พบผลลัพธ์ทั้งหมด 178 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2289/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินหลังเลิกสัญญาจะซื้อจะขาย การบุกรุกทำลายทรัพย์สินและการลักทรัพย์
จำเลยทั้งสองเข้าไปขุดดิน เกรดิน ขุดบ่อ และปั้นอิฐขายในที่ดินซึ่งเป็นของโจทก์ร่วมโดยที่จำเลยทั้งสองไม่มีสิทธิที่จะกระทำได้ จึงเป็นการร่วมกันเข้าไปรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ร่วมโดยปกติสุข และร่วมกันทำที่ดินของโจทก์ร่วมเสียหายกับเอาที่ดินของโจทก์ร่วมไปโดยทุจริต เป็นความผิดฐานบุกรุก ทำให้เสียทรัพย์และลักทรัพย์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2205/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาจำนอง: ข้อสงสัยต้องตีความเป็นคุณแก่ลูกหนี้
หนังสือสัญญาต่อท้ายหนังสือจำนองมีข้อความว่า ผู้จำนองได้จำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันเงินซึ่งผู้จำนองเป็นหนี้ผู้รับจำนองอยู่ในเวลานี้หรือในเวลาใดเวลาหนึ่งต่อไปภายหน้าเป็นจำนวนเงิน 160,000 บาท หรือในเรื่องเงินจำนวนใดจำนวนหนึ่งซึ่งผู้จำนองเป็นหนี้ผู้รับจำนองอยู่ในเวลานี้หรือจะเป็นหนี้ต่อไปในภายหน้า ผู้จำนองยอมรับผิดชอบทั้งสิ้น ข้อความในสัญญาดังกล่าวในตอนแรกระบุว่า การจำนองรายนี้เป็นประกันหนี้เงิน 160,000 บาทซึ่งเท่ากับจำนวนเงินที่โจทก์กู้ยืมไปจากจำเลย ส่วนข้อความในตอนหลังที่ระบุให้การจำนองเป็นประกันเงินจำนวนใดจำนวนหนึ่งซึ่งผู้จำนองเป็นหนี้ผู้รับจำนองอยู่ในเวลานี้หรือจะเป็นหนี้ต่อไปในภายหน้านั้นไม่ได้ระบุให้ชัดแจ้งว่า ให้เป็นประกันถึงหนี้อันเกิดจากมูลละเมิดหรือหนี้อย่างอื่นคนละประเภทกันที่จะเกิดขึ้นในภายหน้า กรณีจึงมีข้อสงสัย ดังนั้น การตีความถึงเจตนาของคู่สัญญาในกรณีที่มีข้อสงสัยเช่นนี้ ต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายที่จะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้น ต้องฟังว่าสัญญาจำนองรายนี้ไม่ได้ประกันถึงหนี้อันเกิดจากมูลละเมิดซึ่งโจทก์จะต้องรับผิดต่อจำเลยอีกประเภทหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2205/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการจำนอง: สัญญาจำนองครอบคลุมเฉพาะหนี้เดิมหรือไม่? ศาลตีความสัญญาโดยคำนึงถึงฝ่ายเสียเปรียบ
หนังสือสัญญาต่อท้ายหนังสือสัญญาจำนองมีข้อความว่าผู้จำนองได้จำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันเงินซึ่งผู้จำนองเป็นหนี้ผู้รับจำนองอยู่ในเวลานี้หรือในเวลาใดเวลาหนึ่งต่อไปในภายหน้าเป็นจำนวนเงิน 160,000 บาท หรือในเรื่องเงินจำนวนใดจำนวนหนึ่งซึ่งผู้จำนองเป็นหนี้ผู้รับจำนองอยู่ในเวลานี้หรือจะเป็นหนี้ต่อไปในภายหน้า ผู้จำนองยอมรับผิดชอบทั้งสิ้นข้อความตอนแรกที่ระบุว่าการจำนองรายนี้เป็นประกันหนี้เงิน160,000 บาท ซึ่งเท่ากับจำนวนเงินที่โจทก์กู้ยืมไปจากจำเลยส่วนข้อความในตอนหลังที่ระบุให้การจำนองเป็นประกันเงินจำนวนใดจำนวนหนึ่งซึ่งผู้จำนองเป็นหนี้ผู้รับจำนองอยู่ในเวลานี้หรือจะเป็นหนี้ต่อไปในภายหน้านั้นไม่ได้ระบุให้ชัดแจ้งว่าให้เป็นประกันถึงหนี้อันเกิดจากมูลละเมิดหรือหนี้อย่างอื่นคนละประเภทกันที่จะเกิดขึ้นในภายหน้า กรณีจึงมีข้อสงสัย ดังนั้นการตีความถึงเจตนาของคู่สัญญาในกรณีที่มีข้อสงสัยเช่นนี้ ต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายที่จะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้นดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11 จึงต้องฟังว่าสัญญาจำนองรายนี้ไม่ได้ประกันถึงหนี้อันเกิดจากมูลละเมิดซึ่งโจทก์จะต้องรับผิดต่อจำเลยอีกประเภทหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2200/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้สองประเภท (เงินกู้และเช่าซื้อ) แม้ทวงรวมกันก็ไม่แปรสภาพเป็นหนี้เดียวกัน การยึดทรัพย์สินชำระหนี้ประเภทหนึ่ง ไม่กระทบหนี้อีกประเภท
จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่ 2 ประเภท คือ หนี้เงินกู้ประเภทหนึ่งและหนี้ค่าเช่าซื้อรถแทรกเตอร์อีกประเภทหนึ่ง โจทก์ได้มีหนังสือทวงถามหนี้ทั้ง 2 ประเภทรวมกันไปยังจำเลย การที่โจทก์ทวงหนี้จำเลยทั้ง 2 ประเภท โดยทำหนังสือทวงถามฉบับเดียวกันจะแปลว่าหนี้ 2 ประเภทนั้นได้แปลงเป็นหนี้ใหม่แล้วหรือแปรสภาพเป็นหนี้เดียวกันแล้วหาได้ไม่เพราะการที่จะถือว่ามีการแปลงหนี้ใหม่จะต้องได้ความว่าคู่กรณีคือ โจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้กัน แต่เรื่องนี้โจทก์จำเลยไม่ได้ทำสัญญาเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ ดังนี้แม้โจทก์ได้ยึดรถแทรกเตอร์จากจำเลยคืนไปอันอาจทำให้หนี้ค่าเช่าซื้อรถแทรกเตอร์ระงับไปก็ตาม ก็ไม่ทำให้หนี้เงินกู้ซึ่งเป็นหนี้อีกประเภทหนึ่งระงับไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2138/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีมีทุนทรัพย์ไม่เกินห้าหมื่นบาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น จึงห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินผลประโยชน์ตอบแทนในการจำหน่ายสินค้าพร้อมดอกเบี้ยรวมจำนวน 81,391.75 บาทแก่โจทก์ แต่จำนวนเงินและดอกเบี้ยที่โจทก์แต่ละคนมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองทั้งสองร่วมกันรับผิดชำระให้นั้นมีส่วนเท่า ๆ กันคนละ 40,695,875 บาท ไม่ใช่เป็นหนี้ร่วมที่ไม่อาจแบ่งแยกได้จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ไม่เกินห้าหมื่นบาท และเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2100/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องขาดตกบกพร่องจากการส่งมอบที่ดิน ผู้ซื้อทราบข้อบกพร่องเมื่อรับโอน
จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินให้แก่โจทก์ จำนวน 104ตารางวา โดยจะแบ่งแยกที่ดินจากที่ดินผืนใหญ่เป็นที่ดินแปลงย่อย4 แปลง มีเนื้อที่แปลงละ 26 ตารางวา ต่อมาเมื่อแบ่งแยกแล้วปรากฏว่าที่ดินทั้งสี่แปลงมีเนื้อที่แปลงละ 24 ตารางวาคงขาดเนื้อที่ดินไปแปลงละ 2 ตารางวา รวม 8 ตารางวา ถือว่าผู้ขายคือจำเลยส่งมอบที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์ที่ซื้อขายขาดตกบกพร่องโจทก์ต้องฟ้องคดีให้จำเลยรับผิดในการแบ่งแยกที่ดินให้โจทก์อีก 8 ตารางวา หรือชดใช้เงินแทนภายในกำหนด 1 ปี นับแต่เวลาส่งมอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 467
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2100/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีส่งมอบทรัพย์สินขาดตกบกพร่อง เริ่มนับแต่วันส่งมอบทรัพย์สิน ผู้ซื้อต้องฟ้องภายใน 1 ปี
จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินให้แก่โจทก์ จำนวน 104 ตารางวาโดยจะแบ่งแยกที่ดินจากที่ดินฝืนใหญ่เป็นที่ดินแปลงย่อย 4 แปลงมีเนื้อที่แปลงละ 26 ตารางวา ต่อมาเมื่อแบ่งแยกแล้วปรากฏว่าที่ดินทั้งสี่แปลงมีเนื้อที่แปลงละ 24 ตารางวา คงขาดเนื้อที่ดินไปแปลงละ 2 ตารางวา รวม 8 ตารางวา ถือว่าผู้ขายคือจำเลยส่งมอบที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์ที่ซื้อขายขาดตกบกพร่อง โจทก์ต้องฟ้องคดีให้จำเลยรับผิดในการแบ่งแยกที่ดินให้โจทก์อีก 8 ตารางวาหรือชดใช้เงินแทนภายในกำหนด 1 ปี นับแต่เวลาส่งมอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 467
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1852/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วมสามีภรรยาจากการทำธุรกิจร่วมกัน และสิทธิในการกันส่วนทรัพย์สิน
จำเลยที่ 2 สามีโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ร้องทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์มีทรัพย์พิพาทจำนองเป็นประกันโดยผู้ร้องยินยอมและให้ผู้ร้องมีสิทธิเบิกจ่ายเงินจากบัญชีได้เพื่อนำเงินมาลงทุนทำการค้าขายพืชไร่ร่วมกัน ถือว่าเป็นหนี้ร่วมอันเกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภรรยาทำด้วยกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1490(3) ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอกันส่วนของผู้ร้องจากทรัพย์พิพาทที่ขายทอดตลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1832/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีความผิดตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 แม้ไม่มีผู้ร้องทุกข์
นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุดโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นความผิดตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 2,8 ซึ่งไม่ใช่ความผิดต่อส่วนตัว แม้ไม่มีผู้ใดร้องทุกข์หรือกล่าวโทษ เมื่อความผิดปรากฏต่อพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนก็ทำการสอบสวนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1583/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายโดยเจตนาเล็กน้อย ศาลลดโทษจากความผิดฐานทำร้ายร่างกายเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส
ป. พวกของจำเลยไม่พอใจผู้เสียหายเพราะ ป. ขับขี่รถจักรยานยนต์เฉี่ยวผู้เสียหาย ผู้เสียหายยกศอกขึ้นกันถูกศีรษะป. สาเหตุดังกล่าวเป็นเหตุเพียงเล็กน้อยไม่ทำให้ ป. กับพวกโกรธแค้นถึงกับจะต้องฆ่าผู้เสียหาย เมื่อ ป. กับพวกและจำเลยพบกับผู้เสียหาย ป. ได้พูดจาโต้เถียงแล้วพวกของ ป. ชกผู้เสียหายห. ใช้มีดปลายแหลมแทงผู้เสียหาย จำเลยกับพวกที่เหลือเข้ามารุมต่อยแสดงว่าพวก ป. มีความโกรธเกิดขึ้นในปัจจุบันทันที ทั้งไม่ปรากฏว่าได้สมคบกันมาก่อนต่างคนต่างมีเจตนาทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย ดังนั้น แต่ละคนจึงมีความผิดตามผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำของแต่ละคน เมื่อจำเลยเพียงแต่ชกต่อยผู้เสียหายแต่ผู้เสียหายไม่มีแผลฟกช้ำซึ่งแสดงว่าถูกต่อย จำเลยจึงมีความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ตามป.อ. มาตรา 391 แม้โจทก์จะไม่ได้ขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 391 แต่ศาลก็มีอำนาจลงโทษได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย.