พบผลลัพธ์ทั้งหมด 183 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1851/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาประกันตัวผู้ต้องหา: ลดลงได้เมื่อผู้ประกันติดตามตัวผู้ต้องหาได้ แม้จะผิดสัญญา
จำนวนเงินที่ระบุไว้ในสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาที่ผู้ประกันทำไว้แก่พนักงานสอบสวนว่า ผู้ประกันจะชำระให้แก่พนักงานสอบสวนเมื่อผู้ประกันผิดสัญญาไม่ส่งตัวผู้ต้องหาได้ตามกำหนดนั้น เป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้า มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ เมื่อปรากฏว่าผู้ประกันผิดสัญญาประกันโดยไม่สามารถนำผู้ต้องหามาส่งให้พนักงานสอบสวนตามกำหนด แต่ต่อมาได้ติดตามตัวผู้ต้องหาจนถึงชี้ตัวให้เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมมาดำเนินคดีต่อไปได้ ความเสียหายของพนักงานสอบสวนที่ดำเนินคดีแก่ผู้ต้องหาจึงน้อยลง การที่จะให้ผู้ประกันใช้เงินเต็มตามสัญญาประกันในกรณีเช่นนี้ ย่อมเป็นการกำหนดให้ชำระเบี้ยปรับสูงเกินส่วนศาลย่อมลดเบี้ยปรับลงได้ตามที่เห็นสมควร.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1846/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วมจากสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเพื่อกิจการครอบครัว สินสมรสผูกพัน
การที่จำเลยทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีโดยจำนองทรัพย์พิพาทเป็นประกันต่อโจทก์ก็เพื่อนำเงินมาใช้ในกิจการค้าพืชไร่ของจำเลยผู้ร้องซึ่งเป็นภริยาของจำเลยให้ความยินยอมเป็นหนังสือกิจการค้าของจำเลยเป็นสิ่งจำเป็นในครอบครัวจำเลยเพื่อนำรายได้มาใช้จ่ายในการอุปการะเลี้ยงดูบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตรตลอดถึงการรักษาพยาบาล เมื่อมีหนี้เกิดขึ้นจึงเป็นหนี้ร่วมระหว่างผู้ร้องกับจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490(1) และผูกพันทรัพย์พิพาทอันเป็นสินสมรส ผู้ร้องหามีสิทธิขอกันส่วนในทรัพย์พิพาทไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1710/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย แม้เกินกำหนดเวลา ก็ไม่ทำให้การมอบอำนาจเดิมเป็นโมฆะ
เจ้าหนี้เป็นชาวแคนาดา มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศแคนาดาแต่เข้ามาในประเทศไทย ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ช.ทนายความยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ ต่อมาเมื่อเจ้าหนี้กลับไปที่ประเทศแคนาดา เจ้าหนี้ยังได้ส่งหนังสือมอบอำนาจโดยมีโนตารีปับลิกลงชื่อประทับตรารับรองมอบต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ประกอบคำขอรับชำระหนี้อีก ดังนี้ เมื่อการมอบอำนาจของเจ้าหนี้ตามหนังสือมอบอำนาจฉบับเดิมเป็นการชอบแล้ว แม้ต่อมาเจ้าหนี้จะยื่นหนังสือมอบอำนาจมีโนตารีปับลิกลงชื่อประทับตรารับรองให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จะเกินกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็ตาม ก็หาทำให้การมอบอำนาจซึ่งชอบแล้วกลายเป็นการไม่ชอบหรือเป็นการขยายกำหนดเวลาขอรับชำระหนี้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1538/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภูมิลำเนาทางกฎหมาย: การใช้ที่อยู่ในการจดทะเบียนบริษัทและการปฏิเสธหนี้เป็นหลักฐานแสดงเจตนา
