พบผลลัพธ์ทั้งหมด 183 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3728/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข การสูญหายของรถยนต์ และความรับผิดของผู้ซื้อ/ผู้ค้ำประกัน
สัญญาซื้อขายรถยนต์ซึ่งระบุว่า กรรมสิทธิ์ของยานยนต์ที่ซื้อขายจะยังไม่โอนเป็นของผู้ซื้อจนกว่าผู้ซื้อจะได้ชำระราคาซื้อขายด้วยเงินสดครบถ้วนตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาเสียก่อนนั้น เป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข ย่อมบังคับกันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 459 เมื่อคู่สัญญาตกลงซื้อขายกำหนดราคากันไว้เป็นจำนวนแน่นอนและโจทก์ผู้ขายให้จำเลยที่ 1 ผู้ซื้อชำระราคาในวันทำสัญญาจำนวนหนึ่งแล้วให้ผ่อนชำระราคาส่วนที่เหลือเป็นงวด และมีข้อตกลงว่าหากผู้ซื้อผิดนัดชำระราคางวดใด ยอมให้ผู้ขายเรียกให้ผู้ซื้อชำระราคาที่เหลือพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ทั้งหมดได้ทันทีดังนี้ จำเลยที่ 1 ต้องผูกพันตามสัญญาซื้อขาย เมื่อจำเลยที่ 1มิได้ปฏิบัติตามสัญญาโดยผิดนัดชำระราคาตามงวดที่ได้ตกลงกันไว้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระให้โจทก์พร้อมทั้งดอกเบี้ยตามข้อตกลงและจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันก็ต้องร่วมรับผิดด้วย แม้จะปรากฏต่อมาว่าก่อนถึงกำหนดชำระราคางวดที่ 14 รถยนต์ที่ซื้อขายถูกคนร้ายลักไปโดยไม่ปรากฏว่า เป็นความผิดของโจทก์หรือจำเลยที่ 1ก็ตาม แต่ตามสัญญาซื้อขายระบุไว้ชัดว่า หน้าที่ความรับผิดของผู้ซื้อย่อมไม่หมดสิ้นไปเนื่องจากการสูญหายของยานยนต์ดังกล่าวจำเลยที่ 1 จึงยังคงต้องรับผิดชำระราคารถยนต์แก่โจทก์จนครบถ้วนเพราะข้อสัญญาดังกล่าวเป็นการยกเว้นบทบัญญัติมาตรา 372 วรรคแรกแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวมิใช่กฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน คู่สัญญาย่อมตกลงกันเป็นอย่างอื่นได้ ไม่เป็นโมฆะตามมาตรา 114 เบี้ยประกันภัยที่โจทก์ได้ชำระแทนไป จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดชำระให้โจทก์เต็มจำนวนตามสัญญา แต่ในส่วนอัตราดอกเบี้ยของเงินค่าเบี้ยประกันภัยมิได้กำหนดกันไว้ในสัญญาเหมือนเช่นเงินราคาค่ารถโจทก์จึงเรียกได้เพียงในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3728/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข การสูญหายของทรัพย์สิน และการยกเว้นบทบัญญัติกฎหมาย
สัญญาซื้อขายรถยนต์ซึ่งระบุว่า กรรมสิทธิ์ของยานยนต์ที่ซื้อขายจะยังไม่โอนเป็นของผู้ซื้อจนกว่าผู้ซื้อจะได้ชำระราคาซื้อขายด้วเงินสดครบถ้วนตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาเสียก่อนนั้น เป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข บังคับกันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 459 เมื่อคู่สัญญาตกลงซื้อขายกำหนดราคากันไว้เป็นจำนวนแน่นอนและโจทก์ผู้ขายให้จำเลยที่ 1 ผู้ซื้อชำระราคาในวันทำสัญญาจำนวนหนึ่งแล้วให้ผ่อนชำระราคาส่วนที่เหลือเป็นงวด และมีข้อตกลงว่าหากผู้ซื้อผิดนัดชำระราคางวดใด ยอมให้ผู้ขายเรียกให้ผู้ซื้อชำระราคาที่เหลือพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ทั้งหมดได้ทันทีดังนี้จำเลยที่ 