คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เพี้ยน พุทธสุอัตตา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 183 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1925/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สละเงื่อนเวลาชำระค่าเช่าซื้อ การยินยอมของจำเลย และการผิดสัญญาเช่าซื้อ
แม้สัญญาเช่าซื้อจะกำหนดให้โจทก์ชำระค่าเช่าซื้อเป็นงวดรายเดือน แต่ก็มิได้หมายความว่าโจทก์จะชำระค่าเช่าซื้อทั้งหมดในงวดต่อไปให้แก่จำเลยไม่ได้ การที่โจทก์ขอชำระค่าเช่าซื้อทั้งหมดเป็นกรณีที่โจทก์ยอมสละประโยชน์จากเงื่อนเวลา ซึ่งไม่กระทบกระทั่งถึงประโยชน์ของจำเลยเพราะจำเลยได้รับค่าเช่าซื้อที่บวกดอกเบี้ยเข้าไปด้วยเต็มจำนวนก่อนกำหนดอันเป็นผลดีแก่จำเลยเองนอกจากนี้เมื่อจำเลยได้รับหนังสือขอชำระค่าเช่าซื้อทั้งหมดจากโจทก์ก็มิได้แจ้งสงวนสิทธิในอันที่จะได้รับประโยชน์จากเงื่อนเวลานั้นไว้กลับทำหนังสือบอกเลิกสัญญากับโจทก์โดยที่โจทก์มิได้ผิดข้อตกลงในสัญญาแต่อย่างใด จึงถือได้ว่าจำเลยยินยอมให้โจทก์สละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลานั้นได้ การที่จำเลยไม่รับค่าเช่าซื้อทั้งหมดจากโจทก์และไม่โอนที่ดินให้โจทก์ ทั้งที่สามารถโอนที่ดินให้โจทก์ได้ จำเลยจะอ้างว่ายังไม่ครบกำหนดเวลาผ่อนชำระค่าเช่าซื้อหาได้ไม่พฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวเป็นการผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกเงินที่ชำระไปแล้วคืนได้พร้อมดอกเบี้ย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1836/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองฎีกาโดยอัยการสูงสุด และการพิจารณาคดีอาญาที่ต้องห้ามฎีกา
อัยการสูงสุดได้มีหนังสือลงลายมือ ชื่อรับรองว่ารูปคดีมีเหตุอันควรที่ศาลฎีกาจะได้วินิจฉัย จึงรับรองฎีกาของโจทก์เพื่อศาลฎีกาจะได้พิจารณาพิพากษาต่อไป การรับรองให้ฎีกาเช่นนี้ชอบด้วยมาตรา 221 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแล้ว ไม่จำต้องยกเหตุผลหรือระบุว่ามีข้อความใดในส่วนใดของฎีกาที่ศาลฎีกาควรจะวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1684/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ผู้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ในการวางค่าฤชาธรรมเนียมและชำระเงินตามคำพิพากษา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 ซึ่งใช้บังคับขณะจำเลยยื่นอุทธรณ์ บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของผู้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ที่จะต้องนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนด10 วัน นับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ มิได้บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องกำหนดเวลาให้ผู้อุทธรณ์ปฏิบัติไม่ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเวลาให้จำเลยนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลก็ดี หรือการที่ศาลอุทธรณ์มิได้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นกำหนดเวลาดังกล่าวนั้น หรือศาลอุทธรณ์มิได้กำหนดเวลาดังกล่าวเสียเองก็ดี หาใช่คำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังที่จำเลยฎีกาไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1506/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน น.ส.3ก. ที่มีข้อจำกัดการโอน ย่อมตกเป็นโมฆะหากเจตนาหลีกเลี่ยงกฎหมาย
