คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิฑูรย์ สุทธิประภา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 68 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 219/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์สินที่ได้มาจากการทำมาหากิน และทรัพย์สินที่ได้มาจากการให้ของผู้อื่น การพิสูจน์ที่มาของทรัพย์สินเพื่อประกอบการพิจารณาคดี
การ ที่ นายกรัฐมนตรี จะ สั่ง ลงโทษ เจ้าหน้าที่ ของ รัฐ ผู้ร่ำรวยผิดปกติ หรือไม่ ไม่เป็น การ ตัด อำนาจ ของ คณะกรรมการ ป.ป.ป. ที่จะ ส่ง เรื่อง ให้ พนักงาน อัยการ ยื่น คำร้อง ต่อ ศาล เพื่อ ให้ศาล สั่ง ให้ ทรัพย์สิน ของ ผู้นั้น ตกเป็น ของ แผ่นดิน มี ผู้ร้องเรียน กล่าวหา ผู้คัดค้าน ที่ 1 ต่อ คณะกรรมการ ป.ป.ป.ใน ระหว่าง ที่ ผู้คัดค้าน ที่ 1 เป็น เจ้าหน้าที่ ของ รัฐ ว่า ผู้คัดค้านที่ 1 ร่ำรวย ผิด ปกติ คณะกรรมการ ป.ป.ป. จึง ได้ ทำการ สืบสวนสอบสวน เรื่อยมา และ ได้ ส่ง เรื่อง ให้ พนักงาน อัยการ ผู้ร้องยื่น คำร้อง ต่อ ศาล เป็น การ กระทำ เกี่ยวพัน สืบ ต่อ กัน มา โดยมุ่งหมาย ถึง ทรัพย์สิน ที่ ผู้คัดค้าน ที่ 1 ได้ มา ใน ระหว่าง เป็นเจ้าหน้าที่ ของ รัฐ แม้ ขณะ ยื่น คำร้อง ผู้คัดค้าน ที่ 1 เกษียณอายุราชการ แล้ว ก็ ตาม ส่วน ผู้คัดค้าน ที่ 2 และ ที่ 3 นั้น ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ ของ รัฐ แต่ เป็น ผู้ถือกรรมสิทธิ์ ใน ทรัพย์สิน แทนผู้คัดค้าน ที่ 1 ผู้ร้อง จึง มี อำนาจ ยื่น คำร้อง ขอ ให้ ศาล มีคำสั่ง ให้ ทรัพย์สิน ของ ผู้คัดค้าน ที่ 1 ตกเป็น ของ แผ่นดิน พระราชบัญญัติ ป้องกัน และ ปราบปราม การ ทุจริต และประพฤติ มิชอบ ใน วงราชการ พ.ศ. 2518 มาตรา 20 ที่ บัญญัติให้ ศาล สั่ง ทรัพย์สิน ที่ เจ้าหน้าที่ ของ รัฐ ได้ มา โดย ไม่ชอบตกเป็น ของ แผ่นดิน เป็น เพียง วิธีการ ที่ จะ ป้องกัน และปราบปราม การ ทุจริต และ ประพฤติ มิชอบ ใน วงราชการ อัน เป็นวิธี การ ทาง วินัย เท่านั้น มิใช่ เป็น การ ลงโทษ แก่ ผู้กระทำความผิด ทาง อาญา อัน จะ ต้อง อยู่ ภายใต้ บังคับ ของหลัก กฎหมาย ที่ ว่า บุคคล จะ ต้อง รับ โทษ ทาง อาญา ต่อ เมื่อได้ กระทำ การ อัน กฎหมาย ที่ ใช้ ใน ขณะ กระทำ นั้น บัญญัติเป็น ความผิด และ ได้ กำหนด โทษ ไว้ ดังนั้น กฎหมาย นี้ ย้อนหลังไป บังคับ ถึง ทรัพย์สิน ของ เจ้าหน้าที่ ของ รัฐ ที่ ได้ มา โดยมิชอบ และ ยัง คง มี อยู่ ใน ขณะ ที่ กฎหมาย นี้ ใช้ บังคับ ได้ เพราะ การ ได้ ทรัพย์สิน มา โดย มิชอบ ด้วย หน้าที่ นั้น เป็นการ ผิด วินัย ตั้งแต่ ที่ ได้ รับ มา พระราชบัญญัติ ป้องกัน และ ปราบปราม การ ทุจริต และประพฤติ มิชอบ ใน วงราชการ พ.ศ. 2518 มาตรา 21 จัตวาเป็น บท บัญญัติ ที่ ให้ อำนาจ คณะกรรมการ สอบสวน โดย มีกำหนด ระยะ เวลา มิใช่ ไม่ ให้ ใช้ บังคับ กฎหมาย ดังกล่าวแก่ ผู้ที่ ออก จาก ราชการ ไป แล้ว พระราชบัญญัติ ป้องกัน และ ปราบปราม การ ทุจริต และประพฤติ มิชอบ ใน วงราชการ พ.ศ. 2518 ใช้ บังคับ แก่เจ้าหน้าที่ ของ รัฐ ทุก คน แม้ เจ้าหน้าที่ ของ รัฐ ผู้นั้น ไม่ได้แสดง สินทรัพย์ และ หนี้สิน ตาม พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการ แสดง สินทรัพย์ และ หนี้สิน ของ เจ้าหน้าที่ ของ รัฐพ.ศ. 2524 ก็ ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 838/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทเรื่องทางสาธารณะและทางภารจำยอม ศาลฎีกาวินิจฉัยกลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ใช่ทางสาธารณะ
