พบผลลัพธ์ทั้งหมด 183 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4112/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการบริษัทร่วมรับผิดฐานตั้งโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้บริษัทชำระค่าปรับแล้ว
โจทก์ฟ้องกล่าวหาจำเลยทั้งสามว่า ร่วมกันกระทำผิดฐานตั้งโรงงานประกอบกิจการโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยที่จำเลยที่ 1เป็นนิติบุคคลจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 เมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำเลยเป็นรายบุคคล และจำเลยที่ 1ได้เสียค่าปรับไปแล้วก็เป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 แม้เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 และกระทำในนามของจำเลยที่ 1 ก็ตาม ก็ถือว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วยเพราะจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลย่อมกระทำการเองไม่ได้ ความประสงค์หรือวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ย่อมแสดงออกโดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้แทน เมื่อจำเลยที่ 1 กระทำผิดฐานใดได้ชื่อว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำผิดฐานนั้นด้วย ดังนั้นศาลลงโทษจำเลยทั้งสามเป็นรายตัวได้และแม้จำเลยที่ 1 เสียค่าปรับแล้วศาลก็ลงโทษจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ไม่เป็นการซ้ำซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4112/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของกรรมการบริษัทในการกระทำผิดของบริษัท: ศาลลงโทษกรรมการได้ แม้บริษัทชำระค่าปรับแล้ว
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลย่อมกระทำการเองไม่ได้ความประสงค์หรือวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ย่อมแสดงออกโดย จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจ และเป็นผู้แทน ของจำเลยที่ 1 เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดฐานตั้งโรงงานและประกอบกิจการโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาตถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดฐานนั้นด้วยศาลลงโทษจำเลยทั้งสามเป็นรายตัวได้ และแม้จำเลยที่ 1เสียค่าปรับแล้ว ก็เป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยที่ 1ศาลลงโทษจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ไม่เป็นการซ้ำซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4112/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของกรรมการบริษัทต่อความผิดของนิติบุคคล
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลย่อมกระทำการเองไม่ได้ ความประสงค์หรือวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ย่อมแสดงออกโดยจำเลยที่ 2 และที่ 3ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจ และเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 เมื่อปรากฎว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดฐานตั้งโรงงานและประกอบกิจการโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาตถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดฐานนั้นด้วย ศาลลงโทษจำเลยทั้งสามเป็นรายตัวได้ และแม้จำเลยที่ 1 เสียค่าปรับแล้ว ก็เป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยที่ 1 ศาลลงโทษจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ไม่เป็นการซ้ำซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3919/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกเงินเกินบัญชีและการชำระหนี้เพื่อก่อหนี้ใหม่ ไม่ถือว่าเจตนาให้เจ้าหนี้ได้เปรียบเจ้าหนี้รายอื่น
ในระหว่างอายุสัญญาเบิกเงินบัญชีระหว่างลูกหนี้กับธนาคารผู้คัดค้าน ลูกหนี้สามารถนำเงินเข้าฝากเพื่อหักทอนบัญชีและเบิกถอนต่อไปได้ อันเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดการที่ลูกหนี้นำเงินเข้าบัญชีจึงมีลักษณะเป็นการลดหนี้ลงชั่วคราวแล้วเบิกเงินใหม่ซึ่งกระทำตลอดเวลาของอายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและไม่เป็นการชำระหนี้ทีเดียวเสร็จสิ้นกันไปเลย การนำเงินเข้าบัญชีของลูกหนี้จึงเป็นการชำระหนี้เพื่อก่อหนี้ใหม่เพิ่มขึ้นอันเป็นวิธีการเพื่อจะเบิกเงินจากผู้คัดค้านได้มากยิ่งขึ้นตามประเพณีธนาคารในเรื่องบัญชีเดินสะพัดเท่านั้น การกระทำของลูกหนี้จึงมิได้มุ่งหมายให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3919/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกเงินเกินบัญชีและการชำระหนี้เพื่อก่อหนี้ใหม่ ไม่ถือว่าเจตนาให้เจ้าหนี้รายหนึ่งได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น