ที่พิพาทเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3ก.)ซึ่งทางราชการห้ามโอนภายในสิบปีตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58ทวิ โจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่พิพาทจาก ส. ซึ่งเป็นบิดาจำเลยโดยระบุว่า ส. ได้รับเงินค่าซื้อขายที่พิพาทจากโจทก์ครบถ้วนแล้วและยินยอมมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของที่พิพาทให้โจทก์ยึดถือไว้ ทั้งให้สิทธิโจทก์ทุกอย่างในการเข้าครอบครองปลูกสร้างอาคารในที่พิพาทนับแต่วันทำสัญญาซึ่งยังอยู่ในระยะเวลาห้ามโอนที่พิพาทตามกฎหมายดังกล่าว สัญญาซื้อขายที่พิพาทระหว่างโจทก์และ ส.มุ่งประสงค์โอนสิทธิครอบครองทันที การทำสัญญาซื้อขายลักษณะดังกล่าวก็เพื่อหลีกเลี่ยงข้อห้ามโอนตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 58 ทวิ ดังกล่าว ย่อมเป็นการอันมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายจึงตกเป็นโมฆะตั้งแต่วันทำสัญญาซื้อขายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1506/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน น.ส.3ก. ในช่วงเวลาห้ามโอนเป็นโมฆะ แม้จะอ้างการครอบครองก่อนทำสัญญา
ที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58 ทวิ วรรคห้า ห้ามมิให้ผู้ได้สิทธิในที่ดินโอนที่ดินไปยังผู้อื่นภายในกำหนดสิบปีนับแต่วันที่ได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เว้นแต่การตกทอดทางมรดกโจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินจาก ส. บิดาจำเลยเมื่อวันที่19 ตุลาคม 2529 โดยระบุว่า ส. ได้รับเงินค่าซื้อขายที่พิพาทจากโจทก์ครบถ้วนแล้ว และยินยอมมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทให้โจทก์ยึดถือไว้ ทั้งให้สิทธิโจทก์ทุกอย่างในการเข้าครอบครองปลูกสร้างอาคารในที่พิพาทนับแต่วันที่ทำสัญญา ซึ่งอยู่ในระยะเวลาห้ามโอน ถือว่าสัญญาซื้อขายมุ่งประสงค์โอนสิทธิครอบครองทันที แม้ว่า ส. บิดาจำเลยได้ น.ส. 3 มาเมื่อวันที่ 25 และ 26 พฤษภาคม 2520 แล้ว ส. ทำสัญญาขายที่พิพาทให้โจทก์ในวันที่ 19 ตุลาคม 2529 เมื่อครอบครองที่พิพาทมา9 ปี 5 เดือนแล้ว และกำหนดโอนกันวันที่ 19 กรกฎาคม 2531 ซึ่งเป็นเวลา 11 ปี 5 เดือน นับแต่ได้รับ น.ส. 3ก. มา การทำสัญญาซื้อขายในลักษณะดังกล่าวก็เพื่อหลีกเลี่ยงข้อห้ามโอนตามประมวลกฎหมายที่ดิน ย่อมเป็นการอันมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายจึงตกเป็นโมฆะนับแต่วันทำสัญญา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 113

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1471/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับเงินในนามวัดฯ มิใช่ส่วนตัว ทำให้ไม่ต้องรับผิดคืนเงิน
จำเลยรับเงินจากโจทก์ในนามของวัด บ. ซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์ มิใช่รับเงินจากโจทก์ในนามส่วนตัว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดคืนเงินให้โจทก์เป็นการส่วนตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1423/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีจากสารบบความหลังคู่ความมรณะ และการอุทธรณ์คำสั่งศาล
การที่ศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความในกรณีคู่ความมรณะตามมาตรา 42 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ต้องเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมรณะในระหว่างที่คดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลนั้นเอง เมื่อปรากฏว่าผู้ร้องถึงแก่กรรมระหว่างที่คดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลอุทธรณ์โดยไม่มีผู้อยู่ในฐานะที่จะรับมรดกความแทนและไม่มีคำขอของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขอให้หมายเรียกผู้ใดเข้ามาในคดีจนล่วงเลยกำหนดเวลา 1 ปี ย่อมเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ซึ่งคดีดังกล่าวค้างพิจารณาอยู่ที่จะสั่งจำหน่ายคดี คำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนผู้มรณะไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา แต่เป็นคำสั่งใด ๆ ที่ศาลอุทธรณ์มีอำนาจชี้ขาดได้ตามอำนาจที่มีอยู่และคำสั่งดังกล่าวอยู่ในบังคับของการอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดซึ่งต้องยื่นฎีกาภายในกำหนด 1เดือน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งให้คู่ความฟัง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223,229 ประกอบด้วยมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1365/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษจำคุกต่อจากคดีอื่นต้องเป็นคดีที่เกี่ยวพันกันและรวมโทษแล้วไม่เกิน 20 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(2)
