พบผลลัพธ์ทั้งหมด 636 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2640/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีเรียกค่าก่อสร้าง เริ่มนับจากวันส่งมอบงานโครงการทั้งหมด ไม่ใช่รายงวด
แม้ตามสัญญาจ้างเหมาจะได้กำหนดระยะเวลาการส่งมอบงานและหลักเกณฑ์ในการชำระค่าจ้างไว้ว่าวิธีการจ่ายค่าจ้างให้ถือเอาความแล้วเสร็จของงานจ้างเหมาแต่ละชุดเป็นเกณฑ์ในการชำระค่าจ้างแต่ละงวด โดยให้คิดเนื้องานที่ทำแล้วเสร็จก็ตรา แต่ในการจ่ายค่าจ้างก่อสร้างให้โจทก์ในแต่ละครั้งไม่มีกำหนดเวลาแน่นอนและจำนวนเงินที่จ่ายให้ก็สุดแล้วแต่ทางฝ่ายจำเลยซึ่งมีทั้งขอผัดชำระและมีการหักไว้บางส่วน โดยอ้างว่าจะจ่ายส่วนที่เหลือทั้งหมดให้เมื่อทำถนนเสร็จเรียบร้อยแล้ว แสดงว่าโจทก์กับจำเลยต่างมิได้ยึดถือเอากำหนดระยะเวลาชำระค่าจ้างแต่ละงวดตามสัญญาเป็นข้อสาระสำคัญ แต่ยึดถือเมื่องานเสร็จตามโครงการแล้วจะต้องชำระให้หมดสิ้น โจทก์ได้ทำงานเสร็จทั้งโครงการและส่งมอบงานงวดสุดท้ายให้จำเลยรับไปในวันที่ 27 เมษายน 2532 อายุความเรียกค่าก่อสร้างและค่าจ้างจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันสิ้นสุดการทำงานตามโครงการก่อสร้างของโจทก์ เมื่อนับถึงวันฟ้องคือวันที่ 26 เมษายน 2534 เป็นระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2640/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าก่อสร้าง: เริ่มนับจากวันส่งมอบงานตามสัญญา แม้ไม่มีกำหนดจ่ายเงินที่แน่นอน
แม้ตามสัญญาจ้างเหมาจะได้กำหนดระยะเวลาการส่งมอบงานและหลักเกณฑ์ในการชำระค่าจ้างไว้ว่าวิธีการจ่ายค่าจ้างให้ถือเอาความแล้วเสร็จของงานจ้างเหมาแต่ละชุดเป็นเกณฑ์ในการชำระค่าจ้างแต่ละงวด โดยให้คิดเนื้องานที่ทำแล้วเสร็จก็ตาม แต่ในการจ่ายค่าจ้างก่อสร้างให้โจทก์ในแต่ละครั้งไม่มีกำหนดเวลาแน่นอนและจำนวนเงินที่จ่ายให้ก็สุดแล้วแต่ทางฝ่ายจำเลยซึ่งมีทั้งขอผัดชำระและมีการหักไว้บางส่วน โดยอ้างว่าจะจ่ายส่วนที่เหลือทั้งหมดให้เมื่อทำถนนเสร็จเรียบร้อยแล้ว แสดงว่าโจทก์กับจำเลยต่างมิได้ยึดถือเอากำหนดระยะเวลาชำระค่าจ้างแต่ละงวดตามสัญญาเป็นข้อสาระสำคัญ แต่ยึดถือเมื่องานเสร็จตามโครงการแล้วจะต้องชำระให้หมดสิ้น โจทก์ได้ทำงานเสร็จทั้งโครงการและส่งมอบงานงวดสุดท้ายให้จำเลยรับไปในวันที่ 27 เมษายน 2532 อายุความเรียกค่าก่อสร้างและค่าจ้างจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันสิ้นสุดการทำงานตามโครงการก่อสร้างของโจทก์ เมื่อนับถึงวันฟ้องคือวันที่ 26 เมษายน 2534 เป็นระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2640/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าก่อสร้าง เริ่มนับจากวันส่งมอบงานทั้งหมด ไม่ใช่รายงวด แม้สัญญาระบุการชำระรายงวด
แม้ตามสัญญาจ้างเหมาจะได้กำหนดระยะเวลาการส่งมอบงานและหลักเกณฑ์ในการชำระค่าจ้างไว้ว่าวิธีการจ่ายค่าจ้างให้ถือเอาความแล้วเสร็จของงานจ้างเหมาแต่ละชุดเป็นเกณฑ์ในการชำระค่าจ้างแต่ละงวดโดยให้คิดเนื้องานที่ทำแล้วเสร็จก็ตราแต่ในการจ่ายค่าจ้างก่อสร้างให้โจทก์ในแต่ละครั้งไม่มีกำหนดเวลาแน่นอนและจำนวนเงินที่จ่ายให้ก็สุดแล้วแต่ทางฝ่ายจำเลยซึ่งมีทั้งขอผัดชำระและมีการหักไว้บางส่วนโดยอ้างว่าจะจ่ายส่วนที่เหลือทั้งหมดให้เมื่อทำถนนเสร็จเรียบร้อยแล้วแสดงว่าโจทก์กับจำเลยต่างมิได้ยึดถือเอากำหนดระยะเวลาชำระค่าจ้างแต่ละงวดตามสัญญาเป็นข้อสาระสำคัญแต่ยึดถือเมื่องานเสร็จตามโครงการแล้วจะต้องชำระให้หมดสิ้นโจทก์ได้ทำงานเสร็จทั้งโครงการและส่งมอบงานงวดสุดท้ายให้จำเลยรับไปในวันที่27เมษายน2532อายุความเรียกค่าก่อสร้างและค่าจ้างจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันสิ้นสุดการทำงานตามโครงการก่อสร้างของโจทก์เมื่อนับถึงวันฟ้องคือวันที่26เมษายน2534เป็นระยะเวลาไม่เกิน2ปีคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2596/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบและการประวิงคดี ศาลมีอำนาจสั่งยกคำร้องได้หากพยานหลักฐานในสำนวนชัดเจน
