พบผลลัพธ์ทั้งหมด 636 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 207/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพยายามฆ่าเมื่ออาวุธปืนไม่สามารถใช้งานได้จริง การกำหนดโทษตาม ป.อ.มาตรา 81
อาวุธปืนที่จำเลยใช้ยิงเป็นอาวุธปืนแก๊ปยาว โดยปกติการใช้อาวุธปืนดังกล่าว ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้กระสุนปืนลั่นออกได้คือแก๊ปสำหรับจุดระเบิดหากไม่มีการใส่แก๊ปก็ไม่สามารถทำให้กระสุนปืนลั่นออกได้เลย แม้จำเลยจะได้ใช้อาวุธปืนแก๊ปยาวยิงผู้เสียหายโดยมีเจตนาฆ่า แต่ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า อาวุธปืนที่จำเลยใช้ยิงมีการใส่แก๊ปปืนไว้แล้ว ดังนี้กระสุนปืนจึงไม่อาจลั่นออกได้อย่างแน่นอนการกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำที่ไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้เพราะเหตุปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำ เป็นความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ.มาตรา 288ประกอบมาตรา 81 วรรคหนึ่ง
ป.อ.มาตรา 81 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ลงโทษไม่เกินกึ่งหนึ่งของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น ความผิดตาม ป.อ.มาตรา 288 ซึ่งกำหนดโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ 15 ปี ถึง 20 ปี การคำนวณโทษกึ่งหนึ่งของโทษประหารชีวิตหรือโทษจำคุกตลอดชีวิต กฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้จึงต้องนำ ป.อ.มาตรา 52 (2) และ 53 มาใช้เป็นหลักในการกำหนดโทษ เมื่อคำนวณแล้วย่อมมากกว่าโทษกึ่งหนึ่งของโทษจำคุกตั้งแต่ 15 ปี ถึง 20 ปี ส่วนโทษกึ่งหนึ่งของโทษจำคุกตั้งแต่ 15 ปี ถึง 20 ปี ก็คือโทษจำคุกตั้งแต่ 7 ปี 6 เดือนถึง 10 ปี ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยก่อนลดโทษตาม ป.อ.มาตรา 78จำคุก 2 ปี เป็นการลงโทษไม่เกินกึ่งหนึ่งของโทษที่กำหนดไว้ ตาม ป.อ.มาตรา288 ประกอบด้วยมาตรา 81 วรรคหนึ่ง หาใช่ว่าจะต้องกำหนดโทษจำคุกจำเลยไม่ต่ำกว่า 7 ปี 6 เดือนไม่
ป.อ.มาตรา 81 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ลงโทษไม่เกินกึ่งหนึ่งของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น ความผิดตาม ป.อ.มาตรา 288 ซึ่งกำหนดโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ 15 ปี ถึง 20 ปี การคำนวณโทษกึ่งหนึ่งของโทษประหารชีวิตหรือโทษจำคุกตลอดชีวิต กฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้จึงต้องนำ ป.อ.มาตรา 52 (2) และ 53 มาใช้เป็นหลักในการกำหนดโทษ เมื่อคำนวณแล้วย่อมมากกว่าโทษกึ่งหนึ่งของโทษจำคุกตั้งแต่ 15 ปี ถึง 20 ปี ส่วนโทษกึ่งหนึ่งของโทษจำคุกตั้งแต่ 15 ปี ถึง 20 ปี ก็คือโทษจำคุกตั้งแต่ 7 ปี 6 เดือนถึง 10 ปี ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยก่อนลดโทษตาม ป.อ.มาตรา 78จำคุก 2 ปี เป็นการลงโทษไม่เกินกึ่งหนึ่งของโทษที่กำหนดไว้ ตาม ป.อ.มาตรา288 ประกอบด้วยมาตรา 81 วรรคหนึ่ง หาใช่ว่าจะต้องกำหนดโทษจำคุกจำเลยไม่ต่ำกว่า 7 ปี 6 เดือนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีธุรกิจเฉพาะ: ผู้ขายที่ดินต้องรับผิดชอบ แม้สัญญาจะแบ่งจ่ายค่าภาษีกับผู้ซื้อ
