พบผลลัพธ์ทั้งหมด 178 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1046/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมแปลงเช็ค, เบิกความเท็จ, และความผิดของนิติบุคคล: บทลงโทษและขอบเขตความรับผิด
เมื่อเช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยทั้งสองอ้างว่าโจทก์สั่งจ่ายเพื่อชำระหนี้ค่าขายสินค้าของบริษัทจำเลยที่ 1 ให้แก่จำเลยที่ 1และจำเลยทั้งสองโดยไม่มีอำนาจและมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ได้จัดให้มีการเขียนวันที่สั่งจ่ายลงในเช็คนั้นเพื่อให้จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นนิติบุคคลได้รับชำระหนี้อันอยู่ในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ที่ได้จดทะเบียนไว้และเพื่อให้จำเลยที่ 1 ได้รับประโยชน์จากการกระทำนั้น จึงเป็นการร่วมกันทำเอกสารปลอมขึ้นบางส่วนโดยการเติมข้อความในเอกสารสิทธิและตั๋วเงินที่แท้จริง เพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารแท้จริงที่โจทก์ทำขึ้นโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานร่วมกันปลอมเอกสารสิทธิและตั๋วเงิน ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83,264,265,266(4) เมื่อจำเลยทั้งสองนำเช็คปลอมไปเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงิน จึงมีความผิดฐานร่วมกันใช้เอกสารสิทธิและตั๋วเงินปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83,268 จำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวและในฐานะกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 1 เบิกความต่อศาลในคดีอาญาว่า โจทก์ไม่ใช่พนักงานของจำเลยที่ 1 โจทก์ได้ซื้อสินค้าไปจากจำเลยที่ 1 แล้วสั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระค่าสินค้าโดยเช็คดังกล่าวได้เขียนรายการครบถ้วนซึ่งความจริงแล้วปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้จัดการฝ่ายขายของจำเลยที่ 1 ได้สั่งจ่ายเช็คโดยไม่ได้ลงวันที่สั่งจ่ายให้จำเลยทั้งสองไว้เพื่อเป็นประกันหนี้ไม่ใช่เพื่อชำระหนี้ และวันที่สั่งจ่ายในเช็คถือเป็นข้อสำคัญในคดีเพราะหากผู้สั่งจ่ายไม่ลงวันที่สั่งจ่ายก็ถือว่าไม่ได้ระบุวันในการกระทำผิด ผู้สั่งจ่ายเช็คไม่อาจมีความผิดได้ จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานเบิกความเท็จ ในการพิจารณาคดีอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 วรรคสอง สำหรับจำเลยที่ 1ถึงแม้จะเป็นนิติบุคคล แต่การที่จำเลยที่ 2 เบิกความดังกล่าวเป็นการเบิกความแทนจำเลยที่ 1 ด้วย ทั้งนี้สังเกตได้จากการที่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 มอบอำนาจให้ ศ. ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนจนมีการดำเนินคดีแก่โจทก์ทางอาญา และพนักงานอัยการฟ้องโจทก์เป็นจำเลยในข้อหาความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ การที่จำเลยที่ 2 เบิกความในคดีดังกล่าวจึงเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 แม้ในการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำเลยที่ 1 จะไม่ได้ระบุวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการเบิกความไว้แต่นิติบุคคลอาจเป็นโจทก์ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นจำเลยในกิจการตามวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลได้ ดังนั้นผู้จัดการของนิติบุคคลย่อมต้องเบิกความต่อศาล และถือได้ว่าเป็นการกระทำตามวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 เบิกความแทนจำเลยที่ 1 เป็นเท็จก็ถือได้ว่าเป็นการกระทำของจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานร่วมกันเบิกความเท็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 985/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินของบุคคลล้มละลาย: สิทธิอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และผลของการมอบอำนาจ
