คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ดำรุพงศ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 636 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5419/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสภาพหนี้โดยบุคคลภายนอกและผลผูกพันตามกฎหมาย
ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 193/14 (1) ผู้ที่จะรับสภาพหนี้ได้มีเฉพาะตัวลูกหนี้เท่านั้น การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ทำสัญญารับใช้หนี้แทน ซ.ลูกหนี้ของโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.4 ขึ้น แต่ไม่มีผลบังคับเพราะ น.คู่สัญญาผู้กระทำการแทนโจทก์กระทำการโดยปราศจากอำนาจแม้ฟังได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้แสดงเจตนาเพียงฝ่ายเดียวผูกพันตนเข้ารับชำระหนี้แก่โจทก์แทนลูกหนี้ของโจทก์ อันเป็นนิติกรรมฝ่ายเดียว ก็ไม่มีลักษณะของลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/14 (1) ไม่มีผลบังคับตามกฎหมายจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5419/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสภาพหนี้ต้องทำโดยลูกหนี้เอง สัญญาที่ตัวแทนไม่มีอำนาจทำแทน ไม่มีผลผูกพัน
ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/14(1) ผู้ที่จะรับสภาพหนี้ได้มีเฉพาะตัวลูกหนี้เท่านั้น การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ทำสัญญารับใช้หนี้แทน ซ. ลูกหนี้ของโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.4 ขึ้นแต่ไม่มีผลบังคับเพราะ น. คู่สัญญาผู้กระทำการแทนโจทก์กระทำการโดยปราศจากอำนาจ แม้ฟังได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้แสดงเจตนาเพียงฝ่ายเดียวผูกพันตนเข้ารับชำระหนี้แก่โจทก์แทนลูกหนี้ของโจทก์ อันเป็นนิติกรรมฝ่ายเดียว ก็ไม่มีลักษณะของลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(1) ไม่มีผลบังคับตามกฎหมายจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1จึงไม่ต้องรับผิดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5408/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเบี้ยปรับสัญญาซื้อขาย และการใช้สิทธิโดยสุจริตหลังครบกำหนดส่งมอบ
การที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าปรับและค่าเสียหายที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้าในสัญญาอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับนั้น ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี นับแต่เวลาที่อาจใช้สิทธิเรียกร้องได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 เดิม (ตรงกับมาตรา 193/30 ปัจจุบัน) หลังจากครบกำหนดเวลาที่จำเลยที่ 1 ต้องส่งมอบสิ่งของตามสัญญาซื้อขายในวันที่ 17 ตุลาคม 2527 แล้วจำเลยที่ 1 ได้ทยอยส่งมอบสิ่งของแก่โจทก์อีกแสดงว่าโจทก์พยายามให้โอกาสจำเลยที่ 1 ส่งมอบสิ่งของตามสัญญาแก่โจทก์โดยไม่บอกเลิกสัญญา จนครั้งสุดท้ายโจทก์แจ้งแก่จำเลยที่ 1 ว่า ให้โอกาสส่งมอบสิ่งของจนถึงวันที่ 28 มิถุนายน 2528 ซึ่งจำเลยที่ 1 ทำหนังสือขอผัดผ่อนต่อไปอีกจนถึงวันที่ 25 กันยายน 2528 ฉะนั้นการที่โจทก์บอกเลิกสัญญาต่อจำเลยที่ 1 ภายหลังครบกำหนดส่งมอบของตามสัญญาซื้อขายเป็นเวลานานนับปีนั้นจึงไม่มีพฤติการณ์ส่อให้เห็นว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5282/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาตามยอมผูกพันคู่สัญญา แม้ฝ่ายหนึ่งผิดนัด สิทธิบังคับคดีตามสัญญา
