คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิทูรย์ สุทธิประภา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 178 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5392/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางเงินชำระหนี้หลังศาลตัดสิน: สิทธิการรับเงินของโจทก์ แม้จำเลยคัดค้าน
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี จำเลยไม่อุทธรณ์ถือว่าพอใจในผลของคำพิพากษาแล้ว แม้โจทก์จะอุทธรณ์เพื่อให้จำเลยรับผิดเต็มตามจำนวนในฟ้อง ผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ไม่ว่าจะเป็นประการใดย่อมจะไม่ลดความรับผิดของจำเลยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นลงอีก การที่จำเลยนำเงิน ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลก่อนที่โจทก์จะขอหมายบังคับคดี และจำเลยวางเงินต่อศาลโดยไม่ปรากฏสาเหตุ ดังนั้นจะถือว่า เป็นการวางเพื่อให้มีผลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 295(1) ไม่ได้ ต้องถือว่าจำเลยวางเงินเพื่อชำระหนี้ ให้โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลย่อมอนุญาตให้โจทก์ รับเงินที่จำเลยวางไว้ต่อศาลชั้นต้น แม้จำเลยจะคัดค้านก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5392/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลคำพิพากษาศาลชั้นต้นมีผลผูกพัน แม้จำเลยวางเงินหลังฟ้องอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี จำเลยไม่อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น ถือว่าพอใจในผลของคำพิพากษาแล้ว แม้โจทก์จะอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 เพื่อให้จำเลยรับผิดเต็มตามจำนวนในฟ้อง ผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่ว่าจะเป็นประการใดจะไม่ลดความรับผิดของจำเลยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นลงอีก และที่จำเลยนำเงินตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลก่อนที่โจทก์จะขอหมายบังคับคดีและโดยไม่ปรากฎสาเหตุจะถือว่าเป็นการวางเพื่อให้มีผลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 295 (1) ไม่ได้ ต้องถือว่าจำเลยวางเงินเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น แม้จำเลยจะคัดค้านก็ไม่ตัดอำนาจศาลชั้นต้นที่จะสั่งอนุญาตให้โจทก์รับเงินที่จำเลยวางไว้ต่อศาลชั้นต้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5350/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินมรดก: การยกที่ดินให้บุตรและสิทธิของทายาทอื่น, อายุความ
แม้จะไม่ปรากฏใบแต่งทนายสำหรับ อ.แต่อ. ได้ เรียงคำฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนโจทก์ จน เสร็จการพิจารณาของศาลชั้นต้นโดยโจทก์ยอมรับเอาผลของการดำเนินกระบวนพิจารณานั้นตลอดมา และฝ่ายจำเลยก็มิได้คัดค้านประการใดมาแต่ต้น ตามพฤติการณ์น่าเชื่อว่าโจทก์ได้ให้ อ. เป็นทนายความของโจทก์ในคดีนี้แล้วเมื่อปรากฏว่ายังไม่มีใบแต่งทนายสำหรับ อ. อยู่ในสำนวนศาลก็มีอำนาจที่จะอนุญาตให้แก้ไขจัดทำเสียให้ถูกต้องได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 แม้ศาลชั้นต้นมิได้ให้แก้ไขข้อบกพร่องก่อนพิพากษาคดี แต่โจทก์ก็ได้ยื่นใบแต่งทนายแต่งตั้ง อ.เป็นทนายความในคดีพร้อมกับการยื่นอุทธรณ์ อันเป็นการแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวการดำเนินกระบวนพิจารณาของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์ที่ ย.และ จ.ได้มาในระหว่างเป็นสามีภรรยากัน เมื่อ ย.ถึงแก่กรรม การสมรสย่อมสิ้นสุดลงโดยผลของกฎหมาย ทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาก็ต้องแบ่งกันฝ่ายละครึ่ง ดังนั้น จ. จึงยกที่ดินพิพาทให้จำเลยได้เฉพาะส่วนที่เป็นของ จ. เท่านั้น แต่ส่วนที่เป็นของ ย. ต้องเป็นทรัพย์มรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมโจทก์ทั้งห้าและจำเลยเป็นบุตรของ ย. ซึ่งเป็นเจ้ามรดกโจทก์ทั้งห้าและจำเลยจึงเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่ 1 จ.เป็นคู่สมรส เป็นทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1629 มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งมรดกเสมือนทายาทชั้นบุตรตามมาตรา 1635 ที่ดินพิพาทส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกของ ย.