พบผลลัพธ์ทั้งหมด 178 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1709/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: ศาลยืนตามคำพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย เนื่องจากมีหนี้สินล้นพ้นตัวและไม่มีความสามารถในการชำระหนี้
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ 82,300 บาท และเป็นหนี้บุคคลอื่นอีกหลายราย รวมหนี้ทั้งหมดแล้วเป็นเงินประมาณ 1,400,000 บาทจำเลยรับราชการเป็นครูระดับ 6 มีรายได้เป็นเงินเดือน 11,230 บาทและมีรายได้จากการสอนพิเศษเดือนละ 4,000 บาท ทั้งมีรายได้จากค่าเช่าบ้านเดือนละ 1,500 บาท นับว่ารายได้ยังน้อยมากเมื่อเทียบกับหนี้สิน ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีความตั้งใจจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์และเจ้าหนี้รายอื่นด้วยความสุจริตใจไม่มีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1709/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคำขอให้ล้มละลายจากหนี้สินจำนวนมากและความตั้งใจชำระหนี้
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ 82,300 บาท และเป็นหนี้บุคคลอื่นอีกหลายรายรวมหนี้ทั้งหมดแล้วเป็นเงินประมาณ 1,400,000 บาท จำเลยรับราชการเป็นครูระดับ 6 มีรายได้เป็นเงินเดือน 11,230 บาท และมีรายได้จากการสอนพิเศษเดือนละ 4,000 บาท ทั้งมีรายได้จากค่าเช่าบ้านเดือนละ 1,500 บาท นับว่ารายได้ยังน้อยมากเมื่อเทียบกับหนี้สิน ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีความตั้งใจจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์และเจ้าหนี้รายอื่นด้วยความสุจริตใจไม่มีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1637/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินสาธารณสมบัติ: โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครอง-ฟ้องขับไล่ไม่ได้ แม้เคยให้เช่าก่อน
โจทก์ทั้งสามฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยแต่ละคนรวม 47 สำนวน ออกไปจากที่ดินพิพาทและเรียกค่าเสียหาย โดยบรรยายฟ้องว่า ที่ดินที่จำเลยแต่ละสำนวนบุกรุกนั้นให้เช่าได้ไม่เกิน เดือนละ 5,000 บาท จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลในกรณีอื่นออกจากอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งในขณะยื่นคำฟ้องอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ 5,000 บาท จำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ และมิได้ยกข้อโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาที่ก่อให้เกิดสิทธิอยู่บนอสังหาริมทรัพย์นั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น คดีทั้ง 47 สำนวน จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสองซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ทั้งสามยื่นฎีกาที่โจทก์ทั้งสามฎีกาว่า โจทก์ทั้งสามมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทและได้ครอบครองตลอดมา โจทก์ทั้งสามเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย เมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน โจทก์หรือผู้ใดก็หามีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองไม่ แม้โจทก์ที่ 1 ที่ 2 และท. จะได้ครอบครองที่ดินพิพาทมาก่อนแล้วให้ ก. เช่าก็จะถือว่าโจทก์ทั้งสามมอบให้ ก. ครอบครองแทนมิได้เพราะโจทก์ทั้งสามและ ท. ไม่มีสิทธิจะให้เช่าหรือมอบให้ผู้ใดครอบครองแทน การที่โจทก์ที่ 1 ที่ 2 และ ท. ให้ ก.เช่าที่ดินพิพาททำประโยชน์ก็เท่ากับโจทก์ที่ 1 ที่ 2 และ ท. สละการครอบครองที่ดินที่ตนไม่มีสิทธินั้นให้แก่ ก.แล้ว ดังนั้นระหว่างโจทก์ทั้งสามกับจำเลย เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายครอบครองที่ดินพิพาทอยู่โจทก์ทั้งสามย่อมไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าจำเลย โจทก์ทั้งสามจึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ ปัญหาข้อนี้จำเลยส่วนใหญ่ได้ให้การต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์ทั้งสามแต่เป็นที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดิน การที่ศาลอุทธรณ์ยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัยจึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นและปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยบางคนจะไม่ได้ให้การต่อสู้ให้เป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ ศาลก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1583/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนผู้จัดการต้องรับผิดหนี้สินของห้างหุ้นส่วนจำกัด แม้สั่งจ่ายเช็คในนามห้างฯ และการยกข้อต่อสู้เรื่องมูลหนี้ต้องพิสูจน์การโอนเช็คโดยฉ้อฉล