การร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา27วรรคหนึ่งเป็นอำนาจของศาลที่จะทำการไต่สวนได้ตามที่เห็นสมควรตามมาตรา21(4)แต่ถ้าข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานในสำนวนปรากฏต่อศาลโดยชัดแจ้งว่ามิได้มีการพิจารณาที่ผิดระเบียบศาลย่อมมีอำนาจสั่งยกคำร้องได้โดยไม่จำเป็นต้องไต่สวนการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของผู้ร้องเพราะเหตุผู้ร้องไม่ไปศาลตามนัดโดยถือว่าผู้ร้องไม่ติดใจสืบพยานตามที่ศาลได้กำชับไว้แล้วเป็นการปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยวิธีพิจารณาในศาลชั้นต้นมิได้มีการพิจารณาที่ผิดระเบียบโดยหลงผิดแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2569/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความระงับข้อพิพาทมูลละเมิด ทำให้หนี้ระงับและนายจ้างไม่ต้องรับผิด
การที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อไว้ในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีว่า จำเลยที่ 1 ยอมรับผิดในความประมาทเลินเล่อและยอมชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ 6,000บาท จากค่าเสียหายประมาณ 10,550 บาท หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระตามกำหนดให้โจทก์ฟ้องร้องทางแพ่งได้นั้น เป็นการตกลงชำระค่าเสียหายกันเป็นจำนวนที่แน่นอนแล้ว ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงระงับข้อพิพาทอันเกี่ยวกับค่าเสียหายซึ่งเกิดจากมูลละเมิดขับรถชนกันให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 มีผลทำให้การเรียกร้องในหนี้สินอันเกิดจากมูลละเมิดระงับสิ้นไปและทำให้โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้สิทธิตามที่แสดงไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น เมื่อหนี้อันเกิดจากมูลละเมิดระงับไปแล้วความรับผิดของจำเลยที่ 1 ผู้ทำละเมิด และจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างย่อมระงับไปด้วย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดจากจำเลยทั้งสาม ปัญหานี้แม้จำเลยที่ 1 และที่ 3 มิได้ฎีกามาแต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2389/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงเจตนาในพินัยกรรมและการเพิกถอนพินัยกรรมเดิมด้วยพินัยกรรมใหม่
หลักฐานที่เจ้ามรดกทำถึงผู้จัดการธนาคารขอเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงชื่อบัญชีและตัวอย่างลายมือชื่อในบัญชีที่เจ้ามรดกฝากเงินไว้จาก ส.เป็น ส.หรือจำเลยที่ 2 ซึ่งหมายความว่า คนใดคนหนึ่งเป็นผู้มีอำนาจในการเบิกเงินจากบัญชีดังกล่าวได้สำหรับบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์และสำหรับบัญชีเงินฝากประเภทประจำ และในทางปฏิบัติผู้ที่มีอำนาจในการเบิกเงินจากบัญชีได้จะเป็นเจ้าของบัญชีร่วมกัน และตามเอกสารซึ่งเป็นคำสั่งและสัญญาของผู้ฝากเงินที่เจ้ามรดกและจำเลยที่ 2 ได้เปิดบัญชีร่วมกันมีข้อความระบุว่า ตามที่ ส.กับจำเลยที่ 2 ได้เปิดบัญชีร่วมกันมีบัญชีเงินฝากประจำ ออมทรัพย์ กระแสรายวันและอื่น ๆ ไว้กับธนาคาร ข้าพเจ้าได้ตกลงกับธนาคารในการเบิกจ่ายเงินข้าพเจ้าทั้งสองคนหรือคนใดคนหนึ่งเป็นผู้ลงนามขอถอนเงิน ขอรับเงินหรือสั่งจ่ายเงินโดยใช้คำว่า ส.หรือจำเลยที่ 2 นั้น ข้าพเจ้าขอให้คำสั่งและสัญญาต่อธนาคารว่าถ้าข้าพเจ้าคนใดคนหนึ่งถึงแก่กรรม ขอยกเงินฝากส่วนของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ฝากที่ยังมีชีวิตอยู่ และให้ผู้ที่มีชีวิตอยู่มีสิทธิที่จะฝาก ถอน หรือติดต่อกับธนาคารได้ต่อไปจึงฟังได้ว่าการที่เจ้ามรดกใส่ชื่อจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของบัญชีร่วมกับเจ้ามรดกนั้นมีเจตนาให้จำเลยที่ 2 ร่วมเป็นเจ้าของเงินของเจ้ามรดกที่มีในบัญชีนั้น ๆ ด้วยแต่เนื่องจากไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าเจ้ามรดกต้องการให้จำเลยที่ 2 มีส่วนเป็นเจ้าของร่วมเป็นจำนวนเท่าใด จึงต้องสันนิษฐานว่าเจ้ามรดกและจำเลยที่ 2มีส่วนเป็นเจ้าของเงินในบัญชีคนละครึ่ง
