คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ดำรุพงศ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 636 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5780/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขออนุญาตฎีกาในข้อเท็จจริงเกินทุนทรัพย์ที่กำหนด และการคำนวณระยะเวลาการยื่นคำร้อง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งที่บัญญัติว่า ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท หรือไม่เกินจำนวนที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงเว้นแต่ ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลอุทธรณ์ได้มีความเห็นแย้ง หรือผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นก็ดีศาลอุทธรณ์ก็ดีได้รับรองไว้หรือรับรองในเวลาตรวจฎีกาว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาได้ ถ้าไม่มีความเห็นแย้งหรือคำรับรองเช่นว่านี้ต้องได้รับอนุญาต ให้ฎีกาเป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์นั้นเมื่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งภาค3 ลักษณะ 2 ว่าด้วยฎีกามิได้บัญญัติถึงวิธีปฏิบัติในการยื่นคำร้องเพื่อที่จะได้รับอนุญาตให้ฎีกาเป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงต้องนำบทบัญญัติในลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์มาใช้บังคับโดยอนุโลมตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 247 ซึ่งได้แก่บทบัญญัติในมาตรา 230 วรรคสาม เมื่อนำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับโดยอนุโลมแล้วจะได้วิธีปฏิบัติดังนี้คือ คดีที่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง ถ้าไม่มีความเห็นแย้งหรือคำรับรอง ให้ศาลมีคำสั่งไม่รับฎีกาในข้อเท็จจริงดังกล่าว ในกรณีเช่นนี้ผู้ฎีกาชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อจะได้รับอนุญาตให้ฎีกาเป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภายในเวลาเจ็ดวันนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อศาลชั้นต้นได้รับคำร้องเช่นว่านั้นแล้วให้ศาลชั้นต้นส่งคำร้องดังกล่าวพร้อมด้วยสำนวนความไปยังอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์เพื่อมีคำสั่ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลย ในวันที่ 25 ธันวาคม2538 ดังนั้น จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องเพื่อจะได้รับอนุญาตให้ฎีกาเป็นหนังสือต่อศาลชั้นต้นถึงอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภายในวันที่ 1 มกราคม 2539 ซึ่งตรงกับวันหยุดราชการประจำปีจำเลยที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 5 จึงมีสิทธิยื่นคำร้องในวันที่ศาลชั้นต้นเปิดทำการเป็นวันแรกได้ ซึ่งโดยทั่วไปคือวันที่2 มกราคม 2539 แต่เฉพาะในปี 2539 นี้คณะรัฐมนตรีมีมติให้วันที่ 2 มกราคม 2539 เป็นวันหยุดชดเชยของวันที่31 ธันวาคม 2538 ที่ตรงกับวันอาทิตย์อันเป็นวันหยุดราชการประจำสัปดาห์ ตามหนังสือเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่ นร0215/ว 274 ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2538 วันที่ศาลชั้นต้นเปิดทำการเป็นวันแรกหลังจากวันสุดท้ายที่จำเลยที่ 1 และที่ 3ถึงที่ 5 มีสิทธิยื่นคำร้องได้ซึ่งตรงกับวันหยุดราชการจึงเป็นวันที่ 3 มกราคม 2539 และจำเลยได้ยื่นคำร้องดังกล่าวในวันที่3 มกราคม 2539 อันเป็นการยื่นคำร้องดังกล่าวภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว