พบผลลัพธ์ทั้งหมด 636 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5307-5308/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องบังคับให้โอนทรัพย์มรดกเฉพาะส่วนของทายาทที่ผิดสัญญาซื้อขาย และการคืนเงินมัดจำส่วนเกิน
แม้โฉนดที่ดินพิพาทได้เปลี่ยนจากชื่อผ. เจ้ามรดกเป็นชื่อของจำเลยที่1และที่2ในฐานะผู้จัดการมรดกและโอนใส่ชื่อจำเลยที่1และที่2แล้วก็ตามแต่ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกยังไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาทเหตุที่โอนใส่ชื่อจำเลยที่1และที่2เนื่องจากทายาทอื่นยินยอมเพื่อจะได้ไถ่ถอนจำนองจึงถือว่าจำเลยที่1และที่2ถือที่ดินพิพาทแทนทายาททุกคนเมื่อจำเลยที่4ที่5ที่7และที่8ซึ่งเป็นทายาทของศ.เป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อขายต่อโจทก์โจทก์ย่อมบังคับให้จำเลยที่4ที่5ที่7และที่8ไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่4ที่5ที่7และที่8ให้แก่โจทก์ได้แต่สำหรับจำเลยที่1ถึงที่3และที่6ไม่ได้ยินยอมขายให้โจทก์จึงไม่ผูกพันส่วนของจำเลยที่1ถึงที่3และที่6 ทางพิจารณาได้ความว่าทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผ.มี8คนคือจำเลยทั้งแปดที่ดินพิพาทจึงแบ่งออกเป็น8ส่วนจำเลยที่4ที่5ที่7และที่8ได้คนละ1ส่วนจึงต้องไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาท4ส่วนใน8ส่วนให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5273/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเป็นผู้จัดการมรดกเป็นสิทธิเฉพาะตัว การตั้งผู้จัดการมรดกแทนที่เดิมทำไม่ได้หากยังมีผู้จัดการมรดกท่านอื่น
การเป็นผู้จัดการมรดกเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ที่ได้รับการตั้งไม่สามารถเป็นแทนกันได้เมื่อผู้คัดค้านที่1ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของพันตำรวจเอกข. ผู้ตายถึงแก่ความตายย่อมไม่อาจตั้งผู้ร้องที่2เข้าไปแทนที่ได้และการจัดการมรดกของผู้ตายก็ยังสามารถดำเนินการต่อไปได้เนื่องจากยังมีผู้จัดการมรดกอยู่อีก2คนและศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องกับผู้คัดค้านที่1และผู้คัดค้านที่2ร่วมกันเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายซึ่งคดีถึงที่สุดแล้วผู้ร้องที่2จึงไม่มีสิทธิที่จะร้องต่อศาลขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกหรือร่วมกับผู้ร้องและผู้คัดค้านที่2เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5249/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ยืมเงินต้องระบุจำนวนเงิน หากไม่ระบุถือเป็นสัญญากู้ยืมที่ไม่สมบูรณ์ ไม่สามารถนำมาใช้บังคับคดีได้
สัญญากู้ยืมเงินที่ไม่ได้ระบุจำนวนเงินที่ให้กู้ยืมไว้นั้นเป็นการสาระสำคัญไม่อาจใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินได้แม้ในสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวจะมีข้อความว่าผู้กู้ได้นำเช็คเงินสดซึ่งมีการระบุจำนวนเงินเอาไว้ชัดเจนแล้วมอบให้ผู้ให้กู้เพื่อเป็นการค้ำประกันก็ฟังได้แต่เพียงว่าผู้กู้นำเช็คดังกล่าวมาเป็นหลักประกันการกู้ยืมเงินเท่านั้นไม่อาจฟังว่าผู้กู้ได้กู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้ไปตามจำนวนเงินที่ระบุในเช็คได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5249/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ยืมเงินไม่ระบุจำนวนเงิน: ไม่สมบูรณ์ แม้มีเช็คค้ำประกัน
สัญญากู้ยืมเงินที่ไม่ได้ระบุจำนวนเงินที่ให้กู้ยืมไว้นั้นเป็นการสาระสำคัญไม่อาจใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินได้ แม้ในสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวจะมีข้อความว่า ผู้กู้ได้นำเช็คเงินสดซึ่งมีการระบุจำนวนเงินเอาไว้ชัดเจนแล้วมอบให้ผู้ให้กู้เพื่อเป็นการค้ำประกัน ก็ฟังได้แต่เพียงว่าผู้กู้นำเช็คดังกล่าวมาเป็นหลักประกันการกู้ยืมเงินเท่านั้น ไม่อาจฟังว่าผู้กู้ได้กู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้ไปตามจำนวนเงินที่ระบุในเช็คได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5157/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ต้องเป็นการครอบครองเสมือนเจ้าของ มิใช่แค่การใช้ประโยชน์บางเวลา การเปลี่ยนแปลงข้อกล่าวอ้างนอกฟ้องไม่ชอบ