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า ทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมและเป็นทางสาธารณะ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมไม่เป็นทางสาธารณะ โจทก์อุทธรณ์ว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะเมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะ คงมีแต่จำเลยฎีกามาฝ่ายเดียวว่าทางพิพาทมิใช่ทางสาธารณะ ส่วนโจทก์มิได้ฎีกา ปัญหาว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมหรือไม่จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ในชั้นฎีกาคงมีปัญหาเพียงว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5392/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางเงินชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้จำเลยไม่อุทธรณ์ โจทก์มีสิทธิรับเงินได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี จำเลยไม่อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น ถือว่าพอใจในผลของคำพิพากษาแล้ว แม้โจทก์จะอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 เพื่อให้จำเลยรับผิดเต็มตามจำนวนในฟ้อง ผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2ไม่ว่าจะเป็นประการใดจะไม่ลดความรับผิดของจำเลยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นลงอีก และที่ จำเลยนำเงินตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลก่อนที่โจทก์จะขอหมายบังคับคดีและโดยไม่ปรากฏสาเหตุจะถือว่าเป็นการวางเพื่อให้มีผลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 295(1) ไม่ได้ต้องถือว่าจำเลยวางเงินเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น แม้จำเลยจะคัดค้านก็ไม่ตัดอำนาจศาลชั้นต้นที่จะสั่งอนุญาตให้โจทก์รับเงินที่จำเลยวางไว้ต่อศาลชั้นต้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4753/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตและพาอาวุธปืนโดยไม่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วน ศาลลดโทษและรอการลงโทษ
การที่จำเลยพาอาวุธปืนติดตัวไปกับผู้อื่นซึ่งพกเงินไปจำนวน 300,000 บาท เพื่อทำสัญญาซื้อขายที่ดินที่ต่างจังหวัดในเวลากลางคืนนั้น ไม่ถือว่าเป็นกรณีมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4739/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์เมื่อจำเลยไม่อุทธรณ์ และการลดโทษตามกฎหมายอาญา
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245 วรรคสองที่บัญญัติว่าคดีที่พิพากษาให้ลงโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิตนั้น หมายถึงโทษประหารชีวิตหรือโทษจำคุกตลอดชีวิตที่ศาลชั้นต้นลงจริง ๆ แก่จำเลย หาใช่โทษที่ศาลชั้นต้นวางไว้ก่อนลดโทษให้แก่จำเลยไม่ ศาลชั้นต้นวางโทษประหารชีวิตจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5แต่ละโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 และ 52(2)คงให้จำคุกจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 คนละ 30 ปี เมื่อโจทก์จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 ไม่อุทธรณ์คงมีแต่จำเลยที่ 2 ที่ 4และที่ 6 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จึงไม่มีอำนาจหยิบยกคดีของจำเลยดังกล่าวขึ้นพิจารณาตามบทกฎหมายดังกล่าว แต่หากศาลอุทธรณ์พิจารณาพยานหลักฐานโจทก์แล้วเห็นว่าจำเลยที่ 1 ที่ 3และที่ 5 มิได้กระทำความผิดซึ่งเป็นเหตุลักษณะคดีแล้วศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 1 ที่ 3 และ ที่ 5ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3383/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลูกจ้างฟ้องค่าจ้าง-ค่าชดเชย: ไม่ต้องร้องเรียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อน
การฟ้องเรียกค่าจ้างค้างชำระและค่าชดเชยจากนายจ้างไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานกำหนดให้ต้องร้องเรียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการที่กำหนดไว้ ลูกจ้างจึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าจ้างค้างชำระและค่าชดเชยได้โดยไม่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 8 วรรคสองก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3023/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ งานตามโครงการ: ศาลฎีกายกอุทธรณ์ข้อโต้แย้งเรื่องวันสิ้นสุดสัญญา เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลล่างรับฟังแล้ว
ศาลแรงงานกลางพิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยแล้ววินิจฉัยว่า งานที่โจทก์ทำเป็นงานตามโครงการและสัญญาจ้างที่โจทก์ทำไว้กับจำเลย ได้กำหนดวันสิ้นสุดของการจ้างไว้ตั้งแต่วันทำสัญญา โจทก์อุทธรณ์ว่างานที่จำเลยจ้างเป็นงานตามสัญญาจ้างทำของไม่ใช่งานตามโครงการ สัญญาจ้างโจทก์ไม่ได้กำหนดวันสิ้นสุดของการจ้างไว้ จำเลยมากรอกวันสิ้นสุดของการจ้างในภายหลังเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางรับฟังมา เป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2467/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสัญญาค้ำประกันเมื่อมีการเปลี่ยนหลักทรัพย์ค้ำประกันในชั้นอุทธรณ์ ผู้มีประกันมีสิทธิรับคืนหลักทรัพย์เดิม
ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ขอใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา จำเลยจึงให้ผู้ร้องนำโฉนดที่ดินวางประกันต่อศาลต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ 295,950 บาทพร้อมดอกเบี้ย จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาและขอทุเลาการบังคับ การที่ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ทุเลาการบังคับโดยบุตรจำเลยนำสมุดเงินฝากธนาคารออมสินจำนวน 410,000 บาท วางเป็นประกันแทนหลักทรัพย์ที่ผู้ร้องวางประกันไว้ แสดงว่าในชั้นอุทธรณ์จำเลยได้เปลี่ยนหลักทรัพย์ในการค้ำประกันจากของผู้ร้องมาเป็นหลักประกันของบุตรจำเลยแล้ว สัญญาค้ำประกันที่ผู้ร้องทำไว้ต่อศาลจึงสิ้นสุดลงผู้ร้องมีสิทธิรับหลักทรัพย์ที่ผู้ร้องวางไว้คืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2467/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสัญญาค้ำประกันเมื่อมีการเปลี่ยนหลักทรัพย์ค้ำประกันในชั้นอุทธรณ์ ผู้ค้ำประกันเดิมมีสิทธิรับหลักทรัพย์คืน
ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาตามที่โจทก์ร้องขอต่อมาจำเลยนำผู้ร้องมาทำสัญญาค้ำประกันโดยนำโฉนดที่ดินวางไว้ต่อศาล โจทก์จึงได้ถอนคำขอใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาไป ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ย จำเลยอุทธรณ์และได้รับอนุญาตให้ทุเลาการบังคับโดย ป. บุตรชายจำเลยนำสมุดเงินฝากธนาคารออมสินมาวางประกัน การที่ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ทุเลาการบังคับโดย ป.นำสมุดฝากเงินธนาคารออมสิน วางเงิน ประกันแทนหลักทรัพย์ที่ผู้ร้องวางประกันไว้ แสดงว่าในชั้นอุทธรณ์จำเลยได้เปลี่ยนหลักทรัพย์ ในการค้ำประกันจากของผู้ร้องมาเป็นของ ป.สัญญาค้ำประกันที่ผู้ร้องที่ไว้ต่อศาลจึงสิ้นสุดลง ผู้ร้องมีสิทธิรับ โฉนดที่ดินวางประกันไว้คืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2209/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสาร ท.ร.6 ตอน 1 เป็นเอกสารราชการหรือไม่? ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัย แม้ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้น
ใบแจ้งย้ายที่อยู่ ท.ร.6 ตอน 1 เป็นเอกสารราชการหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 ใบแจ้งย้ายที่อยู่ ท.ร.6 ตอน 1 เป็นแบบฟอร์มของทางราชการที่นายทะเบียนผู้รับแจ้งย้ายออก และนายทะเบียนผู้รับแจ้งย้ายเข้าต้องลงชื่อเป็นผู้รับแจ้งในเอกสารนี้ด้วย ถือได้ว่าเป็นเอกสารซึ่งเจ้าพนักงานได้ทำขึ้น อันเป็นเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญาซึ่งเจ้าพนักงานได้ทำขึ้น อันเป็นเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 1(8) หาใช่เป็นเพียงเอกสารส่วนตัวของเจ้าบ้านไม่
of 7