ข้อความตามที่ปรากฏในคำสั่งและสัญญาของผู้ฝากเงินทั้งเจ้ามรดกและจำเลยที่ 2 ต่างแจ้งเจตนาต่อธนาคารว่า ต่างประสงค์จะยกเงินฝากในส่วนของแต่ละคนให้อีกฝ่ายหนึ่งถ้าตนถึงแก่กรรมก่อนอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งมีลักษณะเป็นการกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของแต่ละคน จึงมีต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน และพยานทั้งสองคนนั้นลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้น จึงเป็นพินัยกรรมที่ทำถูกต้องตามแบบในป.พ.พ.มาตรา 1656 วรรคหนึ่ง ย่อมมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย หากเจ้ามรดกถึงแก่กรรม เงินสดตามบัญชีเงินฝากในส่วนของเจ้ามรดกย่อมตกได้แก่จำเลยที่ 2แต่ต่อมาเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมฉบับพิพาทขึ้นอีกฉบับหนึ่ง ตามเอกสารหมาย จ.6ยกทรัพย์สมบัติที่เป็นเงินจำนวน 1,000,000 บาท แก่โจทก์ โดยให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดก จ่ายเงินจำนวนดังกล่าวเป็นเงินสดจากบัญชีของเจ้ามรดกเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรมแล้ว จึงเห็นได้ว่าพินัยกรรมฉบับแรกดังกล่าวขัดกับพินัยกรรมตามเอกสารหมาย จ.6 ในข้อที่ว่า จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้ได้รับเงินในบัญชีเงินฝากส่วนที่เป็นมรดกของเจ้ามรดกทั้งหมด หรือจำเลยทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกจะต้องแบ่งเงินในบัญชีดังกล่าวส่วนที่เป็นมรดกของเจ้ามรดกแก่โจทก์เป็นจำนวน 1,000,000 บาท ตามพินัยกรรมเอกสารหมาย จ.6ซึ่งทำขึ้นภายหลัง จึงต้องถือว่าพินัยกรรมฉบับแรกเป็นอันเพิกถอนโดยพินัยกรรมตามเอกสารหมาย จ.6 ในส่วนที่มีข้อความขัดกัน คือเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับเงินจำนวน 1,000,000 บาท ที่จะต้องตกได้แก่โจทก์เท่านั้น ตาม ป.พ.พ.มาตรา1697 จำเลยทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส.เจ้ามรดกต้องแบ่งมรดกของเจ้ามรดกเป็นเงินสดจากบัญชีเงินฝากแก่โจทก์ จำนวน 1,000,000 บาท
ข้อความตามที่ปรากฏในคำสั่งและสัญญาของผู้ฝากเงินทั้งเจ้ามรดกและจำเลยที่ 2 ต่างแจ้งเจตนาต่อธนาคารว่า ต่างประสงค์จะยกเงินฝากในส่วนของแต่ละคนให้อีกฝ่ายหนึ่งถ้าตนถึงแก่กรรมก่อนอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งมีลักษณะเป็นการกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของแต่ละคน จึงมีต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน และพยานทั้งสองคนนั้นลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้น จึงเป็นพินัยกรรมที่ทำถูกต้องตามแบบในป.พ.พ.มาตรา 1656 วรรคหนึ่ง ย่อมมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย หากเจ้ามรดกถึงแก่กรรม เงินสดตามบัญชีเงินฝากในส่วนของเจ้ามรดกย่อมตกได้แก่จำเลยที่ 2แต่ต่อมาเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมฉบับพิพาทขึ้นอีกฉบับหนึ่ง ตามเอกสารหมาย จ.6ยกทรัพย์สมบัติที่เป็นเงินจำนวน 1,000,000 บาท แก่โจทก์ โดยให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดก จ่ายเงินจำนวนดังกล่าวเป็นเงินสดจากบัญชีของเจ้ามรดกเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรมแล้ว จึงเห็นได้ว่าพินัยกรรมฉบับแรกดังกล่าวขัดกับพินัยกรรมตามเอกสารหมาย จ.6 ในข้อที่ว่า จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้ได้รับเงินในบัญชีเงินฝากส่วนที่เป็นมรดกของเจ้ามรดกทั้งหมด หรือจำเลยทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกจะต้องแบ่งเงินในบัญชีดังกล่าวส่วนที่เป็นมรดกของเจ้ามรดกแก่โจทก์เป็นจำนวน 1,000,000 บาท ตามพินัยกรรมเอกสารหมาย จ.6ซึ่งทำขึ้นภายหลัง จึงต้องถือว่าพินัยกรรมฉบับแรกเป็นอันเพิกถอนโดยพินัยกรรมตามเอกสารหมาย จ.6 ในส่วนที่มีข้อความขัดกัน คือเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับเงินจำนวน 1,000,000 บาท ที่จะต้องตกได้แก่โจทก์เท่านั้น ตาม ป.