ที่ดินพิพาทเป็นทางเท้าซึ่งประชาชนทั่วไปสามารถใช้สัญจรไปมาได้พฤติการณ์ของโจทก์ที่ครอบครองใช้สอบในที่ดินพิพาทโดยเพียงแต่นำตู้กระจกที่ใส่สินค้าออกไปวางขายในช่วงเช้าแล้วนำเข้าเก็บเมื่อปิดร้านค้าครั้นปิดร้านค้าแล้วก็มิได้สงวนสิทธิในที่ดินพิพาทแต่อย่างใดคงปล่อยให้คนสัญจรไปมาดังเช่นทางเท้าทั่วไปดังนี้แม้โจทก์จะวางตู้กระจกขายสินค้ามาเป็นเวลาช้านานก็คงเป็นเพียงการถือวิสาสะเข้าใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทในบางเวลาเป็นการชั่วคราวเท่านั้นจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทอย่างเป็นเจ้าของอันจะมีลักษณะเป็นการครอบครองอย่างปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382 โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้องโดยชัดแจ้งว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสองและโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์การที่โจทก์ฎีกาว่าป.ซึ่งเป็นเจ้าของผู้ก่อสร้างตึกแถวยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แล้วนั้นจึงเป็นการฎีกาในเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็นถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฎีกาของโจทก์ส่วนนี้จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5157/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ต้องเป็นการครอบครองอย่างเปิดเผยและต่อเนื่อง มิใช่แค่การใช้ประโยชน์ชั่วคราว และประเด็นนอกฟ้อง
ที่ดินพิพาทเป็นทางเท้าซึ่งประชาชนทั่วไปสามารถใช้สัญจรไปมาได้ พฤติการณ์ของโจทก์ที่ครอบครองใช้สอยในที่ดินพิพาทโดยเพียงแต่นำตู้กระจกที่ใส่สินค้าออกไปวางขายในช่วงเช้าแล้วนำเข้าเก็บเมื่อปิดร้านค้า ครั้นปิดร้านค้าแล้วก็มิได้สงวนสิทธิในที่ดินพิพาทแต่อย่างใด คงปล่อยให้คนสัญจรไปมาดังเช่นทางเท้าทั่วไป ดังนี้ แม้โจทก์จะวางตู้กระจกขายสินค้ามาเป็นเวลาช้านานก็คงเป็นเพียงการถือวิสาสะเข้าใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทในบางเวลาเป็นการชั่วคราวเท่านั้น จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทอย่างเป็นเจ้าของอันจะมีลักษณะเป็นการครอบครองอย่างปรปักษ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382
โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้องโดยชัดแจ้งว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสองและโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์การที่โจทก์ฎีกาว่า ป.ซึ่งเป็นเจ้าของผู้ก่อสร้างตึกแถวยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แล้วนั้น จึงเป็นการฎีกาในเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ฎีกาของโจทก์ส่วนนี้จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้องโดยชัดแจ้งว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสองและโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์การที่โจทก์ฎีกาว่า ป.ซึ่งเป็นเจ้าของผู้ก่อสร้างตึกแถวยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แล้วนั้น จึงเป็นการฎีกาในเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ฎีกาของโจทก์ส่วนนี้จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5134/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องผิดคนและอำนาจฟ้อง: ศาลฎีกายกฟ้องจำเลยที่ 4 เนื่องจากโจทก์ฟ้องผิดบุคคล
ข้อเท็จจริงปรากฏในชั้นฎีกาตามคำร้องของโจทก์ว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 4 ผิดคน จำเลยที่ 4 จึงมิใช่ผู้ค้ำประกันที่จะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ซึ่งเป็นลูกหนี้โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 4 ศาลฎีกายกปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นวินิจฉัยให้ยกฟ้องจำเลยที่ 4 แม้คู่ความมิได้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4986/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น/ภาระจำยอม: การฟ้องขอเปิดทางผ่านที่ดินของผู้อื่น การกำหนดประเด็นข้อพิพาท