เมื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความมิได้ระบุว่า กรณีที่โจทก์ผิดนัดให้เลิกสัญญาได้ ทั้งโจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันต่อหน้าศาลชั้นต้นโดยศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมแล้ว คำพิพากษาตามยอมย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยให้ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาดังกล่าวตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคหนึ่ง แม้โจทก์จะเป็นฝ่ายผิดนัดตามสัญญาประนีประนอมยอมความก็ตาม จำเลยก็ไม่อาจเลิกสัญญาประนีประนอมยอมความต่อโจทก์ได้ เพราะเป็นกรณีนอกเหนือไปจากที่ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความอันเป็นสาระสำคัญแห่งคำพิพากษาตามยอม
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมและมิได้มีการอุทธรณ์คำพิพากษาคดีถึงที่สุด ซึ่งหลังจากนั้นเป็นเรื่องของการบังคับคดีตามคำพิพากษา จำเลยจึงมีเฉพาะสิทธิขอให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาตามยอมที่ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมความอย่างชัดแจ้งว่าหากโจทก์ผิดนัดยินยอมให้บังคับคดีได้ทันทีโดยการยึดทรัพย์ของโจทก์มาชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมาย ซึ่งจำเลยก็ได้มีคำขอให้ศาลชั้นต้นบังคับคดีแก่โจทก์ และศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีไปแล้ว และเมื่อโจทก์นำเงินที่จะต้องชำระตามสัญญา-ประนีประนอมยอมความมาวางศาล โจทก์ในฐานะลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมโจทก์ก็ย่อมมีสิทธิกระทำได้เพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมให้ตนหลุดพ้นจากหนี้ตามคำพิพากษาได้
โจทก์นำเงินตามจำนวนที่คำพิพากษาตามยอมระบุไว้มาวางต่อศาลภายหลังโจทก์ผิดนัดแล้ว เป็นผลเพียงทำให้โจทก์ต้องชำระดอกเบี้ยในต้นเงินที่นำมาวางศาลนับแต่วันผิดนัดจนถึงวันที่นำเงินตามคำพิพากษาตามยอมมาวางศาลในอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ด้วยเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5282/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: ผลผูกพันตามคำพิพากษา และสิทธิบังคับคดีเมื่อผิดนัด
เมื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความมิได้ระบุว่า กรณีที่โจทก์ผิดนัดให้เลิกสัญญาได้ ทั้งโจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันต่อหน้าศาลชั้นต้น โดยศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมแล้ว คำพิพากษาตามยอมย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยให้ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคหนึ่งแม้โจทก์จะเป็นฝ่ายผิดนัดตามสัญญาประนีประนอมยอมความก็ตามจำเลยก็ไม่อาจเลิกสัญญาประนีประนอมยอมความต่อโจทก์ได้เพราะเป็นกรณีนอกเหนือไปจากที่ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความอันเป็นสาระสำคัญแห่งคำพิพากษาตามยอม เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมและมิได้มีการอุทธรณ์คำพิพากษาคดีถึงที่สุด ซึ่งหลังจากนั้นเป็นเรื่องของการบังคับคดีตามคำพิพากษา จำเลยจึงมีเฉพาะสิทธิขอให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาตามยอมที่ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความอย่างชัดแจ้งว่าหากโจทก์ผิดนัดยินยอมให้บังคับคดีได้ทันทีโดยการยึดทรัพย์ของโจทก์มาชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมายซึ่งจำเลยก็ได้มีคำขอให้ศาลชั้นต้นบังคับคดีแก่โจทก์ และศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีไปแล้ว และเมื่อโจทก์นำเงินที่จะต้องชำระตามสัญญาประนีประนอมยอมความมาวางศาล โจทก์ในฐานะลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมโจทก์ก็ย่อมมีสิทธิกระทำได้เพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมให้ตนหลุดพ้นจากหนี้ตามคำพิพากษาได้ โจทก์นำเงินตามจำนวนที่คำพิพากษาตามยอมระบุไว้มาวางต่อศาลภายหลังโจทก์ผิดนัดแล้ว เป็นผลเพียงทำให้โจทก์ต้องชำระดอกเบี้ยในต้นเงินที่นำมาวางศาลนับแต่วันผิดนัดจนถึงวันที่นำเงินตามคำพิพากษาตามยอมมาวางศาลในอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ด้วยเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5191/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินในสมรสและสิทธิของบุคคลภายนอกที่สุจริต: การบอกล้างสัญญาและการคุ้มครองสิทธิ