ลูกหนี้เปิดบัญชีกระแสรายวัน โดยทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับผู้คัดค้านในวงเงิน 1,000,000 บาท ในระหว่างสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลาย ภายหลังนั้นลูกหนี้นำเงินเข้าบัญชีให้แก่ผู้คัดค้าน เป็นเงิน 791,197 บาท และเบิกเงินออกจากบัญชีไป390,760 บาท การนำเงินเข้าบัญชีของลูกหนี้มีลักษณะเป็นการลดยอดหนี้ชั่วคราวแล้วเบิกเงินใหม่ ซึ่งได้กระทำตลอดเวลาของอายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี และไม่เป็นการชำระหนี้ทีเดียวให้เสร็จสิ้นกันไปเลย จึงเป็นการชำระหนี้เพื่อก่อหนี้ใหม่เพิ่มขึ้นอันเป็นวิธีการเพื่อจะเบิกเงินจากผู้คัดค้านได้มากยิ่งขึ้นตามประเพณีธนาคารในเรื่องบัญชีเดินสะพัดเท่านั้น การกระทำของลูกหนี้จึงมิได้มุ่งหมายให้ผู้คัดค้าน ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 แต่อย่างใด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3855/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินค่าขนส่งปูนมาร์ลที่เก็บจากเกษตรกรโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ถือเป็นผลพลอยได้จากการปฏิบัติหน้าที่
จำเลยและ ส. ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่ราชการตามโครงการพัฒนาดินเปรี้ยวอำเภอ ได้ว่าจ้างเอกชนให้ขนปูนมาร์ลของกรมโจทก์จากศูนย์ผลิตปูนมาร์ลไปแจกจ่ายให้แก่เกษตรกร เพื่อนำไปแก้ปัญหาดินเปรี้ยวตามโครงการดังกล่าวโดยไม่ได้ขออนุญาตต่อโจทก์ และขัดต่อนโยบายของโจทก์ที่ให้เกษตรกรไปขนเอง เป็นการกระทำนอกเหนืออำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากโจทก์ จึงเป็นเรื่องส่วนตัวของจำเลยและ ส. เงินที่จำเลยและ ส.ได้รับจากเกษตรกรเป็นค่าขนส่งปูนมาร์ลหากมีเหลืออยู่ ก็มิใช่เงินที่มีลักษณะเป็นผลพลอยได้จากการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ซึ่งจะต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินตามระเบียบของราชการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3847/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนจำนองที่ดินหลังการเสียชีวิตของผู้กู้ และผลของการไม่แสดงเจตนาจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการที่โจทก์ดำเนินการจดทะเบียนจำนองที่ดินของจำเลยที่ 1 เมื่อใดอย่างไรนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ไม่จำเป็นต้องบรรยายถึงเหตุผลว่าทำไมถึงต้องไปจดทะเบียนจำนองตามวันที่ปรากฏในคำฟ้อง ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม แม้คดีนี้กับคดีอื่นของศาลชั้นต้นจะมีประเด็นว่าจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองหรือไม่ แต่คดีดังกล่าวจำเลยที่ 1 คดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยคดีสองสำนวนดังกล่าวโจทก์จึงไม่ใช่บุคคลคนเดียวกัน ไม่เป็นฟ้องซ้อนตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง (1) แม้จำเลยที่ 1 จะอ้างรายงานการตรวจพิสูจน์ของผู้เชี่ยวชาญที่มีความเห็นว่าลายมือชื่อที่ลงในช่องผู้กู้ไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 เพราะมีคุณสมบัติการเขียน รูปลักษณะของตัวอักษรแตกต่างกับลายมือชื่อที่แท้จริงของจำเลยที่ 1 ตามตัวอย่างที่ส่งมาก็ตามแต่สัญญากู้เงินตามเอกสารหมาย จ.2 ทำก่อนที่จะมีการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 เป็นเวลาเกือบ 3 ปี ลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 อาจเปลี่ยนแปลงไปได้ตามกาลเวลา ทั้งผลการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อบุคคลก็เป็นเพียงข้อสันนิษฐานเท่านั้นและลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 ที่ลงในใบแต่งทนายความกับในเอกสารที่ร้องเรียนให้นายอำเภอเมืองลำพูนสอบสวนเรื่องจำนองที่ดินในคดีนี้ก็แตกต่างกัน แสดงว่าคุณสมบัติในการเขียนและลักษณะตัวอักษรที่จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อในเอกสารต่าง ๆ ไม่คงที่แน่นอนข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 1 ที่ว่าไม่ได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้ในสัญญากู้เงินตามเอกสารหมาย จ.2 จึงฟังไม่ขึ้น