โจทก์บรรยายฟ้องว่าที่ดินโจทก์ซึ่งซื้อมาจากเจ้าของเดิมอยู่ติดกับที่ดินจำเลยและมีที่ดินแปลงอื่นปิดล้อมไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ระหว่างที่ดินโจทก์กับทางสาธารณะมีที่ดินจำเลยคั่นอยู่และมีทางพิพาทจากที่ดิน โจทก์ผ่านที่ดินจำเลยไปออกสู่ทางสาธารณะ ก่อนโจทก์ซื้อที่ดินเจ้าของเดิมได้ใช้ทางพิพาทเข้าออกที่ดินโจทก์สู่ทางสาธารณะโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาให้เป็นทางภาระจำยอมติดต่อกันมาเกินกว่า 10 ปี ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็นและตกเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินโจทก์ และเมื่อโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินดังกล่าวก็ได้ใช้ทางพิพาทออกสู่ทางสาธารณะติดต่อกันตลอดมา ต่อมาจำเลยนำเสาปูนมาปักกั้นทางพิพาท จึงขอให้จำเลยเปิดทางพิพาท เช่นนี้จะเห็นได้ว่าตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ดังกล่าวทางพิพาทอาจเป็นทางจำเป็นหรือทางภาระจำยอม ซึ่งต้องแล้วแต่ข้อเท็จจริงที่ได้ความในทางพิจารณาว่าที่ดินโจทก์ถูกที่ดินจำเลยและที่ดินแปลงอื่นปิดล้อมไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะหรือเจ้าของเดิมก็ได้ใช้ทางพิพาทติดต่อกันก่อนขายให้โจทก์เป็นเวลานานเกินกว่า 10 ปีแล้ว ทางพิพาทจึงตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโจทก์โดยอายุความจำเลยจึงไม่มีสิทธิมาปิดกั้นทางพิพาท คำฟ้องโจทก์ดังกล่าวจึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยเพียงแต่ยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นว่าไม่เห็นด้วยกับคำสั่งศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียง 2 ประเด็น ขอให้ศาลมีคำสั่งกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มอีก 1 ข้อ คือ "บริเวณที่ดินที่เป็นทางพิพาทตามฟ้องเป็นของจำเลยหรือไม่"หากศาลไม่อนุญาต ขอถือเอาคำแถลงนี้เป็นคำโต้แย้งคำสั่งศาล ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า"ไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงประเด็นที่กำหนดไว้เดิม จึงไม่อนุญาต" จำเลยก็หาได้โต้แย้งคำสั่งศาลในเรื่องนี้อีกแต่อย่างใดไม่ ฉะนั้น จะถือเอาคำแถลงของจำเลยฉบับนั้นเป็นคำโต้แย้งไม่ได้ จำเลยจึงอุทธรณ์ในปัญหานี้ไม่ได้เพราะเป็นการต้องห้ามตามป.วิ.พ.มาตรา 226 (2)
จำเลยเพียงแต่ยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นว่าไม่เห็นด้วยกับคำสั่งศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียง 2 ประเด็น ขอให้ศาลมีคำสั่งกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มอีก 1 ข้อ คือ "บริเวณที่ดินที่เป็นทางพิพาทตามฟ้องเป็นของจำเลยหรือไม่"หากศาลไม่อนุญาต ขอถือเอาคำแถลงนี้เป็นคำโต้แย้งคำสั่งศาล ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า"ไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงประเด็นที่กำหนดไว้เดิม จึงไม่อนุญาต" จำเลยก็หาได้โต้แย้งคำสั่งศาลในเรื่องนี้อีกแต่อย่างใดไม่ ฉะนั้น จะถือเอาคำแถลงของจำเลยฉบับนั้นเป็นคำโต้แย้งไม่ได้ จำเลยจึงอุทธรณ์ในปัญหานี้ไม่ได้เพราะเป็นการต้องห้ามตามป.วิ.พ.มาตรา 226 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4861/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเงินมัดจำและการชำระหนี้ค่าจ้างก่อสร้างเมื่อจำเลยผิดสัญญาและเลิกสัญญา
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา378(1)มัดจำนั้นถ้ามิได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นเงินมัดจำที่ริบจะจัดเอาเป็นการใช้เงินบางส่วนได้ต่อเมื่อมีการปฏิบัติการชำระหนี้ถูกต้องกันตามสัญญาเมื่อจำเลยที่1เป็นฝ่ายผิดสัญญาและมีการเลิกสัญญาแสดงว่าจำเลยที่1มิได้ปฏิบัติการชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสัญญาเงินมัดจำที่ริบจึงไม่อาจจัดเอาเป็นการใช้เงินบางส่วนสำหรับหนี้ค่าจ้างก่อสร้างที่จำเลยที่1ค้างชำระแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4861/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเงินมัดจำเมื่อผิดสัญญา ค่ามัดจำไม่ถือเป็นการชำระหนี้
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 378 (1) มัดจำนั้น ถ้ามิได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น เงินมัดจำที่ริบจะจัดเอาเป็นการใช้เงินบางส่วนได้ต่อเมื่อมีการปฏิบัติการชำระหนี้ถูกต้องกันตามสัญญา เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาและมีการเลิกสัญญาแสดงว่าจำเลยที่ 1 มิได้ปฏิบัติการชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสัญญา เงินมัดจำที่ริบจึงไม่อาจจัดเอาเป็นการใช้เงินบางส่วนสำหรับหนี้ค่าจ้างก่อสร้างที่จำเลยที่ 1ค้างชำระแก่โจทก์ได้