พบผลลัพธ์ทั้งหมด 183 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 46/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับชำระหนี้จากผู้ค้ำประกันหลังสัญญาประนีประนอมสิ้นสุด – ไม่ต้องฟ้องคดีใหม่
เมื่อจำเลยรับว่าจำเลยยังค้างชำระหนี้โจทก์อยู่ภายหลังจากกำหนดระยะเวลาชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความสิ้นสุดลงแล้วโจทก์ย่อมบังคับชำระหนี้โดยยึดทรัพย์สินของผู้ค้ำประกันในศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 274 ได้โดยไม่ต้องฟ้องผู้ค้ำประกันเป็นคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 40/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานตำรวจกระทำผิดอาญา ไม่เป็นเหตุบรรเทาโทษ
การที่ผู้กระทำความผิดเป็นเจ้าพนักงานตำรวจไม่ใช่เหตุบรรเทาโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78ศาลลดโทษให้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 31/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อแตกต่างรายละเอียดวันเวลากระทำผิดไม่กระทบสาระสำคัญ ศาลฎีกาใช้ข้อเท็จจริงจากการพิจารณาเพื่อลงโทษจำเลยได้
ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาฟังได้ว่า จำเลยกระทำผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบสามปีในคืนวันที่ 11 ธันวาคม 2533 เวลากลางคืนหลังเที่ยง เวลาเกิดเหตุดังกล่าวแตกต่างกับข้อเท็จจริงในฟ้อง ซึ่งกล่าวว่าเหตุเกิดวันที่ 11 ธันวาคม 2533 เวลากลางคืนก่อนเที่ยงเป็นเพียงข้อแตกต่างในรายละเอียดซึ่งมิใช่ข้อสาระสำคัญทั้งจำเลยนำสืบสู้คดีเพียงว่าวันที่ 2 ธันวาคม 2533ผู้เสียหายไปนอนค้างที่กระท่อมของจำเลย และเห็นจำเลยร่วมเพศกับมารดาผู้เสียหาย เช้าวันรุ่งขึ้นผู้เสียหายจึงกลับไปอยู่บ้านย้าย แล้วไม่มาที่กระท่อมของจำเลยอีกเลยข้อเท็จจริงที่จำเลยนำสืบเป็นการกล่าวอ้างถึงเวลาก่อนเกิดเหตุหลายวันไม่เกี่ยวข้องกับเวลาเกิดเหตุตามฟ้องแสดงว่าจำเลยมิได้หลงต่อสู้ จึงลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความในการพิจารณาดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 31/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิง: ศาลลงโทษตามข้อเท็จจริงที่ได้ความในการพิจารณา แม้มีข้อแตกต่างในรายละเอียด
ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาฟังได้ว่า จำเลยกระทำผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบสามปีในคืนวันที่ 11 ธันวาคม2533 เวลากลางคืนหลังเที่ยง เวลาเกิดเหตุดังกล่าวแตกต่างกับข้อเท็จจริงในฟ้อง ซึ่งกล่าวว่าเหตุเกิดวันที่ 11 ธันวาคม 2533 เวลากลางคืนก่อนเที่ยง เป็นเพียงข้อแตกต่างในรายละเอียดซึ่งมิใช่ข้อสาระสำคัญ ทั้งจำเลยนำสืบสู้คดีเพียงว่าวันที่ 2 ธันวาคม 2533 ผู้เสียหายไปนอนค้างที่กระท่อมของจำเลย และเห็นจำเลยร่วมเพศกับมารดาผู้เสียหาย เช้าวันรุ่งขึ้นผู้เสียหายจึงกลับไปอยู่บ้านยายแล้วไม่มาที่กระท่อมของจำเลยอีกเลย ข้อเท็จจริงที่จำเลยนำสืบเป็นการกล่าวอ้างถึงเวลาก่อนเกิดเหตุหลายวันไม่เกี่ยวข้องกับเวลาเกิดเหตุตามฟ้อง แสดงว่าจำเลยมิได้หลงต่อสู้ จึงลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความในการพิจารณาดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 31/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำชำเราเด็กอายุ 9 ปี แม้ผู้เสียหายไม่รู้ว่าเป็นอวัยวะเพศ จำเลยมีความผิดจริง
ผู้เสียหายเป็นเด็กหญิงอายุเพียง 9 ปี ไม่ปรากฏว่าเป็นเด็กเร่ร่อนหรือสำส่อนทางเพศ หรือถูกผู้อื่นข่มขืนกระทำชำเรามาก่อนและแม้ผู้เสียหายจะเบิกความว่าไม่รู้ว่าสิ่งที่จำเลยสอดเข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหายเป็นอวัยวะเพศหรือนิ้วมือของจำเลยแต่จำเลยสอดใส่เข้าไปในตัวผู้เสียหายและใส่เข้าใส่ออกก็ตามกรณีเป็นเรื่องที่เด็กไร้เดียงสา อาจไม่ทราบชัดว่าเป็นอวัยวะเพศหรือไม่ก็ได้และหลังเกิดเหตุแล้วเมื่อน้าสาวของผู้เสียหายถามผู้เสียหายถึงรายละเอียดที่จำเลยกระทำ ผู้เสียหายก็บอกว่าสิ่งที่จำเลยสอดใส่เข้าในอวัยวะเพศผู้เสียหายนั้นใหญ่กว่านิ้วมือทั้งแพทย์ผู้ตรวจร่างกายผู้เสียหายก็เบิกความว่า ตรวจช่องคลอดผู้เสียหายแล้วน่าเชื่อว่าผู้เสียหายผ่านการร่วมเพศมาแล้วเนื่องจากช่องคลอดขยายตัวยืดหย่อน เมื่อพิจารณาประกอบกันแล้วพยานหลักฐานโจทก์จึงฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิดจริงตามฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 24/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ตามคำพิพากษาและการล้มละลาย: การพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้และทรัพย์สิน
