คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เพี้ยน พุทธสุอัตตา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 183 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1329/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตาย: ศาลลงโทษฐานฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนา แม้ฟ้องอ้างฐานเจตนา
โจทก์ บรรยายฟ้อง ว่า จำเลย กับพวก อีกหลายคน ได้ บังอาจร่วมกัน ใช้ กำลังประทุษร้าย ต่อย เตะ ศ. ผู้ตาย จน ล้ม ลงแล้ว จำเลย กับพวก ช่วยกัน จับ ยึด แขน ผู้ตาย ทั้งสอง ข้าง ไว้เพื่อ มิให้ ผู้ตาย ปัดป้อง ขัดขืน แล้ว จำเลย กับพวก ใช้ เท้า กระทืบผู้ตาย จน ได้รับ บาดเจ็บ ม้าม แตก ลำไส้เล็ก ฉีก ขาด กะบังลมซ้ายช้ำ มี โลหิต ตก ใน ช่องท้อง ผู้ตาย ถึงแก่ความตาย เพราะ พิษบาดแผล ที่ จำเลย กับพวก ร่วมกัน ทำร้าย สม ดัง เจตนา ของ จำเลย กับพวก การ ที่ โจทก์ บรรยายฟ้อง ดังกล่าว มี การ ระบุ การกระทำ ของ จำเลย แล้ว ต่อมา ฟ้อง กล่าว ต่อไป ว่า ศ. ผู้ ถูก ทำร้าย ถึงแก่ความตาย สม ดัง เจตนา ของ จำเลย ทั้ง ท้ายคำฟ้อง ของ โจทก์ ได้ อ้าง มาตรา 288 แห่ง ประมวลกฎหมายอาญา จึง เป็น คำฟ้อง ที่ ชอบ ด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 หา จำเป็น ต้องกล่าว ซ้ำ ว่า โดย จำเลย มี เจตนา ฆ่า ผู้อื่น อีก ใน คำฟ้อง ตอนต้น ของ โจทก์ ไม่ เพราะ คำว่า ศ. ผู้ตาย สม ดัง เจตนา ของ จำเลย นั้นย่อม แปล ได้ แล้ว ว่า จำเลย มี เจตนา ฆ่า ผู้ตาย นั่น เอง การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 ถึงแม้โจทก์จะอ้างมาตรา 288 แต่ไม่ได้อ้างมาตรา 290 ด้วยก็ตาม กรณีเป็นเรื่องข้อเท็จจริงตามฟ้องนั้นโจทก์สืบสม แต่โจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคห้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1306/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทุเลาการบังคับคำพิพากษาศาลชั้นต้นระหว่างอุทธรณ์: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจเด็ดขาด, ฎีกาไม่อุทธรณ์ได้
การขอไม่ให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น มิใช่เป็นการร้องขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณา แต่เป็นการขอทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์อันเป็นอำนาจเฉพาะของศาลอุทธรณ์เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งแล้วคำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดคู่ความจะฎีกาโต้แย้งคำสั่งของศาลอุทธรณ์มิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1056/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน-ขอบเขตความรับผิด-การอนุมัติระยะเวลาศึกษาต่อเพิ่มเติม-เบี้ยปรับสูงเกินไป
สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิได้ระบุระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศ และสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำไว้กับโจทก์ก็มิได้ระบุเวลาที่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อเช่นกัน ฉะนั้น การที่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศเป็นเวลา 2 ปี ครบแล้วโจทก์ได้อนุมัติให้จำเลยที่ 1 ศึกษาต่ออีกเป็นเวลา 4 ปีเศษโดยมิได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบ และจำเลยที่ 2 มิได้ยินยอมในการที่โจทก์อนุมัติให้จำเลยที่ 1 ศึกษาต่ออีกนั้น แม้จะเป็นภาระหนักขึ้นแก่จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันแต่ก็ไม่เป็นการฝ่าฝืนข้อตกลงในสัญญาและเป็นคนละเรื่องกับการที่เจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้ลูกหนี้ จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาต่อโจทก์จะต้องคืนเงินเดือนเงินเพิ่มช่วยค่าครองชีพที่ตนรับไปให้โจทก์เป็นเงิน 161,863.96 บาท และต้องเสียเบี้ยปรับอีกเท่ากับเงินทั้งหมดที่รับไปกับจะต้องเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีสำหรับเงินต้นรวมกับเบี้ยปรับตามสัญญาด้วยนั้น เบี้ยปรับและดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นข้อสัญญาที่ระบุความเสียหายหรือความรับผิดในการที่จำเลยไม่ชำระหนี้ไว้ล่วงหน้าเมื่อศาลเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกิน ส่วนศาลก็มีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 และเมื่อกำหนดเบี้ยปรับเป็นค่าเสียหายจำนวนพอสมควรแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องให้ค่าเสียหายเป็นดอกเบี้ยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1056/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดในหนี้ตามสัญญา แม้เจ้าหนี้ขยายเวลาศึกษาโดยไม่แจ้งผู้ค้ำประกัน ศาลลดเบี้ยปรับได้
สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิได้ระบุระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศและสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำไว้กับโจทก์ก็มิได้ระบุเวลาที่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อเช่นกัน ฉะนั้น การที่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อณ ต่างประเทศเป็นเวลา 2 ปี ครบแล้วโจทก์ได้อนุมัติให้จำเลยที่ 1 ศึกษาต่ออีกเป็นเวลา 4 ปีเศษ โดยมิได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบ และจำเลยที่ 2 มิได้ยินยอมในการที่โจทก์อนุมัติให้จำเลยที่ 1 ศึกษาต่ออีกนั้น แม้จะเป็นภาระหนักขึ้นแก่จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันแต่ก็ไม่เป็นการฝ่าฝืนข้อตกลงในสัญญาและเป็นคนละเรื่องกับการที่เจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้ลูกหนี้ จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาต่อโจทก์จะต้องคืนเงินเดือนเงินเพิ่มช่วยค่าครองชีพที่ตนรับไปให้โจทก์เป็นเงิน 161,863.96 บาทและต้องเสียเบี้ยปรับอีกเท่ากับเงินทั้งหมดที่รับไปกับจะต้องเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี สำหรับเงินต้นรวมกับเบี้ยปรับตามสัญญาด้วยนั้น เบี้ยปรับและดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นข้อสัญญาที่ระบุความเสียหายหรือความรับผิดในการที่จำเลยไม่ชำระหนี้ไว้ล่วงหน้าเมื่อศาลเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกิน ส่วนศาลก็มีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383 และเมื่อกำหนดเบี้ยปรับเป็นค่าเสียหายจำนวนพอสมควรแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องให้ค่าเสียหายเป็นดอกเบี้ยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1056/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันการศึกษาต่อต่างประเทศ: การขยายเวลาศึกษา, ภาระของผู้ค้ำประกัน, และการลดค่าเสียหาย
สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิได้ระบุระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศ และสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำไว้กับโจทก์ ก็มิได้ระบุเวลาที่จำเลยที่ 1ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อเช่นกัน ฉะนั้น การที่จำเลยที่ 1ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อต่างประเทศเป็นเวลา 2 ปี ครบแล้วโจทก์ได้อนุมัติให้จำเลยที่ 1 ศึกษาต่ออีกเป็นเวลา 4 ปีเศษ โดยมิได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบ และจำเลยที่ 2 มิได้ยินยอมแม้จะเป็นภาระหนักขึ้นแก่จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกัน แต่ก็ไม่เป็นการฝ่าฝืนข้อตกลงในสัญญาและเป็นคนละเรื่องกับการที่เจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้ลูกหนี้ จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจะต้องคืนเงินเดือนเงินเพิ่มช่วยค่าครองชีพและต้องเสียเบี้ยปรับอีกเท่ากับเงินทั้งหมดที่รับไปกับจะต้องเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี สำหรับเงินต้นรวมกับเบี้ยปรับตามสัญญาด้วยนั้น เบี้ยปรับและดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นข้อสัญญาที่ระบุความเสียหายหรือความรับผิดในการที่จำเลยไม่ชำระหนี้ไว้ล่วงหน้า เมื่อศาลเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกินส่วนก็มีอำนาจลดลงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 จำเลยที่ 2 เป็นเพียงผู้ค้ำประกัน ยอมตนเข้าผูกพันค้ำประกันจำเลยที่ 