พบผลลัพธ์ทั้งหมด 636 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 717/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์มรดก: เจ้าหนี้มีสิทธิยึดที่ดินที่เป็นทรัพย์มรดกของลูกหนี้ แม้ยังมิได้แบ่งปัน
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ จ. เมื่อ จ.ถึงแก่กรรมไปโดยมิได้ทำพินัยกรรมยกให้ผู้ใด ที่ดินพิพาทจึงย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยสิทธิตามกฎหมายรวมทั้งจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่งของ จ. จำเลยที่ 2 จึงมีส่วนเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทแปลงนี้ด้วย เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการยึดที่ดินพิพาทเพื่อบังคับคดีตามที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอ้างว่าเป็นของจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้ อันเป็นการยึดทรัพย์สินโดยชอบแล้ว แม้ที่ดินพิพาทยังมิได้แบ่งปันกันระหว่างจำเลยที่ 2 กับทายาทอื่นก็ไม่ทำให้การยึดทรัพย์ต้องเสียไปเพราะเป็นเรื่องที่ทายาทอื่น ๆ จะร้องขอส่วนแบ่งหรือร้องขอให้กันเงินส่วนของตนออกเมื่อขายทรัพย์แล้วต่อไป โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 2ย่อมมีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ได้ จึงไม่มีเหตุผลใดที่จะไม่อนุญาตขายทอดตลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 527/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมยกทรัพย์มรดกทั้งหมดตัดสิทธิทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1608 วรรคสอง
พินัยกรรมของพ. มีข้อความว่าเมื่อข้าพเจ้าเสียชีวิตลงให้ทรัพย์มรดกของข้าพเจ้าแก่จำเลยแต่เพียงผู้เดียวคำว่าทรัพย์มรดกของข้าพเจ้าแสดงว่าต้องการยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้แก่จำเลยแต่เพียงผู้เดียวแม้ในตอนท้ายของพินัยกรรมจะระบุเลขที่โฉนดที่ดินทรัพย์มรดกไว้ด้วยก็ไม่ทำให้ทรัพย์มรดกอื่นที่มิได้แจ้งรายละเอียดไว้ในพินัยกรรมเป็นทรัพย์มรดกนอกพินัยกรรมไปได้เมื่อพ. ทำพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่จำเลยแล้วจึงถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมถูกตัดมิให้รับมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1608วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 519/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์: การพิสูจน์ความเป็นเจ้าของทรัพย์และการกระทำโดยทุจริต
การที่พนักงานสอบสวนให้ผู้เสียหายแสดงวิธีวาดอวนหรือผูกอวนติดกับทุ่นเพื่อทำการวาดภาพไว้เป็นหลักฐานเป็นวิธีการสอบสวนเพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิดและเพื่อที่จะเอาตัวผู้กระทำผิดมาฟ้องลงโทษไม่จำเป็นต้องกระทำต่อหน้าจำเลย ในชั้นสอบสวนจำเลยโต้เถียงว่าอวนของกลางเป็นของจำเลยโดยมิได้บอกว่าอวนของกลางมีตำหนิพิเศษอย่างไรที่แสดงว่าเป็นของจำเลยหรือนำอวนของจำเลยมาเปรียบเทียบกับอวนของกลางว่ามีลักษณะอย่างเดียวกันกับของจำเลยแม้ในชั้นศาลจำเลยก็มิได้พิสูจน์ให้เห็นว่าอวนของกลางเป็นของจำเลยแต่กลับอ้างว่าอวนที่โจทก์อ้างส่งเป็นพยานวัตถุเป็นอวนของผู้เสียหายที่นำมามอบให้พนักงานสอบสวนในภายหลังส่วนอวนของกลางที่ยึดได้เป็นของจำเลยมีเศษปูติดอยู่และยังคงเก็บอยู่ที่สถานีตำรวจซึ่งในข้อนี้พนักงานสอบสวนเบิกความยืนยันว่าอวนที่โจทก์อ้างส่งเป็นพยานวัตถุต่อศาลเป็นอวนของกลางที่ยึดได้จากจำเลยโดยไม่ปรากฎว่ายังมีอวนของกลางเก็บอยู่ที่สถานีตำรวจอีกข้อกล่าวอ้างลอยๆของจำเลยไม่มีน้ำหนักหักล้างพยานโจทก์ได้ส่วนที่จำเลยอ้างว่าอวนของกลางมีลักษณะการเย็บอวนหรือเข้าอวนไม่เหมือนกับของผู้เสียหายและไม่มีทุ่นปิดนั้นย่อมเห็นได้ชัดว่าเมื่อจำเลยสาวอวนขึ้นเรือจำเลยน่าจะทราบดีว่าอวนดังกล่าวเป็นของผู้อื่นมิใช่ของตนประกอบกับตามพฤติการณ์แห่งคดีฟังไม่ได้ว่าจำเลยเอาอวนของผู้เสียหายไปโดยสำคัญผิดว่าเป็นอวนของตนเองหรือเป็นการเอาไปโดยถือวิสาสะหากแต่เป็นการเอาไปในลักษณะแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายถือได้ว่าเป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยทุจริตจำเลยจึงมีความผิดฐานลักทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 349/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองบุตรบุญธรรม: ผลการรับบุตรบุญธรรมและการกลับคืนสู่บิดามารดาโดยกำเนิด
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1598/28 เมื่อมีการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม บิดามารดาโดยกำเนิดของบุตรบุญธรรมนั้นย่อมหมดอำนาจปกครองไปตั้งแต่วันเวลาที่เป็นบุตรบุญธรรมแล้ว ดังนั้นเมื่อผู้ร้องยกเด็กชาย ส.ให้เป็นบุตรบุญธรรมแก่ร้อยตรี บ.แล้ว ผู้ร้องกับ อ.ซึ่งเป็นบิดามารดาโดยกำเนิดของเด็กชายส.ก็หมดอำนาจปกครองนับแต่วันเวลาที่เด็กชาย ส.เป็นบุตรบุญธรรมของร้อยตรี บ.และแม้ภายหลังร้อยตรี บ.ถึงแก่กรรม ก็หาได้มีผลทำให้การรับบุตรบุญธรรมต้องเลิกหรือสิ้นสุดไปด้วยไม่ เด็กชาย ส.ยังคงเป็นบุตรบุญธรรมของร้อยตรี บ.อยู่ ผู้ร้องกับ อ.หาได้กลับมีอำนาจปกครองขึ้นมาใหม่ได้ไม่ อำนาจปกครองของบิดามารดาโดยกำเนิดจะกลับคืนมาก็ต่อเมื่อมีการเลิกรับบุตรบุญธรรมตาม ป.พ.พ.มาตรา1598/37 เท่านั้น เมื่อเด็กชาย ส.บุตรผู้เยาว์ไม่มีผู้ปกครองและผู้ร้องกับ อ.ก็มิใช่เป็นผู้ได้อำนาจปกครองเด็กชาย ส.กลับคืนมาเช่นนี้ จึงมีความจำเป็นที่ผู้ร้องจะต้องใช้สิทธิทางศาลยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้มีอำนาจปกครองเด็กชาย ส.ได้เมื่อผู้ร้องเป็นบิดาโดยกำเนิดและโดยชอบด้วยกฎหมายของเด็กชาย ส.บุตรผู้เยาว์ศาลฎีกาเห็นสมควรตั้งผู้ร้องให้เป็นผู้มีอำนาจปกครองเด็กชาย ส.บุตรผู้เยาว์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 349/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองบุตรบุญธรรม: การสิ้นสุดและกลับคืนสู่บิดามารดาโดยกำเนิดเมื่อผู้รับบุตรบุญธรรมถึงแก่กรรม
เมื่อมีการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมบิดามารดาโดยกำเนิดของบุตรบุญธรรมย่อมหมดอำนาจปกครองไปตั้งแต่เวลาที่เป็นบุตรบุญธรรมแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1598/28ดังนั้นเมื่อผู้ร้องยกส. ให้เป็นบุตรบุญธรรมแก่บ. แล้วผู้ร้องกับอ. ซึ่งเป็นบิดามารดาโดยกำเนิดของส. ก็หมดอำนาจปกครองนับแต่เวลาที่ส. เป็นบุตรบุญธรรมของบ. แม้ภายหลังบ.ถึงแก่กรรมก็ไม่มีผลทำให้การรับบุตรบุญธรรมต้องเลิกหรือสิ้นสุดไปด้วยส. ยังคงเป็นบุตรบุญธรรมของบ. อยู่ผู้ร้องกับอ.หาได้กลับมีอำนาจปกครองขึ้นมาใหม่ไม่อำนาจปกครองของบิดามารดาโดยกำเนิดจะกลับคืนมาก็ต่อเมื่อมีการเลิกรับบุตรบุญธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1598/37เท่านั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าส. บุตรผู้เยาว์ไม่มีผู้ปกครองและผู้ร้องกับอ. ก็มิใช่เป็นผู้ได้อำนาจปกครองส. กลับคืนมาจึงมีความจำเป็นที่ผู้ร้องจะต้องใช้สิทธิทางศาลยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้มีอำนาจปกครองส. ได้เมื่อผู้ร้องเป็นบิดาโดยกำเนิดและโดยชอบด้วยกฎหมายของส. จึงเห็นสมควรตั้งผู้ร้องให้เป็นผู้มีอำนาจปกครองส. บุตรผู้เยาว์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 349/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองบุตรบุญธรรม: บิดามารดาโดยกำเนิดหมดอำนาจเมื่อรับบุตรบุญธรรม และไม่กลับคืนมาจนกว่าจะมีการเลิกรับบุตรบุญธรรม
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1598/28เมื่อมีการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมบิดามารดาโดยกำเนิดของบุตรบุญธรรมนั้นย่อมหมดอำนาจปกครองไปตั้งแต่วันเวลาที่เป็นบุตรบุญธรรมแล้วดังนั้นเมื่อผู้ร้องยกเด็กชายส. ให้เป็นบุตรบุญธรรมแก่ร้อยตรีบ. แล้วผู้ร้องกับอ. ซึ่งเป็นบิดามารดาโดยกำเนิดของเด็กชายส. ก็หมดอำนาจปกครองนับแต่วันเวลาที่เด็กชายส.เป็นบุตรบุญธรรมของร้อยตรีบ. และแม้ภายหลังร้อยตรีบ. ถึงแก่กรรมก็หาได้มีผลทำให้การรับบุตรบุญธรรมต้องเลิกหรือสิ้นสุดไปด้วยไม่เด็กชายส. ยังคงเป็นบุตรบุญธรรมของร้อยตรีบ. อยู่ผู้ร้องกับอ. หาได้กลับมีอำนาจปกครองขึ้นมาใหม่ได้ไม่อำนาจปกครองของบิดามารดาโดยกำเนิดจะกลับคืนมาก็ต่อเมื่อมีการเลิกรับบุตรบุญธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1598/37เท่านั้นเมื่อเด็กชายส. บุตรผู้เยาว์ไม่มีผู้ปกครองและผู้ร้องกับอ. ก็มิใช่เป็นผู้ได้อำนาจปกครองเด็กชายส. กลับคืนมาเช่นนี้จึงมีความจำเป็นที่ผู้ร้องจะต้องใช้สิทธิทางศาลยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้มีอำนาจปกครองเด็กชายส. ได้เมื่อผู้ร้องเป็นบิดาโดยกำเนิดและโดยชอบด้วยกฎหมายของเด็กชายส. บุตรผู้เยาว์ศาลฎีกาเห็นสมควรตั้งผู้ร้องให้เป็นผู้มีอำนาจปกครองเด็กชายส. บุตรผู้เยาว์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 287/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความผิดฐานรับของโจร โจทก์ต้องพิสูจน์ว่าจำเลยรู้ว่าทรัพย์สินนั้นได้มาจากการกระทำความผิด
คดีเกี่ยวกับความผิดฐานรับของโจรนั้นข้อสำคัญโจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบให้เห็นว่าจำเลยรับทรัพย์ไว้โดยรู้ว่าเป็นทรัพย์สินอันได้มาโดยการกระทำความผิดกรณีของจำเลยเมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมายืนยันให้เห็นว่าจำเลยได้รับรถจักรยานยนต์ซึ่งเป็นทรัพย์ของผู้เสียหายที่ถูกคนร้ายลักเอาไปไว้โดยรู้ว่าเป็นทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิดจะอาศัยพฤติการณ์ที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายมาจากบ้านของส. โดยคิดหรือคาดคะเนเอาว่าจำเลยได้ครอบครองหรือช่วยจำหน่ายรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายแล้วฟังประกอบบันทึกการตรวจยึดว่าจำเลยมีรถจักรยานยนต์อันเป็นทรัพย์ที่ได้มาโดยการกระทำความผิดนั้นหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 238/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ดิน: การผิดสัญญาขั้นตอนสำคัญและสิทธิในการบังคับตามสัญญา
ตามสัญญาเช่าที่ดินมีลำดับขั้นตอนของการปฏิบัติตามสัญญาว่าชั้นแรกตามสัญญาข้อ 3 จำเลยทั้งสามจะต้องจัดการให้ผู้เช่าหรือผู้อาศัยเดิมและบริวารออกไปจากที่ดินรวมทั้งรื้อถอนอาคารตึกแถวและบ้านของจำเลยทั้งสามออกไปจากที่ดินให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2534 เสียก่อน หลังจากนั้นก็ส่งมอบที่ดินที่เช่าให้แก่โจทก์พร้อมจดทะเบียนการเช่า ส่วนโจทก์ก็ต้องชำระเงินค่าเซ้งส่วนที่เหลืออีกจำนวน 8,000,000 บาท ให้แก่จำเลยทั้งสามในวันจดทะเบียนการเช่าการที่จำเลยยังมิได้จัดการให้ผู้เช่าหรือผู้อาศัยเดิมรวมทั้งบริวารออกจากที่ดินและยังมิได้รื้อถอนอาคารตึกแถวรวมทั้งบ้านของจำเลยทั้งสามออกจากที่ดินภายในวันที่ 31ธันวาคม 2534 แสดงว่าจำเลยยังมิได้ปฏิบัติตามสัญญาเช่าที่ดินข้อ 3 ซึ่งเป็นสาระ-สำคัญของสัญญา จำเลยทั้งสามจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่า ส่วนภายหลังจากที่จำเลยทั้งสามผิดสัญญาเช่าแล้ว แม้ต่อมาจำเลยทั้งสามจะนัดให้โจทก์ไปจดทะเบียนการเช่าในวันที่ 31 มกราคม 2535 พร้อมทั้งให้โจทก์ชำระค่าเซ้งส่วนที่เหลืออีกจำนวน8,000,000 บาท แต่โจทก์ไม่ยอมจดทะเบียนการเช่าและไม่ยอมชำระเงินค่าเซ้งส่วนที่เหลือ ก็ไม่ถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าเพราะจำเลยทั้งสามยังมิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนของสัญญาเช่าที่ดินข้อ 3
เมื่อจำเลยทั้งสามเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าที่ดิน และตามสัญญาเช่าที่ดินได้ระบุไว้ว่า เมื่อครบ 30 ปี ตามสัญญาเช่าแล้ว ผู้เช่ายอมให้อาคารและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดที่อยู่ในที่ดินตกเป็นของผู้ให้เช่าทันทีโดยปราศจากภาระผูกพันใด ๆ ทั้งสิ้น สัญญาเช่าที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสามจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาแม้จะทำสัญญาเช่าที่ดินเกินกว่า 3 ปี แต่ยังมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ผูกพันบังคับกันได้ โจทก์จึงมีสิทธิบังคับให้จำเลยทั้งสามปฏิบัติตามสัญญาเช่าที่ดินได้
เมื่อจำเลยทั้งสามเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าที่ดิน และตามสัญญาเช่าที่ดินได้ระบุไว้ว่า เมื่อครบ 30 ปี ตามสัญญาเช่าแล้ว ผู้เช่ายอมให้อาคารและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดที่อยู่ในที่ดินตกเป็นของผู้ให้เช่าทันทีโดยปราศจากภาระผูกพันใด ๆ ทั้งสิ้น สัญญาเช่าที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสามจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาแม้จะทำสัญญาเช่าที่ดินเกินกว่า 3 ปี แต่ยังมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ผูกพันบังคับกันได้ โจทก์จึงมีสิทธิบังคับให้จำเลยทั้งสามปฏิบัติตามสัญญาเช่าที่ดินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 207/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพยายามฆ่า: การที่อาวุธปืนแก๊ปยาวไม่ลั่นเนื่องจากไม่มีแก๊ป เป็นเหตุให้การกระทำไม่บรรลุผล