แม้สัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลพิพากษาตามยอมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ข้อ 1 ตอนท้ายระบุว่า "...หากจำเลยที่ 2 ชำระเงินให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว โจทก์จะจัดการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ภายใน15 วัน นับแต่วันที่ชำระเงินครบถ้วน ส่วนค่าฤชาธรรมเนียม ค่าภาษีอากรในการโอนทั้งหมด และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการโอนกรรมสิทธิ์นั้น โจทก์กับจำเลยที่ 2ออกกันคนละครึ่ง"ก็ตาม แต่ภาษีธุรกิจเฉพาะมิใช่ค่าใช้จ่ายในการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแต่เป็นภาษีอากรตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/2 (6) ประกอบกับ พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วย การขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร(ฉบับที่ 244) พ.ศ.2534 บังคับให้ผู้ประกอบกิจการขายอสังหาริมทรัพย์ตกอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ซึ่งภาษีประเภทนี้มิใช่เป็นภาษีหัก ณ ที่จ่าย แต่เป็นหน้าที่ของผู้ประกอบกิจการจะต้องไปยื่นชำระภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/10 เมื่อโจทก์เป็นผู้ประกอบกิจการขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอม โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องเป็นผู้รับผิดชำระค่าภาษีธุรกิจเฉพาะซึ่งเกิดจากลักษณะการประกอบกิจการของโจทก์เอง แม้สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2กำหนดให้ค่าภาษีอากรในการโอนทั้งหมดออกกันคนละครึ่ง ก็จะแปลให้จำเลยที่ 2ต้องชำระค่าภาษีธุรกิจเฉพาะครึ่งหนึ่งด้วยไม่ได้ เพราะเท่ากับให้จำเลยที่ 2 ต้องชำระภาษีในกิจการของโจทก์นอกเหนือไปจากภาษีที่ต้องจ่ายในขณะที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ตามข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีธุรกิจเฉพาะไม่ใช่ค่าใช้จ่ายโอนกรรมสิทธิ์ ผู้ขายมีหน้าที่ชำระ แม้สัญญาจะระบุให้แบ่งจ่าย
ภาษีธุรกิจเฉพาะมิใช่ค่าใช้จ่ายในการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแต่เป็นภาษีอากรที่ประมวลรัษฎากรมาตรา91/2(6)บังคับให้ผู้ประกอบกิจการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นผู้เสียและมิใช่ภาษีหักณที่จ่ายแต่เป็นหน้าที่ของผู้ประกอบกิจการจะต้องไปยื่นชำระภายในวันที่15ของเดือนถัดไปตามมาตรา91/10โจทก์เป็นผู้ขายที่ดินให้แก่จำเลยโจทก์จึงเป็นผู้รับผิดชำระค่าภาษีธุรกิจเฉพาะแม้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลพิพากษาตามยอมโจทก์และจำเลยจะตกลงกันให้ค่าภาษีอากรในการโอนทั้งหมดออกกันคนละครึ่งก็จะแปลให้จำเลยต้องชำระค่าภาษีธุรกิจเฉพาะครึ่งหนึ่งด้วยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีธุรกิจเฉพาะไม่ใช่ค่าใช้จ่ายในการโอนกรรมสิทธิ์ ผู้ขายมีหน้าที่ชำระเอง แม้สัญญาจะระบุให้แบ่งจ่าย
ภาษีธุรกิจเฉพาะมิใช่ค่าใช้จ่ายในการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแต่เป็นภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมาตรา91/2(6)ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร(ฉบับที่244)พ.ศ.2534ซึ่งบังคับให้ผู้ประกอบกิจการขายอสังหาริมทรัพย์ตกอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะซึ่งภาษีประเภทนี้มิใช่เป็นภาษีหักณที่จ่ายแต่เป็นหน้าที่ของผู้ประกอบกิจการจะต้องไปยื่นชำระภายในวันที่15ของเดือนถัดไปตามประมวลรัษฎากรมาตรา91/10เมื่อโจทก์เป็นผู้ประกอบกิจการขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่2ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องเป็นผู้รับผิดชอบชำระค่าภาษีธุรกิจเฉพาะซึ่งเกิดจากลักษณะการประกอบกิจการของโจทก์เองแม้สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยที่2กำหนดให้ค่าภาษีอากรในการโอนทั้งหมดออกกันคนละครึ่งก็จะแปลให้จำเลยที่2ต้องชำระค่าภาษีธุรกิจเฉพาะครึ่งหนึ่งด้วยไม่ได้เพราะเท่ากับให้จำเลยที่2ต้องชำระภาษีในกิจการของโจทก์นอกเหนือไปจากภาษีที่ต้องจ่ายในขณะที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10225/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: จำเลยผิดสัญญาเนื่องจากเสียสิทธิครอบครองจากคดีแย่งครอบครอง ทำให้ไม่สามารถโอนได้ โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
ตามข้อ2ของสัญญาจะซื้อจะขายเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องชำระราคาที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยส่วนจำเลยมีหน้าที่ส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยปลอดจากภาระผูกพันหากมีผู้บุกรุกที่ดินพิพาทจำเลยก็ต้องฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกให้ออกไปจากที่ดินพิพาทสำหรับสัญญาข้อ3ที่โจทก์ตกลงจะออกค่าใช้จ่ายในการดำเนินการฟ้องร้องให้จำเลยนั้นข้อสัญญาดังกล่าวมิได้เกี่ยวกับการซื้อขายที่ดินพิพาทมิได้เป็นสาระสำคัญของสัญญาแต่เป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยต่างหากจากข้อสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกล่าวคือหากโจทก์ไม่ออกค่าใช้จ่ายในการฟ้องร้องให้แก่จำเลยจำเลยก็ยังมีหน้าที่ต้องฟ้องร้องผู้บุกรุกให้ออกไปจากที่ดินพิพาทเพื่อนำที่ดินพิพาทส่งมอบให้โจทก์เช่นเดิมหากจำเลยเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีไปเป็นจำนวนเท่าใดแล้วโจทก์ไม่ชำระจำเลยก็มีสิทธิเรียกร้องเงินจำนวนนี้จากโจทก์ได้ดังนั้นแม้จำเลยยื่นฎีกาในคดีที่จำเลยฟ้องขับไล่ผู้ร้องสอดโดยโจทก์มิได้ออกค่าใช้จ่ายในชั้นฎีกาให้ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขาย ก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้จำเลยได้ฟ้องขับไล่ผู้ร้องสอดออกจากที่ดินพิพาทผู้ร้องสอดให้การต่อสู้คดีว่าผู้ร้องสอดทั้งสองได้ครอบครองที่ดินพิพาทจนได้สิทธิครอบครองแล้วจำเลยหมดสิทธิเรียกคืนคดีดังกล่าวศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุดจากผลของคำพิพากษาอันถึงที่สุดของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวจำเลยจึงไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทอีกต่อไปและไม่อาจโอนสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายได้แม้จำเลยจะยังมีชื่อในที่ดินน.ส.3ที่พิพาทและผู้ร้องสอดได้ออกไปจากที่ดินพิพาทแล้วก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทแก่จำเลยแต่อย่างใดและเมื่อจำเลยไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายและกรณีเช่นนี้ก็มิได้เกิดขึ้นเพราะความผิดของโจทก์แต่เป็นความผิดของจำเลยเองจำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดสัญญาจะซื้อจะขายโจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายกับจำเลยโดยรู้อยู่แล้วว่าขณะนั้นผู้ร้องสอดได้แย่งสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยอยู่แสดงว่าโจทก์เข้าทำสัญญาจะซื้อจะขายโดยเสี่ยงภัยเองเพราะรู้อยู่ว่าหากจำเลยแพ้คดีจำเลยก็ไม่อาจโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ได้เมื่อค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมาสูงเกินไปและโจทก์มิได้นำสืบให้ปรากฎว่าโจทก์เสียหายเป็นจำนวนเท่าใดศาลย่อมกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ตามจำนวนที่เหมาะสมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10225/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขาย: ความผิดของผู้ขายที่ไม่สามารถส่งมอบที่ดินได้เนื่องจากสิทธิครอบครองของผู้อื่น
