คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ดำรุพงศ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 636 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7228/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกา, การนำสืบพยานนอกคำให้การ, และความไม่ชอบของสัญญาประนีประนอมยอมความ
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมชดใช้ค่าใช้จ่ายในการจัดการงานศพแก่โจทก์ทั้งสองจำนวน 49,000 บาท และให้จำเลยที่ 2 ร่วมชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์ทั้งสองเป็นเงินคนละ 240,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะค่าขาดไร้อุปการะเป็นว่า ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์ทั้งสองเป็นเงินคนละ 120,000 บาท เมื่อจำเลยที่ 2 ฎีกาขอให้ยกฟ้องทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกา สำหรับจำเลยที่ 2 กับโจทก์แต่ละคนจึงไม่เกิน 200,000บาท ต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 2 ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่งจำเลยที่ 2 ฎีกาว่า เหตุเกิดจากความประมาทของผู้ตายเพียงฝ่ายเดียว หรือผู้ตายมีส่วนประมาทด้วย และโจทก์เรียกค่าขาดไร้อุปการะสูงเกินจริง เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้คดีเป็นประเด็นพิพาทว่า ได้มีการตกลงระงับข้อพิพาทกันแล้ว โดยอ้างข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นสำคัญเพียงฉบับเดียว ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2นำสืบอ้างว่ามีการตกลงระงับข้อพิพาทกันตามสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีเพิ่มเติมในชั้นสืบพยานจำเลยจึงเป็นการนำสืบนอกคำให้การ ทั้งเอกสารฉบับนี้ไม่ได้ระบุอ้างเป็นพยานไว้ในบัญชีระบุพยานของจำเลยที่ 2 ด้วย จึงต้องห้ามมิให้รับฟังตามป.วิ.พ.มาตรา 87
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์เป็นฝ่ายได้รับความเสียหายจากมูลละเมิด จึงเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ฉะนั้น จำเลยทั้งสองจึงอยู่ในฐานะเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิด แต่กลับปรากฏว่าจำเลยที่ 1 และ ที่ 2ไม่ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 850, 851 สัญญาประนีประนอมยอมความฉบับนี้ จึงเป็นสัญญาที่ไม่ชอบ จำเลยที่ 2 จะอ้างเอาสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวขึ้นเป็นข้อต่อสู้หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7228/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง, การนำสืบหลักฐานนอกคำให้การ, และสัญญาประนีประนอมยอมความที่ไม่สมบูรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมชดใช้ค่าใช้จ่ายในการจัดการงานศพแก่โจทก์ทั้งสองจำนวน 49,000 บาทและให้จำเลยที่ 2 ร่วมชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์ทั้งสองเป็นเงินคนละ 240,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะค่าขาดไร้อุปการะเป็นว่า ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชดใช้ค่าขาด ไร้อุปการะแก่โจทก์ทั้งสองเป็นเงินคนละ 120,000 บาท เมื่อจำเลยที่ 2 ฎีกาขอให้ยกฟ้องทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกา สำหรับจำเลยที่ 2 กับโจทก์แต่ละคนจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 2 ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า เหตุเกิดจากความประมาทของผู้ตายเพียงฝ่ายเดียว หรือผู้ตายมีส่วนประมาทด้วย และโจทก์เรียกค่า ขาดไร้อุปการะสูงเกินจริง เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้คดีเป็นประเด็นพิพาทว่าได้มีการตกลงระงับข้อพิพาทกันแล้ว โดยอ้างข้อตกลงระหว่าง โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ เป็นสำคัญเพียงฉบับเดียว ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 นำสืบอ้าง ว่ามีการตกลงระงับข้อพิพาทกันตามสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับ คดีเพิ่มเติมในชั้นสืบพยานจำเลยจึงเป็นการนำสืบนอกคำให้การ ทั้งเอกสารฉบับนี้ไม่ได้ระบุอ้างเป็นพยานไว้ในบัญชีระบุพยาน ของจำเลยที่ 2 ด้วย จึงต้องห้ามมิให้รับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์เป็นฝ่ายได้รับ ความเสียหายจากมูลละเมิด จึงเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ฉะนั้น จำเลยทั้งสองจึงอยู่ในฐานะเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิด แต่กลับปรากฏว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2ไม่ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวกรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 850,851 สัญญาประนีประนอมยอมความฉบับนี้ จึงเป็นสัญญาที่ไม่ชอบ จำเลยที่ 2 จะอ้างเอาสัญญาประนีประนอมยอมความ ดังกล่าวขึ้นเป็นข้อต่อสู้หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6350/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำนิติกรรมของคนไร้ความสามารถ: สัญญาจะซื้อขายโมฆียะ การให้สัตยาบัน และอำนาจผู้อนุบาล
แม้ขณะที่ ส.ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินทั้ง 8 แปลง ในขณะที่ ส.เป็นปกติอยู่ก็ตาม แต่ในช่วงระยะเวลาที่ ส.จะต้องไปโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินขายให้แก่ผู้จะซื้อตามสัญญาจะซื้อขายนั้นก็เป็นระยะเวลาภายหลังที่ ส.ได้ถูกศาลมีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถและให้อยู่ในความอนุบาลของผู้ร้องแล้ว ดังนั้น เมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นผู้อนุบาลประสงค์ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายโดยดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้ง 8 แปลง ขายให้ผู้จะซื้อ ผู้ร้องจึงต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 28 วรรคสอง และ 1574 (1) ประกอบมาตรา 1598/18 วรรคสอง
แม้สัญญาจะซื้อขายที่ ส.ทำขึ้นเป็นโมฆียะกรรมก็ตาม แต่ผู้ร้องในฐานะผู้อนุบาลซึ่งมีสิทธิบอกล้างนิติกรรมอันเป็นโมฆียะมิได้บอกล้างต่อผู้จะซื้อ ทั้งผู้ร้องยังได้แสดงเจตนาขอทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินดังกล่าวแทน ส.ซึ่งถูกศาลมีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ และให้อยู่ในความอนุบาลของผู้ร้อง โดยผู้ร้องไปติดต่อเจ้าหน้าที่ที่ดินและยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อขอทำนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินขายแทน ส.พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าผู้ร้องได้ให้สัตยาบันแก่สัญญาจะซื้อขายซึ่งเป็นโมฆียะกรรมโดยการแสดงเจตนาแก่ ส.ผู้จะซื้อ ซึ่งเป็นคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งแล้วตาม ป.พ.พ.มาตรา178 สัญญาจะซื้อขายจึงเป็นอันสมบูรณ์มาแต่เริ่มแรก ตามมาตรา 177 ซึ่งมีผลผูกพันที่ผู้ร้องจะต้องปฏิบัติตามสัญญา โดยผู้ร้องจะต้องดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของ ส.ขายให้แก่ผู้จะซื้อ เป็นเหตุให้ผู้ร้องจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในสัญญาจะซื้อขาย อีกทั้งบุตรของ ส.