ศาลชั้นต้นจะต้องส่งคำร้องดังกล่าวของจำเลยพร้อมสำนวนไปยังอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์เพื่อพิเคราะห์สั่งต่อไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย ศาลชั้นต้นไม่มีสิทธิปฏิบัติไม่ส่งคำร้องดังกล่าวไปยังอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ตามที่จำเลยขอ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลย ที่ขอให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5780/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตฎีกาเกินกำหนดเวลา: ศาลชั้นต้นต้องส่งคำร้องไปยังอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท หรือไม่เกินจำนวนที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงเว้นแต่ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลอุทธรณ์ได้มีความเห็นแย้งหรือผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นก็ดีศาลอุทธรณ์ก็ดีได้รับรองไว้หรือรับรองในเวลาตรวจฎีกาว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาได้ ถ้าไม่มีความเห็นแย้งหรือคำรับรองเช่นว่านี้ต้องได้รับอนุญาตให้ฎีกาเป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์นั้น เมื่อ ป.วิ.พ.ภาค 3 ลักษณะ 2 ว่าด้วยฎีกามิได้บัญญัติถึงวิธีปฏิบัติในการยื่นคำร้องเพื่อที่จะได้รับอนุญาตให้ฎีกาเป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงต้องนำบทบัญญัติในลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์มาใช้บังคับโดยอนุโลมตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 247 ซึ่งได้แก่บทบัญญัติในมาตรา 230 วรรคสาม เมื่อนำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับโดยอนุโลมแล้วจะได้วิธีปฏิบัติดังนี้คือ คดีที่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง ถ้าไม่มีความเห็นแย้งหรือคำรับรอง ให้ศาลมีคำสั่งไม่รับฎีกาในข้อเท็จจริงดังกล่าว ในกรณีเช่นนี้ผู้ฎีกาชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อจะได้รับอนุญาตให้ฎีกาเป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภายในเวลาเจ็ดวันนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อศาลชั้นต้นได้รับคำร้องเช่นว่านั้นแล้วให้ศาลชั้นต้นส่งคำร้องดังกล่าวพร้อมด้วยสำนวนความไปยังอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์เพื่อมีคำสั่ง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลย ในวันที่ 25 ธันวาคม2538 ดังนั้น จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องเพื่อจะได้รับอนุญาตให้ฎีกาเป็นหนังสือต่อศาลชั้นต้นถึงอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภายในวันที่ 1 มกราคม 2539 ซึ่งตรงกับวันหยุดราชการประจำปี จำเลยที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 5 จึงมีสิทธิยื่นคำร้องในวันที่ศาลชั้นต้นเปิดทำการเป็นวันแรกได้ ซึ่งโดยทั่วไปคือวันที่ 2 มกราคม 2539 แต่เฉพาะในปี 2539 นี้คณะรัฐมนตรีมีมติให้วันที่ 2 มกราคม 2539 เป็นวันหยุดชดเชยของวันที่ 31ธันวาคม 2538 ที่ตรงกับวันอาทิตย์อันเป็นวันหยุดราชการประจำสัปดาห์ ตามหนังสือเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร 0215/ว 274 ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2538วันที่ศาลชั้นต้นเปิดทำการเป็นวันแรกหลังจากวันสุดท้ายที่จำเลยที่ 1 และที่ 3ถึงที่ 5 มีสิทธิยื่นคำร้องได้ซึ่งตรงกับวันหยุดราชการจึงเป็นวันที่ 3 มกราคม 2539และจำเลยได้ยื่นคำร้องดังกล่าวในวันที่ 3 มกราคม 2539 อันเป็นการยื่นคำร้องดังกล่าวภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว ศาลชั้นต้นจะต้องส่งคำร้องดังกล่าวของจำเลยพร้อมสำนวนไปยังอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์เพื่อพิเคราะห์สั่งต่อไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย ศาลชั้นต้นไม่มีสิทธิปฏิเสธไม่ส่งคำร้องดังกล่าวไปยังอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ตามที่จำเลยขอ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ขอให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5705/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่นำสืบและการโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณา: จำเลยต้องโต้แย้งคำสั่งศาลเพื่อมีสิทธิอุทธรณ์
จำเลยยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2535 ขอให้ศาลชั้นต้นกำหนดหน้าที่นำสืบใหม่โดยให้โจทก์เป็นฝ่ายนำสืบก่อน แต่ศาลชั้นต้นไม่สั่งแก้ไขให้โดยสั่งคำร้องของจำเลยดังกล่าวว่า "สำเนาให้โจทก์ รวม" คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวมีความหมายว่าไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงหน้าที่นำสืบตามที่กำหนดไว้ในวันชี้สองสถาน ดังนี้ถือได้ว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยต้องโต้แย้งคำสั่งดังกล่าวจึงจะมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลได้มีคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 226 (2)
ส่วนท้ายคำร้องของจำเลยที่มีข้อความว่า หากศาลไม่เห็นพ้องด้วยกับคำร้องขอให้เปลี่ยนหน้าที่นำสืบ จำเลยขอถือว่าเป็นการแถลงคัดค้านคำสั่งศาลนั้น ไม่ถือเป็นการโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้น เพราะขณะที่จำเลยยื่นคำร้อง ศาลยังไม่ได้มีคำสั่งว่าให้เปลี่ยนหน้าที่นำสืบใหม่หรือไม่ การระบุในคำร้องของจำเลยเช่นนั้นเป็นเพียงการแสดงความประสงค์ของจำเลยไว้ล่วงหน้าก่อนศาลชั้นต้นจะมีคำสั่ง ถือไม่ได้ว่าเป็นการโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นที่กำหนดหน้าที่นำสืบให้จำเลยนำสืบก่อน จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในข้อนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5705/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่นำสืบ-การโต้แย้งคำสั่งศาล-ผิดสัญญาซื้อขาย: ศาลฎีกาวินิจฉัยการไม่โต้แย้งคำสั่งหน้าที่นำสืบ และการบอกเลิกสัญญาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2535 ขอให้ศาลชั้นต้นกำหนดหน้าที่นำสืบใหม่โดยให้โจทก์เป็นฝ่ายนำสืบก่อนแต่ศาลชั้นต้นไม่สั่งแก้ไขให้โดยสั่งคำร้อง ของ จำเลยดังกล่าวว่า"สำเนาให้โจทก์ รวม" คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวมีความหมายว่าไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงหน้าที่นำสืบตามที่กำหนดไว้ในวันชี้สองสถาน ดังนี้ถือว่าได้ว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาจำเลยต้องโต้แย้งคำสั่งดังกล่าวจึงจะมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลได้มีคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) ส่วนท้ายคำร้อง ของ จำเลยที่มีข้อความว่า หากศาลไม่เห็นพ้อง ด้วยกับคำร้องขอให้เปลี่ยนหน้าที่นำสืบ จำเลยขอถือว่าเป็นการแถลงคัดค้านคำสั่งศาลนั้น ไม่ถือเป็นการโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้น เพราะขณะที่จำเลยยื่นคำร้อง ศาลยังไม่ได้มีคำสั่งว่าให้เปลี่ยนหน้าที่นำสืบใหม่หรือไม่ การระบุในคำร้อง ของ จำเลยเช่นนั้นเป็นเพียงการแสดงความประสงค์ของจำเลยไว้ล่วงหน้าก่อนศาลชั้นต้นจะมีคำสั่ง ถือไม่ได้ว่าเป็นการโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นที่กำหนดหน้าที่นำสืบให้จำเลยนำสืบก่อน จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในข้อนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5641/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับการบังคับคดีตามคำพิพากษา: ชำระเงินก่อนรับโอน, หักกลบลบหนี้ต้องมีคำพิพากษาถึงที่สุด
การบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาลต้องดำเนินการบังคับคดีก่อนหลังไปตามลำดับดังที่ระบุไว้ในคำพิพากษาเมื่อโจทก์เลือกที่จะรับโอนที่ดินพิพาทโจทก์จึงต้องชำระเงินแก่จำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษา การที่โจทก์เลือกใช้วิธีถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทนจำเลยที่ 1 ในการโอนที่ดินพิพาท และโจทก์ได้เสียค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ในการโอนเองโดย จำเลยที่ 1 ไม่ได้ตกลงด้วยนั้นย่อมไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 และเป็นเรื่องนอกคำพิพากษา ฉะนั้นหากโจทก์เสียหายอย่างไรก็ต้องไปว่ากล่าวเอาแก่จำเลยที่ 1 เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหากจะขอหักกลบลบหนี้ทำให้การบังคับคดีมีผลผิดไปจากคำพิพากษาหาได้ไม่ โจทก์เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะร้องขอให้หักกลบลบหนี้ได้ก็ต่อเมื่อมีคำพิพากษาของศาลบังคับให้จำเลยที่ 1 ตกเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์เสียก่อน ลำพังแต่เพียงระบุไว้ในสัญญาจะซื้อขายที่ดินว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายออกค่าธรรมเนียมและภาษีในการโอนโดยจำเลยที่ 1 ยังโต้แย้งจำนวนหนี้อยู่นั้น ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ตกเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์โจทก์จึงไม่มีอำนาจร้องขอให้ศาลงดจ่ายเงินค่าที่ดินตามคำพิพากษาที่วางต่อศาลให้แก่จำเลยที่ 1 และเมื่อจำเลยที่ 1เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจึงชอบที่จะรับเงินค่าที่ดินดังกล่าวตามคำพิพากษาที่โจทก์วางชำระไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5641/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับการบังคับคดีตามคำพิพากษาและการหักกลบลบหนี้ต้องเป็นไปตามกฎหมายและคำพิพากษาเดิม
การบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาลต้องดำเนินการบังคับคดีก่อนหลังไปตามลำดับดังที่ระบุไว้ในคำพิพากษา เมื่อโจทก์เลือกที่จะรับโอนที่ดินพิพาทโจทก์จึงต้องชำระเงินแก่จำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษา การที่โจทก์เลือกใช้วิธีถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทนจำเลยที่ 1 ในการโอนที่ดินพิพาทและโจทก์ได้เสียค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ในการโอนเองโดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้ตกลงด้วยนั้นย่อมไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 และเป็นเรื่องนอกคำพิพากษา ฉะนั้นหากโจทก์เสียหายอย่างไรก็ต้องไปว่ากล่าวเอาแก่จำเลยที่ 1 เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก จะขอหักกลบลบหนี้ทำให้การบังคับคดีมีผลผิดไปจากคำพิพากษาหาได้ไม่
