พบผลลัพธ์ทั้งหมด 178 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3160/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องซ้ำซ้อนเรื่องผู้จัดการมรดก ศาลต้องไต่สวนคำคัดค้าน แม้มีคำสั่งก่อนหน้า
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ว.ผู้ตาย ต่อศาลชั้นต้นและคดีอยู่ในระหว่างไต่สวน ผู้ร้องไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการของ ว. ในเรื่องเดียวกันต่อศาลอื่นอีกเป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173วรรคสอง และเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต แม้ศาลนั้นจะมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของ ว.ก็ตาม คำสั่งดังกล่าวก็ไม่ผูกพันผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุคคลภายนอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3143/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรู้รายได้จากค่าปรับทางบัญชีและการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยใช้หลักเกณฑ์สิทธิ์
ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2519 โจทก์ทำสัญญาจะซื้อที่ดินและอาคารจากบริษัท ส. ในราคา 36,000,000 บาท ชำระราคาครบถ้วนแล้วและโจทก์ได้ลงบัญชีที่ดินและอาคารดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของโจทก์ ต่อมาบริษัท ส. ผิดสัญญาไม่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ จึงตกลงใช้ค่าปรับให้โจทก์เป็นเงิน 15,000,000 บาท โดยจะชำระให้เสร็จภายใน 5 ปี และโจทก์ได้ลงบัญชีในรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกันว่าบริษัท ส. เป็นลูกหนี้โจทก์ในเงินค่าปรับจำนวนดังกล่าวนอกจากนี้ยังได้หมายเหตุไว้ในงบกำไรขาดทุนและขาดทุนสะสมของรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกันว่าโจทก์จะได้รับชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวจากบริษัท ส.ภายใน5ปีและบริษัทส. ก็หมายเหตุไว้ในงบกำไรขาดทุนของตนว่า บริษัทจะชำระค่าปรับจำนวนดังกล่าวให้โจทก์ภายใน 5 ปี ดังนั้น การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่ว่าโจทก์มีเงินได้เป็นค่าปรับจากบริษัท ส. จำนวน 15,000,000 บาทในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2519 นั้น จึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ซึ่งใช้ระบบบัญชีเกณฑ์สิทธิ์มีหน้าที่ต้องนำค่าปรับดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยมาคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3043/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันตามคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีแพ่ง แม้มีการฟ้องล้มละลาย จำเลยยังคงเป็นหนี้
เมื่อคดีแพ่งที่พิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ต่อโจทก์ถึงที่สุดแล้ว โจทก์และจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นคู่ความในคดีดังกล่าวจะต้องผูกพันตามคำพิพากษานั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 คือต้องฟังว่าจำเลยทั้งสองเป็นหนี้โจทก์ตามจำนวนตามคำพิพากษา ดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติยกเว้นไว้ว่า คดีล้มละลายนั้นคู่ความไม่ต้องผูกพันในผลของคดีแพ่งซึ่งถึงที่สุดแล้ว การที่จำเลยในคดีล้มละลายมีสิทธินำสืบว่าตนไม่มีหนี้สินล้นพ้นตัวและไม่สมควรเป็นบุคคลล้มละลายตามที่จำเลยกล่าวอ้างนั้นเป็นเพียงสิทธินำสืบทั่ว ๆ ไปของจำเลยเท่านั้น ไม่ถึงกับนำสืบหักล้างผลของคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้วได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2809/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารมหาชน, การซื้อขายสังหาริมทรัพย์, ความรับผิดร่วมกิจการค้า
หนังสือรับรองซึ่งออกโดยนายทะเบียนสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ เป็นเอกสารมหาชนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง เป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายันต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสาร เมื่อไม่สืบพยานหักล้าง แม้ทางราชการจะออกหนังสือรับรองดังกล่าวให้ช้านานเพียงใดก็ต้องถือว่าเอกสารนั้นมีข้อความที่ถูกต้องสมบูรณ์
การซื้อขายสังหาริมทรัพย์ผู้ขายได้ส่งมอบสินค้าอันเป็นการชำระหนี้ฝ่ายผู้ขายแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสองและวรรคสาม ผู้ขายย่อมฟ้องร้องบังคับคดีได้โดยกฎหมายไม่บังคับให้ต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือ
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ประกอบกิจการค้าร่วมกัน โดยแบ่งหน้าที่กันทำ การที่จำเลยที่ 2 ผู้เดียวเป็นผู้สั่งซื้อสินค้าไปจากโจทก์ และเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คชำระหนี้ค่าสินค้าให้โจทก์ เช่นนี้ถือว่าเป็นการกระทำของจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 1 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดในหนี้ค่าสินค้าต่อโจทก์
การซื้อขายสังหาริมทรัพย์ผู้ขายได้ส่งมอบสินค้าอันเป็นการชำระหนี้ฝ่ายผู้ขายแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสองและวรรคสาม ผู้ขายย่อมฟ้องร้องบังคับคดีได้โดยกฎหมายไม่บังคับให้ต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือ
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ประกอบกิจการค้าร่วมกัน โดยแบ่งหน้าที่กันทำ การที่จำเลยที่ 2 ผู้เดียวเป็นผู้สั่งซื้อสินค้าไปจากโจทก์ และเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คชำระหนี้ค่าสินค้าให้โจทก์ เช่นนี้ถือว่าเป็นการกระทำของจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 1 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดในหนี้ค่าสินค้าต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2809/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารมหาชนมีน้ำหนักเบา แต่คู่ความต้องหักล้าง การค้าโดยร่วมกัน ความรับผิดร่วมกัน
หนังสือรับรองซึ่งออกโดยนายทะเบียนสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร กรมทะเบียนการค้ากระทรวงพาณิชย์ เป็นเอกสารมหาชนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง เป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายันต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสาร เมื่อไม่สืบพยานหักล้าง แม้ทางราชการจะออกหนังสือรับรองดังกล่าวให้ช้านานเพียงใดก็ต้องถือว่าเอกสารนั้นมีข้อความที่ถูกต้องสมบูรณ์ การซื้อขายสังหาริมทรัพย์ผู้ขายได้ส่งมอบสินค้าอันเป็นการชำระหนี้ฝ่ายผู้ขายแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 456 วรรคสองและวรรคสาม ผู้ขายย่อมฟ้องร้องบังคับคดีได้โดยกฎหมายไม่บังคับให้ต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ประกอบกิจการค้าร่วมกัน โดยแบ่งหน้าที่กันทำ การที่จำเลยที่ 2 ผู้เดียวเป็นผู้สั่งซื้อสินค้าไปจากโจทก์ และเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คชำระหนี้ค่าสินค้าให้โจทก์เช่นนี้ถือว่าเป็นการกระทำของจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 1ต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดในหนี้ค่าสินค้าต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2719-2720/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานการท่าเรือจ่ายทรัพย์เกินกว่าที่ควรจ่าย และราษฎรสนับสนุนการกระทำผิด
จำเลยเป็นพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายโดยเป็นเสมียนตรวจปล่อยสินค้าประจำโรงพักสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทย เป็นผู้ตรวจสอบสินค้าในรถยนต์บรรทุกและเขียนใบกำกับสินค้าตามที่เจ้าหน้าที่ศุลกากรสั่งปล่อย ย่อมเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จ่ายทรัพย์หรือสินค้าตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2719-2720/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานการท่าเรือจ่ายทรัพย์เกินกว่าที่ควร และราษฎรสนับสนุนการกระทำผิด
จำเลยเป็นพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายโดยเป็นเสมียนตรวจปล่อยสินค้าประจำโรงพักสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทยเป็นผู้ตรวจสอบสินค้าในรถยนต์บรรทุกและเขียนใบกำกับสินค้าตามที่เจ้าหน้าที่ศุลกากรสั่งปล่อย ย่อมเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จ่ายทรัพย์หรือสินค้าตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2653/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบการชำระหนี้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้ยืม การนำสืบประเด็นนอกฟ้องไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้เงินกู้และบังคับจำนอง จำเลยให้การว่าได้ชำระหนี้เงินกู้ให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว ในการนำสืบการใช้เงินจำเลยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้ยืมมาแสดงคงมีแต่ใบถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของธนาคารซึ่งมีชื่อจำเลยและ อ. บุตรสะใภ้ของจำเลยเป็นผู้ถอน เอกสารดังกล่าวไม่ใช่หลักฐานที่ลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้ยืมจึงต้องห้ามมิให้นำสืบการใช้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 653วรรคสอง ตามคำให้การจำเลยมิได้ให้การถึงว่า จำเลยได้กู้เงินจำนวน40,000 บาทเศษ ไปจากโจทก์และได้ชำระหนี้ให้โจทก์แล้ว ทั้งโจทก์ไม่ได้ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระเงินจำนวนนี้เช่นกัน โจทก์คงฟ้องเรียกให้จำเลยชำระเงิน 70,000 บาท ซึ่งเงินจำนวน 70,000บาท จำเลยให้การว่าไม่ได้กู้และไม่ได้รับเงินจากโจทก์ ฎีกาของจำเลยที่ว่าโจทก์ฉีกสัญญากู้ยืมเงินจำนวน 40,000 บาทเศษในการกู้คราวแรกถือว่าโจทก์เวนคืนหรือเพิกถอนสัญญากู้แสดงว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้แล้ว จึงเป็นเรื่องนอกประเด็นที่จำเลยให้การไว้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2503/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฉ้อฉลทางแพ่ง: การกู้ยืมเงินและโอนสิทธิเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้เจ้าหนี้อื่น
ระหว่างที่มีการทำสัญญากู้เงินระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้คัดค้านและบริษัท ภ. นั้น จำเลยที่ 1 ดำรงสินทรัพย์ขาดสภาพคล่องจำเลยที่ 1 รู้อยู่แล้วว่าไม่อาจชำระเงินคืนเจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินของจำเลยที่ 1 ได้ การที่ผู้คัดค้านกู้เงินจากจำเลยที่ 1 แล้วในวันเดียวกันนั้นผู้คัดค้านนำเงินจำนวนดังกล่าวทั้งหมดไปให้บริษัท ภ. กู้ จำเลยที่ 1 ยอมรับชำระหนี้จากผู้คัดค้านด้วยตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท ภ. โดยที่ขณะนั้นบริษัทภ. เป็นหนี้ จำเลยที่ 1 ตามตั๋วสัญญาใช้เงินถึง 64,000,000 บาทอยู่แล้ว และจำเลยที่ 1 ยืนยันจะไม่เรียกร้องเอาเงินส่วนที่ยังได้ไม่ครบจากผู้คัดค้านโดยผู้คัดค้านได้ผลประโยชน์จากผลต่างของดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1 เช่นนี้ เป็นพฤติการณ์ที่ส่อพิรุธให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 และผู้คัดค้านรู้ดีอยู่แล้วว่าการกระทำดังกล่าวจะทำให้เจ้าหนี้อื่นของจำเลยที่ 1 เสียเปรียบ อันเป็นการร่วมกันฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2347/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อที่ดินเพื่อปล่อยเช่าเป็นค่าใช้จ่ายลงทุน หักไม่ได้ตามมาตรา 65 ตรี (5) ประมวลรัษฎากร
ที่ดินที่โจทก์ซื้อมาด้วยเงินกู้เป็นทรัพย์สินที่เป็นทุนรอนของโจทก์ เงินที่โจทก์จ่ายเป็นค่าซื้อที่ดินย่อมเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากรเพราะเป็นรายจ่ายที่ทำให้โจทก์ได้ที่ดินมาโดยตรง ดอกเบี้ยของเงินกู้ที่โจทก์กู้มาซื้อที่ดิน แม้จะไม่เป็นรายจ่ายที่ทำให้โจทก์ได้ที่ดินมาโดยตรง แต่ก็เป็นรายจ่ายที่เกิดจากการกู้ยืมเงินมาซื้อที่ดินถือว่าเป็นรายจ่ายต่อเนื่องที่เป็นผลให้โจทก์ได้รับเงินกู้จากสถาบันการเงินมาซื้อที่ดิน ย่อมเป็นส่วนหนึ่งของค่าซื้อที่ดินซึ่งเป็นต้นทุน หาใช่ค่าใช้จ่ายธรรมดาในการดำเนินธุรกิจการค้าหากำไรของโจทก์ไม่ ดอกเบี้ยอันเกิดจากการที่โจทก์กู้ยืมเงินมาซื้อที่ดินนำไปให้ผู้อื่นเช่า จึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนเช่นเดียวกับเงินค่าซื้อที่ดิน แม้ที่ดินกับอาคารจะเป็นอสังหาริมทรัพย์เหมือนกัน แต่สภาพและหลักเกณฑ์ในการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินสองประเภทนี้หาเหมือนกันไม่ กล่าวคือ สภาพของอาคารย่อมสึกหรอและเสื่อมราคาไปตามกาลเวลาและพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145)พ.ศ. 2527 มาตรา 4(1) ยอมให้นำมูลค่าต้นทุนของอาคารหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของอาคารได้เป็นปี ๆ ไปตามอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ส่วนสภาพของที่ดินนั้นไม่อาจสึกหรอหรือเสื่อมราคาได้และพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวมาตรา 4(5) ไม่ยอมให้นำมูลค่าต้นทุนของที่ดินมาหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา จึงนำดอกเบี้ยของเงินกู้เพื่อซื้อที่ดินมาเปรียบเทียบกับดอกเบี้ยของเงินกู้เพื่อซื้ออาคารไม่ได้