พ.พ.มาตรา1697 จำเลยทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส.เจ้ามรดกต้องแบ่งมรดกของเจ้ามรดกเป็นเงินสดจากบัญชีเงินฝากแก่โจทก์ จำนวน 1,000,000 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2389/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมขัดแย้งกัน ศาลวินิจฉัยพินัยกรรมหลังมีผลเหนือกว่าเฉพาะส่วนที่ขัดแย้ง
หลักฐานที่เจ้ามรดกทำถึงผู้จัดการธนาคารขอเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงชื่อบัญชีและตัวอย่างลายมือชื่อในบัญชีที่เจ้ามรดกฝากเงินไว้จากส.เป็นส.หรือจำเลยที่2ซึ่งหมายความว่าคนใดคนหนึ่งเป็นผู้มีอำนาจในการเบิกเงินจากบัญชีดังกล่าวได้สำหรับบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์และสำหรับบัญชีเงินฝากประเภทประจำและในทางปฏิบัติผู้ที่มีอำนาจในการเบิกเงินจากบัญชีได้จะเป็นเจ้าของบัญชีร่วมกันและตามเอกสารซึ่งเป็นคำสั่งและสัญญาของผู้ฝากเงินที่เจ้ามรดกและจำเลยที่2ได้เปิดบัญชีร่วมกันมีข้อความระบุว่าตามที่ส.กับจำเลยที่2ได้เปิดบัญชีเงินฝากประจำออมทรัพย์กระแสรายวันและอื่นๆไว้กับธนาคารข้าพเจ้าได้ตกลงกับธนาคารในการเบิกจ่ายเงินข้าพเจ้าทั้งสองคนหรือคนใดคนหนึ่งเป็นผู้ลงนามขอถอนเงินขอรับเงินหรือสั่งจ่ายเงินโดยใช้คำว่าส.หรือจำเลยที่2นั้นข้าพเจ้าขอให้คำสั่งและสัญญาต่อธนาคารว่าถ้าข้าพเจ้าคนใดคนหนึ่งถึงแก่กรรมขอยกเงินฝากส่วนของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ฝากที่ยังมีชีวิตอยู่และให้ผู้ที่มีชีวิตอยู่มีสิทธิที่จะฝากถอนหรือติดต่อกับธนาคารได้ต่อไปจึงฟังได้ว่าการที่เจ้ามรดกใส่ชื่อจำเลยที่2เป็นเจ้าของบัญชีร่วมกับเจ้ามรดกนั้นมีเจตนาให้จำเลยที่2ร่วมเป็นเจ้าของเงินของเจ้ามรดกที่มีในบัญชีนั้นๆด้วยแต่เนื่องจากไม่ปรากฎข้อเท็จจริงว่าเจ้ามรดกต้องการให้จำเลยที่2มีส่วนเป็นเจ้าของร่วมเป็นจำนวนเท่าใดจึงต้องสันนิษฐานว่าเจ้ามรดกและจำเลยที่2มีส่วนเป็นเจ้าของเงินในบัญชีคนละครึ่ง ข้อความตามที่ปรากฎในคำสั่งและสัญญาของผู้ฝากเงินทั้งเจ้ามรดกและจำเลยที่2ต่างแจ้งเจตนาต่อธนาคารว่าต่างประสงค์จะยกเงินฝากในส่วนของแต่ละคนให้อีกฝ่ายหนึ่งถ้าตนถึงแก่กรรมก่อนอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งมีลักษณะเป็นการกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของแต่ละคนจึงมีลักษณะเป็นพินัยกรรมเมื่อมีการลงวันเดือนปีที่ทำผู้ทำพินัยกรรมลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกันและพยานทั้งสองคนนั้นลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้นจึงเป็นพินัยกรรมที่ทำถูกต้องตามแบบในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1656วรรคหนึ่งย่อมมีผลบังคับได้ตามกฎหมายหากเจ้ามรดกถึงแก่กรรมเงินสดตามบัญชีเงินฝากในส่วนของเจ้ามรดกย่อมตกได้แก่จำเลยที่2แต่ต่อมาเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมฉบับพิพาทขึ้นอีกฉบับหนึ่งตามเอกสารหมายจ.6ยกทรัพย์สมบัติที่เป็นเงินจำนวน1,000,000บาทแก่โจทก์โดยให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวเป็นเงินสดจากบัญชีของเจ้ามรดกเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรมแล้วจึงเห็นได้ว่าพินัยกรรมฉบับแรกดังกล่าวขัดกับพินัยกรรมตามเอกสารหมายจ.6ในข้อที่ว่าจำเลยที่2จะเป็นผู้ได้รับเงินในบัญชีเงินฝากส่วนที่เป็นมรดกทั้งหมดหรือจำเลยทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกจะต้องแบ่งเงินในบัญชีดังกล่าวส่วนที่เป็นมรดกของเจ้ามรดกแก่โจทก์เป็นจำนวน1,000,000บาทตามพินัยกรรมเอกสารหมายจ.6ซึ่งทำขึ้นภายหลังจึงต้องถือว่าพินัยกรรมฉบับแรกเป็นอันเพิกถอนโดยพินัยกรรมตามเอกสารหมายจ.6ในส่วนที่มีข้อความขัดกันคือเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับเงินจำนวน1,000,000บาทที่จะต้องตกได้แก่โจทก์เท่านั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1697จำเลยทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกของส.เจ้ามรดกต้องแบ่งมรดกของเจ้ามรดกเป็นเงินสดจากบัญชีเงินฝากแก่โจทก์จำนวน1,000,000บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2227/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวม การรุกล้ำที่ดิน และสิทธิเหนือพื้นดิน: ข้อพิพาทระเบียง-ประตูพิพาท
ส.พี่สามีโจทก์และจำเลยเป็นผู้สร้างระเบียงพิพาทในขณะที่โฉนดที่ดินเลขที่ 74801 ยังมิได้แบ่งแยกเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 131180 ของโจทก์และ 131181 ของจำเลย โดย ส.มีความประสงค์จะใช้ระเบียงพิพาทชั้นบนเป็นที่นั่งเล่นและชั้นล่างเป็นที่จอดรถ การสร้างระเบียงพิพาทมิใช่เจตนารมณ์ของสามีโจทก์ส่วนการสร้างประตูพิพาท แม้สามีโจทก์และจำเลยร่วมกันทำขึ้น แต่เมื่อที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 7481 ส่วนของสามีโจทก์โอนมาเป็นของโจทก์ และโจทก์เห็นว่าการมีประตูพิพาทก่อให้เกิดความเดือดร้อนและไม่สะดวกแก่โจทก์ในการใช้ที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 74801เป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะ โจทก์ย่อมขอให้รื้อถอนประตูพิพาทได้ ไม่เป็นการขัดต่อสิทธิของจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวม แม้จำเลยจะมีสิทธิใช้ที่ดินดังกล่าวในฐานะเป็นเจ้าของรวมโดยให้ระเบียงและประตูพิพาทยังคงอยู่ต่อไปเพื่อประโยชน์แก่จำเลย แต่การใช้นั้นจะต้องไม่ขัดต่อสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมในที่ดินดังกล่าวด้วย เมื่อระเบียงและประตูพิพาททำให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนไม่สะดวกในการใช้ที่ดินเป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะเมื่อโจทก์ประสงค์จะต่อเติมบ้าน แต่ไม่สามารถขนวัสดุและอุปกรณ์ลอดใต้ระเบียงเข้าไปได้ ทั้งยังเป็นอุปสรรคต่อการขายที่ดินและบ้านของโจทก์ เพราะทำให้ไม่ได้รับความสนใจจากผู้ซื้อ การมีระเบียงและประตูพิพาทในที่ดินซึ่งโจทก์และจำเลยเป็นเจ้าของรวม จึงเป็นการขัดต่อสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่ง หาใช่เป็นการขัดต่อสิทธิของจำเลยไม่
ภาระจำยอมเหนือที่ดินแปลงหนึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็เพื่อประโยชน์แก่ที่ดินแปลงอื่นเท่านั้น เมื่อที่ดินที่จำเลยขอให้จดทะเบียนภาระจำยอมเป็นที่ดินที่จำเลยเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย การที่จำเลยใช้ที่ดินส่วนหนึ่งเป็นระเบียงและประตูพิพาทเพื่อประโยชน์ของจำเลยเป็นเรื่องจำเลยใช้ทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมแม้จะฟังว่าจำเลยใช้มานาน 20 ปี ก็ไม่ก่อให้เกิดภาระจำยอมเหนือที่ดินที่จำเลยเป็นเจ้าของรวม
ผู้ทรงสิทธิเหนือพื้นดินต้องเป็นบุคคลอื่น หาใช่เจ้าของที่ดินไม่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมในที่ดินจึงไม่อาจเป็นผู้ทรงสิทธิเหนือพื้นดินในที่ดินดังกล่าวได้ นอกจากนี้สิทธิเหนือพื้นดินซึ่งเป็นทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์จะได้มาก็แต่โดยนิติกรรมเท่านั้น ไม่อาจได้มาโดยอายุความ และการได้มาโดยนิติกรรมนั้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มิฉะนั้นไม่บริบูรณ์
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1362 ที่บัญญัติให้เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆจำต้องช่วยเจ้าของรวมคนอื่น ๆ ตามส่วนของตนในการออกค่าจัดการค่าภาษีอากรและค่ารักษา กับทั้งค่าใช้ทรัพย์สินรวมกันด้วยนั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ทรัพย์สินที่เป็นของโจทก์และจำเลยคือที่ดิน มิใช่ระเบียงพิพาท โจทก์จึงไม่ต้องช่วยจำเลยออกค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนระเบียงพิพาท
ศาลชั้นต้นไม่รับฟ้องแย้งของจำเลยเกี่ยวกับค่าเสียหาย จำเลยอุทธรณ์ แต่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ในส่วนนี้เพราะจำเลยไม่นำค่าขึ้นศาลในอนาคตมาชำระภายในกำหนด จำเลยไม่อุทธรณ์คัดค้านคำสั่งดังกล่าว ดังนี้ แม้ศาลชั้นต้นจะรับฎีกาตามฟ้องแย้งของจำเลยเกี่ยวกับค่าเสียหาย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้เพราะมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
ฎีกาของจำเลยที่อ้างว่า โจทก์เปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้กรรมสิทธิ์รวมโดยจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมมิได้เห็นชอบด้วยตาม ป.พ.พ.มาตรา 1358 วรรคท้าย และขัดต่อมาตรา 1361 กับที่อ้างว่าระเบียงและประตูพิพาทที่สร้างรุกล้ำที่ดินอันเป็นเจ้าของรวม ควรปรับบทตาม ป.พ.พ.มาตรา 1312โดยให้จำเลยเป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว แต่ต้องเสียเงินให้แก่โจทก์เป็นค่าใช้ที่ดินนั้น เป็นข้อที่จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้เป็นประเด็นในคำให้การและฟ้องแย้งจึงมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ และมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
ภาระจำยอมเหนือที่ดินแปลงหนึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็เพื่อประโยชน์แก่ที่ดินแปลงอื่นเท่านั้น เมื่อที่ดินที่จำเลยขอให้จดทะเบียนภาระจำยอมเป็นที่ดินที่จำเลยเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย การที่จำเลยใช้ที่ดินส่วนหนึ่งเป็นระเบียงและประตูพิพาทเพื่อประโยชน์ของจำเลยเป็นเรื่องจำเลยใช้ทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมแม้จะฟังว่าจำเลยใช้มานาน 20 ปี ก็ไม่ก่อให้เกิดภาระจำยอมเหนือที่ดินที่จำเลยเป็นเจ้าของรวม
ผู้ทรงสิทธิเหนือพื้นดินต้องเป็นบุคคลอื่น หาใช่เจ้าของที่ดินไม่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมในที่ดินจึงไม่อาจเป็นผู้ทรงสิทธิเหนือพื้นดินในที่ดินดังกล่าวได้ นอกจากนี้สิทธิเหนือพื้นดินซึ่งเป็นทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์จะได้มาก็แต่โดยนิติกรรมเท่านั้น ไม่อาจได้มาโดยอายุความ และการได้มาโดยนิติกรรมนั้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มิฉะนั้นไม่บริบูรณ์
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1362 ที่บัญญัติให้เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆจำต้องช่วยเจ้าของรวมคนอื่น ๆ ตามส่วนของตนในการออกค่าจัดการค่าภาษีอากรและค่ารักษา กับทั้งค่าใช้ทรัพย์สินรวมกันด้วยนั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ทรัพย์สินที่เป็นของโจทก์และจำเลยคือที่ดิน มิใช่ระเบียงพิพาท โจทก์จึงไม่ต้องช่วยจำเลยออกค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนระเบียงพิพาท
ศาลชั้นต้นไม่รับฟ้องแย้งของจำเลยเกี่ยวกับค่าเสียหาย จำเลยอุทธรณ์ แต่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ในส่วนนี้เพราะจำเลยไม่นำค่าขึ้นศาลในอนาคตมาชำระภายในกำหนด จำเลยไม่อุทธรณ์คัดค้านคำสั่งดังกล่าว ดังนี้ แม้ศาลชั้นต้นจะรับฎีกาตามฟ้องแย้งของจำเลยเกี่ยวกับค่าเสียหาย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้เพราะมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