อีก 2 คน ที่แถลงต่อศาลชั้นต้นว่าทราบรายละเอียดในคดีนี้แล้วไม่ค้านตลอดจนศาลได้คำนึงถึงราคาซื้อขายที่ดินดังกล่าวแล้ว เห็นได้ว่าราคาซื้อขายที่ดินดังกล่าวอยู่ในเกณฑ์เหมาะสม และเมื่อพิจารณาถึงการจะไม่อนุญาตให้ผู้ร้องขายที่ดินของ ส. ซึ่งอาจจะเป็นผลเสียหายต่อ ส. เนื่องจากไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายได้ ดังนั้น การขายที่ดินของ ส.ให้แก่ผู้จะซื้อตามสัญญาจะซื้อขายถือได้ว่ามีเหตุจำเป็นและสมควร อีกทั้งเป็นประโยชน์ต่อ ส. จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องในฐานะผู้อนุบาลของ ส.คนไร้ความสามารถขายที่ดินของ ส.ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6350/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำนิติกรรมของคนไร้ความสามารถ: สัตยาบันสัญญาโมฆียะ และการอนุญาตศาล
แม้ส. ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินทั้ง 8 แปลงในขณะที่ส.เป็นปกติอยู่ก็ตามแต่ในช่วงระยะเวลาที่ส.จะต้องไปโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินขายให้แก่ผู้จะซื้อตามสัญญาจะซื้อขายนั้นเป็นเวลาภายหลังที่ส. ได้ถูกศาลมีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถและให้อยู่ ในความอนุบาลของผู้ร้องแล้ว ดังนั้น เมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นผู้อนุบาลประสงค์ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายโดยดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้ง 8 แปลง ขายให้ผู้จะซื้อผู้ร้องจึงต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 28 วรรคสอง และ 1574(1) ประกอบมาตรา 1598/18 วรรคสอง สัญญาจะซื้อขายเป็นนิติกรรมที่ส. ผู้จะขายเป็นบุคคลวิกลจริตและได้กระทำในขณะที่จริตวิกลอยู่ทั้งจ.ผู้จะซื้อได้รู้แล้วด้วยว่า ส. เป็นคนวิกลจริตนิติกรรมสัญญาจะซื้อขายจึงตกเป็นโมฆียะ แต่ผู้ร้องในฐานะผู้อนุบาลซึ่งมีสิทธิบอกล้างนิติกรรมอันเป็นโมฆียะนั้นมิได้บอกล้างต่อผู้จะซื้อ ทั้งผู้ร้องยังได้แสดงเจตนาขอทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินดังกล่าวแทน ส.โดยการไปติดต่อเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานที่ดิน และยื่นคำร้องขอ ต่อศาลเพื่อขอทำนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ขายแทนส. ซึ่งผู้รับมอบอำนาจของจ. ผู้จะซื้อได้มาแถลงต่อศาลชั้นต้นว่าประสงค์จะซื้อที่ดินทุกแปลง พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าผู้ร้องได้ให้สัตยาบันแก่ สัญญาจะซื้อขายซึ่งเป็นโมฆียะกรรมโดยการแสดงเจตนาแก่ จ. ผู้จะซื้อซึ่งเป็นคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 178 สัญญาจะซื้อขายจึงเป็นอันสมบูรณ์มาแต่เริ่มแรก ตามมาตรา 177มีผลผูกพันให้ผู้ร้องต้องปฏิบัติตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6350/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทรัพย์สินของคนไร้ความสามารถ: การให้สัตยาบันสัญญา และเหตุผลความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของผู้ถูกอนุบาล
แม้ส. ผู้จะขายได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินทั้ง 8 แปลงในขณะที่ส.เป็นปกติอยู่ก็ตาม แต่ในช่วงระยะเวลาที่ส. จะต้องไปโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินขายให้แก่ผู้จะซื้อ ตามสัญญาจะซื้อขายปรากฏว่า ส. ได้ถูกศาลมีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถและให้อยู่ในความอนุบาลของผู้ร้องแล้ว ดังนั้น เมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นผู้อนุบาลประสงค์ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายโดยดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้ง 8 แปลง ขายให้ผู้จะซื้อ ผู้ร้องจึงต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 28 วรรคสอง และ 1574(1) ประกอบมาตรา 1598/18 วรรคสอง แม้สัญญาจะซื้อขายที่ส. ทำขึ้นเป็นโมฆียะกรรมก็ตามแต่ผู้ร้องในฐานะผู้อนุบาลซึ่งมีสิทธิบอกล้างนิติกรรมอันเป็นโมฆียะมิได้บอกล้างต่อผู้จะซื้อ ทั้งผู้ร้องยังได้แสดงเจตนาขอทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินดังกล่าวแทนส. ซึ่งถูกศาลมีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ และให้อยู่ในความอนุบาลของผู้ร้อง โดยผู้ร้องไปติดต่อเจ้าหน้าที่ที่ดินและยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อขอทำนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินขายแทนส. พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าผู้ร้องได้ให้สัตยาบันแก่สัญญาจะซื้อขายซึ่งเป็นโมฆียะกรรมโดยการแสดงเจตนาแก่ผู้จะซื้อ ซึ่งเป็นคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 178 สัญญาจะซื้อขายจึงเป็นอันสมบูรณ์มาแต่เริ่มแรก ตามมาตรา 177 ซึ่งมีผลผูกพันที่ผู้ร้องจะต้องปฏิบัติตามสัญญา โดยผู้ร้องจะต้องดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของ ส. ขายให้แก่ผู้จะซื้อ เป็นเหตุให้ผู้ร้องจะต้องปฏิบัติตาม ข้อกำหนดในสัญญาจะซื้อขาย อีกทั้งบุตรของ ส.อีก 2 คน ที่แถลงต่อศาลชั้นต้นว่าทราบรายละเอียดในคดีนี้แล้วไม่ค้านตลอดจนศาลได้คำนึงถึงราคาซื้อขายที่ดินดังกล่าวแล้วเห็นได้ว่าราคาซื้อขายที่ดินดังกล่าวอยู่ในเกณฑ์เหมาะสมและเมื่อพิจารณาถึงการจะไม่อนุญาตให้ผู้ร้องขายที่ดินของส.ซึ่งอาจจะเป็นผลเสียหายต่อส. เนื่องจากไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายได้ ดังนั้น การขายที่ดินของส.ให้แก่ผู้จะซื้อตามสัญญาจะซื้อขายถือได้ว่า มีเหตุจำเป็นและสมควร อีกทั้งเป็นประโยชน์ต่อส. จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องในฐานะผู้อนุบาลของส.คนไร้ความสามารถขายที่ดินของส. ได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2541)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6330/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานหลักฐานโจทก์ไม่เพียงพอ ศาลยกฟ้องจำเลย และคืนของกลางแก่เจ้าของ
โจทก์มีคำขอให้ศาลสั่งคืนอาวุธปืน ซองกระสุนปืนและรถจักรยานยนต์ของกลางแก่เจ้าของ มิได้ขอให้ศาลสั่งริบศาลย่อมริบอาวุธปืน ซองกระสุนปืนและรถจักรยานยนต์ดังกล่าวมิได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคหนึ่ง การที่ศาลล่างทั้งสองสั่งริบอาวุธปืนซองกระสุนปืนและรถจักรยานยนต์ของกลางจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6257/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการฟ้องขับไล่จำกัดเฉพาะผู้มีสิทธิในที่ดิน การเช่าเพื่อปลูกสร้างบ้านไม่ได้ทำให้จำเลยเป็นเจ้าของบ้าน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้ทำหนังสือสัญญาเช่าที่ดินพิพาทกับมารดาโจทก์ทั้งสองเพื่อปลูกบ้านตามหนังสือสัญญาเช่าเอกสารหมาย จ.2 โดยมีคำขอท้ายฟ้องขอให้จำเลยรื้อถอนบ้านเลขที่ 63/1 การที่จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะจำเลยมิใช่เจ้าของบ้านเลขที่ 63/1ความจริงแล้วที่ดินพิพาทและบ้านดังกล่าวเป็นของ จ.