แม้ผู้ร้องจะมีชื่อในทะเบียนบ้านเลขที่ 507/292 ก็ตาม แต่เมื่อผู้ร้องยังใช้บ้านเลขที่ 766/26 ซึ่งผู้ร้องเคยอยู่มาแล้วเดิมในการขอจดทะเบียนบริษัทลูกหนี้ก็ดี และใช้บ้านเลขที่ดังกล่าวปฏิเสธหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ดี กรณีถือได้ว่าผู้ร้องเจตนาประสงค์ใช้บ้านเลขที่ 766/26 เป็นภูมิลำเนาของผู้ร้องแต่เฉพาะการในการจัดตั้งบริษัทลูกหนี้ และในการปฏิเสธหนี้ของบริษัทลูกหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 49 เดิม ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งหมายนัดสอบสวน หนังสือยืนยันหนี้ตลอดจนคำบังคับไปยังผู้ร้องที่บ้านเลขที่ 766/26 จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1538/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภูมิลำเนาเฉพาะการในการจัดตั้งบริษัทและการปฏิเสธหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งหมายนัดชอบด้วยกฎหมาย
แม้ผู้ร้องจะมีชื่อในทะเบียนบ้านเลขที่ 507/292 แต่ผู้ร้องยังใช้บ้านเลขที่ 766/26 ซึ่งผู้ร้องเคยอยู่ในการขอจดทะเบียนตั้งบริษัทลูกหนี้และใช้บ้านเลขที่ดังกล่าวปฏิเสธหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ถือได้ว่าผู้ร้องเจตนาประสงค์จะใช้บ้านเลขที่ 766/26เป็นภูมิลำเนาเฉพาะการในการจัดตั้งบริษัทลูกหนี้และในการปฏิเสธหนี้การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งหมายนัดไปยังผู้ร้องที่บ้านเลขที่ดังกล่าวโดยวิธีปิดหมายนั้น ถือว่าชอบแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1483/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ต่างชาติในการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายของไทย โดยอาศัยหลักกฎหมายต่างประเทศ
เจ้าหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลมีภูมิลำเนาอยู่ประเทศฝรั่งเศสพิสูจน์ได้ว่า มีหลักทั่วไปในประมวลกฎหมายแพ่งของประเทศฝรั่งเศสมาตรา 11 และมาตรา 2123 ให้สิทธิเจ้าหนี้ที่เป็นคนสัญชาติอื่นยื่นคำขอรับชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้ในประเทศฝรั่งเศสได้แม้จะไม่มีมาตราใดบัญญัติไว้โดยเฉพาะในกฎหมายล้มละลายของประเทศฝรั่งเศสเช่นเดียวกับกฎหมายล้มละลายแห่งประเทศไทยก็ตาม เจ้าหนี้ในประเทศไทยก็ย่อมมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายในประเทศฝรั่งเศสได้ ถือได้ว่าเจ้าหนี้ได้ปฏิบัติครบถ้วนตามเงื่อนไขในมาตรา 178 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 แล้ว จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายในประเทศไทยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1483/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ต่างประเทศในการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย - การพิสูจน์สิทธิและการปฏิบัติตามเงื่อนไขมาตรา 178
มาตรา 11 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งของประเทศฝรั่งเศส บัญญัติว่า "คนในสัญชาติอื่นมีสิทธิและหน้าที่ภายใต้กฎหมายแพ่งของฝรั่งเศสเช่นเดียวกับที่คนสัญชาติฝรั่งเศสจะมีสิทธิและหน้าที่ในรัฐของคนชาตินั้นสังกัด" ดังนั้นแม้ไม่มีมาตราใดบัญญัติไว้โดยเฉพาะในกฎหมายล้มละลายของฝรั่งเศสเช่นเดียวกับกฎหมายล้มละลายแห่งประเทศไทย แต่เมื่อเจ้าหนี้นำ อ. มาเป็นพยานในชั้นสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่า อ. เป็นผู้ติดต่อกับประเทศฝรั่งเศสจนกระทั่งได้บทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งของประเทศฝรั่งเศสดังกล่าวแล้วมาประกอบ ซึ่งกฎหมายแพ่งของประเทศฝรั่งเศสดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติห้ามเจ้าหนี้ที่อยู่ในต่างประเทศ ดังนั้นเจ้าหนี้ในประเทศไทยก็อาจพิสูจน์หนี้ได้ทางนำสืบของเจ้าหนี้ย่อมเพียงพอรับฟังได้ว่าเจ้าหนี้ในประเทศไทยย่อมมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายในประเทศฝรั่งเศสได้เช่นเดียวกับเจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายในประเทศไทยเมื่อเจ้าหนี้ไม่เคยได้รับหรือมีสิทธิรับทรัพย์สินหรือส่วนแบ่งจากทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1 นอกราชอาณาจักรถือได้ว่าเจ้าหนี้ได้ปฏิบัติครบถ้วนตามเงื่อนไขในมาตรา 178 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ. 2483 แล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1483/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ต่างชาติในคดีล้มละลายของไทย การพิสูจน์สิทธิภายใต้กฎหมายฝรั่งเศส
กฎหมายล้มละลายของประเทศฝรั่งเศสคล้ายกับกฎหมายล้มละลายของประเทศไทย แต่ไม่มีมาตราใดบัญญัติไว้ชัดแจ้งเช่นกฎหมายล้มละลายของประเทศไทย คงมีแต่หลักทั่วไปในประมวลกฎหมายแพ่งของ ประเทศฝรั่งเศส มาตรา 11 และมาตรา 2123 ระบุว่า ชาวต่างชาติมีสิทธิที่จะยื่นขอรับชำระหนี้จากทรัพย์สินในประเทศฝรั่งเศส ได้ ดังนั้น แม้จะไม่มีมาตราใดบัญญัติไว้โดยเฉพาะในกฎหมาย ล้มละลายของประเทศฝรั่งเศสเช่นเดียวกับกฎหมายล้มละลายแห่งประเทศไทย แต่เมื่อเจ้าหนี้พิสูจน์ ให้รับฟังได้ว่า เจ้าหนี้ใน ประเทศไทยมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายในประเทศฝรั่งเศส ได้ ทั้งเจ้าหนี้ไม่เคยได้รับหรือมีสิทธิรับทรัพย์สินหรือส่วนแบ่ง จากทรัพย์สินของลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 1 นอกราชอาณาจักร กรณี ถือได้ว่าเจ้าหนี้ได้ปฏิบัติครบถ้วนตามเงื่อนไขในมาตรา 178 แห่ง พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 แล้ว เจ้าหนี้จึงมีสิทธิขอ รับชำระหนี้ในประเทศไทยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1273/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินสาธารณประโยชน์โดยสุจริต แต่ไม่ยอมออกจากที่ดินหลังได้รับแจ้ง ถือเป็นการยึดถือครอบครองผิดกฎหมาย
จำเลยเข้าครอบครองที่สาธารณประโยชน์ที่ประชาชนใช้ร่วมกันโดยเชื่อโดยสุจริตว่าจำเลยมีสิทธิครอบครอง ต่อมาทางราชการได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยทราบว่าเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์และให้จำเลยออกไป แต่จำเลยไม่ยอมออก ถือว่าจำเลยมีเจตนายึดถือครอบครองที่เกิดเหตุซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 108 ทวิ วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1273/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินสาธารณประโยชน์โดยเจตนาทุจริตหลังได้รับแจ้งให้รื้อถอน ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน
จำเลยเข้าครอบครองที่ดินสาธารณประโยชน์ที่เกิดเหตุโดยเชื่อโดยสุจริตว่าจำเลยมีสิทธิครอบครอง ต่อมาทางราชการได้แจ้งให้จำเลยทราบว่าที่เกิดเหตุเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ แต่จำเลยไม่ยอมออก การที่จำเลยยังคงอยู่ในที่เกิดเหตุซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ภายหลังจากที่ทางราชการได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่เกิดเหตุแล้ว ถือว่าจำเลยมีเจตนายึดถือครอบครองที่เกิดเหตุซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้วจำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 108 ทวิ วรรคสองประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 96 ข้อ 11