิงทรัพย์ แต่การกระทำของจำเลยดังกล่าวก็เป็นการใช้อาวุธปืนข่มขืนใจ ร.ให้มอบรถจักรยานยนต์โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกาย อันเป็นความผิดต่อเสรีภาพ ตาม ป.อ. มาตรา 309วรรคสอง ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยตามทางพิจารณาที่ได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกานับโทษจำเลยต่อจากคดีอื่นโดยโจทก์ไม่ได้มีคำขอท้ายฟ้องหรือขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องเสียก่อนมีคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพิ่งจะมาขอหลังจากศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาแล้วและจำเลยฎีกาต่อมา จึงไม่อาจนับโทษจำเลยต่อจากคดีอื่นได้.
of 18