ศ. เป็นบุคคลล้มละลายได้มอบอำนาจให้โจทก์โอนที่ดินที่มีโฉนดและมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) รวมจำนวน45 แปลงให้โจทก์ โดยอ้างว่า ศ. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าวแทนโจทก์ การที่ศ. มีชื่อในโฉนดที่ดินและหนังสือรับรองการทำประโยชน์นั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1773 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครองดังนั้น ที่ดินทั้ง 45 แปลงดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 109(1)เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวที่จะจำหน่ายหรือจัดการทรัพย์สินนั้น ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 22(1)ศ.บุคคลล้มละลายไม่มีอำนาจกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 24 ศ. จึงไม่มีอำนาจทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์เป็นตัวแทนโอนที่ดินเป็นของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 985/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: สิทธิครอบครองตามชื่อในทะเบียน และอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ศ.เป็นบุคคลล้มละลายได้มอบอำนาจให้โจทก์โอนที่ดินที่มีโฉนดและมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก) รวมจำนวน 45 แปลงให้โจทก์ โดยอ้างว่า ศ.เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าวแทนโจทก์ การที่ ศ.มีชื่อในโฉนดที่ดินและหนังสือรับรองการทำประโยชน์นั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1773 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครองดังนั้น ที่ดินทั้ง 45 แปลงดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายตาม พ.ร.บ. ล้มละลายมาตรา 109 (1) เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวที่จะจำหน่ายหรือจัดการทรัพย์สินนั้น ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย มาตรา 22 (1) ศ.บุคคลล้มละลายไม่มีอำนาจกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตนตาม พ.ร.บ. ล้มละลายมาตรา 24 ศ.จึงไม่มีอำนาจทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์เป็นตัวแทนโอนที่ดินเป็นของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 985/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินในคดีล้มละลาย: สิทธิครอบครองเป็นของบุคคลล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการ
โจทก์อ้างว่ามีกรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครองในที่ดินตามโฉนดและ น.ส.3 ก. เพียงแต่โจทก์ให้ ศ. ซึ่งเป็นบุคคลล้มละลายถือไว้แทนโจทก์เท่านั้น ดังนั้นเมื่อ ศ. มีชื่อในโฉนดที่ดิน และ น.ส.3 ก.ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ดังนั้น ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลาย ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 109(1) เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะจำหน่ายหรือจัดการทรัพย์สินนั้น ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 22(1)ศ. บุคคลล้มละลายไม่มีอำนาจกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตนตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 24 ศ. จึงไม่มีอำนาจทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์เป็นตัวแทนโอนที่ดินดังกล่าวเป็นของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 973/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำสั่งศาลกรณีครอบครองปรปักษ์: การที่โจทก์ไม่ทราบเรื่องและไม่ได้คัดค้านทำให้คำสั่งศาลไม่ผูกพัน
แม้จำเลยจะมิได้ให้การเรื่องอำนาจฟ้องไว้โดยชัดแจ้ง แต่จำเลยก็ได้ให้การและอุทธรณ์ต่อมาถึงการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในอีกคดีหนึ่งว่า ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์ไว้แล้ว ทั้งอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนจำเลยจึงฎีกาในปัญหานี้ได้
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคดีก่อนว่า ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์นั้น แม้โจทก์ทั้งหกในคดีนี้จะมิได้เป็นคู่ความในคดีก่อน แต่ถ้าโจทก์ทั้งหกทราบเรื่องที่จำเลยยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์แล้ว โจทก์ทั้งหกไม่โต้แย้งคัดค้านภายในเวลาที่ศาลกำหนด โจทก์ทั้งหกก็ย่อมหมดสิทธิที่จะโต้แย้งคัดค้านอีกต่อไป เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์ทั้งหกไม่ทราบเรื่องที่จำเลยยื่นคำร้องขอและการดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีดังกล่าวจึงถือว่าโจทก์ทั้งหกเป็นบุคคลภายนอกคำสั่งศาลชั้นต้นในคดีก่อนไม่ผูกพันโจทก์ทั้งหก
