คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ดำรุพงศ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 636 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3933/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเช่าซื้อโดยหนังสือมอบอำนาจปลอม การติดตามทรัพย์สินคืน และอายุความ
โจทก์เช่าซื้ออาคารพิพาทจาก ก. และชำระค่าเช่าซื้อตลอดมาต่อมามีการปลอมลายมือชื่อโจทก์ในหนังสือมอบอำนาจให้ไปโอนการ เช่าซื้ออาคารพิพาทให้แก่จำเลย จำเลยย่อมไม่อาจถือเอาสิทธิ ในการเช่าซื้ออาคารพิพาทได้ โจทก์คงเป็นผู้มีสิทธิเช่าซื้อ อาคารพิพาทที่แท้จริงและมีสิทธิติดตามและเอาคืนจากจำเลย ผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีบทบัญญัติเรื่องอายุความในการติดตาม เอาทรัพย์สินคืนไว้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3933/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าซื้อและการโอนสิทธิโดยมิชอบ สิทธิเช่าซื้อยังคงอยู่กับผู้เช่าซื้อเดิม
โจทก์เช่าซื้ออาคารพิพาทจาก ก. และชำระค่าเช่าซื้อตลอดมาต่อมามีการปลอมลายมือชื่อโจทก์ในหนังสือมอบอำนาจให้ไปโอนการเช่าซื้ออาคารพิพาทให้แก่จำเลย จำเลยย่อมไม่อาจถือเอาสิทธิในการเช่าซื้ออาคารพิพาทได้ โจทก์คงเป็นผู้มีสิทธิเช่าซื้ออาคารพิพาทที่แท้จริงและมีสิทธิติดตามและเอาคืนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีบทบัญญัติเรื่องอายุความในการติดตามเอาทรัพย์สินคืนไว้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3796/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: การระบุอาชีพจำเลยในคำฟ้องมีผลต่ออำนาจพิจารณาคดี แม้ภายหลังจะอ้างเป็นข้าราชการ
ขณะที่โจทก์ยื่นคำฟ้องต่อศาลชั้นต้นได้ระบุอาชีพของจำเลยไว้อย่างชัดแจ้งว่าเป็นข้าราชการบำนาญ จำเลยทราบคำฟ้องแล้วมิได้คัดค้านโต้แย้งทั้ง ๆ ที่อยู่ในวิสัยของจำเลยอันพึงต้องกระทำ จึงถือได้ว่าจำเลยมิใช่บุคคลที่อยู่ ในอำนาจศาลทหารในขณะกระทำผิดตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหารพ.ศ. 2498 มาตรา 13,16(1) ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่ง ประทับฟ้องแล้วดำเนินคดีต่อมาตามขั้นตอนแม้จะปรากฏจากฎีกา ของจำเลยในภายหลังว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหารก็ตามศาลล่างทั้งสองซึ่งเป็นศาลพลเรือนด้วยกันก็มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหารฯมาตรา 15 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3782/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามกระบวนพิจารณาคดีอาญา การไม่อนุญาตเลื่อนสืบพยานจำเลย ส่งผลต่อสิทธิในการต่อสู้คดี
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 ในวันนัดสืบพยานจำเลยครั้งแรก ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนการพิจารณาโดยอ้างว่าทนายจำเลยมีอาการวิงเวียนศีรษะและอ่อนเพลียไม่สามารถมาศาลได้ โจทก์มิได้คัดค้านอีกทั้งไม่ปรากฏเหตุว่าจำเลยแกล้งประวิงคดี ประกอบกับคดีมีโทษจำคุกและจำเลยให้การปฏิเสธตลอดมา ตามรูปคดีจึงสมควรที่จะให้โอกาสจำเลยได้ต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ และศาลชั้นต้นชอบที่จะอนุญาตให้เลื่อนการพิจารณาไปสืบพยานจำเลยในครั้งต่อไปตามที่ได้นัดไว้ก่อนแล้วได้ แต่ศาลชั้นต้น หาได้กระทำไม่ จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาดังที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 179 วรรคสองบัญญัติไว้ เมื่อคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนไปสืบพยานจำเลยเป็นการไม่ชอบ ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัยว่า แม้จำเลย จะให้การปฏิเสธ ก็เป็นการปฏิเสธลอย ๆโดยไม่ได้นำสืบหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ในชั้นพิจารณาคงมีแต่การซักค้านของทนายจำเลย ระหว่างสืบพยานโจทก์ซึ่งมีน้ำหนักน้อยไม่เพียงพอที่จะรับฟังหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้จึงเป็นการวินิจฉัยที่ผิดพลาดต่อความเป็นจริงแห่งคดี เพราะการที่จำเลยไม่ได้สืบพยานจำเลยก็เนื่องมาจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีหาใช่ เป็นกรณีที่จำเลยไม่สืบพยานจำเลยไม่ เมื่อศาลฎีกาเห็นเป็นการจำเป็นเพื่อให้คดีได้ดำเนินไปจนสิ้นกระแสความ ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้ศาลชั้นต้นได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาดังที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 208(2)ประกอบด้วยมาตรา 225 บัญญัติให้อำนาจไว้ โดยให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาสืบพยานจำเลยต่อไปแล้วพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3782/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำเลยในการต่อสู้คดี – การอนุญาตเลื่อนสืบพยาน – กระบวนการยุติธรรม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 362 ในวันนัดสืบพยานจำเลยครั้งแรก ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนการพิจารณาโดยอ้างว่าทนายจำเลยมีอาการวิงเวียนศีรษะและอ่อนเพลียไม่สามารถมาศาลได้ โจทก์มิได้คัดค้านอีกทั้งไม่ปรากฏเหตุว่าจำเลยแกล้งประวิงคดี ประกอบกับคดีมีโทษจำคุกและจำเลยให้การปฏิเสธตลอดมา ตามรูปคดีจึงสมควรที่จะให้โอกาสจำเลยได้ต่อสู้คดีอย่างเต็มที่และศาลชั้นต้นชอบที่จะอนุญาตให้เลื่อนการพิจารณาไปสืบพยานจำเลยในครั้งต่อไปตามที่ได้นัดไว้ก่อนแล้วได้ แต่ศาลชั้นต้นหาได้กระทำไม่ จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาดั่งที่ ป.วิ.อ.มาตรา 179 วรรคสองบัญญัติไว้ เมื่อคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนไปสืบพยานจำเลยเป็นการไม่ชอบ ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า แม้จำเลยจะให้การปฏิเสธ ก็เป็นการปฏิเสธลอย ๆ โดยไม่ได้นำสืบหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ในชั้นพิจารณา คงมีแต่การซักค้านของทนายจำเลย ระหว่างสืบพยานโจทก์ซึ่งมีน้ำหนักน้อยไม่เพียงพอที่จะรับฟังหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้จึงเป็นการวินิจฉัยที่ผิดพลาดต่อความเป็นจริงแห่งคดี เพราะการที่จำเลยไม่ได้สืบพยานจำเลยก็เนื่องมาจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีหาใช่เป็นกรณีที่จำเลยไม่สืบพยานจำเลยไม่
เมื่อศาลฎีกาเห็นเป็นการจำเป็นเพื่อให้คดีได้ดำเนินไปจนสิ้นกระแสความ ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้ศาลชั้นต้นได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาดังที่ ป.วิ.อ.มาตรา 208 (2) ประกอบด้วยมาตรา 225 บัญญัติให้อำนาจไว้ โดยให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาสืบพยานจำเลยต่อไปแล้วพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3656/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณทุนทรัพย์คดี และการกำหนดค่าทนายความตามอัตราขั้นสูงในคดีที่มีทุนทรัพย์และไม่มีทุนทรัพย์
ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาว่า คดีนี้จำเลยให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ให้โจทก์ไปประเมินราคาที่พิพาทและเสียค่าขึ้นศาลเพิ่ม ทนายโจทก์ยื่นคำแถลงขอเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เจ้าพนักงานที่ดินประเมินราคาที่พิพาทซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับไว้ในวันเดียวกันนั้นเองจึงเป็นกรณีที่มีการ คำนวณทุนทรัพย์และเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์นั้นแล้ว โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์และขับไล่จำเลยพร้อมบริวารออกไปจากที่พิพาท จำเลยให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วยกัน การกำหนดค่าทนายความใช้แทนให้แก่ผู้ชนะคดีต้องถือเอาค่าทนายความในอัตราขึ้นสูงกว่า ตามตาราง 6ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เป็นหลัก ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความแทนโจทก์ในศาลชั้นต้นสูงกว่าอัตราขั้นสูงตามกฎหมาย แม้จำเลยมิได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3656/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดค่าทนายความในคดีต่อสู้กรรมสิทธิ์: ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาว่า คดีนี้จำเลยให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ให้โจทก์ไปประเมินราคาที่พิพาทและเสียค่าขึ้นศาลเพิ่ม