คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิทูรย์ สุทธิประภา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 178 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2347/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อที่ดินเพื่อปล่อยเช่าเป็นค่าใช้จ่ายลงทุน หักไม่ได้ตามมาตรา 65 ตรี (5) ประมวลรัษฎากร
ที่ดินที่โจทก์ซื้อมาด้วยเงินกู้เป็นทรัพย์สินที่เป็นทุนรอนของโจทก์ เงินที่โจทก์จ่ายเป็นค่าซื้อที่ดินย่อมเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากรเพราะเป็นรายจ่ายที่ทำให้โจทก์ได้ที่ดินมาโดยตรง ดอกเบี้ยของเงินกู้ที่โจทก์กู้มาซื้อที่ดิน แม้จะไม่เป็นรายจ่ายที่ทำให้โจทก์ได้ที่ดินมาโดยตรง แต่ก็เป็นรายจ่ายที่เกิดจากการกู้ยืมเงินมาซื้อที่ดินถือว่าเป็นรายจ่ายต่อเนื่องที่เป็นผลให้โจทก์ได้รับเงินกู้จากสถาบันการเงินมาซื้อที่ดิน ย่อมเป็นส่วนหนึ่งของค่าซื้อที่ดินซึ่งเป็นต้นทุน หาใช่ค่าใช้จ่ายธรรมดาในการดำเนินธุรกิจการค้าหากำไรของโจทก์ไม่ ดอกเบี้ยอันเกิดจากการที่โจทก์กู้ยืมเงินมาซื้อที่ดินนำไปให้ผู้อื่นเช่า จึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนเช่นเดียวกับเงินค่าซื้อที่ดิน แม้ที่ดินกับอาคารจะเป็นอสังหาริมทรัพย์เหมือนกัน แต่สภาพและหลักเกณฑ์ในการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินสองประเภทนี้หาเหมือนกันไม่ กล่าวคือ สภาพของอาคารย่อมสึกหรอและเสื่อมราคาไปตามกาลเวลาและพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145)พ.ศ. 2527 มาตรา 4(1) ยอมให้นำมูลค่าต้นทุนของอาคารหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของอาคารได้เป็นปี ๆ ไปตามอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ส่วนสภาพของที่ดินนั้นไม่อาจสึกหรอหรือเสื่อมราคาได้และพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวมาตรา 4(5) ไม่ยอมให้นำมูลค่าต้นทุนของที่ดินมาหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา จึงนำดอกเบี้ยของเงินกู้เพื่อซื้อที่ดินมาเปรียบเทียบกับดอกเบี้ยของเงินกู้เพื่อซื้ออาคารไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2209/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสาร ท.ร.6 เป็นเอกสารราชการ ความผิดต่อเจ้าพนักงาน
เอกสารใบแจ้งย้าย ท.ร.6 ตอน 1 เป็นแบบฟอร์มของทางราชการที่นายทะเบียนผู้รับแจ้งย้ายออก และนายทะเบียนผู้รับแจ้งย้ายเข้าต้องลงชื่อเป็นผู้รับแจ้งในเอกสารนี้ด้วย จึงถือได้ว่าเป็นเอกสารซึ่งเจ้าพนักงานได้ทำขึ้น อันเป็นเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 1(8)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2041/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายจ่ายค่าที่พักและอาหารในการช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ป่าไม้ ไม่ถือเป็นรายจ่ายในการปราบปรามรักษาป่าตามสัญญาสัมปทาน
แม้โจทก์จะมีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือพนักงานเจ้าหน้าที่ในการดูแลรักษาและป้องกันป่าตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ขอร้องตามสัญญาสัมปทานทำไม้ แต่ตามสัญญาดังกล่าวโจทก์หามีหน้าที่ต้องจ่ายค่าที่พักโรงแรม ค่าอาหารในโรงแรมและค่าใช้จ่ายในไนท์คลับแทนพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่ปราบปรามและป้องกันรักษาป่าด้วยไม่เพราะการปราบปรามและป้องกันรักษาป่าเป็นงานในหน้าที่โดยตรงของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาให้ไปปฏิบัติอยู่แล้วทั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบหมายให้ไปปฏิบัติหน้าที่ปราบปรามและป้องกันรักษาป่ายังมีสิทธิที่จะได้รับเบี้ยเลี้ยงและค่าเช่าที่พักจากทางราชการอีกด้วย และทางราชการก็ไม่ได้ขอร้องให้โจทก์เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายดังกล่าวแต่อย่างใดจึงถือไม่ได้ว่าค่าที่พักโรงแรม ค่าอาหารในโรงแรม และค่าใช้จ่ายในไนท์คลับดังกล่าวเป็นรายจ่ายที่จะนำมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1915/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งยกเลิกการล้มละลายไม่ทำให้หนี้สูญเสียไป เจ้าหนี้มีสิทธิขอรับชำระหนี้ได้