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยเป็นเพียงผู้อาศัยในที่ดินพิพาท จำเลยไม่ฎีกาโต้แย้งคำวินิจฉัยนี้ ข้อเท็จจริงจึงยุติตามคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ดังกล่าว ที่จำเลยฎีกาว่า ขอถือเอาอุทธรณ์ของจำเลยเป็นส่วนหนึ่งของฎีกาด้วยนั้น เป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคดีก่อนว่า ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์นั้น แม้โจทก์ทั้งหกในคดีนี้จะมิได้เป็นคู่ความในคดีก่อน แต่ถ้าโจทก์ทั้งหกทราบเรื่องที่จำเลยยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์แล้ว โจทก์ทั้งหกไม่โต้แย้งคัดค้านภายในเวลาที่ศาลกำหนด โจทก์ทั้งหกก็ย่อมหมดสิทธิที่จะโต้แย้งคัดค้านอีกต่อไป เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์ทั้งหกไม่ทราบเรื่องที่จำเลยยื่นคำร้องขอและการดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีดังกล่าวจึงถือว่าโจทก์ทั้งหกเป็นบุคคลภายนอกคำสั่งศาลชั้นต้นในคดีก่อนไม่ผูกพันโจทก์ทั้งหก
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยเป็นเพียงผู้อาศัยในที่ดินพิพาท จำเลยไม่ฎีกาโต้แย้งคำวินิจฉัยนี้ ข้อเท็จจริงจึงยุติตามคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ดังกล่าว ที่จำเลยฎีกาว่า ขอถือเอาอุทธรณ์ของจำเลยเป็นส่วนหนึ่งของฎีกาด้วยนั้น เป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 973/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ & อำนาจฟ้อง: ผลผูกพันคู่ความที่ไม่เข้าร่วมคดีก่อน, สิทธิในที่ดิน
แม้จำเลยจะมิได้ให้การเรื่องอำนาจฟ้องไว้โดยชัดแจ้ง แต่จำเลยก็ได้ให้การและอุทธรณ์ต่อมาถึงการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในอีกคดีหนึ่งว่า ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์ไว้แล้ว ทั้งอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจึงฎีกาในปัญหานี้ได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคดีก่อนว่า ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์นั้น แม้โจทก์ทั้งหกในคดีนี้จะมิได้เป็นคู่ความในคดีก่อน แต่ถ้าโจทก์ทั้งหกทราบเรื่องที่จำเลยยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์แล้ว โจทก์ทั้งหกไม่โต้แย้งคัดค้านภายในเวลาที่ศาลกำหนด โจทก์ทั้งหกก็ย่อมหมดสิทธิที่จะโต้แย้งคัดค้านอีกต่อไป เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์ทั้งหกไม่ทราบเรื่องที่จำเลยยื่นคำร้องขอและการดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีดังกล่าวจึงถือว่าโจทก์ทั้งหกเป็นบุคคลภายนอก คำสั่งศาลชั้นต้นในคดีก่อนไม่ผูกพันโจทก์ทั้งหก ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยเป็นเพียงผู้อาศัยในที่ดินพิพาทจำเลยไม่ฎีกาโต้แย้งคำวินิจฉัยนี้ ข้อเท็จจริงจึงยุติตามคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ดังกล่าว ที่จำเลยฎีกาว่า ขอถือเอาอุทธรณ์ของจำเลยเป็นส่วนหนึ่งของฎีกาด้วยนั้น เป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 911/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมกันครอบครองฝิ่นเพื่อจำหน่าย: พยานหลักฐานเชื่อถือได้, คำรับสารภาพเป็นประโยชน์, ลดโทษตามกฎหมาย
พยานโจทก์ทั้งสามปากซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจผู้ตรวจค้นจับกุมและสอบสวนจำเลยทั้งสาม ไม่เคยรู้จักและไม่เคยมีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยที่ 2 มาก่อน จึงไม่มีเหตุระแวงสงสัยว่าจะกลั่นแกล้งเบิกความปรักปรำจำเลยที่ 2 ทั้งในตอนตรวจค้นและแจ้งข้อหาแก่จำเลยทั้งสามก็ได้กระทำต่อหน้าเจ้าพนักงานตำรวจชั้นผู้ใหญ่ประกอบกับในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนจำเลยที่ 1 ซึ่งให้การรับสารภาพ และจำเลยที่ 3 ซึ่งให้การปฏิเสธได้ให้การไว้อย่างไรผู้ทำบันทึกการจับกุมและผู้ทำบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนก็บันทึกคำให้การของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ไว้ตามคำให้การอย่างนั้น