โจทก์เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะร้องขอให้หักกลบลบหนี้ได้ก็ต่อเมื่อมีคำพิพากษาของศาลบังคับให้จำเลยที่ 1 ตกเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์เสียก่อน ลำพังแต่เพียงระบุไว้ในสัญญาจะซื้อขายที่ดินว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายออกค่าธรรมเนียมและภาษีในการโอนโดยจำเลยที่ 1 ยังโต้แย้งจำนวนหนี้อยู่นั้น ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ตกเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจร้องขอให้ศาลงดจ่ายเงินค่าที่ดินตามคำพพากษาที่วางต่อศาลให้แก่จำเลยที่ 1 และเมื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจึงชอบที่จะรับเงินค่าที่ดินดังกล่าวตามคำพิพากษาที่โจทก์วางชำระไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5641/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บังคับคดีตามคำพิพากษาต้องเป็นไปตามลำดับที่กำหนด หักกลบลบหนี้ไม่ได้หากไม่ใช่หนี้ตามคำพิพากษา
การบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาลต้องดำเนินการบังคับคดีก่อนหลังไปตามลำดับดังที่ระบุไว้ในคำพิพากษา การที่โจทก์เลือกใช้วิธีถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทนจำเลยที่ 1ในการโอนที่ดินพิพาทโดยโจทก์ต้องเสียค่าธรรมเนียมต่าง ๆในการโอนเป็นเงิน 36,879,705 บาท ซึ่งจำเลยที่ 1 ไม่ได้ตกลงด้วยนั้น ย่อมไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 อีกทั้งเป็นเรื่องนอกคำพิพากษา เพราะในคำพิพากษาไม่ปรากฏให้จำเลยที่ 1จะต้องรับผิดค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทแต่อย่างใด ฉะนั้น หากโจทก์เสียหายอย่างไรก็ต้องไปว่ากล่าวเอาแก่จำเลยที่ 1 เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก จะขอหักกลบลบหนี้ทำให้การบังคับคดีมีผลผิดไปจากคำพิพากษาหาได้ไม่ เพราะการที่โจทก์จะร้องขอให้หักกลบลบหนี้ได้ก็ต่อเมื่อมีคำพิพากษา ของศาลบังคับให้จำเลยที่ 1 ตกเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์เสียก่อน ลำพังแต่เพียงระบุไว้ในสัญญาจะซื้อขายที่ดินว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายออกค่าธรรมเนียมและภาษีในการโอนตามข้อฎีกาของโจทก์โดยจำเลยที่ 1 ยังโต้แย้งจำนวนหนี้อยู่นั้น ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ตกเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจร้องขอให้ศาลงดจ่ายเงินที่วางต่อศาลให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและชอบที่จะรับเงินค่าที่ดินที่โจทก์วางชำระไว้จำนวน 14,077,000 บาท ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5565/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาส่งมอบงานและการคิดค่าปรับ: การตกลงแก้ไขสัญญาย่อมมีผลเหนือกว่าข้อกำหนดเดิม
แม้หนังสือสัญญาว่าจ้างทำเฟอร์นิเจอร์ฉบับพิพาทจะได้กำหนดให้ทำเฟอร์นิเจอร์ส่งมอบแล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม 2532 แต่ต่อมาโจทก์ ในฐานะผู้รับจ้างกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างก็ได้ตกลงเลื่อนกำหนดวันส่งมอบงานออกไปเป็นให้ส่งมอบงานให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 5 สิงหาคม 2533 แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 มิได้ถือเอากำหนดตามสัญญาเดิม เป็นสาระสำคัญอีกต่อไป ดังนั้น จำเลยที่ 1 จะอ้างว่าโจทก์ ส่งมอบงานล่าช้าโดยถือว่าโจทก์ผิดสัญญาก่อนวันที่ 5สิงหาคม 2533 หาได้ไม่ โจทก์ได้ตกลงทำสัญญากับจำเลยที่ 1 แล้วว่าหากทำไม่แล้วเสร็จภายในวันที่ 5 สิงหาคม 2533 ก็จะยอมให้ปรับโดยจำเลยที่ 1 ยินยอมให้ผ่อนผันโดยไม่ทักท้วง พฤติการณ์แสดงว่าข้อสัญญาที่เกี่ยวกับการส่งมอบล่าช้าหรือไม่แล้วเสร็จตามสัญญาเดิมคู่สัญญาต่างมีเจตนาระงับกันไปโดยไม่ถือว่าเป็นการผิดนัดสัญญาอีกต่อไปจนกว่าจะล่วงพ้นวันที่ 5 สิงหาคม2533 ดังนี้ เมื่อโจทก์ส่งมอบงานให้แก่จำเลยที่ 