แม้หนี้ที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายจะเป็นหนี้ตามคำพิพากษาที่ยังไม่ถึงที่สุด แต่คู่ความก็ต้องผูกพันในผลของคำพิพากษานั้นจนกว่าคำพิพากษาจะถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขกลับหรืองดเสีย จึงถือว่าเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 9(3) เมื่อจำเลยที่ 1 ทราบคำบังคับและหมายบังคับคดีของศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าว จำเลยที่ 1 ได้โอนทรัพย์สินของตนไปหมดแล้ว ส่วนจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มีทรัพย์สินรวมกันประมาณ 800,000บาท เท่านั้นไม่พอชำระหนี้ให้โจทก์ซึ่งมีจำนวนหนี้ทั้งสิ้นถึง 11,000,000 บาทเศษ กรณีจึงไม่มีเหตุที่ยังไม่สมควรให้จำเลยที่ 1 ล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 จำเลยที่ 1 ฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้พิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 เด็ดขาด ต้องเสียค่าขึ้นศาล50 บาท ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 179(1)ที่จำเลยที่ 1 เสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกามา 200 บาท จึงเสียเกินมาศาลฎีกาเห็นสมควรคืนเงินค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินให้จำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 24/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ตามคำพิพากษาที่ไม่ถึงที่สุด เป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้ และการโอนทรัพย์สินเพื่อเลี่ยงชำระหนี้
หนี้ที่เกิดขึ้นโดยผลของคำพิพากษา แม้จะยังไม่ถึงที่สุดก็ตามคู่ความก็ต้องผูกพันในผลของคำพิพากษานั้นจนกว่าคำพิพากษาจะถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขกลับหรืองดเสีย จึงถือได้ว่าเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 9(3)เมื่อจำเลยที่ 1 ทราบคำบังคับและหมายบังคับคดีแล้วได้โอนทรัพย์สินของตนไปเสียทั้งหมด ส่วนจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มีทรัพย์สินรวมกันไม่พอชำระหนี้ให้โจทก์กรณีจึงไม่มีเหตุที่ยังไม่สมควรให้จำเลยที่ 1ล้มละลายตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 14.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4200/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการดำเนินคดีของไวยาวัจกร: ผู้แทนวัดที่แท้จริงคือเจ้าอาวาส
วัดจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลซึ่งเป็นตัวความ ดังนั้น ผู้ที่จะว่าความด้วยตนเองหรือดำเนินกระบวนพิจารณาทั้งปวงตามที่เห็นสมควรเพื่อประโยชน์ของวัดจำเลยที่ 1 หรือจะตั้งแต่งทนายความให้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนวัดจำเลยที่ 1 ได้ก็คือจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของวัดจำเลยที่ 1 ส่วนไวยาวัจกรของวัดจำเลยที่ 1 นั้น ตามกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ 8(พ.ศ. 2506) ข้อ 3 และพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505มาตรา 45 เป็นคฤหัสถ์ซึ่งได้รับการแต่งตั้งและได้รับมอบหมายเป็นหนังสือจากเจ้าอาวาสของวัดให้มีหน้าที่เบิกจ่ายนิตยภัตและมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาจัดการทรัพย์สินของวัด หาได้เป็นผู้แทนของวัดซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จะมีอำนาจว่าความด้วยตนเองหรือดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแทนวัดได้เพราะได้รับยกเว้นตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4135/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญา มาตรา 188 และการฎีกาที่ไม่ชอบ