ฎีกาของจำเลยที่อ้างว่า โจทก์เปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้กรรมสิทธิ์รวมโดยจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมมิได้เห็นชอบด้วยตาม ป.พ.พ.มาตรา 1358 วรรคท้าย และขัดต่อมาตรา 1361 กับที่อ้างว่าระเบียงและประตูพิพาทที่สร้างรุกล้ำที่ดินอันเป็นเจ้าของรวม ควรปรับบทตาม ป.พ.พ.มาตรา 1312โดยให้จำเลยเป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว แต่ต้องเสียเงินให้แก่โจทก์เป็นค่าใช้ที่ดินนั้น เป็นข้อที่จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้เป็นประเด็นในคำให้การและฟ้องแย้งจึงมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ และมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2121/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าจ้างทนาย: เริ่มนับแต่วันศาลพิพากษาคดี ไม่ใช่เมื่อมีการขายที่ดิน
สัญญาที่โจทก์รับจ้างว่าความแก่จำเลยเป็นสัญญาจ้างทำของซึ่งการเริ่มนับอายุความในการเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ค่าว่าความนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/12กำหนดให้อายุความเริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปและมาตรา602วรรคหนึ่งกำหนดให้สินจ้างพึงใช้เมื่อรับมอบการที่ทำการที่โจทก์เป็นทนายความว่าความแก้ต่างแก่จำเลยในศาลชั้นต้นและจำเลยจะต้องใช้สินจ้างแก่โจทก์เมื่อรับมอบการที่ทำก็คือเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้วแสดงว่าโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องจากจำเลยได้เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้วส่วนที่สัญญาจ้างว่าความระบุว่าจำเลยตกลงจะขายที่ดินโดยเร็วโดยตั้งราคาไม่เป็นเงิน3,500,000บาทซึ่งจำเลยจะจ่ายเป็นค่าจ้างว่าความให้โจทก์500,000บาทหากขายได้ราคาต่ำกว่าข้างต้นจำเลยจะจ่ายเป็นค่าจ้างว่าความเท่ากับ10เปอร์เซ็นของจำนวนเงินที่ขายที่ดินได้ทั้งหมดแต่ไม่ว่าจะขายที่ดินได้เท่าใดค่าจ้างว่าความจะไม่ต่ำกว่า280,000บาทนั้นเป็นแต่เพียงการกำหนดจำนวนค่าจ้างว่าความว่าความว่าควรจะเป็นเท่าใดเท่านั้นโดยถือเอาจำนวนราคาขายที่ดินที่พิพาทในคดีที่ว่าจ้างเป็นตัวกำหนดแต่หากกำหนดไม่ได้ก็ต้องถือว่าค่าจ้างว่าความมีจำนวน280,000บาทโดยมิได้มีกำหนดเวลาชำระค่าจ้างว่าความไว้ในสัญญาจ้างว่าความแต่อย่างใดดังนั้นเมื่อโจทก์ทำการตามสัญญาจ้างว่าความเสร็จสิ้นคือศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้วสิทธิที่โจทก์จะเรียกเอาสินจ้างย่อมเกิดขึ้นทันทีสิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการเรียกเอาค่าจ้างว่าความจากจำเลยจึงต้องเริ่มนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีคือวันที่31กรกฎาคม2535โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยวันที่5กันยายน2537เป็นระยะเวลาเกินกว่า2ปีนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้วฟ้องของโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2121/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าจ้างทนาย: เริ่มนับเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาคดี และฟ้องข้ามปีขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องคดีเมื่อ ป.พ.พ.บรรพ 1 ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2535 ใช้บังคับ ดังนั้น คดีนี้จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ.ที่มีการตรวจชำระใหม่
สัญญาที่โจทก์รับจ้างว่าความแก่จำเลยเป็นสัญญาจ้างทำของซึ่งการเริ่มนับอายุความในการเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ค่าว่าความมีบัญญัติไว้ในป.พ.พ.มาตรา 193/12 ว่า "อายุความให้เริ่มนับเริ่มแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป..." และมาตรา 602 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "อันสินจ้างนั้นพึงใช้ให้เมื่อรับมอบการที่ทำ" โดยการที่ทำในคดีนี้คือการที่โจทก์เป็นทนายความว่าความแก้ต่างแก่จำเลยในศาลชั้นต้นและจำเลยจะต้องใช้สินจ้างแก่โจทก์เมื่อรับมอบการที่ทำ กรณีตามสัญญานี้ก็คือเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้ว แสดงว่าโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องจากจำเลยได้เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้ว