ทรัพย์ พิพาทที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนระหว่างจำเลยทั้งสอง เป็นทรัพย์ที่โจทก์และจำเลยที่ 1ได้มาในระหว่างสมรส ควรเป็นสินสมรสตามกฎหมาย และพฤติการณ์ที่โจทก์แสดงออกยืนยันว่าบ้านนั้นเป็นของจำเลยที่ 1เพียงคนเดียว โจทก์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยและยอมให้ระบุชื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของเพียงผู้เดียว แม้กระทั่งนามสกุลของจำเลยที่ 1 ที่ระบุในเอกสารก็ให้ใช้นามสกุลเดิมของจำเลยที่ 1 ซึ่งถือได้ว่าเป็นสัญญาระหว่างสมรสที่ยอมให้ทรัพย์พิพาทเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1469 ดังนี้ทรัพย์ พิพาทย่อมไม่เป็นสินสมรสอีกต่อไป แม้ตามมาตรา 1469 บัญญัติว่า สัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินใดที่สามีภริยาได้ทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยากันนั้น ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างเสียในเวลาใดที่เป็นสามีภริยากันอยู่หรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยากันก็ได้ก็ตาม การที่จำเลยที่ 1กลับจากต่างประเทศแล้วอาศัยอยู่กับโจทก์ได้ไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์ โจทก์พูดขอแบ่งบ้านจากจำเลยที่ 1 ทุกวันเพราะไม่ประสงค์อยู่กินกับจำเลยที่ 1 ซึ่งถือได้ว่าโจทก์บอกล้างสัญญาระหว่างสมรสแล้ว ทำให้ทรัพย์พิพาทกลับเป็นสินสมรสดังเดิม แต่การบอกล้างดังกล่าวไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1469 แม้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายทรัพย์พิพาททั้งหมดแก่จำเลยที่ 2โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ซื้อทรัพย์พิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยสุจริต การที่โจทก์บอกล้างสัญญาที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำกันไว้เกี่ยวกับทรัพย์พิพาทนั้นไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของจำเลยที่ 2 บุคคลภายนอกที่มีต่อทรัพย์ดังกล่าว จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายทรัพย์พิพาทระหว่างจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5191/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสถานะทรัพย์สินสมรส: สัญญาตกลงระหว่างคู่สมรส, การบอกล้างสัญญา, และสิทธิของบุคคลภายนอก
ทรัพย์พิพาทที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนระหว่างจำเลยทั้งสอง เป็นทรัพย์ที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้มาในระหว่างสมรส ควรเป็นสินสมรสตามกฎหมาย แต่พฤติการณ์ที่โจทก์แสดงออกยืนยันว่าบ้านนั้นเป็นของจำเลยที่ 1 เพียงคนเดียว โจทก์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยและยอมให้ระบุชื่อจำเลยที่ 1เป็นเจ้าของเพียงผู้เดียว แม้กระทั่งนามสกุลของจำเลยที่ 1 ที่ระบุในเอกสารก็ให้ใช้นามสกุลเดิมของจำเลยที่ 1 ซึ่งถือได้ว่าเป็นสัญญาระหว่างสมรสที่ยอมให้ทรัพย์พิพาทเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1469 ดังนี้ทรัพย์พิพาทย่อมไม่เป็นสินสมรสอีกต่อไป
แม้ตามมาตรา 1469 บัญญัติว่า สัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินใดที่สามีภริยาได้ทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยากันนั้น ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างเสียในเวลาใดที่เป็นสามีภริยากันอยู่หรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยากันก็ได้ก็ตาม การที่จำเลยที่ 1 กลับจากต่างประเทศแล้วอาศัยอยู่กับโจทก์ได้ไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์ โจทก์พูดขอแบ่งบ้านจากจำเลยที่ 1 ทุกวันเพราะไม่ประสงค์อยู่กินกับจำเลยที่ 1 ซึ่งถือได้ว่าโจทก์บอกล้างสัญญาระหว่างสมรสแล้ว ทำให้ทรัพย์พิพาทกลับเป็นสินสมรสดังเดิม แต่การบอกล้างดังกล่าวไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตตาม ป.พ.พ.มาตรา 1469
