คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เพี้ยน พุทธสุอัตตา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 183 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3369/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจดุลพินิจศาลในการอนุญาตถอนฟ้อง และการใช้สิทธิไม่สุจริต
การที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ถอนฟ้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 175นั้น เป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจ การที่โจทก์ใช้สิทธิขอถอนฟ้องเพราะ จำเลยเป็นหนี้โจทก์มีจำนวนมากกว่าที่ระบุในฟ้องเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย เพราะหากถอนฟ้องแล้วโจทก์นำคดีมาฟ้องใหม่ จำเลยก็มีสิทธิต่อสู้คดีเต็มที่เช่นกัน การที่ฝ่ายใดจะแพ้หรือชนะคดีย่อมแล้วแต่พยานหลักฐานของคู่กรณี ตรงกันข้ามหากไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง จำเลยอาจได้เปรียบในเชิงคดีก็เป็นได้เพราะหากจำเลยเป็นหนี้โจทก์มากกว่าที่ฟ้อง จำเลยอาจไม่ต้องชำระหนี้ดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ดำเนินกระบวนพิจารณาโดยใช้สิทธิไม่สุจริต เอาเปรียบในเชิงคดีแต่ประการใด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3369/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการอนุญาตถอนฟ้องและการใช้สิทธิไม่สุจริต
การที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องในคดีแพ่งได้หรือไม่เป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจ แม้จำเลยจะคัดค้านเมื่อศาลเห็นว่าการถอนฟ้องของโจทก์ไม่เป็นเหตุให้จำเลยเสียเปรียบในเชิงคดีก็อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3288/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องความผิดฐานรับของโจร: การสอบสวนครอบคลุมทั้งฐานลักทรัพย์และรับของโจร ถือว่ามีการสอบสวนความผิดฐานรับของโจรแล้ว
พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาลักทรัพย์แก่จำเลยเนื่องจากได้ข้อเท็จจริงว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองวีดีโอเทปของผู้เสียหายที่ถูกลักไป การที่จำเลยมีวีดีโอเทปของผู้เสียหายซึ่งถูกลักไปไว้ในครอบครองจึงอาจเป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ ซึ่งพนักงานสอบสวนก็ได้สอบสวนถึงการกระทำนั้นของจำเลยแล้วทั้งการแจ้งข้อหาแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 หาได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกกระทงความผิดไม่ แม้เดิมจะตั้งข้อหาหนึ่งแต่เมื่อสอบสวนไปแล้ว ปรากฏว่าการกระทำ ของจำเลยเป็นความผิดฐานอื่นด้วย ก็เรียกว่าได้มีการสอบสวนในความผิดดังกล่าวด้วยแล้ว ดังนั้นแม้ชั้นแรกพนักงานสอบสวนตั้งข้อหาลักทรัพย์แก่จำเลยแต่เมื่อสอบสวนพยานหลักฐานเสร็จสิ้นแล้ว โจทก์เห็นว่าการกระทำของจำเลยน่าจะเป็นความผิดฐานรับของโจรและฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดฐานรับของโจรด้วย ถือได้ว่ามีการสอบสวนความผิดฐานรับของโจรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120 แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดฐานรับของโจร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3288/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อหาและการสอบสวนความผิดฐานรับของโจร แม้แจ้งข้อหาลักทรัพย์ก่อน โจทก์มีอำนาจฟ้องได้หากสอบสวนพบหลักฐาน
ภายหลังจากวีดีโอเทปของผู้เสียหายได้หายไปแล้ว ทางสืบสวนของเจ้าพนักงานตำรวจทราบว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองวีดีโอเทปดังกล่าว พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาลักทรัพย์แก่จำเลยก็เนื่องจากได้ข้อเท็จจริงว่า จำเลยเป็นผู้ครอบครองวีดีโอเทป แต่การที่จำเลยมีวีดีโอเทปไว้ในครอบครองอาจเป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ ซึ่งพนักงานสอบสวนก็ได้สอบสวนถึงการกระทำนั้นของจำเลยแล้ว ทั้งการแจ้งข้อหาแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 นั้น หาได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกกระทงความผิดไม่ แม้เดิมจะตั้งข้อหาหนึ่งแต่เมื่อสอบสวนไปแล้ว ปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานอื่นด้วย ก็เรียกว่าได้มีการสอบสวนในความผิดดังกล่าวด้วยแล้ว ดังนั้นแม้ชั้นแรกพนักงานสอบสวนจะตั้งข้อหาลักทรัพย์แก่จำเลย แต่เมื่อสอบสวนพยานหลักฐานเสร็จสิ้นแล้ว พนักงานอัยการโจทก์เห็นว่าการกระทำของจำเลยน่าจะเป็นความผิดฐานรับของโจรและฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดฐานรับของโจรด้วย ก็ถือว่าได้มีการสอบสวนความผิดฐานรับของโจรตามมาตรา 120 แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดฐานรับของโจรด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3288/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อหาและการสอบสวนความผิดฐานอื่น - อำนาจฟ้องของโจทก์
