พบผลลัพธ์ทั้งหมด 178 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 219/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตรวจสอบทรัพย์สินที่ได้มาไม่สมเหตุสมผลของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและข้าราชการ โดยพิจารณาจากรายได้ที่แท้จริงและแหล่งที่มา
การส่งเรื่องให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลวินิจฉัยสั่งว่าทรัพย์สินเป็นของแผ่นดินตามมาตรา20แห่งพระราชบัญญัติ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตฯไม่จำเป็นต้องให้นายกรัฐมนตรีสั่งลงโทษไล่ออกเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ร่ำรวยผิดปกติเสียก่อนบทบัญญัติดังกล่าวเป็นวิธีการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบอันเป็นวิธีการทางวินัยไม่ใช่การลงโทษทางอาญาที่บุคคลจะต้องรับโทษต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและได้กำหนดโทษไว้กฎหมายนี้จึงใช้ย้อนหลังไปบังคับถึงทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ได้มาโดยมิชอบและยังคงมีอยู่ได้ไม่ว่าทรัพย์สินนั้นอยู่ในความครอบครองของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นหรือบุคคลอื่นถือกรรมสิทธิ์ไว้แทนพระราชบัญญัติญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตฯมาตรา21จัตวาที่ว่าแม้ภายหลังผู้นั้นจะพ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐไปด้วยเหตุอื่นนอกจากตายก็ให้คณะกรรมการมีอำนาจดำเนินการต่อไปได้แต่ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน1เดือนนับแต่ผู้นั้นพ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจคณะกรรมการสอบสวนโดยมีกำหนดระยะเวลามิใช่มิให้ใช้บังคับแก่ผู้ที่ออกจากราชการไปแล้วพระราชบัญญัติญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตฯมีเจตนารมณ์ใช้บังคับแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ได้ทรัพย์สินมาโดยมิชอบในระหว่างเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกคนไม่ว่าผู้นั้นจะแสดงทรัพย์สินและหนี้สินตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการแสดงสินทรัพย์และหนี้สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐพ.ศ.2524หรือไม่ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 219/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์สินที่ได้มาโดยมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ: การบังคับใช้กฎหมายและการตกเป็นของแผ่นดิน
การที่นายกรัฐมนตรีจะสั่งลงโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ร่ำรวยผิดปกติหรือไม่ ไม่เป็นการตัดอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ป. ที่จะส่งเรื่องให้พนักงาน-อัยการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลสั่งให้ทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน
มีผู้ร้องเรียนกล่าวหาผู้คัดค้านที่ 1 ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ป.ในระหว่างที่ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐว่าผู้คัดค้านที่ 1 ร่ำรวยผิดปกติคณะกรรมการ ป.ป.ป. จึงได้ทำการสืบสวนสอบสวนเรื่อยมาและได้ส่งเรื่องให้พนักงานอัยการผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาล เป็นการกระทำเกี่ยวพันสืบต่อกันมาโดยมุ่งหมายถึงทรัพย์สินที่ผู้คัดค้านที่ 1 ได้มาในระหว่างเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ แม้ขณะยื่นคำร้องผู้คัดค้านที่ 1 เกษียณอายุราชการแล้วก็ตาม ส่วนผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 นั้น ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ แต่เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินแทนผู้คัดค้านที่ 1 ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 1 ตกเป็นของแผ่นดิน
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ.2518 มาตรา 20 ที่บัญญัติให้ศาลสั่งให้ทรัพย์สินที่เจ้าหน้าที่ของรัฐได้มาโดยมิชอบตกเป็นของแผ่นดินนั้น เป็นเพียงวิธีการที่จะป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการอันเป็นวิธีการทางวินัยเท่านั้น มิใช่เป็นการลงโทษแก่ผู้กระทำความผิดทางอาญาอันจะต้องอยู่ภายใต้บังคับของหลักกฎหมายที่ว่าบุคคลจะต้องรับโทษทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและได้กำหนดโทษไว้ ดังนั้น กฎหมายนี้ย้อนหลังไปบังคับถึงทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ได้มาโดยมิชอบและยังคงมีอยู่ในขณะที่กฎหมายนี้ใช้บังคับได้เพราะการได้ทรัพย์สินมาโดยมิชอบด้วยหน้าที่นั้นเป็นการผิดวินัยตั้งแต่ที่ได้รับมา