ตามข้อ ๒ ของสัญญาจะซื้อจะขายเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องชำระราคาที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย ส่วนจำเลยมีหน้าที่ส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยปลอดจากภาระผูกพัน หากมีผู้บุกรุกที่ดินพิพาทจำเลยก็ต้องฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกให้ออกไปจากที่ดินพิพาท สำหรับสัญญาข้อ ๓ ที่โจทก์ตกลงจะออกค่าใช้จ่ายในการดำเนินการฟ้องร้องให้จำเลยนั้น ข้อสัญญาดังกล่าวมิได้เกี่ยวกับการซื้อขายที่ดินพิพาท มิได้เป็นสาระสำคัญของสัญญา แต่เป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยต่างหากจากข้อสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท กล่าวคือหากโจทก์ไม่ออกค่าใช้จ่ายในการฟ้องร้องให้แก่จำเลย จำเลยก็ยังมีหน้าที่ต้องฟ้องร้องผู้บุกรุกให้ออกไปจากที่ดินพิพาทเพื่อนำที่ดินพิพาทส่งมอบให้โจทก์เช่นเดิม หากจำเลยเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีไปเป็นจำนวนเท่าใดแล้วโจทก์ไม่ชำระ จำเลยก็มีสิทธิเรียกร้องเงินจำนวนนี้จากโจทก์ได้ ดังนั้น แม้จำเลยยื่นฎีกาในคดีที่จำเลยฟ้องขับไล่ผู้ร้องสอดโดยโจทก์มิได้ออกค่าใช้จ่ายในชั้นฎีกาให้ ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขาย
ก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ จำเลยได้ฟ้องขับไล่ผู้ร้องสอดออกจากที่ดินพิพาท ผู้ร้องสอดให้การต่อสู้คดีว่า ผู้ร้องสอดทั้งสองได้ครอบครองที่ดินพิพาทจนได้สิทธิครอบครองแล้ว จำเลยหมดสิทธิเรียกคืน คดีดังกล่าวศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุด จากผลของคำพิพากษาอันถึงที่สุดของศาลอุทธรณ์ดังกล่าว จำเลยจึงไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทอีกต่อไปและไม่อาจโอนสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายได้ แม้จำเลยจะยังมีชื่อในที่ดิน น.ส.๓ ที่พิพาทและผู้ร้องสอดได้ออกไปจากที่ดินพิพาทแล้ว ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทแก่จำเลย /แต่แต่อย่างใด และเมื่อจำเลยไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขาย และกรณีเช่นนี้ก็มิได้เกิดขึ้นเพราะความผิดของโจทก์ แต่เป็นความผิดของจำเลยเอง จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายกับจำเลยโดยรู้อยู่แล้วว่าขณะนั้นผู้ร้องสอดได้แย่งสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยอยู่ แสดงว่าโจทก์เข้าทำสัญญาจะซื้อจะขายโดยเสี่ยงภัยเอง เพราะรู้อยู่ว่าหากจำเลยแพ้คดีจำเลยก็ไม่อาจโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ได้ เมื่อค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมาสูงเกินไป และโจทก์มิได้นำสืบให้ปรากฏว่าโจทก์เสียหายเป็นจำนวนเท่าใด ศาลย่อมกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ตามจำนวนที่เหมาะสมได้
ก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ จำเลยได้ฟ้องขับไล่ผู้ร้องสอดออกจากที่ดินพิพาท ผู้ร้องสอดให้การต่อสู้คดีว่า ผู้ร้องสอดทั้งสองได้ครอบครองที่ดินพิพาทจนได้สิทธิครอบครองแล้ว จำเลยหมดสิทธิเรียกคืน คดีดังกล่าวศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุด จากผลของคำพิพากษาอันถึงที่สุดของศาลอุทธรณ์ดังกล่าว จำเลยจึงไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทอีกต่อไปและไม่อาจโอนสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายได้ แม้จำเลยจะยังมีชื่อในที่ดิน น.ส.