การแจ้งข้อหาแก่จำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 นั้น หาได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกกระทงความผิดไม่แม้เดิมจะตั้งข้อหาหนึ่งแต่เมื่อสอบสวนไปแล้ว ปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานอื่นด้วยก็เรียกว่าได้มีการสอบสวนในความผิดดังกล่าวด้วยแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3241/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าอาคารราชพัสดุ: สัญญาจองเซ้งไม่ทำให้โอนสิทธิการเช่าได้ ผู้ล้มละลายทำสัญญาโอนสิทธิการเช่าให้เจ้าหนี้ชอบ
จำเลยทำสัญญาให้ ท.จองเซ้งอาคารพิพาทที่จำเลยได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างขึ้นในที่ดินราชพัสดุแล้วมีสิทธิให้บุคคลอื่นเช่า ก่อนที่จำเลยจะทำสัญญาเช่าอาคารพิพาทกับกระทรวงการคลังผู้ให้เช่านั้น จำเลยหาได้มีสิทธิการเช่าที่จะโอนให้แก่ ท.ได้ไม่ แม้สัญญาระหว่างจำเลยกับ ท.จะระบุว่าเป็นสัญญาจองเซ้งอาคารพร้อมสิทธิการเช่า ก็เป็นเพียงสัญญาจองเซ้งอาคารพิพาทเท่านั้น หาใช่เป็นสัญญาโอนสิทธิการเช่าไม่ เมื่อจำเลยก่อสร้างอาคารพิพาทเสร็จและได้ทำสัญญาเช่ากับกระทรวงการคลังแล้วจำเลยก็ไม่ได้ตกลงโอนสิทธิการเช่าอาคารพิพาทให้แก่ ท.เงินที่ท.ชำระให้แก่จำเลยจึงเป็นเงินค่าจองเซ้งอาคารพิพาทซึ่งคาดว่าจะได้สิทธิการเช่าต่อไปเท่านั้น หาใช่เป็นการชำระค่าโอนสิทธิการเช่าไม่ การที่ ท. เข้าอยู่ในอาคารพิพาทและชำระค่าเช่าให้แก่กระทรวงการคลังจึงเป็นการอยู่โดยอาศัยสิทธิของจำเลยและทำแทนจำเลย ท. จึงไม่ได้สิทธิการเช่าอาคารพิพาท เมื่อจำเลยได้นำสิทธิการเช่าอาคารพิพาทไปวางเป็นประกันหนี้ไว้แก่ผู้ร้อง โดยได้รับความยินยอมจากกระทรวงการคลังและต่อมาจำเลยได้ตกลงโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวตีใช้หนี้ให้แก่ผู้ร้องโดยชอบแล้ว สิทธิการจองเซ้งอาคารพิพาทระหว่างจำเลยกับท.จึงมิใช่สิทธิตามสัญญาที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องยอมปฏิบัติตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 122 การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งให้โอนสิทธิการเช่าอาคารพิพาทให้แก่ ท.โดยให้ ท. ชำระเงินแก่กองทรัพย์สินของจำเลยเพิ่มขึ้นอีกบางส่วนนั้น จึงเป็นการไม่ชอบ ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ซึ่งได้รับความเสียหายย่อมมีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวเสียได้ตามมาตรา 146.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3241/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าที่จำกัด: สิทธิการจองเซ้งไม่ผูกพันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย
การที่จำเลยทำสัญญาให้ ท.จองเซ้งอาคารพิพาทที่จำเลยได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างขึ้นในที่ดินราชพัสดุแล้วมีสิทธิให้บุคคลอื่นเช่า ก่อนที่จำเลยจะทำสัญญาเช่าอาคารพิพาทกับกระทรวงการคลังผู้ให้เช่านั้น จำเลยหาได้มีสิทธิการเช่าที่จะโอนให้แก่ ท.ได้ไม่ แม้สัญญาระหว่างจำเลยกับ ท.จะระบุว่าเป็นสัญญาจองเซ้งอาคารพร้อมสิทธิการเช่า ก็เป็นเพียงสัญญาจองเซ้งอาคารพิพาทเท่านั้น หาใช่เป็นสัญญาโอนสิทธิการเช่าไม่ เมื่อจำเลยก่อสร้างอาคารพิพาทเสร็จและได้ทำสัญญาเช่ากับกระทรวงการคลังแล้ว จำเลยก็ไม่ได้ตกลงโอนสิทธิการเช่าอาคารพิพาทให้แก่ ท. เงินที่ ท.ชำระให้แก่จำเลยจึงเป็นเงินค่าจองเซ้งอาคารพิพาทซึ่งคาดว่าจะได้สิทธิการเช่าต่อไปเท่านั้น หาใช่เป็นการชำระค่าโอนสิทธิการเช่าไม่ การที่ ท.เข้าอยู่ในอาคารพิพาทและชำระค่าเช่าให้แก่กระทรวงการคลัง จึงเป็นการอยู่โดยอาศัยสิทธิของจำเลยและทำแทนจำเลย ท.จึงไม่ได้สิทธิการเช่าอาคารพิพาท เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้นำสิทธิการเช่าอาคารพิพาทไปวางเป็นประกันหนี้ไว้แก่ผู้ร้อง โดยได้รับความยินยอมจากกระทรวงการคลัง และต่อมาจำเลยได้ตกลงโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวตีใช้หนี้ให้แก่ผู้ร้องโดยชอบแล้ว สิทธิการจองเซ้งอาคารพิพาทระหว่างจำเลยกับ ท.จึงมิใช่สิทธิตามสัญญาที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องยอมปฏิบัติ ตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 122 การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งให้โอนสิทธิการเช่าอาคารพิพาทให้แก่ ท.โดยให้ ท.ชำระเงินแก่กองทรัพย์สินของจำเลยเพิ่มขึ้นอีกบางส่วนนั้น จึงเป็นการไม่ชอบ ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ซึ่งได้รับความเสียหายย่อมมีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวเสียได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 146