ทนายโจทก์ยื่นคำแถลงขอเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เจ้าพนักงานที่ดินประเมินราคาที่พิพาทซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับไว้ในวันเดียวกันนั้นเองจึงเป็นกรณีที่มีการคำนวณทุนทรัพย์และเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์นั้นแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์และขับไล่จำเลยพร้อมบริวารออกไปจากที่พิพาท จำเลยให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วยกัน การกำหนดค่าทนายความใช้แทนให้แก่ผู้ชนะคดีต้องถือเอาค่าทนายความในอัตราขั้นสูงกว่า ตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ.เป็นหลัก
ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความแทนโจทก์ในศาลชั้นต้นสูงกว่าอัตราขั้นสูงตามกฎหมาย แม้จำเลยมิได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3634/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดค่าปรับจากการผิดสัญญาและการวินิจฉัยนอกประเด็น: ศาลฎีกาตัดสินให้บังคับตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เข้าทำสัญญา รับจ้างก่อสร้างเขื่อนกับจำเลยเพราะกลฉ้อฉลของจำเลย ที่ไม่แจ้งให้โจทก์ทราบถึงสภาพและอุปสรรคในการก่อสร้าง เพื่อจูงใจให้โจทก์ยอมรับข้อกำหนดอันหนักยิ่งกว่า ที่โจทก์จะยอมรับได้โดยปกติทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน แต่ค่าสินไหมทดแทน ที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลยก็คิดจากค่าจ้างงวดสุดท้าย ที่โจทก์ควรได้รับจากจำเลยตามสัญญาดังกล่าว โดยโจทก์ ได้บรรยายฟ้องถึงพฤติการณ์ต่าง ๆ อันเป็นอุปสรรค ในการก่อสร้างที่ทำให้เกิดความล่าช้าโดยความผิดของจำเลย และเมื่อโจทก์ทำงานแล้วเสร็จส่งมอบงาน แก่จำเลยแล้ว จำเลยคิดค่าปรับรายวันเป็นจำนวนมาก จนเกินกว่าค่าจ้างงวดสุดท้ายที่โจทก์ควรจะได้รับจากจำเลย จำเลยจึงไม่ชำระค่าจ้างงวดสุดท้ายให้โจทก์ และโจทก์ขอให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์พอแสดงให้เข้าใจได้ว่าโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยชำระค่าจ้างดังกล่าวเนื่องจากการคิดค่าปรับของจำเลยเป็นไปโดยไม่ชอบ และจำเลยก็ให้การ ถึงการคิดค่าปรับดังกล่าวว่าจำเลยได้คิดค่าปรับโดยถูกต้องแล้ว และที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์มีสิทธิ เรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยหรือไม่ จึงครอบคลุมถึง กรณีการคิดค่าปรับหักจากค่าจ้างงวดสุดท้ายแล้ว และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 ก็บัญญัติให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับลงได้ หากเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกินสมควรการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยถึงการคิดค่าปรับอันเป็นเบี้ยปรับของโจทก์ว่าสูงเกินไปและคิดลดลงเหลือต่ำกว่าค่าจ้างงวดสุดท้าย จึงมีค่าจ้างงวดสุดท้ายคงเหลือที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ แล้วพิพากษาให้จำเลยชำระค่าจ้างงวดสุดท้ายดังกล่าวแก่โจทก์ จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า สัญญาว่าจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยมีผลสมบูรณ์ แต่ที่จำเลยไม่จ่ายค่าจ้างที่เหลือให้โจทก์เพราะคิดค่าปรับการทำงานล่าช้าสูงเกินส่วน จึงลดค่าปรับลงและเมื่อหักจากค่าจ้างแล้วยังเหลือค่าจ้าง ที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ จึงพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน จำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ ชั้นอุทธรณ์จำเลยอุทธรณ์เฉพาะปัญหา ว่าศาลชั้นต้นวินิจฉัยนอกประเด็นไม่มีปัญหาเรื่องจำนวนเงิน ค่าปรับว่าลดลงมากน้อยไปหรือไม่ และไม่มีปัญหาในชั้นฎีกา ต้องวินิจฉัยในเรื่องจำนวนเงินที่จำเลยจะต้องรับผิด ต่อโจทก์อีก ศาลฎีกาจึงพิพากษากลับ ให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3634/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคิดค่าปรับงานก่อสร้างเกินสมควร ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับและพิพากษาให้ชำระค่าจ้างคงเหลือ
แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เข้าทำสัญญารับจ้างก่อสร้างเขื่อนกับจำเลยเพราะกลฉ้อฉลของจำเลยที่ไม่แจ้งให้โจทก์ทราบถึงสภาพและอุปสรรคในการก่อสร้าง เพื่อจูงใจให้โจทก์ยอมรับข้อกำหนดอันหนักยิ่งกว่าที่โจทก์จะยอมรับได้โดยปกติทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน แต่ค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลยก็คิดจากค่าจ้างงวดสุดท้ายที่โจทก์ควรได้รับจากจำเลยตามสัญญาดังกล่าว โดยโจทก์ได้บรรยายฟ้องถึงพฤติการณ์ต่าง ๆ อันเป็นอุปสรรคในการก่อสร้างที่ทำให้เกิดความล่าช้าโดยความผิดของจำเลย และเมื่อโจทก์ทำงานแล้วเสร็จส่งมอบงานแก่จำเลยแล้ว จำเลยคิดค่าปรับรายวันเป็นจำนวนมากจนเกินกว่าค่าจ้างงวดสุดท้ายที่โจทก์ควรจะได้รับจากจำเลย จำเลยจึงไม่ชำระค่าจ้างงวดสุดท้ายให้โจทก์และโจทก์ขอให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์พอแสดงให้เข้าใจได้ว่า โจทก์ประสงค์จะให้จำเลยชำระค่าจ้างดังกล่าวเนื่องจากการคิดค่าปรับของจำเลยเป็นไปโดยไม่ชอบ และจำเลยก็ให้การถึงการคิดค่าปรับดังกล่าวว่าจำเลยได้คิดค่าปรับโดยถูกต้องแล้ว และที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยหรือไม่ จึงครอบคลุมถึงกรณีการคิดค่าปรับหักจากค่าจ้างงวดสุดท้ายแล้ว และตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 ก็บัญญัติให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับลงได้ หากเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกินสมควร การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยถึงการคิดค่าปรับอันเป็นเบี้ยปรับของโจทก์ว่าสูงเกินไปและคิดลดลงเหลือต่ำกว่าค่าจ้างงวดสุดท้าย จึงมีค่าจ้างงวดสุดท้ายคงเหลือที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ แล้วพิพากษาให้จำเลยชำระค่าจ้างงวดสุดท้ายดังกล่าวแก่โจทก์ จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า สัญญาว่าจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยมีผลสมบูรณ์ แต่ที่จำเลยไม่จ่ายค่าจ้างที่เหลือให้โจทก์เพราะคิดค่าปรับการทำงานล่าช้าสูงเกินส่วน จึงลดค่าปรับลง และเมื่อหักจากค่าจ้างแล้วยังเหลือค่าจ้างที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ จึงพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ ชั้นอุทธรณ์จำเลยอุทธรณ์เฉพาะปัญหาว่าศาลชั้นต้นวินิจฉัยนอกประเด็นไม่มีปัญหาเรื่องจำนวนเงินค่าปรับว่าลดลงมากน้อยไปหรือไม่ และไม่มีปัญหาในชั้นฎีกาต้องวินิจฉัยในเรื่องจำนวนเงินที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์อีก ศาลฎีกาจึงพิพากษากลับ ให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3461/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการเรียกบุตรคืน – ผู้ใช้อำนาจปกครอง – การเพิ่มเติมคำฟ้องฎีกาพ้นกำหนด
บุคคลอื่นตาม ป.พ.พ.มาตรา 1567 (4) หมายถึงบุคคลอื่นนอกจากผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรซึ่งได้แก่บิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของบุตร
จำเลยมิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของบุตรผู้เยาว์ จำเลยจึงไม่เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองของบุตรผู้เยาว์ตามกฎหมาย ย่อมไม่มีสิทธิตาม ป.พ.พ.มาตรา 1567 (1) ถึง (4) การที่จำเลยกักบุตรผู้เยาว์ไว้จึงเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจ และเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ผู้เป็นมารดาของผู้เยาว์ย่อมมีสิทธิเรียกบุตรผู้เยาว์คืนจากจำเลยได้
คำร้องขอเพิ่มเติมคำฟ้องฎีกาซึ่งเป็นการเพิ่มประเด็นจากฎีกาเดิมจะต้องยื่นภายในกำหนดเวลา 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ อันเป็นกำหนดระยะเวลาการยื่นฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 247 หากพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวนี้แล้วจะขอเพิ่มเติมคำฟ้องฎีกาไม่ได้
จำเลยยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมคำฟ้องฎีกาเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาการยื่นฎีกาแล้ว แม้ศาลชั้นต้นสั่งรับคำร้องขอเพิ่มเติมคำฟ้องฎีกาของจำเลยไว้ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 64