๓ ที่พิพาทและผู้ร้องสอดได้ออกไปจากที่ดินพิพาทแล้ว ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทแก่จำเลย /แต่แต่อย่างใด และเมื่อจำเลยไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขาย และกรณีเช่นนี้ก็มิได้เกิดขึ้นเพราะความผิดของโจทก์ แต่เป็นความผิดของจำเลยเอง จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายกับจำเลยโดยรู้อยู่แล้วว่าขณะนั้นผู้ร้องสอดได้แย่งสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยอยู่ แสดงว่าโจทก์เข้าทำสัญญาจะซื้อจะขายโดยเสี่ยงภัยเอง เพราะรู้อยู่ว่าหากจำเลยแพ้คดีจำเลยก็ไม่อาจโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ได้ เมื่อค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมาสูงเกินไป และโจทก์มิได้นำสืบให้ปรากฏว่าโจทก์เสียหายเป็นจำนวนเท่าใด ศาลย่อมกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ตามจำนวนที่เหมาะสมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9936/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินหลังหย่า: ที่ดินและบ้านที่ซื้อช่วงแต่งงานเป็นสินสมรส แม้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยกให้บุตรก็ไม่สมบูรณ์หากไม่จดทะเบียน
จำเลยเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทแต่ผู้เดียวตั้งแต่ซื้อมาจาก ท. ส่วนผู้ร้องมาลงชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมด้วยในภายหลังในฐานะคู่สมรส แสดงว่าจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาท ยิ่งกว่านี้ปรากฏตามทะเบียนสมรสและสารบาญ จดทะเบียนท้ายสำเนาโฉนดที่ดินอันเป็น เอกสารมหาชนเข้าข้อสันนิษฐานของกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127 ก็ปรากฏว่าจำเลยซื้อทรัพย์พิพาทมาจาก ท. เป็นช่วงเวลาที่จำเลยและผู้ร้องยังเป็นสามีภริยากันอยู่ ทรัพย์พิพาทจึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474(1) เมื่อหย่ากันตามคำพิพากษาต้องแบ่งทรัพย์สินที่จำเลยและผู้ร้องมีอยู่ ในวันฟ้องหย่าคนละส่วนเท่า ๆ กันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1532(ข),1533 ส่วนบ้านที่ปลูกอยู่บนที่ดินพิพาทเป็นส่วนควบของที่ดิน จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของร่วมในที่ดินพิพาทย่อมมีกรรมสิทธิ์ร่วมในบ้านที่เป็นส่วนควบของที่ดินพิพาทด้วย แม้จำเลยกับผู้ร้องทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยจำเลยยกที่ดินและบ้านซึ่งเป็นทรัพย์พิพาทในส่วนของจำเลยให้แก่บุตรและศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมแล้ว แต่ก็มิได้มีการจดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่การยกให้จึงไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299ทรัพย์พิพาทส่วนที่ยกให้บุตรยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยอยู่ประกอบกับการที่ผู้ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่มีการยึดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 ต้องเป็นกรณีที่กล่าวอ้างว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยมีส่วนเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ยึดอยู่ด้วย กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 ที่ผู้ร้องจะขอให้ศาลมีคำสั่งปล่อยทรัพย์พิพาทที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9309/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ในที่ดินมรดก: ผู้ครอบครองต้องมีกรรมสิทธิ์ในส่วนของตนเองและระยะเวลาครอบครองต้องครบ 10 ปี
เดิมที่ดินโฉนดเลขที่ 3644 เป็นกรรมสิทธิ์ของ ว.กับอ.เมื่อ ว.กับอ.ถึงแก่ความตายป.บุตรของว.กับ อ. และ จ. ภริยาของ ป. ได้ครอบครองที่ดินตามโฉนดที่ดินดังกล่าวเฉพาะส่วนด้านทิศตะวันออกที่พิพาทกันต่อมา ป. และ จ. ถึงแก่ความตายที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกของป. และ จ. ก็ตกได้แก่จ่าสิบตำรวจส. โดยเป็นสินส่วนตัวของจ่าสิบตำรวจ ส.ครั้นจ่าสิบตำรวจส. ถึงแก่ความตายที่พิพาทจึงเป็นมรดกที่ตกได้แก่ทายาทของจ่าสิบตำรวจส.