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 136 บัญญัติว่าคำสั่งยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา 135(1) หรือ (2) นั้น ไม่ทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นหนี้สินแต่อย่างใด แสดงว่ากฎหมายดังกล่าวมิได้ยกเว้นไว้ว่าหนี้ใดจะต้องหลุดพ้นเพราะคำสั่งยกเลิกการล้มละลายจึงแปลว่าหนี้สินทุกชนิดที่มีอยู่ก่อนฟ้อง แม้ในคดีนี้จะได้ความว่าเจ้าหนี้เคยฟ้องลูกหนี้ในมูลหนี้เดียวกันนี้เป็นคดีล้มละลายต่อศาลชั้นต้นและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งไม่รับชำระหนี้ของเจ้าหนี้เพราะยื่นพ้นกำหนด 2 เดือน ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 91 แต่เมื่อศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวเห็นว่าลูกหนี้ไม่ควรถูกพิพากษาให้ล้มละลาย จึงมีคำสั่งให้ยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา 135(2) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483แล้ว หนี้ดังกล่าวย่อมกลับสภาพเป็นหนี้ที่สมบูรณ์อันทำให้เจ้าหนี้มีสิทธินำมาฟ้องร้องบังคับคดีได้ และนำมาขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1915/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ไม่สูญจากคำสั่งยกเลิกการล้มละลาย เจ้าหนี้มีสิทธิขอรับชำระหนี้ได้อีก
พระราชบัญญัติ ญญัติล้มละลายฯ มาตรา 136 บัญญัติว่า คำสั่งยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา 135(1) หรือ (2) นั้น ไม่ทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นหนี้สินแต่อย่างใด กฎหมายดังกล่าวมิได้ยกเว้นว่าหนี้ใดจะต้องหลุดพ้นเพราะคำสั่งยกเลิกการล้มละลาย จึงแปลได้ว่า หนี้สินทุกชนิดที่ลูกหนี้มีอยู่ก่อนฟ้องอย่างไรก็คงเป็นหนี้อยู่เช่นเดิมอย่างนั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายเคยมีคำสั่งไม่รับคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้เพราะยื่นพ้นกำหนด 2 เดือนตามพระราชบัญญัติ ล้มละลายฯ มาตรา 91 แต่เมื่อศาลชั้นต้นยกเลิกการล้มละลายแล้วหนี้ดังกล่าวย่อมกลับสภาพเป็นหนี้ที่สมบูรณ์อันทำให้เจ้าหนี้มีสิทธินำมาฟ้องบังคับคดีได้ รวมถึงการนำมาขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายคดีใหม่ได้ด้วย หาใช่ไม่มีมูลหนี้ที่จะนำมาขอรับชำระหนี้ได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1904/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโต้แย้งสิทธิในทรัพย์มรดก: การออก น.ส.3ก. โดยไม่ชอบ และการยื่นคำร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ไม่มีสิทธิ
เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรม ที่นาและที่ดินบ้านย่อมตกได้แก่โจทก์และทายาทอื่นรวมทั้ง ว.ด้วยการที่ว. นำที่นาและที่ดินบ้านดังกล่าวไปออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เป็นของตนแต่เพียงผู้เดียวย่อมเป็นการกระทำที่ไม่ชอบ ดังนั้นเมื่อต่อมา ว.ถึงแก่กรรม จำเลยซึ่งเป็นภริยาของ ว. ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ว.เพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกว. ที่ได้มาโดยไม่มีสิทธิดังกล่าว จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้เพื่อเรียกคืนทรัพย์มรดกจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิที่จะได้รับทรัพย์มรดกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1831/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนหุ้นในคดีล้มละลาย พิจารณาความสุจริตและค่าตอบแทนของผู้รับโอน