ต้องแบ่งออกเป็น 7 ส่วนเท่า ๆ กัน เพื่อแบ่งให้แก่โจทก์ทั้งห้า จำเลยและ จ. คนละ 1 ส่วน ปัญหาที่จำเลยฎีกาว่า คดีขาดอายุความนั้น ในชั้นอุทธรณ์จำเลยมิได้ยกอายุความขึ้นอ้างเป็นประเด็นให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไว้ ประเด็นเรื่องอายุความจึงมิใช่เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5350/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งทนายโดยไม่ปรากฏใบแต่ง และการแบ่งมรดกในทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยา
แม้จะไม่ปรากฏใบแต่งทนายสำหรับ อ. แต่ อ.ได้เรียงคำฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนโจทก์จนเสร็จการพิจารณาของศาลชั้นต้นโดยโจทก์ยอมรับเอาผลของการดำเนินกระบวนพิจารณานั้นตลอดมา และฝ่ายจำเลยก็มิได้คัดค้านประการใดมาแต่ต้น ตามพฤติการณ์น่าเชื่อว่าโจทก์ได้ให้ อ.เป็นทนายความของโจทก์ในคดีนี้แล้ว เมื่อปรากฏว่ายังไม่มีใบแต่งทนายสำหรับ อ.อยู่ในสำนวน ศาลก็มีอำนาจที่จะอนุญาตให้แก้ไขจัดทำเสียให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27 แม้ศาลชั้นต้นมิได้ให้แก้ไขข้อบกพร่องก่อนพิพากษาคดี แต่โจทก์ก็ได้ยื่นใบแต่งทนายแต่งตั้ง อ.เป็นทนายความในคดีพร้อมกับการยื่นอุทธรณ์ อันเป็นการแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว การดำเนินกระบวนพิจารณาของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์ที่ ย.และ จ.ได้มาในระหว่างเป็นสามีภรรยากัน เมื่อ ย.ถึงแก่กรรม การสมรสย่อมสิ้นสุดลงโดยผลของกฎหมาย ทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาก็ต้องแบ่งกันฝ่ายละครึ่ง ดังนั้น จ.จึงยกที่ดินพิพาทให้จำเลยได้เฉพาะส่วนที่เป็นของ จ.เท่านั้น แต่ส่วนที่เป็นของ ย.ต้องเป็นทรัพย์มรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรม โจทก์ทั้งห้าและจำเลยเป็นบุตรของ ย.ซึ่งเป็นเจ้ามรดกโจทก์ทั้งห้าและจำเลยจึงเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่ 1 จ.เป็นคู่สมรส เป็นทายาทโดยธรรมตาม ป.พ.พ.มาตรา 1629 มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งมรดกเสมือนทายาทชั้นบุตร ตามมาตรา 1635 ที่ดินพิพาทส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกของ ย.ต้องแบ่งออกเป็น 7 ส่วนเท่า ๆ กัน เพื่อแบ่งให้แก่โจทก์ทั้งห้า จำเลยและ จ.คนละ 1 ส่วน
ปัญหาที่จำเลยฎีกาว่า คดีขาดอายุความนั้น ในชั้นอุทธรณ์จำเลยมิได้ยกอายุความขึ้นอ้างเป็นประเด็นให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไว้ ประเด็นเรื่องอายุความจึงมิใช่เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4960/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับสัญญาเมื่อผู้รับจ้างทิ้งงาน: สิทธิปรับรายวันของผู้ว่าจ้างมีเงื่อนไขว่าต้องไม่ยอมรับการทิ้งงาน
ตามสัญญา ถ้าผู้รับจ้างส่งมอบงานล่าช้ากว่าวันแล้วเสร็จตามสัญญา หากผู้รับจ้างยังทำงานให้ผู้ว่าจ้างมีสิทธิปรับเป็นรายวันการที่ผู้รับจ้างทิ้งงานไปแล้ว แต่โจทก์ไม่บอกเลิกสัญญาในทันทีทำนองรับเอาความเสียหายที่เกิดขึ้น กรณีไม่เข้าตามข้อกำหนดในสัญญาและคู่กรณีไม่ได้ตกลงเรื่องผู้รับจ้างทิ้งงานไปเป็นพิเศษ โจทก์ในฐานะผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิปรับจำเลยเป็นรายวันได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4960/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความล่าช้าในการส่งมอบงานและผลกระทบต่อสิทธิปรับรายวันของผู้ว่าจ้าง
ตามสัญญา ถ้าผู้รับจ้างส่งมอบงานล่าช้ากว่าวันแล้วเสร็จตามสัญญา หากผู้รับจ้างยังทำงานให้ผู้ว่าจ้างมีสิทธิปรับเป็นรายวัน การที่ผู้รับจ้างทิ้งงานไปแล้ว แต่โจทก์ไม่บอกเลิกสัญญาในทันที ทำนองรับเอาความเสียหายที่เกิดขึ้น กรณีไม่เข้าตามข้อกำหนดในสัญญา และคู่กรณีไม่ได้ตกลงเรื่องผู้รับจ้างทิ้งงานไปเป็นพิเศษ โจทก์ในฐานะผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิปรับจำเลยเป็นรายวันได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4766/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นบัญชีระบุพยานล่าช้าในคดีภาษีอากร แม้ศาลเลื่อนชี้สองสถาน ก็ยังต้องยึดกำหนดเวลาเดิม