คดีสำหรับจำเลยที่ 2 ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 2เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันเอาความเท็จมากล่าวอ้างกับโจทก์ว่า โจทก์เป็นหนี้ค่าโฆษณาสินค้าแก่บริษัท ม.โจทก์หลงเชื่อจึงได้ออกเช็คมอบให้จำเลยที่ 1 เพื่อนำไปชำระหนี้ให้บริษัท ม. แต่จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันนำเช็คดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินเป็นของจำเลยที่ 1 พอเข้าใจได้ว่า จำเลยที่ 1 หลอกลวงโจทก์โจทก์หลงเชื่อจึงได้ออกเช็คชำระหนี้ให้แก่บริษัท ม. โดยมอบเช็คให้แก่จำเลยที่ 1 เพื่อนำไปมอบให้บริษัท ม. แต่จำเลยที่ 1 ได้นำเช็คไปเรียกเก็บเงินเป็นของจำเลยที่ 1 เสียเอง เป็นการบรรยายว่าจำเลยที่ 1 เอาไปเสียซึ่งเช็คของโจทก์ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ ครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 188 แล้ว ฟ้องของโจทก์จึงสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4131/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับรองบริษัท, สัญญาค้ำประกัน, ตัวแทนช่วง, การบอกกล่าวบังคับจำนอง, การรับคำเบิกความ
หนังสือรับรองการจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทเป็นเอกสารมหาชนแม้จะเป็นสำเนาแต่เจ้าพนักงานก็รับรองความถูกต้องจึงรับฟังได้ ส่วนหนังสือรับรองท้ายฟ้องโจทก์มีข้อความตรงกับหนังสือรับรองการจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทสาขาหาใช่หนังสือรับรองสาขาโจทก์ การที่ปรากฏข้อความแสดงที่ตั้งของสำนักงานโจทก์การที่ปรากฎข้อความแสดงที่ตั้งของสำนักงานโจทก์ต่าง จึงไม่ใช่ข้อสำคัญ เพราะเป็นเอกสารที่โจทก์อ้างประกอบคำฟ้องแสดงฐานะและอำนาจกรรมการของโจทก์เท่านั้น
เมื่อสัญญาค้ำประกันระบุว่าจำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม จำเลยที่ 3 จึงไม่อาจต่อสู้โจทก์บังคับชำระหนี้เอาแก่จำเลยที่ 1 ก่อนได้
ตามหนังสือมอบอำนาจให้ อ.ผู้รับมอบอำนาจตั้งตัวแทนช่วงเพื่อดำเนินการแทนได้ ซึ่งรวมถึงการบอกกล่าวบังคับชำระหนี้เอาแก่จำเลยทั้งสามตามสัญญา แม้ อ.มอบอำนาตจโดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือ แต่เมื่อโจทก์รับเอาการกระทำของ ธ.ตัวแทนช่วงแล้วถือได้ว่าให้ส้ตยาบันตาม ป.พ.พ. มาตรา 823และถือได้ว่าโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยแล้ว
การที่ ธ.เบิกความภายหลังพยานโจทก์ปากอื่นเบิกความไปแล้วก็ปรากฏว่า โจทก์อ้าง ธ.เป็นพยานโจทก์เอาไว้และนำเข้าสืบตามกระบวนพิจารณาคำเบิกความของ ธ.รับฟังได้เพียงใดอยู่ที่ดุลพินิจของศาล ไม่มีเหตุจะให้ศาลเพิกถอนกระบวนพิจารณาส่วนนี้ได้
ที่ ธ.มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปถึงจำเลยทั้งสามปรากฏว่าคนใช้และคนในบ้านของจำเลยทั้งสามเป็นผู้รับ ย่อมถือว่าจำเลยทั้งสามได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้ว
เมื่อสัญญาค้ำประกันระบุว่าจำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม จำเลยที่ 3 จึงไม่อาจต่อสู้โจทก์บังคับชำระหนี้เอาแก่จำเลยที่ 1 ก่อนได้
ตามหนังสือมอบอำนาจให้ อ.ผู้รับมอบอำนาจตั้งตัวแทนช่วงเพื่อดำเนินการแทนได้ ซึ่งรวมถึงการบอกกล่าวบังคับชำระหนี้เอาแก่จำเลยทั้งสามตามสัญญา แม้ อ.มอบอำนาตจโดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือ แต่เมื่อโจทก์รับเอาการกระทำของ ธ.ตัวแทนช่วงแล้วถือได้ว่าให้ส้ตยาบันตาม ป.พ.พ. มาตรา 823และถือได้ว่าโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยแล้ว
การที่ ธ.เบิกความภายหลังพยานโจทก์ปากอื่นเบิกความไปแล้วก็ปรากฏว่า โจทก์อ้าง ธ.เป็นพยานโจทก์เอาไว้และนำเข้าสืบตามกระบวนพิจารณาคำเบิกความของ ธ.รับฟังได้เพียงใดอยู่ที่ดุลพินิจของศาล ไม่มีเหตุจะให้ศาลเพิกถอนกระบวนพิจารณาส่วนนี้ได้
ที่ ธ.มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปถึงจำเลยทั้งสามปรากฏว่าคนใช้และคนในบ้านของจำเลยทั้งสามเป็นผู้รับ ย่อมถือว่าจำเลยทั้งสามได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้ว