การจดทะเบียนจำนองที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ก่อนจะจดทะเบียนต้องประกาศ 30 วัน เมื่อไม่มีผู้ใดคัดค้านทางสำนักงานที่ดินจึงจะจดทะเบียนให้ การที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาจำนองซึ่งยังไม่ได้ลงวันที่ตอนไปยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนทำนิติกรรมครั้งแรกนั้น สัญญาจำนองยังไม่สมบูรณ์ เพราะจำเลยที่ 1 มิได้แสดงเจตนาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้จดทะเบียนจำนองให้ โจทก์นำสัญญาจำนองดังกล่าวไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เองฝ่ายเดียวโดยจำเลยที่ 1 มิได้มอบอำนาจให้ทำเช่นนั้น สัญญาจำนองและการจดทะเบียนจำนองจึงไม่มีผลตามกฎหมายที่จะผูกพันจำเลยที่ 1 ให้ปฏิบัติตาม สัญญากู้เงินตามเอกสารหมาย จ.2 และสัญญาค้ำประกันเป็นแบบพิมพ์ในกระดาษแผ่นเดียวกันโดยด้านหน้าเป็นสัญญากู้เงินด้านหลังเป็นสัญญาค้ำประกันการกู้เงินรายพิพาทไม่มีการค้ำประกัน การที่โจทก์ปิดอากรแสตมป์ด้านสัญญากู้เงินแล้วจึงปิด ต่อมาทางด้านหลังแสดงให้เห็นว่าเป็นการปิดเพิ่มเติมต่อจากด้านหน้า ไม่เป็นการฝ่าฝืนประมวลรัษฎากรแต่ประการใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3847/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนและอากรแสตมป์: ประเด็นความแตกต่างของโจทก์และรูปแบบสัญญาที่ไม่ขัดกฎหมาย
กรณีจะเป็นฟ้องซ้อนได้นั้น จะต้องเป็นเรื่องโจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือต่อศาลอื่น เมื่อคดีก่อนของศาลชั้นต้นมีประเด็นเดียวกันกับคดีนี้ ว่าจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองหรือไม่ แต่คดีก่อนนั้น จำเลยที่ 1 คดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลย ส่วนคดีนี้โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อนฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นจำเลย ดังนั้นคดีสองสำนวนดังกล่าวโจทก์จึงไม่ใช่บุคคลคนเดียวกัน ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน เอกสารสัญญาเงินกู้และสัญญาค้ำประกันเป็นแบบพิมพ์ในกระดาษแผ่นเดียวกัน โดยด้านหน้าเป็นสัญญาเงินกู้ ด้านหลังเป็นสัญญาค้ำประกัน การที่โจทก์ปิดอากรแสตมป์ต่อมาทางด้านหลังสัญญากู้เงิน ซึ่งไม่มีการทำสัญญาค้ำประกันด้วยบุคคลเอาไว้แสดงให้เห็นว่าเป็นการปิดเพิ่มเติมต่อจากด้านหน้า จึงไม่เป็นการฝ่าฝืน ป.รัษฎากรแต่ประการใด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3839/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีล้มละลาย อาศัยมูลหนี้ตามคำพิพากษาชั้นที่สุด อายุความสะดุดหยุดลงจากการบังคับคดี
ระยะเวลา 10 ปี ตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 มิใช่อายุความฟ้องร้องคดี เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายโดยมูลหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่ง มูลหนี้ดังกล่าวเป็นสิทธิเรียกร้องอันตั้งหลักฐานขึ้นโดยคำพิพากษาชั้นที่สุดของศาลจึงมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 168 หลังจากศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2522 แล้ว โจทก์ก็ได้ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาจนมีการยึดทรัพย์จำนองขายทอดตลาดเมื่อวันที่ 19 มีนาคม2523 ได้เงินชำระหนี้ให้โจทก์บางส่วนในวันดังกล่าว การดำเนินการชั้นบังคับคดีจนถึงวันที่ 19 มีนาคม 2523 จึงเป็นการดำเนินการภายใน10 ปี นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแพ่งซึ่งย่อมเป็นเหตุทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173โจทก์ฟ้องคดีล้มละลายนี้เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2533 ยังไม่ล่วงเลยกำหนดเวลา 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3808/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทิศที่ดินให้เป็นถนนสาธารณะโดยปริยาย ทำให้ที่ดินตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน แม้ต่อมาจะมีการโอนสิทธิ
บ.อุทิศที่ดินพิพาทให้เป็นถนนสาธารณะเพื่อให้ประชาชนใช้ร่วมกันโดยปริยาย ที่ดินพิพาทจึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันแม้ต่อมาจำเลยซึ่งเป็นผู้ดูแลถนนสาธารณสมบัติของแผ่นดินยังไม่ได้ทำถนนในที่ดินพิพาท และบ.ได้ไปขอออก น.ส.3 ที่ดินพิพาทในนามของตนอีก ก็ไม่ทำให้ที่ดินพิพาทกลับเป็นของ บ.การที่ บ. โอนที่ดินพิพาทให้ป.และ ป.โอนให้โจทก์หาทำให้ ป. และโจทก์ ผู้รับโอนมีสิทธิดีกว่าบ. ผู้โอนไม่.