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3237/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองและจำหน่ายยาเสพติด (เมทแอมเฟตามีน) ศาลใช้กฎหมายใหม่ที่แก้ไขโทษปรับให้แก่จำเลย
ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มี พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมพ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ออกใช้บังคับโดยเพิ่มเติมมาตรา 13 ทวิ แยกจากเดิมซึ่งบัญญัติรวมไว้ในมาตรา 13และแก้ไขโทษปรับขั้นสูงตามมาตรา 89 ให้ต่ำลง ถือว่าเป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้บทบัญญัติกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมใหม่นี้มาปรับแก่คดีตาม ป.อ. มาตรา 3.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3099/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโต้แย้งสิทธิการแบ่งแยกที่ดินอ้างอิงข้อตกลงประกันหนี้ การปฏิเสธข้ออ้างชัดแจ้งชอบตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินพิพาท เนื้อที่ 15 ไร่เศษ โดยโจทก์มีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ 8 ไร่นอกนั้นเป็นของจำเลย โจทก์ขอแบ่งแยกที่ดินพิพาท จำเลยเพิกเฉยจึงขอบังคับจำเลยให้แบ่งที่ดินพิพาทตามส่วนแก่โจทก์ จำเลยให้การว่าเดิมโจทก์จำเลยมีหนี้สินกันอยู่ ต่อมาปี 2529 จำเลยตกลงโอนที่ดินพิพาทบางส่วนเพื่อประกันการชำระหนี้โดยมีภาระผูกพันว่าหากจำเลยหาเงินที่เป็นหนี้พร้อมดอกเบี้ยชำระคืนโจทก์ โจทก์ยอมโอนที่ดินพิพาทคืนแก่จำเลย จำเลยขอชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์โจทก์กลับปฏิเสธ โจทก์ไม่สุจริต ไม่มีอำนาจฟ้อง ดังนี้ คำให้การจำเลยปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ว่า โจทก์ไม่มีสิทธิขอแบ่งแยกที่ดินพิพาท เพราะมีข้อตกลงโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ แต่มีภาระผูกพันว่าหากจำเลยชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ โจทก์จะโอนที่ดินพิพาทคืนแก่จำเลย และจำเลยได้ขอชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยต่อโจทก์แล้วแต่โจทก์ไม่ยอม จึงเป็นคำให้การที่ปฏิเสธโดยชัดแจ้ง รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น เป็นคำให้การที่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสองส่วนจำเลยเป็นหนี้โจทก์ค่าอะไร จำนวนเท่าใดดอกเบี้ยอัตราเท่าใดและมีข้อตกลงเรื่องหนี้สินกันจริงดังจำเลยอ้างเป็นเหตุปฏิเสธต่อโจทก์จริงหรือไม่ เป็นเรื่องรายละเอียดที่จำเลยมีสิทธินำสืบในชั้นพิจารณาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2899/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีซ้ำหลังศาลตัดสินว่าที่ดินเป็นป่าสงวนฯ แต่ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงสถานะที่ดิน ทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้องได้อีก
คดีก่อนศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ที่พิพาทเป็นป่าสงวนแห่งชาติโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะเรียกคืนจากจำเลยทั้งสองได้ จึงพิพากษายกฟ้องซึ่งเป็นการให้ยกฟ้องเพราะโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ต่อมาทางราชการได้รับรองว่าที่พิพาทอยู่นอกเขตป่าสงวนแห่งชาติ ทำให้โจทก์ยึดถือครอบครองที่พิพาทได้โดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ให้ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความบังคับให้จำเลยที่ 1 ซื้อและชำระราคาที่ดินพิพาทแก่โจทก์ในราคาที่เป็นธรรมหากไม่ยอมซื้อก็ให้จำเลยทั้งสองรื้อสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่พิพาทได้อีก เพราะคดีก่อนศาลยังมิได้วินิจฉัยประเด็นที่เป็นเนื้อหาแห่งคดี ไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148
of 19