แม้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายทรัพย์พิพาททั้งหมดแก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ แต่เมื่อจำเลยที่ 2ซื้อทรัพย์พิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยสุจริต การที่โจทก์บอกล้างสัญญาที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำกันไว้เกี่ยวกับทรัพย์พิพาทนั้นไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของจำเลยที่ 2 บุคคลภายนอกที่มีต่อทรัพย์ดังกล่าว จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายทรัพย์พิพาทระหว่างจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4769/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องก่อนยื่นคำให้การและการเพิกถอนคำสั่งรับคำให้การที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์ขอถอนคำฟ้องคดีแพ่งเรื่องนี้ก่อนจำเลยยื่นคำให้การ กรณีต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 วรรคหนึ่ง ซึ่งมิได้บัญญัติห้ามไม่ให้ศาลให้อนุญาตโดยมิได้ฟังจำเลยก่อน ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องและให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความได้โดยไม่ต้องฟังจำเลยก่อนจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
การที่ศาลจะทำการชี้สองสถานในคดีแพ่งได้ จะต้องมีคำฟ้องอันเป็นกระบวนพิจารณาที่โจทก์เสนอข้อหาต่อศาลและมีคำให้การอันเป็นกระบวนพิจารณา ซึ่งคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยกขึ้นต่อสู้เป็นข้อแก้คำฟ้อง เพื่อนำคำฟ้องและคำให้การมาเทียบกันดูว่ามีข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริงใดที่คู่ความฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้าง แต่คู่ความฝ่ายอื่นไม่รับ ก็จะได้กำหนดไว้เป็นประเด็นข้อพิพาทและจะได้กำหนดให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนำพยานหลักฐานมาสืบในประเด็นข้อใดก่อนหลังกัน แต่โจทก์ถอนคำฟ้องโดยชอบด้วยกฎหมายก่อนจำเลยยื่นคำให้การ และศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องได้ ทั้งได้สั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความเสียแล้ว ก็เท่ากับไม่มีโจทก์และคำฟ้องของโจทก์ซึ่งเป็นผู้กล่าวหาและข้อกล่าวหาอยู่ในศาลชั้นต้นอีกต่อไป ทำให้ไม่มีคำฟ้องจะนำมาเปรียบเทียบกับคำให้การเพื่อกำหนดประเด็นข้อพิพาทและไม่มีความจำเป็นที่จำเลยต้องให้การแก้ข้อกล่าวหาอีกต่อไป ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นตรวจสำนวนพบว่า มีการสั่งรับคำให้การและนัดชี้สองสถานไว้โดยผิดหลง อันเป็นข้อที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมหรือที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในเรื่องการยื่นหรือการส่งคำคู่ความหรือการพิจารณาคดี ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะสั่งให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคหนึ่งการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งที่รับคำให้การและนัดชี้สองสถานและสั่งใหม่เป็นไม่รับคำให้การ และยกเลิกวันนัดชี้สองสถานจึงเป็นการสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4769/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องก่อนยื่นคำให้การ ศาลอนุญาตได้โดยไม่ต้องฟังจำเลย และการเพิกถอนคำสั่งรับคำให้การที่ไม่ถูกต้อง
โจทก์ขอถอนคำฟ้องคดีแพ่งเรื่องนี้ก่อนจำเลยยื่นคำให้การ กรณีต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 วรรคหนึ่ง ซึ่งมิได้บัญญัติห้ามไม่ให้ศาลให้อนุญาตโดยมิได้ฟังจำเลยก่อน ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องและให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความได้โดยไม่ต้องฟังจำเลยก่อนจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