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ.2518 มาตรา 21 จัตวา เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจคณะกรรมการสอบสวนโดยมีกำหนดระยะเวลา มิใช่มิให้ใช้บังคับแก่ผู้ที่ออกจากราชการไปแล้ว
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ.2518 ใช้บังคับแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกคน แม้เจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นไม่ได้แสดงสินทรัพย์และหนี้สินตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการแสดงสินทรัพย์และหนี้สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ.2524 ก็ตาม
มีผู้ร้องเรียนกล่าวหาผู้คัดค้านที่ 1 ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ป.ในระหว่างที่ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐว่าผู้คัดค้านที่ 1 ร่ำรวยผิดปกติคณะกรรมการ ป.ป.ป. จึงได้ทำการสืบสวนสอบสวนเรื่อยมาและได้ส่งเรื่องให้พนักงานอัยการผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาล เป็นการกระทำเกี่ยวพันสืบต่อกันมาโดยมุ่งหมายถึงทรัพย์สินที่ผู้คัดค้านที่ 1 ได้มาในระหว่างเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ แม้ขณะยื่นคำร้องผู้คัดค้านที่ 1 เกษียณอายุราชการแล้วก็ตาม ส่วนผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 นั้น ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ แต่เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินแทนผู้คัดค้านที่ 1 ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 1 ตกเป็นของแผ่นดิน
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ.2518 มาตรา 20 ที่บัญญัติให้ศาลสั่งให้ทรัพย์สินที่เจ้าหน้าที่ของรัฐได้มาโดยมิชอบตกเป็นของแผ่นดินนั้น เป็นเพียงวิธีการที่จะป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการอันเป็นวิธีการทางวินัยเท่านั้น มิใช่เป็นการลงโทษแก่ผู้กระทำความผิดทางอาญาอันจะต้องอยู่ภายใต้บังคับของหลักกฎหมายที่ว่าบุคคลจะต้องรับโทษทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและได้กำหนดโทษไว้ ดังนั้น กฎหมายนี้ย้อนหลังไปบังคับถึงทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ได้มาโดยมิชอบและยังคงมีอยู่ในขณะที่กฎหมายนี้ใช้บังคับได้เพราะการได้ทรัพย์สินมาโดยมิชอบด้วยหน้าที่นั้นเป็นการผิดวินัยตั้งแต่ที่ได้รับมา
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ.2518 มาตรา 21 จัตวา เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจคณะกรรมการสอบสวนโดยมีกำหนดระยะเวลา มิใช่มิให้ใช้บังคับแก่ผู้ที่ออกจากราชการไปแล้ว
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ.2518 ใช้บังคับแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกคน แม้เจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นไม่ได้แสดงสินทรัพย์และหนี้สินตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการแสดงสินทรัพย์และหนี้สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ.2524 ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 219/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนทรัพย์สินที่ได้มาโดยมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ แม้พ้นจากตำแหน่งแล้ว และผลย้อนหลังของกฎหมายป้องกันการทุจริต
การที่นายกรัฐมนตรีจะสั่งลงโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ร่ำรวยผิดปกติหรือไม่ไม่เป็นการตัดอำนาจของคณะกรรมการป.ป.ป.ที่จะส่งเรื่องให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลสั่งให้ทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน มีผู้ร้องเรียนกล่าวหาผู้คัดค้านที่1ต่อคณะกรรมการป.ป.ป.ในระหว่างที่ผู้คัดค้านที่1เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐว่าผู้คัดค้านที่1ร่ำรวยผิดปกติคณะกรรมการป.ป.ป.จึงได้ทำการสืบสวนสอบสวนเรื่อยมาและได้ส่งเรื่องให้พนักงานอัยการผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลเป็นการกระทำเกี่ยวพันสืบต่อกันมาโดยมุ่งหมายถึงทรัพย์สินที่ผู้คัดค้านที่1ได้มาในระหว่างเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐแม้ขณะยื่นคำร้องผู้คัดค้านที่1เกษียณอายุราชการแล้วก็ตามส่วนผู้คัดค้านที่2และที่3นั้นไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐแต่เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินแทนผู้คัดค้านที่1ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่1ตกเป็นของแผ่นดินพระราชบัญญัติญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการพ.ศ.2518มาตรา20ที่บัญญัติให้ศาลสั่งให้ทรัพย์สินที่เจ้าหน้าที่ของรัฐได้มาโดยมิชอบตกเป็นของแผ่นดินนั้นเป็นเพียงวิธีการที่จะป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการอันเป็นวิธีการทางวินัยเท่านั้นมิใช่เป็นการลงโทษแก่ผู้กระทำความผิดทางอาญาอันจะต้องอยู่ภายใต้บังคับของหลักกฎหมายที่ว่าบุคคลจะต้องรับโทษทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและได้กำหนดโทษไว้ดังนั้นกฎหมายนี้ย้อนหลังไปบังคับถึงทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ได้มาโดยมิชอบและยังคงมีอยู่ในขณะที่กฎหมายนี้ใช้บังคับได้เพราะการได้ทรัพย์สินมาโดยมิชอบด้วยหน้าที่นั้นเป็นการผิดวินัยตั้งแต่ที่ได้รับมาพระราชบัญญัติญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการพ.ศ.2518มาตรา21จัตวาเป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจคณะกรรมการสอบสวนโดยมีกำหนดระยะเวลามิใช่มิให้ใช้บังคับแก่ผู้ที่ออกจากราชการไปแล้วพระราชบัญญัติญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการพ.ศ.2518ใช้บังคับแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกคนแม้เจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นไม่ได้แสดงสินทรัพย์และหนี้สินตามพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการแสดงสินทรัพย์และหนี้สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐพ.ศ.2524ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 838/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาททางเดิน: ทางภาระจำยอม vs. ทางสาธารณะ
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมและเป็นทางสาธารณะ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอม ไม่เป็นทางสาธารณะ โจทก์อุทธรณ์ว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะ คงมีแต่จำเลยฎีกามาฝ่ายเดียวว่าทางพิพาทมิใช่ทางสาธารณะ ส่วนโจทก์มิได้ฎีกา ปัญหาว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมหรือไม่จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ในชั้นฎีกาคงมีปัญหาเพียงว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความร่วมมือในการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานและใช้ความรุนแรง ย่อมเป็นตัวการร่วม
จำเลยที่ 2 มีความเกี่ยวพันเป็นอาเขย ของจำเลยที่ 1และจำเลยที่ 1 ทราบดีอยู่แล้วว่า จำเลยที่ 2 มีอาวุธปืนไว้ในความครอบครอง การที่จำเลยที่ 1 ยอมเปลี่ยนเป็นคนขับ รถจักรยานยนต์แทนจำเลยที่ 2 ก็เพื่อให้โอกาสจำเลยที่ 2ที่นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์จะได้ใช้อาวุธปืนได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้นเมื่อจำเป็นจะต้องใช้ และจำเลยที่ 1 ทราบดีอยู่แล้วว่าเจ้าพนักงานตำรวจกำลังติดตามตรวจค้นจำเลยทั้งสองดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 2 ใช้อาวุธปืนยิงจ่าสิบตำรวจ ม. ผู้เสียหาย จำเลยที่ 1 ย่อมเป็นตัวการร่วมกระทำความผิด กับจำเลยที่ 2 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการร่วมกระทำความผิดอาญา: เจตนาช่วยเหลือให้กระทำผิด
จำเลยที่ 2 มีความเกี่ยวพันเป็นอาเขยของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ทราบดีอยู่แล้วว่า จำเลยที่ 2 มีอาวุธปืนไว้ในความครอบครอง การที่จำเลยที่ 1 ยอมเปลี่ยนเป็นคนขับรถจักรยานยนต์แทนจำเลยที่ 2 ก็เพื่อให้โอกาสจำเลยที่ 2 ที่นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์จะได้ใช้อาวุธปืนได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้นเมื่อจำเป็นจะต้องใช้ และจำเลยที่ 1 ทราบดีอยู่แล้วว่าเจ้าพนักงานตำรวจกำลังติดตามตรวจค้นจำเลยทั้งสอง ดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 2 ใช้อาวุธปืนยิงจ่าสิบตำรวจ ม.ผู้เสียหาย จำเลยที่ 1 ย่อมเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 2 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 23/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมาย: การฎีกาต้องคัดค้านข้อเท็จจริงและเหตุผลคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อย่างชัดแจ้ง