โจทก์ไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลภาษีอากรกลางก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า 7 วัน แต่ได้ยื่นคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยาน ศาลสั่งว่ารอไว้สั่งวันนัดชี้สองสถานครั้นถึงวันนัดชี้สองสถานศาลสอบจำเลยแล้ว จำเลยคัดค้านศาลจึงนัดไต่สวนคำร้องของ โจทก์ โดยเลื่อนการชี้สองสถานในวันดังกล่าวไป เพื่อทำการไต่สวนคำร้องก่อน การที่ไม่ได้มีการชี้สองสถานจริง ๆ จึงเกิดจากเหตุที่โจทก์มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานภายในกำหนดเวลา กรณีเช่นนี้จะถือเอาการชี้สองสถานจริง ๆ เป็นหลักในการนับระยะเวลายื่นบัญชีระบุพยานตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 8 วรรคหนึ่งไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4739/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจศาลอุทธรณ์ในคดีที่ศาลชั้นต้นลดโทษจำเลย และการพิจารณาคดีนอกเหนือจากการอุทธรณ์
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสองที่บัญญัติว่าคดีที่พิพากษาให้ลงโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิตนั้น หมายถึงโทษประหารชีวิตหรือโทษจำคุกตลอดชีวิตที่ศาลชั้นต้นลงจริง ๆ แก่จำเลย หาใช่โทษที่ศาลชั้นต้นวางไว้ก่อนลดโทษให้แก่จำเลยไม่
ศาลชั้นต้นวางโทษประหารชีวิตจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5แต่ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 และ 52 (2) คงให้จำคุกจำเลยที่ 1ที่ 3 และที่ 5 คนละ 30 ปี เมื่อโจทก์ จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 ไม่อุทธรณ์คงมีแต่จำเลยที่ 2 ที่ 4 และ ที่ 6 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จึงไม่มีอำนาจหยิบยกคดีของจำเลยดังกล่าวขึ้นพิจารณาตามบทกฎหมายดังกล่าว แต่หากศาลอุทธรณ์พิจารณาพยานหลักฐานโจทก์แล้วเห็นว่าจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 มิได้กระทำความผิดซึ่งเป็นเหตุลักษณะคดีแล้ว ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4575/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับเงินทดแทนกรณีลูกจ้างเสียชีวิตเป็นสิทธิเฉพาะตัว สิ้นสุดเมื่อผู้รับสิทธิเสียชีวิต
กรณีลูกจ้างประสบอันตรายถึงแก่ความตายนั้น สิทธิในการรับเงินทดแทนตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเป็นสิทธิเฉพาะตัวไม่ตกทอดแก่ทายาท ส. ถึงแก่ความตายในวันที่ 2 กรกฎาคม 2533ซึ่งขณะนั้น ส. ยังไม่ได้รับเงินทดแทน สิทธิเรียกร้องในการรับเงินทดแทนของ ส. ย่อมยุติลงในวันที่ 2 กรกฎาคม2533 ทายาทของ ส. หรือผู้ใดจะไปเรียกร้องเงินทดแทนส่วนของ ส. อีกไม่ได้ พนักงานเงินทดแทนมีคำสั่งยกคำร้องของ ส. ที่เรียกร้องเงินทดแทนก่อน ส. ตาย ย่อมทำให้สิทธิในการอุทธรณ์คำสั่งต่อจำเลยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว ข้อ 60ระงับสิ้นไปด้วย ซึ่งมีผลเท่ากับคำสั่งของพนักงานเงินทดแทนในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิจะได้รับเงินทดแทนของ ส.ถึงที่สุดนั่นเอง หาใช่สิทธินั้นยังคงมีอยู่ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4575/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับเงินทดแทนกรณีเสียชีวิตเป็นสิทธิเฉพาะตัว ไม่ตกทอดถึงทายาท
กรณีลูกจ้างประสบอันตรายถึงแก่ความตายนั้น สิทธิในการรับเงินทดแทนตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเป็นสิทธิเฉพาะตัว ไม่ตกทอดแก่ทายาท
ส.ถึงแก่ความตายในวันที่ 2 กรกฎาคม 2533 ซึ่งขณะนั้น ส.ยังไม่ได้รับเงินทดแทน สิทธิเรียกร้องในการรับเงินทดแทนของ ส.ย่อมยุติลงในวันที่2 กรกฎาคม 2533 ทายาทของ ส.หรือผู้ใดจะไปเรียกร้องเงินทดแทนส่วนของ ส.อีกไม่ได้
พนักงานเงินทดแทนมีคำสั่งยกคำร้องของ ส.ที่เรียกร้องเงินทดแทนก่อน ส.ตาย ย่อมทำให้สิทธิในการอุทธรณ์คำสั่งต่อจำเลยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว ข้อ 60 ระงับสิ้นไปด้วย ซึ่งมีผลเท่ากับคำสั่งของพนักงานเงินทดแทนในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิจะได้รับเงินทดแทนของ ส.ถึงที่สุดนั่นเอง หาใช่สิทธินั้นยังคงมีอยู่ไม่
of 18