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1077(2) และมาตรา 1087ผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วน จำกัด เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด หุ้นส่วนผู้จัดการจึงต้องรับผิดในบรรดาหนี้สินของห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น โดยไม่จำกัดจำนวน เมื่อจำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาท แม้จำเลยจะสั่งจ่ายเช็คในนามของห้างหุ้นส่วนจำกัด ก.จำเลยก็ต้องรับผิดตามเช็คนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1077(2),900 วรรคแรก การที่จำเลยให้การว่า จำเลยในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. สั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัดพ. เป็นการตอบแทนในการที่ห้างหุ้นส่วนดังกล่าวจะไม่ยื่นซองประมูลงานแข่งกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. มูลหนี้ตามเช็คพิพาทจึงขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เป็นกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายยกข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันเฉพาะบุคคลระหว่างผู้สั่งจ่ายคือจำเลยกับผู้ทรงคนก่อน คือห้างหุ้นส่วนจำกัด พ.ในกรณีเช่นนี้ จำเลยจะยกเป็นข้อต่อสู้โจทก์ ซึ่งเป็นผู้ทรงได้ต่อเมื่อได้ความว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. หรือผู้ทรงคนถัดไปโอนเช็คพิพาทให้แก่โจทก์โดยคบคิดกันฉ้อฉลตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 916เท่านั้น จำเลยไม่ได้ต่อสู้ว่ามีการโอนเช็คพิพาทให้โจทก์โดยคบคิดกันฉ้อฉล จำเลยจึงยกข้อต่อสู้ว่าเช็คพิพาทไม่มีมูลหนี้ต่อกันขึ้นต่อสู้โจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1539/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขุดหน้าดิน/ดูดทรายเป็นครั้งคราว ไม่ถือเป็นการยึดครองเพื่อแสดงเจตนาเป็นเจ้าของ
ผู้ร้องเข้าไปขุดหน้าดินขายในปี 2516 - 2517 และดูดทรายขายในปี 2526 ในที่ดินพิพาทเพียง 2 ครั้งเท่านั้น ไม่ได้กระทำสืบเนื่องติดต่อกันเป็นการเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทเป็นครั้งคราว ยังไม่ได้แสดงได้โดยแจ้งชัดว่าเป็นการใช้สิทธิยึดถือครองครองเหนือที่ดินพิพาทด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ผู้ร้องไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1539/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ต้องแสดงเจตนาเป็นเจ้าของและการทำประโยชน์ต่อเนื่อง การทำประโยชน์เป็นครั้งคราวไม่เพียงพอ
ผู้ร้องเข้าไปขุดหน้าดินขายในปี 2516-2517 และดูดทรายขายในปี 2526 ในที่ดินพิพาทเพียง 2 ครั้งเท่านั้น ไม่ได้กระทำสืบเนื่องติดต่อกันเป็นการเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทเป็นครั้งคราว ยังไม่ได้แสดงได้โดยแจ้งชัดว่าเป็นการใช้สิทธิยึดถือครอบครองเหนือที่ดินพิพาทด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ผู้ร้องไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1524/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ร่วมวางแผนฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน: การแบ่งหน้าที่และสังเกตการณ์
การที่จำเลยได้พูดปรึกษากับ ธ. และ ม. พร้อมทั้งได้มอบอาวุธปืนสั้นให้ ธ. แล้วมานอนคอยสังเกตการณ์อยู่ในร้านที่เกิดเหตุจนกระทั่ง ธ.ย้อนกลับมายิงผู้ตายถึงแก่ความตายนั้น เป็นพฤติการณ์ที่บ่งชี้ให้เห็นอย่างแน่ชัดว่าจำเลยกับพวกได้ร่วมกันวางแผนฆ่าผู้ตายโดยแบ่งหน้าที่กันทำ จึงถือว่าเป็นการฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1524/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ร่วมวางแผนฆ่าโดยแบ่งหน้าที่: การกระทำที่บ่งชี้ถึงเจตนาไตร่ตรองไว้ก่อน
การที่จำเลยได้พูดปรึกษากับ ธ. และ ม. พร้อมทั้งได้มอบอาวุธปืนสั้นให้ ธ. แล้วมานอนคอยสังเกตการณ์อยู่ในร้ายที่เกิดเหตุจนกระทั่ง ธ.ย้อนกลับมายิงผู้ตายถึงแก่ความตายนั้น เป็นพฤติการณ์ที่บ่งชี้ให้เห็นอย่างแน่ชัดว่าจำเลยกับพวกได้ร่วมกันวางแผนฆ่าผู้ตายโดยแบ่งหน้าที่กันทำ จึงถือว่าเป็นการฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1429/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: แม้ถอนฟ้องคดีก่อนได้ แต่ฟ้องซ้ำด้วยมูลหนี้เดิมก็ยังไม่ชอบ
คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องในคดีก่อนยังไม่ถึงที่สุดโดยจำเลยที่ 16 ถึงที่ 20 อุทธรณ์คำสั่งต่อศาลอุทธรณ์ ต้องถือว่าคดีก่อนยังคงอยู่ในระหว่างการพิจารณา การที่โจทก์นำมูลหนี้รายเดียวกันมาฟ้องจำเลยที่ 8 ถึงที่ 20เป็นคดีนี้อีก จึงเป็นการฟ้องซ้อนกับคดีก่อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 (1)แม้ต่อมาศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องและคดีก่อนถึงที่สุด ก็ไม่ทำให้ฟ้องโจทก์คดีนี้ซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมายมาแต่ต้น กลายเป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1429/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: แม้ถอนฟ้องคดีก่อนได้ แต่ฟ้องคดีหลังด้วยมูลหนี้เดิมยังเป็นฟ้องซ้อน
เมื่อคำสั่งของศาลที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องในคดีก่อนยังไม่ถึงที่สุด ก็ต้องถือว่าคดีก่อนยังคงอยู่ในระหว่างการพิจารณาการที่โจทก์นำมูลหนี้รายเดียวกันมาฟ้องจำเลยเป็นคดีอีกจึงเป็นการฟ้องซ้อนกับคดีก่อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) แม้ต่อมาคดีก่อนถึงที่สุดโดยศาลอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องก็หาทำให้ฟ้องคดีหลังซึ่งเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายมาแต่ต้นกลายเป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาใหม่