พบผลลัพธ์ทั้งหมด 68 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1775/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: การคิดดอกเบี้ยตามข้อตกลง และการโอนลอยพันธบัตรโดยไม่ได้รับความยินยอม
ศาลชั้นต้นเห็นชอบด้วยกับความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็อนุญาตให้รับชำระหนี้ได้โดยไม่ต้องกล่าวแสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยไว้ในคำสั่งอนุญาต เพราะข้อเท็จจริงและเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยปรากฏอยู่ในความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว และเป็นการสั่งตามมาตรา 106 แห่ง พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ซึ่งได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะไม่ต้องนำบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 141(4) ประกอบด้วยมาตรา 153 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาใช้บังคับโดยอนุโลม แม้จะมีประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยให้คิดดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี แต่มีข้อตกลงว่าวงเงินกู้ไม่เกิน 10,000,000บาท ให้คิดดอกเบี้ยในอัตราไม่เกินร้อยละ 17.5 ต่อปี เมื่อเงินกู้ที่ค้างชำระเพียง 5,259,980.74 บาท เจ้าหนี้จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้เพียงไม่เกินร้อยละ 17.5 ต่อปี ตามข้อตกลงเท่านั้น ลูกหนี้โอนลอยพันธบัตรรัฐบาลแล้ว ส. นำไปวางเป็นประกันในการกู้เงินของบริษัท บ.ต่อเจ้าหนี้ โดยกรรมการบริษัทลูกหนี้มิได้รู้เห็นยินยอมด้วย และมิได้จดทะเบียนภาระผูกพันกับธนาคารแห่งประเทศไทย เจ้าหนี้จึงไม่มีมูลหนี้ใดที่จะกล่าวอ้างได้ต้องคืนพันธบัตรรัฐบาลดังกล่าวให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1539/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ต้องแสดงเจตนาเป็นเจ้าของอย่างต่อเนื่อง การทำประโยชน์เป็นครั้งคราวไม่เพียงพอ
การที่ผู้ร้องเข้าไปขุดหน้าดินขายในปี 2516-2517 และดูดทรายขายในปี 2526 เพียง 2 ครั้ง โดยไม่ติดต่อกัน ถือว่าเป็นการเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินเป็นครั้งคราว ยังไม่ได้แสดงโดยแจ้งชัดว่าเป็นการใช้สิทธิยึดถือครอบครองเหนือที่ดินพิพาทด้วยเจตนาเป็นเจ้าของผู้ร้องไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1319/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำขอพิจารณาใหม่ต้องระบุเหตุขาดนัดและข้อคัดค้านคำตัดสินอย่างชัดเจน
ข้อคัดค้านคำชี้ขาดตัดสินของศาลในคำขอพิจารณาใหม่ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 กล่าวแต่เพียงว่า ถ้าจำเลยทั้งสองทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องคดีก็จะต้องแต่งตั้ง ทนายความเพื่อว่าต่างแก้ต่างคดีแทนเพราะหลักฐาน การแสดงภาระหนี้สินของจำเลยทั้งสองที่มีอยู่ กับโจทก์ยังมีข้อโต้เถียงในประเด็นสำคัญ เช่นการ คิดดอกเบี้ยและการปฏิบัติตามเงื่อนไขของสัญญา ซึ่งจำเลยทั้งสองเคยขอตรวจสอบถึงภาระหนี้สิน แต่โจทก์ ไม่ยอมให้แผ่นบัญชีเงินกู้และชี้แจงการคำนวณดอกเบี้ยให้จำเลยทั้งสองทราบ ข้อความดังกล่าวไม่ได้ คัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นว่าไม่ชอบด้วย กฎหมายหรือไม่ถูกต้องอย่างไรและไม่ได้แสดงเหตุผล ว่าหากมีการอนุญาตให้พิจารณาใหม่ จำเลยทั้งสองจะ ชนะคดีได้อย่างไรคำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยทั้งสองจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1046/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ปลอมเช็ค-เบิกความเท็จ-ความผิดนิติบุคคล: การกระทำความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารและเบิกความเท็จ รวมถึงความรับผิดของนิติบุคคล
เมื่อเช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยทั้งสองอ้างว่าโจทก์สั่งจ่ายเพื่อชำระหนี้ค่าขายสินค้าของจำเลยที่ 1ให้แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยทั้งสองโดยไม่มีอำนาจและมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ได้จัดให้มีการเขียนวันที่สั่งจ่ายลงในเช็คนั้นเพื่อให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลได้รับชำระหนี้อันอยู่ในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1ที่ได้จดทะเบียนไว้และเพื่อให้จำเลยที่ 1 ได้รับประโยชน์จากการกระทำนั้น จึงเป็นการร่วมกันทำเอกสารปลอมขึ้นบางส่วนโดยการเติมข้อความในเอกสารสิทธิและตั๋วเงินที่แท้จริง เพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารแท้จริงที่โจทก์ทำขึ้น โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานร่วมกันปลอมเอกสารสิทธิและตั๋วเงิน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83,264,265,266(4) เมื่อจำเลยทั้งสองนำเช็คปลอมไปเข้าบัญชีเพื่อเรียก เก็บเงิน จึงมีความผิดฐานร่วมกันใช้เอกสารสิทธิและตั๋วเงินปลอม ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83,264 จำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวและในฐานะกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 1 เบิกความต่อศาล ในคดีอาญาว่าโจทก์ไม่ใช่พนักงานของจำเลยที่ 1 โจทก์ได้ซื้อสินค้าไปจากจำเลยที่ 1 แล้วสั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระค่าสินค้าโดยเช็คดังกล่าวได้เขียนรายการครบถ้วน ซึ่งความจริงแล้วปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้จัดการฝ่ายขายของจำเลยที่ 1ได้สั่งจ่ายเช็คโดยไม่ได้ลงวันที่สั่งจ่ายให้จำเลยทั้งสองไว้ เพื่อเป็นประกันหนี้ ไม่ใช่เพื่อชำระหนี้ และวันที่สั่งจ่ายในเช็คถือเป็นข้อสำคัญในคดี เพราะหากผู้สั่งจ่ายไม่ลงวันที่สั่งจ่าย ก็ถือว่าไม่ได้ระบุวันในการกระทำผิดผู้สั่งจ่ายเช็คไม่อาจมีความผิดได้ จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานเบิกความเท็จในการพิจารณาคดีอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 วรรคสอง สำหรับจำเลยที่ 1 ถึงแม้จะเป็นนิติบุคคล แต่การที่จำเลยที่ 2เลิกความดังกล่าวเป็นการเบิกความแทนจำเลยที่ 1ด้วย ทั้งนี้ สังเกต ได้จากการที่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2มอบอำนาจให้ ศ. ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนจนมีการดำเนินคดีแก่โจทก์ทางอาญา และพนักงานอัยการฟ้องโจทก์เป็นจำเลยในข้อหาความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คการที่จำเลยที่ 2 เบิกความในคดีดังกล่าวจึงเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 แม้ในการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำเลยที่ 1 จะไม่ได้ระบุวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการเบิกความไว้ แต่นิติบุคคลอาจเป็นโจทก์ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นจำเลยในกิจการตามวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลได้ ดังนั้น ผู้จัดการของนิติบุคคลย่อมต้องเบิกความต่อศาล และถือได้ว่าเป็นการกระทำตามวัตถุประสงค์ขอนิติบุคคลนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 เบิกความแทนจำเลยที่ 1 เป็นเท็จ ก็ถือได้ว่าเป็นการกระทำของจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานร่วมกันเบิกความเท็จ โจทก์บรรยายฟ้องว่า ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2523เวลากลางวัน จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันเบิกความอันเป็นเท็จต่อศาลในการพิจารณาคดีอาญาหมายเลขดำที่15081/2522 ของศาลชั้นต้น ว่าบริษัทผู้เสียหายได้รับเช็คจากโจทก์เป็นค่าเครื่องไฟฟ้า โจทก์ไม่ใช่พนักงานของบริษัทและเช็คที่รับมามีวันที่สั่งจ่ายเรียบร้อยแล้วเป็นข้อสำคัญในคดีเพราะหากเช็คดังกล่าวสั่งจ่ายเพื่อเป็นประกันหนี้หรือไม่มีวันที่สั่งจ่ายโจทก์ก็ไม่มีความผิดทางอาญา ฟ้องของโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่เกิดการกระทำนั้น ๆ ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)และครบองค์ประกอบตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177แล้ว คำฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 897/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์ผิดคัน ศาลต้องคืนทรัพย์สินให้เจ้าของ หากไม่ใช่ทรัพย์สินที่ศาลสั่งริบจริง
รถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 8ช-9378 ที่เจ้าพนักงานตำรวจไปยึดมาหลักจากศาลพิพากษาให้ริบ มิใช่รถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 8ช-9377 ที่ศาลพิพากษาให้ริบ ย่อมเป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจที่จะต้องคืนรถยนต์นั้นแก่เจ้าของไป ศาลมีอำนาจคืนทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ก็แต่เฉพาะในกรณีที่ทรัพย์สินนั้นเป็นทรัพย์สินนั้นเป็นทรัพย์สินที่ศาลสั่งริบและผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริงมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 897/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนรถยนต์ที่ถูกยึด: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเจ้าพนักงานตำรวจต้องคืนรถยนต์ที่ยึดผิดให้เจ้าของ
ศาลมีอำนาจสั่งคืนทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36ก็แต่เฉพาะในกรณีที่ทรัพย์สินนั้นเป็นทรัพย์สินที่ศาลสั่งริบและผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริงมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดเท่านั้น แต่กรณีที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดรถยนต์ของผู้ร้องซึ่งเป็นรถยนต์คันอื่นที่มิใช่รถยนต์คันที่ศาลมีคำสั่งให้ริบมาย่อมเป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจที่จะต้องคืนรถยนต์นั้นแก่เจ้าของ ผู้ร้องชอบที่จะเรียกร้องให้เจ้าพนักงานตำรวจคืนรถยนต์แก่ผู้ร้อง มิใช่มาร้องขอคืนของกลางต่อศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 741/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของกรรมการสหกรณ์ต่อการยักยอกเงิน โดยไม่ได้ประมาทเลินเล่อ
โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทสหกรณ์การเกษตร มีจำเลยที่ 1เป็นผู้จัดการ จำเลยที่ 3 เป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการดำเนินการ และเป็นคนหนึ่งในจำนวน 5 คน ผู้มีอำนาจถอนเงินของโจทก์จากธนาคาร การถอนเงินตั้งแต่ 10,000 บาท มีระเบียบให้แจ้งให้พนักงานส่งเสริมสหกรณ์ทราบ จำเลยที่ 1 นำเช็คไปให้จำเลยที่ 3ลงชื่อร่วมเพื่อถอนเงินจากธนาคาร ในขณะที่จำเลยที่ 3 จะเข้าประชุมกรรมการสมาคมณาปนกิจสงเคราะห์สมาชิกเกษตรนางรอง จำเลยที่ 3ให้นายห. สมาชิกของโจทก์ไปกับจำเลยที่ 1 ส่วนการแจ้งต่อพนักงานส่งเสริมสหกรณ์นั้นแม้สมควรต้องเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นผู้จัดการ แต่จำเลยที่ 3 ก็ได้กำชับจำเลยที่ 1 ให้แจ้งพนักงานส่งเสริมสหกรณ์เสียก่อน แต่จำเลยที่ 1 ก็ไม่แจ้ง ถือว่าจำเลยที่ 3 ใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่ตามสมควรที่วิญญูชนทั่วไปจะพึงกระทำแล้ว ไม่ประมาทเล่นเลิอ จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ ในการที่จำเลยที่ 1 ถอนเงินมาแล้วยักยอกเงินไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 714/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากประเด็นข้อเท็จจริงใหม่ที่ทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิดตามฟ้อง
โจทก์ฎีกาว่าสำหรับหวายของกลางน่าเชื่อว่าไม่ใช่ ของจำเลยแต่เป็นของคนอื่นเมื่อถูกยึดแล้ว จำเลยอาสานำใบอนุญาตไปสวมกับของกลางโดยมีผู้อื่นขอร้องถ้าข้อเท็จจริงเป็นอย่างที่โจทก์ฎีกาก็เท่ากับโจทก์ฎีกาว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้องจำเลยเพียงแต่อาสาผู้อื่นนำเอาใบอนุญาตของ จำเลยไปอ้างต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่าหวายของกลาง เป็นของจำเลยเท่านั้น ฎีกาของโจทก์จึงเป็นฎีกาในปัญหา ข้อเท็จจริงที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย จากศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15จึงไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 690/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องวันกระทำผิดไม่ชัดเจนเพียงใด จำเลยยังเข้าใจได้ ถือใช้ได้
บรรยายฟ้องว่า เหตุเกิดประมาณต้นเดือนกันยายน 2532 เวลากลางวันวันใดไม่แน่ชัดนั้น ในชั้นพิจารณาโจทก์ก็นำสืบเกี่ยวกับวันเกิดเหตุเช่นเดียวกับที่กล่าวในฟ้อง จำเลยเองก็นำสืบอ้างฐานที่อยู่แสดงว่าไม่ได้หลงข้อต่อสู้แต่อย่างใด จึงเป็นการบรรยายฟ้องเกี่ยวกับวันกระทำความผิดพอที่จำเลยจะเข้าใจได้แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 659/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ก่อนฟ้องล้มละลาย: การชำระหนี้ตามปกติและการไม่เจตนาให้เจ้าหนี้รายหนึ่งได้เปรียบ
ก่อนโจทก์ฟ้องคดีล้มละลายประมาณ 4 เดือน ลูกหนี้จ้างผู้คัดค้านรื้อห้องสำนักงานของบริษัทลูกหนี้เป็นเงิน 85,000 บาท เมื่อผู้คัดค้านรื้อห้องเสร็จ ลูกหนี้ชำระค่าจ้างจำนวน 45,000 บาท ให้แก่ผู้คัดค้านเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2532 อันเป็นเวลาภายหลังฟ้องคดีล้มละลายไม่ถึงเดือน การกระทำของลูกหนี้เป็นการชำระหนี้ตอบแทนในทันทีตามสัญญาจ้างตามปกติ การชำระค่าจ้างก็เป็นเพียงบางส่วนและนับว่าเป็นจำนวนเล็กน้อยเมื่อเทียบกับหนี้ที่โจทก์ฟ้องซึ่งมีจำนวนถึง 25 ล้านบาท กรณียังถือไม่ได้ว่าลูกหนี้กระทำการชำระหนี้โดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ผู้ร้องจึงขอเพิกถอนการชำระหนี้ของลูกหนี้ตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 115 ไม่ได้