ผู้ร้องซึ่งเป็นภริยามีสิทธิได้รับส่วนแบ่งในที่พิพาทโดยผลแห่งกฎหมายด้วย การที่ผู้ร้องเข้าครอบครองที่พิพาททั้งแปลงนั้นเฉพาะส่วนที่เป็นมรดกและตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องนั้น มิใช่ทรัพย์สินของผู้อื่นที่ผู้ร้องจะเข้าครอบครองโดยปรปักษ์ได้สำหรับที่พิพาทในส่วนที่เป็นมรดกตกได้แก่ทายาทคนอื่นของจ่าสิบตำรวจ ส. นั้น เมื่อเวลาที่ผู้ร้องครอบครองมานับแต่จ่าสิบตำรวจ ส. ถึงแก่ความตายจนถึงเวลาที่ผู้ร้องยื่นคำร้องยังไม่ถึง 10 ปี จึงยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ด้วยการครอบครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9060/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีซ้ำประเด็นครอบครองที่ดิน แม้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้ว ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยได้
คดีก่อนโจทก์ฟ้องผู้ร้องสอดเป็นจำเลยขอไถ่ถอนจำนองที่ดิน ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่ามีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน 10 ปีโจทก์ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินให้แก่ผู้ร้องสอดและได้มอบสิทธิครอบครองให้แก่ผู้ร้องสอดโดยสัญญาว่าจะไปจดทะเบียนการโอนให้เมื่อพ้นระยะเวลาห้ามโอน และเพื่อเป็นหลักประกันโจทก์ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินไว้แก่ผู้ร้องสอดสัญญาจะซื้อขายจึงขัดต่อกฎหมายเป็นโมฆะ ส่วนสัญญาจำนองมีผลบังคับได้ ผู้ร้องสอดครอบครองในฐานะผู้รับจำนองโดยอาศัยสิทธิของโจทก์ จึงไม่มีสิทธิครอบครองที่ดิน โจทก์มีสิทธิไถ่ถอนจำนองได้ สำหรับคดีนี้ผู้ร้องสอดอ้างว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินดังกล่าวให้แก่ผู้ร้องสอดแต่เนื่องจากมีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน 10 ปี โจทก์จึงจดทะเบียนจำนองไว้แก่ผู้ร้องสอด โจทก์ได้สละสิทธิและส่งมอบการครอบครองให้แก่ผู้ร้องสอดแล้วผู้ร้องสอดจึงได้สิทธิครอบครองที่ดินคดีทั้งสองโจทก์กับผู้ร้องสอดเป็นคู่ความเดียวกัน ประเด็นที่จะวินิจฉัยในคดีนี้มีว่า ผู้ร้องสอดเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินหรือไม่ ส่วนคดีก่อนแม้ประเด็นจะมีว่า โจทก์มีสิทธิไถ่ถอนจำนองที่ดินหรือไม่ แต่การที่จะวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวได้ก็จะต้องวินิจฉัยในประเด็นที่ว่าผู้ร้องสอดมีสิทธิครอบครองที่ดินหรือไม่เสียก่อนการดำเนินกระบวนพิจารณาของผู้ร้องสอดในคดีนี้จึงซ้ำกับประเด็นที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยไว้แล้ว ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 144 ปัญหาที่ว่าผู้ร้องสอดดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 หรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้คู่ความจะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจยกปัญหาข้อนี้ขึ้นวินิจฉัยได้ตามมาตรา 142(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6452/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วมจากสินสมรส: บังคับชำระหนี้จากสินสมรสได้ทั้งหมด แม้มิฟ้องลูกหนี้ร่วม
หนี้คดีนี้เป็นหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1490ซึ่งจำเลยและผู้ร้องจะต้องร่วมกันรับผิดในฐานะลูกหนี้ร่วมโจทก์จึงชอบที่จะบังคับชำระหนี้จากสินสมรสได้ทั้งหมดเมื่อจำเลยนำที่ดินและบ้านพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ร้องไปจำนองเป็นประกันโจทก์จึงมีสิทธิที่จะบังคับชำระหนี้จากที่ดินและบ้านพิพาทอันเป็นสินสมรสได้ทั้งหมดโดยไม่จำต้องฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1489ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอกันส่วนของตน