คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เพี้ยน พุทธสุอัตตา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 183 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2643/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมกันในสัญญาประกันตัวและการวินิจฉัยนอกประเด็นของศาลล่าง
โจทก์กล่าวมาในฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาให้ไว้แก่โจทก์ ถ้าไม่ส่งตัวผู้ต้องหาตามกำหนดยินยอมให้ปรับเป็นเงิน 200,000 บาท และเพื่อเป็นหลักประกันในการปฏิบัติตามสัญญาจำเลยที่ 2 ได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนนำโฉนดที่ดินมามอบไว้แก่โจทก์ ต่อมาจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจำเลยทั้งสองจึงต้องร่วมกันรับผิด ถือได้ว่าเป็นการฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันทำสัญญาประกันกับโจทก์ ซึ่งจำเลยทั้งสองมิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ โดยต่อสู้คดีเพียงว่าไม่ได้ผิดนัดและโจทก์ไม่เสียหายจึงไม่มีอำนาจปรับจำเลยเท่านั้น การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 ไม่มีความผูกพันต่อโจทก์นั้น จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น นอกเหนือจากคำฟ้องและคำให้การ ไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา เมื่อมีการผิดสัญญาประกัน จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 มิได้ทำสัญญาประกันในนามของตนเอง แต่ทำแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการ จึงไม่ต้องรับผิดนั้นเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ค่าปรับจำนวน 200,000 บาท ซึ่งกำหนดให้จำเลยต้องเสียให้แก่โจทก์ตามสัญญาประกัน เป็นเบี้ยปรับอย่างหนึ่งที่ศาลมีอำนาจลดลงได้ ถ้าเห็นว่าสูงเกินไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2604/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำ: คดีจำหน่ายเนื่องจากขาดนัด ไม่ถือเป็นการวินิจฉัยชี้ขาด
คดีก่อนโจทก์ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ เป็นการขาดนัดพิจารณาและจำเลยไม่ติดใจดำเนินคดีต่อไปศาลจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นออกจากสารบบความ ยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดในเนื้อหาแห่งประเด็นที่พิพาท ดังนั้นแม้โจทก์จะฟ้องจำเลยใหม่เป็นคดีนี้อีกโดยอ้างเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อนก็ตาม ก็ไม่เป็นการฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2545/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน แม้มีชื่อในหนังสือรับรองฯ ข้อสันนิษฐานตามกฎหมายตกไปเมื่อมีข้อเท็จจริงพิสูจน์สิทธิครอบครองที่แท้จริง
แม้ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์จะมีชื่อจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาท ก็เป็นเพียงข้อสันนิษฐานเบื้องต้นว่าจำเลยมีสิทธิเช่นนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาท ข้อสันนิษฐานตามมาตราดังกล่าวย่อมตกไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2516/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่: การบรรยายรายละเอียดวัสดุในฟ้องแพ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนวัสดุก่อสร้างบ้านที่จำเลยรื้อถอนไปแก่โจทก์โดยได้บรรยายฟ้องระบุเลขที่บ้านและสถานที่ตั้งของบ้านพิพาท ตลอดจนบุคคลที่ขายบ้านพิพาทให้แก่โจทก์กับราคาที่โจทก์ซื้อมาและได้บรรยายต่อไปถึงพฤติการณ์ที่จำเลยรื้อบ้านพิพาทนำเอาวัสดุไปก่อสร้างบ้านหลังใหม่ พร้อมกับแนบสำเนารายการวัสดุของบ้านพิพาทที่จำเลยรื้อไปมาท้ายฟ้องด้วย สามารถรู้ได้ว่ามีวัสดุอะไรบ้างที่จำเลยรื้อไปจากบ้านพิพาท ส่วนบ้านพิพาทเป็นบ้านแบบใด ราคาของวัสดุเท่าใด เป็นรายละเอียดที่โจทก์จะนำสืบในชั้นพิจารณาได้ฟ้องโจทก์จึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ไม่เคลือบคลุม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2335/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดอาวุธปืนเป็นความผิดที่ร่วมกันกระทำได้ แม้ไม่ได้เป็นผู้มีหรือพาอาวุธปืนโดยตรง
ความผิดฐานมีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต และพาอาวุธปืนติดตัวไปในทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นความผิดที่ร่วมกันกระทำด้วยกันได้ มิใช่เป็นความผิดเฉพาะตัวของผู้มีอาวุธปืนและพาอาวุธปืนเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2260/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยทบต้นหลังสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุด: ศาลตัดสินอัตราดอกเบี้ยที่ถูกต้อง