1 ครบถ้วนทั้งหมดแล้วในวันที่ 10 กันยายน 2533 ล่าช้าไปจากวันที่5 สิงหาคม 2533 เป็นระยะเวลา 35 วัน ซึ่งจำเลยที่ 1ก็มิได้โต้แย้ง เท่ากับว่าโจทก์ผิดสัญญาเพียง 35 วันที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดปรับรายวันรวม 35 วัน มาจึงชอบแล้ว เบี้ยปรับถือเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าให้ฝ่ายที่ผิดสัญญาชดใช้แก่ฝ่ายที่มิได้ผิดสัญญา แต่ก็มิได้บังคับโดยเด็ดขาดว่าจะต้องเป็นไปตามข้อตกลง ศาลอาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนเบี้ยปรับลงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5565/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตกลงเปลี่ยนแปลงกำหนดส่งมอบงานและการใช้ดุลพินิจศาลในการลดเบี้ยปรับ
แม้หนังสือสัญญาว่าจ้างทำเฟอร์นิเจอร์ฉบับพิพาทจะได้กำหนดให้ทำเฟอร์นิเจอร์ส่งมอบแล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน 2532 แต่ต่อมาโจทก์ในฐานะผู้รับจ้างกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างก็ได้ตกลงเลื่อนกำหนดวันส่งมอบงานออกไปเป็นให้ส่งมอบงานให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 5 สิงหาคม 2533 แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 มิได้ถือเอากำหนดเวลาตามสัญญาเดิมเป็นสาระสำคัญอีกต่อไป ดังนั้นจำเลยที่ 1 จะอ้างว่าโจทก์ส่งมอบงานล่าช้าโดยถือว่าโจทก์ผิดสัญญาก่อนวันที่ 5สิงหาคม 2533 หาได้ไม่
โจทก์ได้ตกลงทำสัญญากับจำเลยที่ 1 แล้วว่าหากทำไม่แล้วเสร็จภายในวันที่ 5 สิงหาคม 2533 ก็จะยอมให้ปรับ โดยจำเลยที่ 1 ยินยอมให้ผ่อนผันโดยไม่ทักท้วง พฤติการณ์แสดงว่าข้อสัญญาที่เกี่ยวกับการส่งมอบล่าช้าหรือไม่แล้วเสร็จตามสัญญาเดิมคู่สัญญาต่างมีเจตนาระงับกันไปโดยไม่ถือว่าเป็นการผิดนัดผิดสัญญาอีกต่อไปจนกว่าจะล่วงพ้นวันที่ 5 สิงหาคม 2533 ดังนี้ เมื่อโจทก์ส่งมอบงานให้แก่จำเลยที่ 1 ครบถ้วนทั้งหมดแล้วในวันที่ 10 กันยายน 2533 ล่าช้าไปจากวันที่ 5สิงหาคม 2533 เป็นระยะเวลา 35 วัน ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็มิได้โต้แย้ง เท่ากับว่าโจทก์ผิดสัญญาเพียง 35 วัน ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดปรับรายวันรวม 35 วันมาจึงชอบแล้ว
เบี้ยปรับถือเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าให้ฝ่ายที่ผิดสัญญาชดใช้แก่ฝ่ายที่มิได้ผิดสัญญา แต่ก็มิได้บังคับโดยเด็ดขาดว่าจะต้องเป็นไปตามข้อตกลงศาลอาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนเบี้ยปรับลงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5419/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสภาพหนี้ต้องเป็นลูกหนี้เท่านั้น สัญญาที่บุคคลภายนอกรับแทนลูกหนี้ไม่มีผลบังคับ
การรับสภาพหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14 วรรคหนึ่งผู้ที่จะรับสภาพหนี้ได้มีเฉพาะตัวลูกหนี้เท่านั้น การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกทำสัญญารับใช้หนี้แทน ซ. ลูกหนี้ของโจทก์แต่ไม่มีผลบังคับเพราะ น. คู่สัญญาผู้กระทำการแทนโจทก์กระทำการโดยปราศจากอำนาจ แม้ฟังว่าเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้แสดงเจตนาฝ่ายเดียวผูกพันตนเข้ารับชำระหนี้แก่โจทก์แทนลูกหนี้ของโจทก์อันเป็นนิติกรรมฝ่ายเดียว ก็ไม่มีลักษณะของลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามบทกฎหมายดังกล่าว ไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ผู้ค้ำประกันตามสัญญารับใช้หนี้ของจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย
of 64