ส่วนที่สัญญาจ้างว่าความระบุไว้ว่าจำเลยตกลงจะได้ทำการขายที่ดินโดยเร็วโดยตั้งราคาไว้เป็นเงิน 3,500,000 บาท ซึ่งจำเลยผู้ว่าจ้างตกลงจะจ่ายเป็นค่าจ้างว่าความให้โจทก์เป็นเงิน 500,000 บาท หากขายได้ราคาต่ำกว่าข้างต้น จำเลยตกลงจะจ่ายเป็นค่าจ้างว่าความเท่ากับ 10 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนเงินที่ขายที่ดินดังกล่าวได้ทั้งหมด แต่ไม่ว่าจะขายที่ดินได้เท่าใด ค่าจ้างว่าความจะไม่ต่ำกว่า 280,000 บาท นั้น เป็นแต่เพียงการกำหนดจำนวนค่าจ้างว่าความว่าควรจะเป็นเท่าใดเท่านั้น โดยถือเอาจำนวนราคาขายที่ดินที่พิพาทในคดีที่ว่าจ้างเป็นตัวกำหนด แต่หากกำหนดไม่ได้ก็ต้องถือว่าค่าจ้างว่าความมีจำนวน 280,000 บาทเท่านั้น โดยมิได้มีกำหนดเวลาชำระค่าจ้างว่าความไว้ในสัญญาจ้างว่าความแต่อย่างใดดังนั้น เมื่อโจทก์ได้ทำการตามสัญญาจ้างว่าความเสร็จสิ้น คือ ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้ว สิทธิที่โจทก์จะเรียกเอาสินจ้างย่อมเกิดขึ้นทันที ฉะนั้น สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการเรียกเอาค่าจ้างว่าความจากจำเลยจึงต้องเริ่มนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีคือวันที่ 31 กรกฎาคม 2535 เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยในวันที่ 5 กันยายน2537 อันเป็นระยะเวลาเกินกว่า 2 ปี นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้วฟ้องของโจทก์ย่อมขาดอายุความ
สัญญาที่โจทก์รับจ้างว่าความแก่จำเลยเป็นสัญญาจ้างทำของซึ่งการเริ่มนับอายุความในการเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ค่าว่าความมีบัญญัติไว้ในป.พ.พ.มาตรา 193/12 ว่า "อายุความให้เริ่มนับเริ่มแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป..." และมาตรา 602 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "อันสินจ้างนั้นพึงใช้ให้เมื่อรับมอบการที่ทำ" โดยการที่ทำในคดีนี้คือการที่โจทก์เป็นทนายความว่าความแก้ต่างแก่จำเลยในศาลชั้นต้นและจำเลยจะต้องใช้สินจ้างแก่โจทก์เมื่อรับมอบการที่ทำ กรณีตามสัญญานี้ก็คือเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้ว แสดงว่าโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องจากจำเลยได้เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้ว
ส่วนที่สัญญาจ้างว่าความระบุไว้ว่าจำเลยตกลงจะได้ทำการขายที่ดินโดยเร็วโดยตั้งราคาไว้เป็นเงิน 3,500,000 บาท ซึ่งจำเลยผู้ว่าจ้างตกลงจะจ่ายเป็นค่าจ้างว่าความให้โจทก์เป็นเงิน 500,000 บาท หากขายได้ราคาต่ำกว่าข้างต้น จำเลยตกลงจะจ่ายเป็นค่าจ้างว่าความเท่ากับ 10 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนเงินที่ขายที่ดินดังกล่าวได้ทั้งหมด แต่ไม่ว่าจะขายที่ดินได้เท่าใด ค่าจ้างว่าความจะไม่ต่ำกว่า 280,000 บาท นั้น เป็นแต่เพียงการกำหนดจำนวนค่าจ้างว่าความว่าควรจะเป็นเท่าใดเท่านั้น โดยถือเอาจำนวนราคาขายที่ดินที่พิพาทในคดีที่ว่าจ้างเป็นตัวกำหนด แต่หากกำหนดไม่ได้ก็ต้องถือว่าค่าจ้างว่าความมีจำนวน 280,000 บาทเท่านั้น โดยมิได้มีกำหนดเวลาชำระค่าจ้างว่าความไว้ในสัญญาจ้างว่าความแต่อย่างใดดังนั้น เมื่อโจทก์ได้ทำการตามสัญญาจ้างว่าความเสร็จสิ้น คือ ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้ว สิทธิที่โจทก์จะเรียกเอาสินจ้างย่อมเกิดขึ้นทันที ฉะนั้น สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการเรียกเอาค่าจ้างว่าความจากจำเลยจึงต้องเริ่มนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีคือวันที่ 31 กรกฎาคม 2535 เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยในวันที่ 5 กันยายน2537 อันเป็นระยะเวลาเกินกว่า 2 ปี นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้วฟ้องของโจทก์ย่อมขาดอายุความ