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมีกำหนดเวลาชำระหนี้คืนไว้แน่นอนเมื่อไม่ปรากฏว่าธนาคารโจทก์ยอมให้จำเลยเบิกเงินเกินบัญชีอีกต่อไปนับแต่วันสิ้นสุดของสัญญา ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยนำเงินเข้าบัญชีเพื่อหักทอนหนี้ พฤติการณ์แสดงว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นอันสิ้นสุดลงตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้หลังจากนั้นธนาคารโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกต่อไป ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกำหนดให้ธนาคารโจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปีได้ อันเป็นไปตามสิทธิที่โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามพ.ร.บ.ให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 แม้สัญญาสิ้นสุดลงแล้วธนาคารโจทก์ก็ยังคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นในอัตราดังกล่าวไว้ต่อไปเพราะถือได้ว่าจำเลยตกลงให้คิดได้มาแต่ต้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2260/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยทบต้นหลังสัญญาสิ้นสุด: สิทธิคิดดอกเบี้ยตามอัตราสัญญาเดิม และขอบเขตการคิดดอกเบี้ยหลังสัญญาหมดอายุ
นับแต่วันสิ้นสุดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ธนาคารโจทก์ไม่ได้ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีก ทั้งจำเลยที่ 1 ไม่ได้นำเงินเข้าเพื่อหักทอนหนี้ของยอดเงินที่ค้างชำระแสดงว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายให้ถือสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นอันสิ้นสุดลงตามกำหนดระยะเวลาที่ระบุในสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันสิ้นสุดของสัญญา หลังจากนั้นโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกต่อไป ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปีได้ อันเป็นไปตามสิทธิที่โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปีตามพระราชบัญญัติให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 หลังจากสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงแล้ว โจทก์ก็มีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปีได้ เพราะถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวมาตั้งแต่ต้นแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2255/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความทางแพ่งในมูลหนี้ละเมิดที่เชื่อมโยงกับความผิดทางอาญา: ใช้หลักอายุความทางอาญา
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญาค้ำประกันในมูลหนี้ละเมิดที่ ช. ลูกหนี้ก่อขึ้น เมื่อมูลหนี้ละเมิดนั้นเป็นความผิดที่มีโทษตามประมวลกฎหมายอาญาด้วย จึงต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติให้นำอายุความทางอาญาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับ มิใช่ถืออายุความ1 ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้ทำละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2185/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดเขตอำนาจศาลในคดีล้มละลาย: ภูมิลำเนาของลูกหนี้เป็นหลักเกณฑ์สำคัญ
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 150 กำหนดให้ยื่นคำฟ้องคดีล้มละลายต่อศาลซึ่งลูกหนี้มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตส่วนลูกหนี้จะมีภูมิลำเนาอยู่ ณ ที่ใด ต้องถือตามถิ่นอันบุคคลนั้นมีสถานที่อยู่เป็นแหล่งสำคัญ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 44 ส่วนการเปลี่ยนภูมิลำเนาจะทำได้ด้วยการย้ายถิ่นที่อยู่พร้อมด้วยเจตนาปรากฏว่าจงใจจะเปลี่ยนภูมิลำเนาตาม มาตรา 48เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าเดิมจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพมหานครจำเลยย้ายภูมิลำเนาไปอยู่จังหวัดลำพูนแล้วย้ายต่อไปอยู่จังหวัดเชียงใหม่ แสดงว่าจำเลยมีถิ่นอันเป็นสถานที่อยู่เป็นแหล่งสำคัญที่จังหวัดเชียงใหม่ ถือได้ว่าจังหวัดเชียงใหม่เป็นภูมิลำเนาของจำเลย ส่วนที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ได้จำหน่ายชื่อจำเลยออกจากทะเบียนบ้านเดิม แล้วลงชื่อไว้ในทะเบียนคนบ้านกลางก็เนื่องจากไม่มีตัวอยู่ในบ้านและไม่ทราบที่อยู่ใหม่ ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ย้ายที่อยู่พร้อมด้วยเจตนาจะเปลี่ยนภูมิลำเนาแต่อย่างใด จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยได้เปลี่ยนภูมิลำเนาไปจากจังหวัดเชียงใหม่แล้วแม้ตามระเบียบสำนักงานกลางทะเบียนราษฎร กรมการปกครองว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎรสำหรับสำนักทะเบียนในเขตปฏิบัติการตามโครงการจัดทำเลขประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2528 ข้อ 52 และ 53จะถือว่าทะเบียนคนบ้านกลางไม่ใช่ทะเบียนบ้าน และบุคคลซึ่งมีรายการปรากฏอยู่ในทะเบียนคนบ้านกลาง ไม่อาจจะขอคัดหรือรับรองสำเนารายการเพื่อนำไปใช้อ้างอิงหรือใช้สิทธิในกรณีต่าง ๆ ได้ก็ตามก็เป็นเรื่องเพื่อประโยชน์ในการจัดทำทะเบียนราษฎรตามโครงการจัดทำเลขประจำตัวประชาชนเท่านั้น จะถือว่าจำเลยมิได้มีภูมิลำเนาตามกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับการยื่นฟ้องคดีอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่หาได้ไม่ ดังนั้น เมื่อจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ในขณะยื่นฟ้อง จึงต้องด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 150 ที่จะต้องไปยื่นฟ้องจำเลยที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ แต่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ที่ศาลจังหวัดแพร่ ซึ่งมิใช่ศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจ แม้จะเป็นศาลที่มูลคดีเกิดก็ตาม ศาลจังหวัดแพร่ก็ไม่อาจรับคดีของโจทก์ไว้พิจารณาได้ กรณีดังกล่าวจึงมิใช่เป็นเรื่องจำเลยเป็นบุคคลที่ไม่มีภูมิลำเนาอันจะต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับ ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 หรือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 ดังที่โจทก์ฎีกาแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2185/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนาจำเลยคดีล้มละลาย: การจำหน่ายชื่อออกจากทะเบียนบ้าน ไม่ทำให้สิ้นภูมิลำเนา
เดิมจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพมหานคร จำเลยย้ายภูมิลำเนาไปอยู่จังหวัดลำพูนแล้วย้ายต่อไปอยู่ที่บ้านเลขที่ 15/8 หมู่ที่ 1ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาอำเภอเมืองเชียงใหม่จำหน่ายชื่อจำเลยออกจากทะเบียนบ้านเดิมแล้วลงชื่อไว้ในทะเบียนคนบ้านกลาง การที่จำเลยย้ายไปอยู่จังหวัดเชียงใหม่ แสดงว่า จำเลยมีถิ่นอันเป็นสถานที่อยู่เป็นแหล่งสำคัญที่จังหวัดเชียงใหม่ ถือได้ว่าจังหวัดเชียงใหม่เป็นภูมิลำเนาของจำเลย ส่วนที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ได้จำหน่ายชื่อจำเลยออกจากทะเบียนบ้านเดิม แล้วลงชื่อไว้ในทะเบียนคนบ้านกลางก็เนื่องจากไม่มีตัวอยู่ในบ้านและไม่ทราบที่อยู่ใหม่ มิใช่จำเลยได้ย้ายที่อยู่พร้อมด้วยเจตนาจะเปลี่ยนภูมิลำเนา จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยได้เปลี่ยนภูมิลำเนาไปจากจังหวัดเชียงใหม่แล้ว ตามระเบียบสำนักงานกลางทะเบียนราษฎร กรมการปกครองว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร สำหรับสำนักทะเบียนในเขตปฏิบัติการตามโครงการจัดทำเลขประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2528 ข้อ 52 และ 53ที่ให้ถือว่าทะเบียนคนบ้านกลางไม่ใช่ทะเบียนบ้าน และบุคคลซึ่งมีรายการปรากฏอยู่ในทะเบียนคนบ้านกลาง ไม่อาจจะขอคัดหรือรับรองสำเนารายการเพื่อนำไปอ้างอิงหรือใช้สิทธิในกรณีต่าง ๆ ได้เป็นเรื่องเพื่อประโยชน์ในการจัดทำทะเบียนราษฎรตามโครงการจัดทำเลขประจำตัวประชาชนเท่านั้น จะถือว่าจำเลยมิได้มีภูมิลำเนาตามกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับการยื่นฟ้องคดีล้มละลายหาได้ไม่ จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ในขณะยื่นฟ้องจึงต้องด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 150 ที่จะต้องไปยื่นฟ้องจำเลยที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ แต่โจทก์ยื่นฟ้องที่ศาลจังหวัดแพร่ ซึ่งไม่ใช่ศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจแม้จะเป็นศาลมูลคดีเกิดก็ตาม ศาลจังหวัดแพร่ก็ไม่อาจรับคดีของโจทก์ไว้พิจารณาได้และกรณีมิใช่เป็นเรื่องจำเลยเป็นบุคคลที่ไม่มีภูมิลำเนาอันจะต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4มาใช้บังคับ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153หรือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4
of 19