อาวุธปืนที่จำเลยใช้ยิงเป็นอาวุธปืนแก๊ปยาว โดยปกติการใช้อาวุธปืนดังกล่าว ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้กระสุนปืนลั่นออกได้คือแก๊ปสำหรับจุดระเบิดหากไม่มีการใส่แก๊ปก็ไม่สามารถทำให้กระสุนปืนลั่นออกได้เลย แม้จำเลยจะได้ใช้อาวุธปืนแก๊ปยาวยิงผู้เสียหายโดยมีเจตนาฆ่า แต่ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า อาวุธปืนที่จำเลยใช้ยิงมีการใส่แก๊ปปืนไว้แล้ว ดังนี้กระสุนปืนจึงไม่อาจลั่นออกได้อย่างแน่นอนการกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำที่ไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้เพราะเหตุปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำ เป็นความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 81 วรรคหนึ่ง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 81 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ลงโทษไม่เกินกึ่งหนึ่งของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ซึ่งกำหนดโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ 15 ปี ถึง 20 ปี การคำนวณโทษกึ่งหนึ่งของโทษประหารชีวิตหรือโทษจำคุกตลอดชีวิต กฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้จึงต้องนำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 52(2) และ 53 มาใช้เป็นหลักในการกำหนดโทษ เมื่อคำนวณแล้วย่อมมากกว่าโทษกึ่งหนึ่งของโทษจำคุกตั้งแต่ 15 ปี ถึง 20 ปี ส่วนโทษกึ่งหนึ่งของโทษจำคุกตั้งแต่15 ปี ถึง 20 ปี ก็คือโทษจำคุกตั้งแต่ 7 ปี 6 เดือน ถึง 10 ปีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยก่อนลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 จำคุก 2 ปี เป็นการลงโทษไม่เกินกึ่งหนึ่งของโทษที่กำหนดไว้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบด้วยมาตรา 81 วรรคหนึ่ง หาใช่ว่าจะต้องกำหนดโทษจำคุกจำเลยไม่ต่ำกว่า7 ปี 6 เดือนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 207/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพยายามฆ่า: การขาดปัจจัยสำคัญ (แก๊ป) ทำให้การกระทำไม่บรรลุผลทางอาญา
อาวุธปืนที่จำเลยใช้ยิงเป็นอาวุธปืนแก๊ปยาวโดยปกติการใช้อาวุธปืนดังกล่าวปัจจัยสำคัญที่จะทำให้กระสุนปืนลั่นออกได้คือแก๊ปสำหรับจุดระเบิดหากไม่มีการใส่แก๊ปก็ไม่สามารถทำให้กระสุนปืนลั่นออกได้เลยแม้จำเลยจะได้ใช้อาวุธปืนแก๊ปยาวยิงผู้เสียหายโดยมีเจตนาฆ่าแต่ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าอาวุธปืนที่จำเลยใช้ยิงมีการใส่แก๊ปปืนไว้แล้วดังนี้กระสุนปืนจึงไม่อาจลั่นออกได้อย่างแน่นอนการกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำที่ไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้เพราะเหตุปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา288ประกอบมาตรา81วรรคหนึ่ง ประมวลกฎหมายอาญามาตรา81วรรคหนึ่งกำหนดให้ลงโทษไม่เกินกึ่งหนึ่งของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา288ซึ่งกำหนดโทษประหารชีวิตจำคุกตลอดชีวิตหรือจำคุกตั้งแต่15ปีถึง20ปีการคำนวณโทษกึ่งหนึ่งของโทษประหารชีวิตหรือโทษจำคุกตลอดชีวิตกฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้จึงต้องนำประมวลกฎหมายอาญามาตรา52(2)และ53มาใช้เป็นหลักในการกำหนดโทษเมื่อคำนวณแล้วย่อมมากกว่าโทษกึ่งหนึ่งของโทษจำคุกตั้งแต่15ปีถึง20ปีส่วนโทษกึ่งหนึ่งของโทษจำคุกตั้งแต่15ปีถึง20ปีก็คือโทษจำคุกตั้งแต่7ปี6เดือนถึง10ปีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยก่อนลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา78จำคุก2ปีเป็นการลงโทษไม่เกินกึ่งหนึ่งของโทษที่กำหนดไว้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา288ประกอบด้วยมาตรา81วรรคหนึ่งหาใช่ว่าจะต้องกำหนดโทษจำคุกจำเลยไม่ต่ำกว่า7ปี6เดือนไม่