คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เพี้ยน พุทธสุอัตตา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 183 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 963/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องบังคับโอนที่ดินต้องแสดงสิทธิในที่ดินประกอบ การอ้างสิทธิครอบครองนอกฟ้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท แม้ความข้อที่โจทก์ยกขึ้นฎีกา โจทก์จะได้บรรยายฟ้องไว้ แต่โจทก์ก็มิได้ฟ้องขอแสดงสิทธิในที่ดินพิพาทมาด้วย ข้อที่โจทก์ยกขึ้นฎีกาว่าโจทก์ได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทเพราะจำเลยได้มอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้โจทก์ครอบครองทำประโยชน์ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตลอดมา และจำเลยมิได้ฟ้องเอาคืนภายใน 1 ปี จึงเป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยมา ก็ไม่ถือว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 963/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องบังคับโอนที่ดินตามสัญญาซื้อขายที่ไม่สมบูรณ์และการยกข้ออ้างเรื่องการครอบครองที่ไม่เข้าข่ายการฟ้องขอแสดงกรรมสิทธิ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท ข้อที่โจทก์ฎีกาว่าโจทก์ได้สิทธิครอบครองที่พิพาทเพราะจำเลยได้มอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์และโจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตลอดมา อีกทั้งจำเลยมิได้ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทคืนจากโจทก์ภายในกำหนด1 ปี นั้น จึงเป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น ทั้งนี้แม้ว่าความข้อนี้โจทก์ยกขึ้นฎีกาดังกล่าว โจทก์จะได้บรรยายฟ้องไว้ก็ตาม แต่โจทก์ก็มิได้ฟ้องขอแสดงกรรมสิทธิในที่ดินพิพาทมาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 914/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการขายทอดตลาดต้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด มิฉะนั้นสิทธิอุทธรณ์/ฎีกาเป็นอันสูญ
โจทก์ทราบถึงการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ที่ถูกเพิกถอนการยึดไปแล้ว ซึ่งโจทก์จะต้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลที่ทำการบังคับคดีไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลงแต่ต้องไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่โจทก์ทราบการฝ่าฝืนนั้น เพื่อขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกเลิกการขายทอดตลาด อันเป็นกระบวนวิธีการบังคับคดีที่ไม่ชอบหรือฝ่าฝืนกฎหมายนั้นเสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 แต่โจทก์มิได้ยื่นคำร้องดังกล่าวต่อศาลชั้นต้น กลับมายื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ผิดขั้นตอนของลำดับชั้นศาล ดังนั้นโจทก์จะใช้สิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาหาได้ไม่ ส่วนการขายทอดตลาดทรัพย์ซึ่งถูกเพิกถอนการยึดไปแล้วเป็นการขายทอดตลาดที่ไม่ชอบ เป็นเรื่องของผู้มีส่วนได้เสียจะไปว่ากล่าวเอาต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 914/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการยึดและการขายทอดตลาด: การยื่นคำร้องยกเลิกการขายทอดตลาดต้องยื่นต่อศาลชั้นต้นก่อน
โจทก์ทราบถึงการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ที่ถูกเพิกถอนการยึดไปแล้ว ซึ่งโจทก์จะต้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้น ซึ่งเป็นศาลที่ทำการบังคับคดีไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลงแต่ต้องไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่โจทก์ทราบการฝ่าฝืนนั้น เพื่อขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกเลิกการขายทอดตลาด อันเป็นกระบวนวิธีการบังคับคดีที่ไม่ชอบหรือฝ่าฝืนกฎหมายนั้นเสียตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 แต่โจทก์มิได้ยื่นคำร้องดังกล่าวต่อศาลชั้นต้น กลับมายื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ผิดขั้นตอนของลำดับชั้นศาลดังนั้นโจทก์จะใช้สิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาหาได้ไม่ ส่วนการขายทอดตลาดทรัพย์ซึ่งถูกเพิกถอนการยึดไปแล้วเป็นการขายทอดตลาดที่ไม่ชอบ เป็นเรื่องของผู้มีส่วนได้เสียจะไปว่ากล่าวเอาต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 914/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการขายทอดตลาดต้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นภายใน 8 วัน หากเลยกำหนดถือเป็นผิดขั้นตอน
เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดและศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขายแล้ว หากโจทก์เห็นว่าการขายทอดตลาดเป็นไปโดยไม่ชอบเนื่องจากเจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้แจ้งให้เจ้าหนี้ทราบ และไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าหนี้ก่อน โจทก์ชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลที่ทำการบังคับคดีไม่ว่าเวลาใด ๆก่อนการบังคับคดีได้เสร็จสิ้นลง เพื่อขอให้มีคำสั่งยกเลิกการขายทอดตลาด ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296แต่ต้องไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่วันที่โจทก์ทราบการฝ่าฝืน เมื่อโจทก์มิได้ยื่นคำร้องภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดแต่กลับมายื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์จึงเป็นการผิดขั้นตอนของลำดับชั้นศาล ดังนี้ โจทก์จะใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้เช่าและการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: หนี้ขาดอายุความไม่อาจนำมาขอรับชำระได้
ปัญหาที่ว่ามูลหนี้ซึ่งเจ้าหนี้นำมาขอรับชำระหนี้ขาดอายุความจึงนำมาขอรับชำระหนี้ไม่ได้นั้น แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่ปัญหาว่าหนี้ใดเป็นหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้หรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 จำเลยที่ 1 ผู้ให้เช่าส่งมอบคลังสินค้าที่เช่าให้เจ้าหนี้ผู้เช่ามีพื้นที่น้อยไปกว่าที่จำเลยที่ 1 มีคำเสนอให้เช่าและตามสัญญาเช่า จำเลยที่ 1 มีสิทธิรับค่าเช่าจากเจ้าหนี้ได้ตามส่วนพื้นที่ที่ให้เช่าตามความเป็นจริงเท่านั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 549 ประกอบมาตรา 466ส่วนค่าเช่าที่รับไว้เกินโดยไม่ปรากฏว่าเจ้าหนี้ได้รู้ในขณะชำระว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระในส่วนที่เกิน จึงเป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบเจ้าหนี้มีสิทธินำคดีไปฟ้องเรียกคืนในฐานเป็นลาภมิควรได้ภายในกำหนด 1 ปี นับแต่เวลาที่เจ้าหนี้รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน เมื่อปรากฏว่าเจ้าหนี้ได้ทวงถามให้จำเลยที่ 1 คืนค่าเช่าดังกล่าวเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2528 ก็แสดงว่าเจ้าหนี้ได้รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนนับแต่วันนั้นแล้ว เมื่อเจ้าหนี้ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนต่อศาลชั้นต้นในวันที่ 28 กันยายน 2530 จึงเป็นการล่วงเลยระยะเวลา 1 ปี คดีขาดอายุความต้องห้ามมิให้ฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 419 แล้วเจ้าหนี้ไม่อาจนำมูลหนี้ดังกล่าวมาขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความลาภมิควรได้ในคดีล้มละลาย: หนี้ที่ขาดอายุความฟ้องร้องแล้ว ไม่อาจนำมาขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้
ปัญหาว่ามูลหนี้ที่เจ้าหนี้นำมาขอรับชำระหนี้ขาดอายุความเป็นหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้หรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวตั้งแต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็มีสิทธิยกขึ้นฎีกา เจ้าหนี้ชำระหนี้ให้จำเลยที่ 1 เกินไปโดยไม่ปรากฏว่าเจ้าหนี้ได้รู้ขณะชำระว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระในส่วนที่เกินจึงเป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกคืนในฐานลาภมิควรได้ภายในกำหนด 1 ปี เมื่อล่วงเลยกำหนด 1 ปี นับแต่เวลาที่เจ้าหนี้รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน คดีขาดอายุความ เจ้าหนี้ไม่อาจนำมูลหนี้ดังกล่าวมาขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 854/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลาย: มูลหนี้ตามเช็ค, เหตุไม่สมควรล้มละลาย, พฤติการณ์ชำระหนี้ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์โดยทำสัญญากู้เงินไว้ต่อมาจำเลยขอกู้เพิ่มและออกเช็คชำระหนี้ให้โจทก์ 2 ฉบับ เมื่อเช็คทั้งสองฉบับถึงกำหนดโจทก์นำไปเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ตามคำบรรยายฟ้องดังกล่าวโจทก์ฟ้องจำเลยในมูลหนี้กู้ยืมเงินและมูลหนี้ตามเช็คด้วย มิใช่ฟ้องในมูลหนี้กู้ยืมเงินเพียงอย่างเดียว แม้จำเลยเป็นหนี้โจทก์ 622,000 บาท และมีพฤติการณ์เข้าข้อสันนิษฐานตามกฎหมายว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว แต่ในชั้นขอรับชำระหนี้คงมีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เพียง 2 ราย คือโจทก์และธนาคาร ก. เฉพาะหนี้ของธนาคาร ก. จำเลยได้จดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้เป็นประกันด้วย จำเลยรับราชการครูระดับ 7 ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน ได้รับเงินเดือน เดือนละ8,895 บาท ภรรยาจำเลยรับราชการครูระดับ 2 เงินเดือน เดือนละ5,745 บาท จำเลยถือหุ้นสหกรณ์ครูเป็นเงิน 50,000 บาท สามารถกู้เงินจากสหกรณ์ได้ในวงเงิน 100,000 บาท จำเลยเพิ่งใช้สิทธิกู้เพียง40,000 บาท บิดามารดาจำเลยมีทรัพย์สินเป็นที่บ้าน และที่นาราคาประมาณ 1,500,000 บาท มารดาภรรยาจำเลยมีที่ดิน 5 แปลง ราคาประมาณ 2,000,000 บาท ชั้นขอประนอมหนี้จำเลยขอประนอมหนี้โดยยอมชำระหนี้ถึงร้อยละ 90 และไม่ปรากฏว่าจำเลยผิดข้อตกลงตามคำขอประนอมหนี้ พฤติการณ์เชื่อได้ว่าจำเลยสามารถขวนขวายหาเงินมาชำระหนี้โจทก์ได้คดีมีเหตุไม่สมควรให้จำเลยล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 14

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 799/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาก่อสร้าง: ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับหากสูงเกินส่วน โดยอ้างอิงความเสียหายที่แท้จริง
ตามสัญญาจ้างก่อสร้างอาคารระหว่างโจทก์จำเลยระบุว่า จำเลยต้องทำงานให้แล้วเสร็จภายใน 300 วันถ้าเกินกำหนดจำเลยต้องเสียค่าปรับให้แก่โจทก์วันละ2,640 บาท แต่ค่าปรับดังกล่าวคือค่าเสียหายที่โจทก์จำเลยตกลงกำหนดเอาไว้ล่วงหน้าเพื่อให้จำเลยชดใช้แก่โจทก์เมื่อปฏิบัติผิดสัญญา จึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับแม้มีข้อตกลงกันไว้แต่ก็มิได้บังคับโดยเด็ดขาดว่าจำนวนเบี้ยปรับจะต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเมื่อศาลเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกินส่วน ศาลชอบที่จะยกบทบัญญัติของกฎหมายในเรื่องลดเบี้ยปรับมาใช้บังคับแก่คดีโดยลดเบี้ยปรับลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ อันเป็นอำนาจของศาลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 794/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดทุนโดยการถอนหุ้นด้วยที่ดินและตึกแถวเข้าสู่ภาวะล้มละลาย ถือเป็นการโอนทรัพย์สินโดยไม่สุจริต
ผู้คัดค้านทั้งห้าตกลงนำที่ดินและตึกแถวมาลงหุ้นตั้งแต่ลูกหนี้ที่ 1 ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด ซึ่งยังไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคลนั้น ถือว่าลูกหนี้ที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1079 แม้ยังไม่ได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์แต่ในระหว่างผู้คัดค้านทั้งห้าและลูกหนี้ที่ 1 ต้องถือว่ากรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวตกเป็นของลูกหนี้ที่ 1 ตั้งแต่เวลาที่นำมาลงหุ้นเป็นต้นมาตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1030บัญญัติว่าด้วยความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนกับห้างหุ้นส่วนในเรื่องส่งมอบให้บังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยการซื้อขายนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับการส่งมอบตัวทรัพย์ หาได้บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องกรรมสิทธิ์ไม่
of 19