ซึ่งสอดคล้องและเชื่อมโยงกับบันทึกการจับกุมและบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 2 เชื่อว่าจำเลยที่ 2 ได้ให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนตามบันทึกการจับกุมและบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนดังที่พยานโจทก์เบิกความจริง ข้อนำสืบของจำเลยที่ 2ที่ว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนเจ้าพนักงานตำรวจให้จำเลยที่ 2 ลงชื่อในกระดาษหลายแผ่นโดยไม่อ่านข้อความให้ฟัง และไม่ได้ให้จำเลยที่ 2 อ่านเองนั้น คงมีแต่คำเบิกความของจำเลยที่ 2 อ้างตนเองเป็นพยานลอย ๆ ไม่น่าเชื่อพยานหลักฐานของจำเลยที่ 2 จึงไม่อาจรับฟังหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้ เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจค้นพบฝิ่นของกลางจากรถยนต์ปิกอัพที่จำเลยที่ 2 โดยสารมาพร้อมกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 และจำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพชั้นจับกุมและชั้นสอบสวน ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 มีฝิ่นของกลางไว้ในความครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาตตามฟ้องโจทก์จริง คำรับสารภาพของจำเลยที่ 2 ในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนมีประโยชน์แก่การพิจารณาเป็นอย่างมาก สมควรลดโทษให้แก่จำเลยที่ 2หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 897/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์สินผิดประเภท: ศาลฎีกาพิพากษายืนว่าตำรวจต้องคืนรถยนต์ที่ยึดผิดให้เจ้าของ
ภายหลังจากที่ศาลมีคำสั่งให้ริบรถยนต์ ซึ่งเป็นทรัพย์ ที่จำเลยใช้กระทำความผิดแล้ว เจ้าพนักงานตำรวจ ไปยึดรถยนต์คันอื่นที่มิใช่รถยนต์คันที่ศาลมีคำสั่งให้ริบมา ย่อมเป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจที่จะต้องคืน รถยนต์นั้นแก่เจ้าของไป ศาลมีอำนาจคืนทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ก็แต่เฉพาะ ในกรณีที่ทรัพย์สินนั้นเป็นทรัพย์สินที่ศาลสั่งริบ และผู้เป็น เจ้าของที่แท้จริงมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดเท่านั้น เจ้าของจะยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งคืนรถยนต์คันดังกล่าวให้แก่ตนไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 886/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินฉ้อโกงประชาชน: กรรมการบริษัทร่วมรับผลประโยชน์ถือเป็นผู้กู้ยืมเงินด้วย แม้คดีอาญาไม่ถึงที่สุด
การที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1ร่วมกับจำเลยที่ 6 รับเงินจากผู้ร่วมลงทุนแล้วนำไปมอบให้จำเลยที่ 1รับผลประโยชน์จากจำเลยที่ 1 มามอบให้กับผู้ร่วมลงทุน โดยจำเลยที่ 4ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 1 เปอร์เซ็นต์ชักชวนให้บุคคลทั่วไปร่วมลงทุน เป็นการที่จำเลยที่ 4 และที่ 6กู้ยืมเงินตามพระราชกฤษฎีกาการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนพ.ศ. 2527 แล้ว แม้พระราชกฤษฎีกาการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯมาตรา 3 จะบัญญัติว่า ผู้กู้ยืมเงินหมายความว่าบุคคลผู้ทำการกู้ยืมเงินและในกรณีที่ผู้กู้ยืมเงินเป็นนิติบุคคลให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งลงนามในสัญญาหรือตราสารการกู้ยืมเงินในฐานะผู้แทนของนิติบุคคลนั้นด้วย แต่การที่จำเลยที่ 4 และที่ 6 ได้ร่วมดำเนินกิจการกับจำเลยที่ 1 และได้รับผลประโยชน์ตอบแทนถือได้ว่าจำเลยที่ 4และที่ 6 ร่วมกับจำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้ยืมเงินด้วย เพราะบุคคลธรรมดาอาจร่วมกับนิติบุคคลประกอบกิจการก็ได้ แม้จำเลยที่ 4 จะได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 เป็นคดีอาญาข้อหาฉ้อโกงประชาชนและความผิดตามพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ และเป็นโจทก์ฟ้องคดีล้มละลายก็ตาม ก็ยังถือว่าจำเลยที่ 4 และที่ 6 ร่วมดำเนินกิจการกับจำเลยที่ 1 อยู่นั่นเอง แม้ศาลอาญาจะพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 