1 ต้องผูกพันตามสัญญาซื้อขาย เมื่อจำเลยที่ 1มิได้ปฏิบัติตามสัญญาโดยผิดนัดชำระราคาตามงวดที่ได้ตกลงไว้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระให้โจทก์พร้อมทั้งดอกเบี้ยตามข้อตกลง และจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันก็ต้องร่วมรับผิดด้วย แม้จะปรากฏต่อมาว่าก่อนถึงกำหนดชำระราคางวดที่ 14 รถยนต์ที่ซื้อขายถูกคนร้ายลักไปโดยไม่ปรากฏว่าเป็นความผิดของโจทก์หรือจำเลยที่ 1 ก็ตามแต่ตามสัญญาซื้อขายระบุไว้ชัดว่า หน้าที่ความรับผิดของผู้ซื้อย่อมไม่หมดสิ้นไปเนื่องจากการสูญหายของยานยนต์ จำเลยที่ 1 จึงยังคงต้องรับผิดชำระราคารถยนต์แก่โจทก์จนครบถ้วน เพราะข้อสัญญาดังกล่าวเป็นการยกเว้นบทบัญญัติมาตรา 372 วรรคแรก แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวมิใช่กฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน คู่สัญญาย่อมตกลงกันเป็นอย่างอื่นได้ ไม่เป็นโมฆะตามมาตรา 114(เดิม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3728/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข การสูญหายของทรัพย์สิน และความรับผิดของผู้ซื้อ
การซื้อขายรถยนต์ตามสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1ซึ่งระบุว่ากรรมสิทธิ์ของยานยนต์ที่ซื้อขายจะยังไม่โอนเป็นของผู้ซื้อจนกว่าผู้ซื้อจะได้ชำระราคาซื้อขายด้วยเงินสดครบถ้วนตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาเสียก่อนนั้น เป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข ย่อมบังคับกันได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 459 เมื่อคู่สัญญาตกลงซื้อขายกำหนดราคากันไว้เป็นจำนวนแน่นอนและผู้ขายให้ผู้ซื้อชำระราคาในวันทำสัญญาไว้จำนวนหนึ่งแล้วให้ผ่อนชำระราคาส่วนที่เหลือเป็นงวด และมีข้อตกลงว่าหากผู้ซื้อผิดนัดชำระราคางวดใด ยอมให้ผู้ขายเรียกให้ผู้ซื้อชำระราคาที่เหลือพร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีทั้งหมดได้ทันที จำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันตามสัญญาซื้อขาย แม้จะปรากฏต่อมาว่ารถยนต์ที่ซื้อขายถูกคนร้ายลักไปโดยไม่ปรากฏว่าเป็นความผิดของโจทก์หรือจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่ตามสัญญาซื้อขายระบุไว้ชัดว่า หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ซื้อย่อมไม่หมดสิ้นไปเนื่องจากการสูญหายของยานยนต์ดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงยังคงต้องรับผิดชำระราคารถยนต์แก่โจทก์จนครบถ้วน เพราะข้อสัญญาดังกล่าวเป็นการยกเว้นบทบัญญัติ มาตรา 372 วรรคแรก แห่ง ป.พ.พ. ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวมิใช่กฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน คู่สัญญาย่อมตกลงกันเป็นอย่างอื่นได้ ไม่เป็นโมฆะ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3722/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าปรับสัญญาเช่าซื้อ, มูลหนี้จากการรับสภาพหนี้, การลดค่าเสียหายที่สูงเกินควร, ศาลฎีกาพิพากษากลับ