เมื่อการโอนหุ้นพิพาทระหว่างจำเลยกับผู้คัดค้านที่ 1 ได้กระทำขึ้นในระหว่างระยะเวลา 3 ปี ก่อนมีการขอให้จำเลยล้มละลายผู้คัดค้านที่ 1 จึงต้องมีภาระพิสูจน์ว่าได้รับโอนหุ้นพิพาทมาจากจำเลยโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน ผู้คัดค้านที่ 1 สนิทสนมกับจำเลยเป็นอย่างดี และได้ประกอบกิจการค้าอยู่ด้วยกัน 4-5 ปี ก่อนจำเลยถูกฟ้องให้เป็นบุคคลล้มละลายจำเลยได้ถูกฟ้องคดีแพ่งเรียกเงินตามเช็คและถูกฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค และในระหว่างระยะเวลานั้นผู้คัดค้านที่ 1 ก็ได้รับโอนหุ้นพิพาทมาจากจำเลย เมื่อผู้ร้องเรียกผู้คัดค้านที่ 1 มาสอบสวนเกี่ยวกับเรื่องการรับโอนหุ้นพิพาท ผู้คัดค้านที่ 1 ก็ไม่ยอมมา ส่อให้เห็นถึงความไม่สุจริตผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 114 ส่วนการโอนหุ้นพิพาทระหว่างผู้คัดค้านที่ 1 กับผู้คัดค้านที่ 2 เป็นการโอนกันภายหลังจากโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นบุคคลล้มละลายแล้วจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 116 การเพิกถอนการโอนหุ้นพิพาทเป็นไปโดยผลของคำพิพากษา ตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอน ก็ยังถือเป็นการโอนโดยชอบอยู่ กรณียังถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้อง ผู้ร้องคงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอนเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1795/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่ายเป็นความผิดสำเร็จ แม้ยังมิได้จำหน่าย
ความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายนั้น เมื่อผู้กระทำได้ยาเสพติดเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายแล้ว ย่อมเป็นความผิดสำเร็จ ไม่ว่าผู้กระทำผิดจะได้นำยาเสพติดดังกล่าวออกมาจำหน่ายให้แก่ผู้ใดหรือไม่ เมื่อจำเลยมียาเสพติดเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยจึงมีความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย มิใช่เป็นเพียงการพยายามกระทำความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1775/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลอนุญาตรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายที่ไม่ต้องแสดงเหตุผล หากไม่มีการโต้แย้ง
ในการตรวจคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้านคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายนี้ ดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้นเห็นชอบด้วยกับความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ชอบที่จะอนุญาตให้รับชำระหนี้ได้โดยไม่ต้องกล่าวแสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยไว้ในคำสั่งอนุญาต เพราะข้อเท็จจริงและเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยปรากฏอยู่ในความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว และก็เป็นการสั่งตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 106 ซึ่งได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะไม่จำต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 141(4) ประกอบด้วยมาตรา 153 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาใช้บังคับโดยอนุโลม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1710/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดเงินค่าหุ้นสมาชิกสหกรณ์: เงื่อนไขการถอนคืนและการบังคับคดี
เงินค่าหุ้นที่จำเลยที่ 1 ชำระแก่ผู้ร้องไปแล้ว ถือว่าเป็นเงินทุนของผู้ร้อง จำเลยที่ 1 จะถอนคืนในระหว่างที่ยังเป็นสมาชิกอยู่ไม่ได้เว้นแต่จะพ้นจากการเป็นสมาชิกของผู้ร้องและปราศจากภาระหนี้ที่มีต่อผู้ร้องแล้ว การถอนคืนเงินค่าหุ้นที่จำเลยที่ 1 ชำระแล้วจึงมีเงื่อนไข ดังนั้นเพื่อป้องกันสิทธิของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไว้มิให้เสียหาย จึงอาจออกคำสั่งอายัดได้แต่คำสั่งอายัดจะฝ่าฝืนเงื่อนไขแห่งหนี้ไม่ได้ เพราะอาจมีผลกระทบต่อสิทธิของลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ปัญหาว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจอายัดเงินค่าหุ้นหรือไม่เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท
of 18