ฎีกาต้องมีลักษณะคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งจะต้องอ้างเหตุว่า การที่ศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงหรือไม่รับฟังข้อเท็จจริงดังนั้นชอบหรือไม่ เพราะเหตุใด ดังนั้นที่โจทก์ฎีกาว่าข้อเท็จจริงฟังยุติได้ตามที่โจทก์นำสืบ แต่ไม่ได้อ้างเหตุว่าทำไมจึงต้องฟังข้อเท็จจริงเช่นนั้น และไม่ได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เพียงแต่กล่าวว่าโจทก์ร่วมไม่เห็นด้วยโดยไม่ได้อ้างเหตุและขอให้ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นพิจารณาอีกครั้ง จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 23/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งต้องอ้างเหตุคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ฎีกาต้องมีลักษณะคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งจะต้องอ้างเหตุว่า การที่ศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงหรือไม่รับฟังข้อเท็จจริงดังนั้นชอบหรือไม่ เพราะเหตุใด ดังนั้นที่โจทก์ฎีกาว่า ข้อเท็จจริงฟังยุติได้ตามที่โจทก์นำสืบแต่ไม่ได้อ้างเหตุว่าทำไมจึงต้องฟังข้อเท็จจริงเช่นนั้น และไม่ได้คัดค้านคำพิพากษา-ศาลอุทธรณ์ เพียงแต่กล่าวว่าโจทก์ร่วมไม่เห็นด้วยโดยไม่ได้อ้างเหตุและขอให้ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นพิจารณาอีกครั้ง จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 216
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5632/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สภาพวิทยุคมนาคมและการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม: เครื่องชำรุด/ถอดชิ้นส่วน
เครื่องรับส่งวิทยุคมนาคมตามความในมาตรา 4 และ 6แห่ง พ.ร.บ. วิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 นั้น หมายถึงเครื่องรับส่งวิทยุคมนาคมที่มีสภาพสามารถใช้งานได้หรือชิ้นส่วนของเครื่องรับส่งวิทยุคมนาคมที่อาจนำมาประกอบเข้ากันแล้วสามารถใช้งานได้ จึงจะมีสภาพเป็นวิทยุคมนาคม และมีความ-ผิดได้ หากเครื่องวิทยุคมนาคมนั้นตามสภาพแล้วชำรุดจนไม่สามารถใช้งานได้ตลอดไปก็ไม่มีสภาพเป็นวิทยุคมนาคมและไม่มีความผิด สำหรับเครื่องรับส่งวิทยุของกลางไม่สามารถใช้งานได้เนื่องจากมีการถอดอุปกรณ์ชิ้นส่วนในเครื่องออก เป็นเหตุขัดข้องชั่วคราว เมื่อประกอบอุปกรณ์ครบถ้วนก็สามารถใช้งานได้ จึงเป็นเครื่องรับส่งวิทยุคมนาคม ตาม พ.ร.บ. วิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 มาตรา 4
โทษจำคุกเมื่อรวมโทษทุกระทงแล้วต้องไม่เกินกำหนดตามที่ ป.อ.มาตรา 91 บัญญัตินั้น ใช้บังคับในกรณีที่จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมเกี่ยวพันกันและศาลพิจารณาพิพากษาเป็นคดีเดียวกัน หรือมีการรวมพิจารณาพิพากษาหลายคดีเข้าด้วยกัน หรือมีการนับโทษต่อในกรณีที่จำเลยยังไม่พ้นโทษ จำเลยพ้นโทษคดีก่อนแล้วจึงถูกฟ้องคดีนี้ กรณีจึงไม่ต้องด้วย ป.อ. มาตรา 91
โทษจำคุกเมื่อรวมโทษทุกระทงแล้วต้องไม่เกินกำหนดตามที่ ป.อ.มาตรา 91 บัญญัตินั้น ใช้บังคับในกรณีที่จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมเกี่ยวพันกันและศาลพิจารณาพิพากษาเป็นคดีเดียวกัน หรือมีการรวมพิจารณาพิพากษาหลายคดีเข้าด้วยกัน หรือมีการนับโทษต่อในกรณีที่จำเลยยังไม่พ้นโทษ จำเลยพ้นโทษคดีก่อนแล้วจึงถูกฟ้องคดีนี้ กรณีจึงไม่ต้องด้วย ป.อ. มาตรา 91
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5632/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีเครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต และขอบเขตการรวมโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
เครื่องรับส่งวิทยุคมนาคมตามความในมาตรา 4 และ 6 แห่งพระราชบัญญัติ วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 นั้น หมายถึงเครื่องรับส่งวิทยุคมนาคมที่มีสภาพสามารถใช้งานได้หรือชิ้นส่วนของเครื่องรับส่งวิทยุคมนาคมที่อาจนำมาประกอบเข้ากันแล้วสามารถใช้งานได้ จึงจะมีสภาพเป็นวิทยุคมนาคม และมีความผิดได้ หากเครื่องวิทยุคมนาคมนั้นตามสภาพแล้วชำรุดจนไม่สามารถใช้งานได้ตลอดไปก็ไม่มีสภาพเป็นวิทยุคมนาคมและไม่มีความผิด สำหรับเครื่องรับส่งวิทยุของกลางไม่สามารถใช้งานได้เนื่องจากมีการถอดอุปกรณ์ชิ้นส่วนในเครื่องออกเป็นเหตุขัดข้องชั่วคราว เมื่อประกอบอุปกรณ์ครบถ้วนก็สามารถใช้งานได้ จึงเป็นเครื่องรับส่งวิทยุคมนาคม ตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 มาตรา 4 โทษจำคุกเมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วต้องไม่เกินกำหนดตามที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 บัญญัตินั้น ใช้บังคับในกรณีที่จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมเกี่ยวพันกันและศาลพิจารณาพิพากษาเป็นคดีเดียวกัน หรือมีการรวมพิจารณาพิพากษาหลายคดีเข้าด้วยกันหรือมีการนับโทษต่อในกรณีที่จำเลยยังไม่พ้นโทษ จำเลยพ้นโทษคดีก่อนแล้วจึงถูกฟ้องคดีนี้ กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91