สัญญาเช่าซื้อระบุว่า หากสัญญาเช่าซื้อถูกยกเลิกไปผู้เช่าซื้อต้องรับผิดในจำนวนค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระและค่าเสียหายพร้อมด้วยค่าปรับร้อยละสิบแปดต่อปี ข้อตกลงดังกล่าวไม่เป็นการขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 574 เพราะเป็นเพียงข้อกำหนดในการชำระค่าเช่าซื้อระหว่างที่ยังมิได้มีการเลิกสัญญากันพร้อมทั้งเบี้ยปรับกรณีผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อเท่านั้นและค่าปรับดังกล่าวเป็นการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่ง มีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ หากกำหนดไว้สูงเกินส่วนศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3674/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการสั่งริบอาวุธปืน: ปืนมีทะเบียนใช้ทำผิดได้ริบหรือไม่ พิจารณาจากพฤติการณ์
จำเลยพาอาวุธปืนของจำเลยที่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้ ไปในหมู่บ้านโดยไม่ได้รับใบอนุญาตให้พกติดตัวไป และยิงปืนในหมู่บ้านเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 8 ทวิ,72 ทวิ และ ป.อ.มาตรา 371,376, อาวุธปืนเป็นวัตถุแห่งการกระทำความผิด หรือทรัพย์ที่ได้ใช้ในการกระทำความผิด ซึ่งอยู่ในดุลพินิจ หรืออำนาจของศาลที่จะสั่งริบหรือไม่ก็ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3674/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองอาวุธปืนมีทะเบียนและการสั่งริบในความผิดพาอาวุธปืนและยิงปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต
อาวุธปืนและกระสุนปืนของกลางเป็นปืนมีทะเบียนซึ่งจำเลยได้รับอนุญาตให้มีและใช้ได้ตามกฎหมาย แม้จำเลยจะมิได้ใช้ทำผิดฐานชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ หรือฆ่าผู้อื่น และการที่จำเลยซึ่งไม่ได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัวได้พาอาวุธปืนของกลางติดตัวไปในเมืองหมู่บ้านและทางสาธารณะ และยิงปืนในหมู่บ้านหรือชุมนุมชนไม่อาจทำให้อาวุธปืนของกลางที่มีใบอนุญาตแล้วกลายเป็นอาวุธปืนที่มีไว้ผิดกฎหมายไปด้วยก็ตาม แต่ก็คงเป็นวัตถุแห่งการกระทำความผิดหรือเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิด ซึ่งอยู่ในดุลพินิจหรืออำนาจของศาลที่จะสั่งริบหรือไม่แล้วแต่ข้อเท็จจริงเป็นเรื่อง ๆไป ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3569/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนการชำระหนี้หลังล้มละลาย: เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่น โดยจำเลยมีทรัพย์สินไม่พอชำระหนี้ทั้งหมด
จำเลยชำระหนี้ให้ผู้คัดค้าน หลังจากโจทก์ฟ้องขอให้ล้มละลายเป็นการที่ผู้คัดค้านได้รับชำระหนี้ในขณะที่เจ้าหนี้อื่นยังมิได้รับชำระหนี้ ประกอบกับได้ความว่าจำเลยมีทรัพย์สินไม่พอกับหนี้สินการกระทำของจำเลยในพฤติการณ์ดังกล่าวจึงเป็นการมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ผู้ร้องขอให้เพิกถอนการชำระหนี้รายนี้ได้ โดยไม่ต้องพิจารณาว่าผู้คัดค้านได้รับชำระหนี้โดยสุจริต และมีค่าตอบแทนหรือไม่ การเพิกถอนการชำระหนี้เป็นไปโดยผลของคำพิพากษาหรือคำสั่งตราบใดที่ยังไม่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้เพิกถอนการชำระหนี้ก็ยังถือว่าเป็นการชำระหนี้โดยชอบอยู่ กรณียังถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดนับแต่วันที่ได้รับชำระหนี้ ผู้ร้องคงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการชำระหนี้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3402/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกมูลนิธิเนื่องจากฝ่าฝืนวัตถุประสงค์, ไม่ทำบัญชี, และเรี่ยไรโดยไม่ได้รับอนุญาต