การที่ศาลจะทำการชี้สองสถานในคดีแพ่งได้ จะต้องมีคำฟ้องอันเป็นกระบวนพิจารณาที่โจทก์เสนอข้อหาต่อศาลและมีคำให้การอันเป็นกระบวนพิจารณา ซึ่งคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยกขึ้นต่อสู้เป็นข้อแก้คำฟ้อง เพื่อนำคำฟ้องและคำให้การมาเทียบกันดูว่ามีข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริงใดที่คู่ความฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้าง แต่คู่ความฝ่ายอื่นไม่รับ ก็จะได้กำหนดไว้เป็นประเด็นข้อพิพาทและจะได้กำหนดให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนำพยานหลักฐานมาสืบในประเด็นข้อใดก่อนหลังกัน แต่โจทก์ถอนคำฟ้องโดยชอบด้วยกฎหมายก่อนจำเลยยื่นคำให้การ และศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องได้ ทั้งได้สั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความเสียแล้ว ก็เท่ากับไม่มีโจทก์และคำฟ้องของโจทก์ซึ่งเป็นผู้กล่าวหาและข้อกล่าวหาอยู่ในศาลชั้นต้นอีกต่อไป ทำให้ไม่มีคำฟ้องจะนำมาเปรียบเทียบกับคำให้การเพื่อกำหนดประเด็นข้อพิพาทและไม่มีความจำเป็นที่จำเลยต้องให้การแก้ข้อกล่าวหาอีกต่อไป ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นตรวจสำนวนพบว่า มีการสั่งรับคำให้การและนัดชี้สองสถานไว้โดยผิดหลง อันเป็นข้อที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมหรือที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในเรื่องการยื่นหรือการส่งคำคู่ความหรือการพิจารณาคดี ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะสั่งให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคหนึ่งการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งที่รับคำให้การและนัดชี้สองสถานและสั่งใหม่เป็นไม่รับคำให้การ และยกเลิกวันนัดชี้สองสถานจึงเป็นการสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4769/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องก่อนยื่นคำให้การ ศาลอนุญาตได้โดยไม่ต้องฟังจำเลย และการเพิกถอนคำสั่งรับคำให้การที่ไม่ถูกต้อง
วันที่ 12 มิถุนายน 2538 โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่พนักงานเดินหมายส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลย วันที่ 14 มิถุนายน 2538 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง และให้จำหน่ายคดีจากสารบบความต่อมาวันที่ 26มิถุนายน 2538 จำเลยยื่นคำให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ถอนฟ้องไปแล้ว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำให้การ สำเนาให้โจทก์และนัดชี้สองสถาน เป็นกรณีที่โจทก์ขอถอนฟ้องก่อนจำเลยยื่นคำให้การต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 175 วรรคหนึ่ง ซึ่งมิได้บัญญัติห้ามไม่ให้ศาลให้อนุญาตโดยมิได้ฟังจำเลยก่อนศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องได้โดยไม่ต้องฟังจำเลยก่อน
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 182 วรรคหนึ่ง และมาตรา 183 วรรคสอง ศาลจะทำการชี้สองสถานได้ต่อเมื่อมีคำฟ้องและคำให้การ แต่เมื่อโจทก์ถอนคำฟ้องก่อนจำเลยยื่นคำให้การ และศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องได้ก็เท่ากับไม่มีคำฟ้องจะนำมาเปรียบเทียบกับคำให้การเพื่อกำหนดประเด็นข้อพิพาท และไม่มีความจำเป็นที่จำเลยต้องให้การแก้ข้อกล่าวหาอีกต่อไป ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นตรวจสำนวนพบว่า มีการสั่งรับคำให้การและนัดชี้สองสถานไว้อันเป็นข้อที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมหรือที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งที่รับคำให้การและนัดชี้สองสถานอันเป็นการสั่งโดยผิดหลงเป็นไม่รับคำให้การและยกเลิกวันนัดชี้สองสถานจึงเป็นการสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
of 64