1 เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาของจำเลยที่ 1 และประโยชน์แก่โจทก์โดยส่วนรวมแต่ฝ่ายเดียวมีเหตุผลควรได้รับความเห็นใจ พิเคราะห์ถึงทางได้เสียทุกอย่างของโจทก์โดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่เพียงทางได้เสียในเชิงทรัพย์สิน สมควรลดเบี้ยปรับให้จำเลยที่ 2 กึ่งหนึ่ง เมื่อกำหนดเบี้ยปรับเป็นค่าเสียหายจำนวนพอสมควรแล้วก็ไม่จำเป็นต้องให้ค่าเสียหายเป็นดอกเบี้ยอีก เงินเดือนเงินเพิ่มช่วยค่าครองชีพและเบี้ยปรับเป็นหนี้เงินโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ฎีกา ก็เป็นหนี้ร่วมกันจะแบ่งแยกกันมิได้ จำเลยที่ 1 ย่อมได้รับผลเป็นคุณด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1050/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง: สัญญาซื้อขายที่ดินเป็นกลบเกลื่อนการกู้ยืมเงิน สัญญาซื้อขายจึงเป็นโมฆะ
เมื่อสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน นิติกรรมซื้อขายจึงเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 วรรคแรก และต้องบังคับตามนิติกรรมการกู้ยืมเงินซึ่งเป็นนิติกรรมที่ถูกอำพรางไว้ตามมาตรา 118 วรรคสอง และย่อมถือว่าสัญญาซื้อขายเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์และจำเลย จึงมีผลบังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1050/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง: สัญญาซื้อขายที่แท้จริงเป็นการกู้ยืมเงิน สัญญาซื้อขายเป็นโมฆะ
สัญญาซื้อขายเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงินจึงเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 วรรคแรก เดิมและต้องบังคับตามนิติกรรมการกู้ยืมเงินซึ่งเป็นนิติกรรมที่ถูกอำพรางไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118วรรคสอง เดิม และแม้ในกรณีเช่นนี้จะมิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อจำเลยเป็นสำคัญต่างหากจากสัญญาซื้อขายก็ตาม ย่อมถือได้ว่าสัญญาซื้อขายดังกล่าวเป็นนิติกรรมสัญญากู้ยืมเงินที่ทำกันไว้เป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างจำเลยกับโจทก์จึงมีผลบังคับกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1043/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำในคดีมรดก: คู่ความต่างกัน ไม่เป็นฟ้องซ้ำ แม้ประเด็นข้อพิพาทเหมือนกัน
คดีก่อน ก. เป็นผู้ร้องขอจัดการมรดกของ จ. จำเลยในคดีนี้เป็นผู้คัดค้าน ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้เพิกถอนพินัยกรรมที่ จ. ทำขึ้นว่าเป็นพินัยกรรมปลอม แม้ทั้งสองคดีมีประเด็นอย่างเดียวกันว่าพินัยกรรมฉบับพิพาทเป็นพินัยกรรมปลอมหรือไม่แต่โจทก์ในคดีนี้เป็นคนละคนกับผู้ร้องในคดีก่อน โจทก์จึงไม่ใช่คู่ความในคดีก่อน ฟ้องโจทก์คดีนี้ไม่เป็นฟ้องซ้ำ (ข้อสังเกต ฎีกานี้วินิจฉัยแนวเดียวกันกับฎีกาที่ 3146/2533)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1043/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมปลอม: การพิสูจน์เจตนาทำพินัยกรรมและสภาพจิตของผู้ทำพินัยกรรม
คดีก่อน ก. เป็นผู้ร้องขอจัดการมรดก จำเลยในคดีนี้เป็นผู้คัดค้าน แม้คดีทั้งสองจะมีประเด็นวินิจฉัยเดียวกันว่าพินัยกรรมฉบับพิพาทเป็นพินัยกรรมปลอมหรือไม่ แต่โจทก์ในคดีนี้เป็นคนละคนกับผู้ร้องในคดีก่อน ฉะนั้นโจทก์คดีนี้จึงไม่ใช่คู่ความในคดีก่อน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1043/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำในคดีพินัยกรรม: คู่ความต่างกัน ฟ้องไม่ซ้ำ แม้ประเด็นข้อพิพาทเดียวกัน
คดีก่อน ก.เป็นผู้ร้องขอจัดการมรดกของ จ. จำเลยในคดีนี้เป็นผู้คัดค้าน ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้เพิกถอนพินัยกรรมที่ จ.ทำขึ้นว่าเป็นพินัยกรรมปลอม แม้ทั้งสองคดีมีประเด็นอย่างเดียวกันว่าพินัยกรรมฉบับพิพาทเป็นพินัยกรรมปลอมหรือไม่ แต่โจทก์ในคดีนี้เป็นคนละคนกับผู้ร้องในคดีก่อน โจทก์จึงไม่ใช่คู่ความในคดีก่อน ฟ้องโจทก์คดีนี้ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
(ข้อสังเกต ฎีกานี้วินิจฉัยแนวเดียวกันกับฎีกาที่ 3146/2533)
of 19