การที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยและออกหมายจำคุกคดีถึงที่สุด โดยให้นับโทษต่อจากโทษของจำเลยในคดีอื่นอีกรวมแล้วเกิน 20 ปีเมื่อปรากฏว่าการนับโทษต่อดังกล่าวขัดต่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(2) ศาลชั้นต้นย่อมจะมีคำสั่งแก้ไขหมายจำคุกคดีถึงที่สุดใหม่ เป็นให้นับโทษคดีนี้ต่อจากโทษของจำเลยคดีอื่นดังกล่าวโดยรวมโทษจำคุกทั้งสิ้นไม่เกิน 20 ปี ได้ไม่เป็นการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาแต่อย่างใด เพราะเป็นเรื่องการบังคับคดีที่ศาลชั้นต้นจะต้องออกหมายจำคุกคดีถึงที่สุดให้ถูกต้องตามกฎหมาย การนับโทษต่อจากโทษในคดีอื่นได้ไม่เกิน 20 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(2) นั้น ต้องปรากฏว่าคดีอื่นดังกล่าวเป็นการกระทำผิดในลักษณะที่เกี่ยวพันกันกับคดีนี้จนอาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันหรือรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1365/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษต่อคดีอื่นต้องมีความเกี่ยวพันกัน หากไม่มีความเกี่ยวพัน การรวมโทษเกิน 20 ปีทำได้
การนับโทษต่อจากโทษของจำเลยในคดีอื่นได้ไม่เกิน 20 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(2) นั้น ต้องปรากฏว่าคดีอื่นนั้นเป็นการกระทำความผิดในลักษณะที่เกี่ยวพันกันกับคดีที่ขอให้นับโทษต่อจนอาจจะฟ้องเป็นคดีเดียวกัน หรือรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ปรากฏว่าผู้เสียหายทั้ง 5 คดีก่อนไม่ใช่บุคคลเดียวกันกับผู้เสียหายในคดีนี้ พยานหลักฐานทั้ง 5 คดีก่อนก็ไม่ใช่พยานหลักฐานชุดเดียวกันกับคดีนี้ ทั้ง 5 คดีดังกล่าวไม่เกี่ยวพันกันกับคดีนี้จนอาจจะฟ้องเป็นคดีเดียวกันหรือรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้จึงนับโทษคดีนี้ต่อจากโทษของจำเลยทั้ง 5 คดีดังกล่าว โดยรวมโทษจำคุกทั้งสิ้นเกิน 20 ปีได้ แม้ศาลชั้นต้นจะได้ออกหมายจำคุกคดีถึงที่สุดแล้วก็ตาม หากปรากฏว่าการนับโทษต่อขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 91(2) แห่งประมวลกฎหมายอาญา ศาลชั้นต้นย่อมจะมีคำสั่งแก้ไขหมายจำคุกคดีถึงที่สุดใหม่ได้ ไม่เป็นการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาเพราะเป็นเรื่องการบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1329/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตาย: ศาลลงโทษฐานฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนา แม้ฟ้องอ้างฐานเจตนา
โจทก์ บรรยายฟ้อง ว่า จำเลย กับพวก อีกหลายคน ได้ บังอาจร่วมกัน ใช้ กำลังประทุษร้าย ต่อย เตะ ศ. ผู้ตาย จน ล้ม ลงแล้ว จำเลย กับพวก ช่วยกัน จับ ยึด แขน ผู้ตาย ทั้งสอง ข้าง ไว้เพื่อ มิให้ ผู้ตาย ปัดป้อง ขัดขืน แล้ว จำเลย กับพวก ใช้ เท้า กระทืบผู้ตาย จน ได้รับ บาดเจ็บ ม้าม แตก ลำไส้เล็ก ฉีก ขาด กะบังลมซ้ายช้ำ มี โลหิต ตก ใน ช่องท้อง ผู้ตาย ถึงแก่ความตาย เพราะ พิษบาดแผล ที่ จำเลย กับพวก ร่วมกัน ทำร้าย สม ดัง เจตนา ของ จำเลย กับพวก การ ที่ โจทก์ บรรยายฟ้อง ดังกล่าว มี การ ระบุ การกระทำ ของ จำเลย แล้ว ต่อมา ฟ้อง กล่าว ต่อไป ว่า ศ. ผู้ ถูก ทำร้าย ถึงแก่ความตาย สม ดัง เจตนา ของ จำเลย ทั้ง ท้ายคำฟ้อง ของ โจทก์ ได้ อ้าง มาตรา 288 แห่ง ประมวลกฎหมายอาญา จึง เป็น คำฟ้อง ที่ ชอบ ด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 หา จำเป็น ต้องกล่าว ซ้ำ ว่า โดย จำเลย มี เจตนา ฆ่า ผู้อื่น อีก ใน คำฟ้อง ตอนต้น ของ โจทก์ ไม่ เพราะ คำว่า ศ. ผู้ตาย สม ดัง เจตนา ของ จำเลย นั้นย่อม แปล ได้ แล้ว ว่า จำเลย มี เจตนา ฆ่า ผู้ตาย นั่น เอง การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 ถึงแม้โจทก์จะอ้างมาตรา 288 แต่ไม่ได้อ้างมาตรา 290 ด้วยก็ตาม กรณีเป็นเรื่องข้อเท็จจริงตามฟ้องนั้นโจทก์สืบสม แต่โจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคห้า
of 19