จำเลยเป็นเพียงผู้อาศัย จ. อยู่เท่านั้น ปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยก็คือ บ้านเลขที่ 63/1 หลังนี้เป็นของจำเลยหรือไม่เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าบ้านเลขที่ 63/1 ไม่ใช่บ้าน ของจำเลยแต่เป็นบ้านของจ. ที่ปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทโดยชอบมาตั้งแต่ก่อนที่จะทำหนังสือสัญญาเช่าเอกสารหมาย จ.2 และจำเลยเป็นผู้อาศัย โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่ จำเลยให้รื้อถอนบ้านเลขที่ 63/1 ออกจากที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6257/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการฟ้องรื้อถอนบ้าน – เจ้าของที่แท้จริง – อำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้ทำหนังสือสัญญาเช่าที่ดินพิพาทกับมารดาโจทก์ทั้งสองเพื่อปลูกบ้านตามหนังสือสัญญาเช่า เอกสารหมาย จ.2 โดยมีคำขอท้ายฟ้องขอให้จำเลยรื้อถอนบ้านเลขที่ 63/1 การที่จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะจำเลยมิใช่เจ้าของบ้านเลขที่ 63/1 ความจริงแล้วที่ดินพิพาทและบ้านดังกล่าวเป็นของ จ. จำเลยเป็นเพียงผู้อาศัย จ.อยู่เท่านั้น ปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยก็คือ บ้านเลขที่ 63/1 หลังนี้เป็นของจำเลยหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าบ้านเลขที่ 63/1 ไม่ใช่บ้านของจำเลยแต่เป็นบ้านของ จ.ที่ปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทโดยชอบมาตั้งแต่ก่อนที่จะทำหนังสือสัญญาเช่าเอกสารหมาย จ.2 และจำเลยเป็นผู้อาศัย โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยให้รื้อถอนบ้านเลขที่ 63/1 ออกจากที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6032/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับหนี้ด้วยการทำสัญญากู้ใหม่ ไม่ต้องมีใบเสร็จหรือเวนคืนเอกสารเดิม
การที่โจทก์จำเลยตกลงกันระงับหนี้ตามสัญญากู้ฉบับพิพาทที่โจทก์นำมาฟ้อง โดยโจทก์จำเลยตกลงให้ใช้สัญญากู้เงินฉบับใหม่แทน และต่อมาได้มีการชำระหนี้ตามสัญญากู้ฉบับใหม่นี้แล้ว การตกลงระงับหนี้ โดยทำสัญญาเป็นหนี้เงินกู้ใหม่เช่นนี้ ไม่จำเป็นต้องมีใบเสร็จ หรือเวนคืนเอกสารดังที่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 326 วรรคหนึ่งบัญญัติไว้ ทั้งไม่ใช่กรณีต้องห้ามการนำสืบตามมาตรา 653 วรรคสอง จำเลยจึงนำสืบได้ ไม่ต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5790/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดต่อเนื่อง: อำนาจสอบสวนและฟ้องคดีลักทรัพย์-รับของโจร แม้เกิดต่างท้องที่
รถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายถูกลักไปในท้องที่สถานีตำรวจนครบาล บางขุนเทียน ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจยึดรถจักรยานยนต์ดังกล่าวได้จากบ้านของจำเลยซึ่งอยู่ในเขตท้องที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองสมุทรสาคร ดังนี้แม้ความผิดฐานลักทรัพย์กับความผิดฐานรับของโจรเกิดขึ้นต่างท้องที่กันก็ตาม แต่ก็เป็นความผิดต่อเนื่องกันพนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องย่อมมีอำนาจสอบสวนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 19(3) พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนคดีนี้ จึงมีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาที่เกิดขึ้นกับทรัพย์ของผู้เสียหายได้ไม่ว่าจะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร และแม้ว่าจะยึดรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายและจับจำเลยได้พร้อมกันที่บ้านของจำเลยซึ่ง อยู่ในเขตอำนาจของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง สมุทรสาครก็ตามก็ไม่ทำให้อำนาจการสอบสวนของพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนหมดสิ้นไป จึงถือว่ามีการสอบสวน ในความผิดฐานรับของโจรโดยชอบแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
of 64