มูลนิธิสงเคราะห์เด็กอนาถาผู้คัดค้านตั้งมาประมาณ 6 ปีมีทรัพย์สินประมาณ 20 ล้านบาท เคยบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยและการกุศลต่าง ๆ รวมทั้งสร้างอาคารเรียน แต่ผู้คัดค้านทำบัญชีงบดุลเกี่ยวกับทรัพย์สินรายได้ประจำปีเพียงปีเดียวแล้วไม่เคยทำอีกเลย การหารายได้ของผู้คัดค้านที่ให้เจ้าหน้าที่ของผู้คัดค้านไปทำการเรี่ยไรโดย ขายดอกไม้และภาพถ่ายโดยไม่ได้รับอนุญาตอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมการเรี่ยไร พ.ศ. 2487 ก็เป็นการหาทรัพย์สินโดยนอกเหนือจากบทบัญญัติข้อ 6 ในหมวด 3 และเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติข้อ 45 ของตราสารของผู้คัดค้าน กรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 93(3) เดิม ศาลย่อมมีอำนาจสั่งให้เลิกมูลนิธิผู้คัดค้านได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3402/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกมูลนิธิเนื่องจากฝ่าฝืนวัตถุประสงค์และไม่โปร่งใสทางการเงิน
มูลนิธิสงเคราะห์เด็กอนาถา ผู้คัดค้านตั้งมาประมาณ 6 ปี มีทรัพย์สินประมาณ20 ล้านบาท เคยบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยและการกุศลต่าง ๆ รวมทั้งสร้างอาคารเรียนแต่ผู้คัดค้านทำบัญชีงบดุลเกี่ยวกับทรัพย์สินรายได้ประจำปีเพียงปีเดียวแล้วไม่เคยทำอีกเลย และอ้างว่าได้ดำเนินการโดยสุจริตตลอดมา เห็นว่า บัญชีงบดุลเกี่ยวกับทรัพย์สินรายได้ประจำปีของผู้คัดค้านเป็นวิธีการหนึ่งหรือมาตรการหนึ่งที่จะตรวจสอบถึงการดำเนินการและรายได้ว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายและตราสารในการตั้งมูลนิธิหรือไม่ เมื่อผู้คัดค้านมิได้กระทำเช่นนี้แล้วจะตรวจสอบและทราบได้อย่างไร ดังนั้นการกระทำและพฤติการณ์การหารายได้ของผู้คัดค้านที่ทำการเรี่ยไรโดยขายดอกไม้และภาพถ่ายโดยไม่ได้รับอนุญาตอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมการเรี่ยไร พ.ศ.2487 จึงเป็นการหาทรัพย์สินโดยนอกเหนือจากบทบัญญัติ ข้อ 6 ในหมวด 3และเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติ ข้อ 45 ของตราสารของผู้คัดค้าน กรณีต้องด้วยมาตรา 93 (3)แห่ง ป.พ.พ. เดิม ศาลย่อมมีอำนาจสั่งให้เลิกมูลนิธิผู้คัดค้านได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3369/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการอนุญาตถอนฟ้องคดีแพ่ง และการใช้สิทธิไม่สุจริต
การที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องในคดีแพ่งได้หรือไม่ เป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจ แม้จำเลยจะคัดค้าน แต่หากศาลเห็นว่าการถอนฟ้องของโจทก์ไม่เป็นเหตุให้จำเลยเสียเปรียบในเชิงคดี เพราะหากโจทก์นำคดีมาฟ้องใหม่ จำเลยมีสิทธิต่อสู้คดีได้เต็มที่ ก็อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้