6 ในข้อหาฉ้อโกงและความผิดต่อพระราชกฤษฎีกาการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯแต่พนักงานอัยการโจทก์ยังอุทธรณ์คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จึงฟังเป็นยุติไม่ได้ว่าจำเลยที่ 6 ไม่ได้กระทำผิดตามพระราชกฤษฎีกา ดังกล่าวก็ตาม แต่ตามเจตนารมณ์ ของพระราชกฤษฎีกาการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ มาตรา 10 นั้น แม้ผู้กระทำผิดอยู่ในฐานะผู้ต้องหาและหากเข้าหลักเกณฑ์ที่จะเป็นบุคคลล้มละลาย พนักงานอัยการก็มีอำนาจฟ้องผู้กระทำผิดดังกล่าวให้เป็นบุคคลล้มละลายได้ ทั้ง ๆ ที่ในขณะฟ้องยังไม่ปรากฏชัดแจ้งว่าผู้กระทำผิดได้กระทำผิดหรือไม่ พนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 6 ให้ล้มละลายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 886/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินเพื่อฉ้อโกง: อำนาจฟ้องล้มละลายแม้ยังไม่สิ้นสุดคดีอาญา
บริษัทจำเลยที่ 1 มีจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 เป็นกรรมการจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 สองในสามคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ได้ จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2ที่ 3 และที่ 5 ได้ประกาศชักชวนบุคคลทั่วไปให้ร่วมลงทุนกับจำเลยที่ 1 จะให้ผลประโยชน์ตอบแทนคิดเป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 8 ต่อเดือน หรือร้อยละ 96 ต่อปี ซึ่งมากกว่าที่สถาบันการเงินจะพึงให้ได้การที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 6 รับเงินจากผู้ร่วมลงทุนแล้วนำไปมอบให้จำเลยที่ 1 รับผลประโยชน์จากจำเลยที่ 1 มามอบให้กับผู้ร่วมลงทุน โดยจำเลยที่ 4ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากจำเลยที่ 1 เป็นเงิน1 เปอร์เซ็นต์ ชักชวนให้บุคคลทั่วไปร่วมลงทุนเป็นการที่จำเลยที่ 4 และที่ 6 กู้ยืมเงินตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 แล้วไม่ใช่เป็นตัวแทนของผู้ร่วมลงทุน ตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 มาตรา 3 บัญญัติว่า "ผู้กู้ยืมเงิน"หมายความว่า บุคคลผู้ทำการกู้ยืมเงินและในกรณีที่ผู้กู้ยืมเงินเป็นนิติบุคคลให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งลงนามในสัญญาหรือตราสารการกู้ยืมเงินในฐานะผู้แทนของนิติบุคคลนั้นด้วย" แม้พระราชกำหนดจะได้บัญญัติไว้ดังกล่าว แต่การที่จำเลยที่ 4 และที่ 6 ได้ร่วมดำเนินกิจการกับจำเลยที่ 1และได้รับผลประโยชน์ตอบแทน ถือได้ว่าจำเลยที่ 4 และที่ 6ร่วมกับจำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้ยืมเงินด้วย ทั้งนี้เพราะบุคคลธรรมดาอาจร่วมกับนิติบุคคลประกอบกิจการก็ได้แม้จำเลยที่ 4เป็นผู้เสียหายได้ร่วมกับพวกฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 เป็นคดีอาญาต่อศาลในข้อหาฉ้อโกงประชาชน และความผิดตามพระราชกำหนดว่าด้วยการกู้ยืมเงิน อันเป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 และเป็นโจทก์ ฟ้องคดีล้มละลายก็ตาม ก็ยังถือว่าจำเลยที่ 4 และที่ 6 ร่วมดำเนินกิจการกับจำเลยที่ 1 อยู่นั่นเอง พนักงานอัยการได้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 4 และที่ 6ในข้อหาฉ้อโกงประชาชนและผิดต่อพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 ต่อศาลอาญาแม้ศาลอาญาจะพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 6แต่พนักงานอัยการโจทก์ยังได้อุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ขณะนี้คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์คำพิพากษาดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุด จึงฟังเป็นยุติไม่ได้ว่าจำเลยที่ 6 ไม่ได้กระทำผิดตามพระราชกำหนดดังกล่าวก็ตาม แต่ตามเจตนารมย์ของพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 มาตรา 10 นั้นแม้ผู้กระทำผิดอยู่ในฐานะผู้ต้องหาและหากเข้าหลักเกณฑ์ที่จะเป็นบุคคลล้มละลายพนักงานอัยการก็มีอำนาจฟ้องผู้กระทำผิดดังกล่าวให้เป็นบุคคลล้มละลายได้ ทั้ง ๆ ที่ในขณะฟ้องยังไม่ปรากฏชัดแจ้งว่าผู้กระทำผิดได้กระทำผิดหรือไม่ พนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 6ให้ล้มละลายได้