คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ดำรุพงศ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 636 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2889/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, การครอบครอง, และขอบเขตการนำสืบพยาน: ศาลฎีกาชี้ขาดประเด็นการฟ้องร้องที่ดิน
ข้ออ้างของจำเลยที่ว่า โจทก์ในคดีก่อนฟ้องขับไล่จำเลยและได้ถอนฟ้องไปโดยสละสิทธิในการดำเนินคดีใหม่นั้น เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า โจทก์หรือผู้รับมอบอำนาจในคดีนั้นกระทำการแทนโจทก์ในคดีนี้ ดังนั้น การถอนฟ้องของโจทก์ในคดีก่อนจึงไม่ผูกพันโจทก์ในคดีนี้ โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 176 ที่จำเลยอ้างว่า โจทก์ฟ้องขอคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทเกินหนึ่งปีนับแต่วันถูกแย่งการครอบครอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ในประเด็นดังกล่าวไว้ แม้ปัญหาดังกล่าวจะเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลจะยกขึ้นอ้างเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)ก็ตาม แต่ก็ต้องเป็นข้อกฎหมายอันเกิดจากข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ และต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ได้จากพยานหลักฐานซึ่งเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในคดีจะต้องนำสืบเท่านั้น หากเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากพยานนอกเรื่องนอกประเด็นแล้ว ศาลจะรับฟังและยกขึ้นวินิจฉัยเป็นข้อกฎหมายไม่ได้ เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 คดีนี้จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่า จำเลยมิได้เข้าปลูกบ้านอาศัยในที่ดินพิพาท บ้านเลขที่ตามฟ้องมิใช่บ้าน ของจำเลย และจำเลยนำสืบว่าจำเลยเข้าไปดูแลบุตรสาวและหลานจำเลยเป็นบางครั้งเท่านั้น ดังนั้นข้อเท็จจริงที่ว่า จำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์จึงเป็นข้อเท็จจริงนอกประเด็น ศาลฎีกาจึงไม่อาจยกข้อเท็จจริงดังกล่าวมาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายในเรื่องอำนาจฟ้องตามที่จำเลยฎีกาขึ้นมาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2889/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคืนการครอบครองและอำนาจฟ้อง: ข้อจำกัดการยกข้อกฎหมายจากพยานนอกเรื่อง
ข้ออ้างของจำเลยที่ว่า โจทก์ในคดีก่อนฟ้องขับไล่จำเลยและได้ถอนฟ้องไปโดยสละสิทธิในการดำเนินคดีใหม่นั้น เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า โจทก์หรือผู้รับมอบอำนาจในคดีนั้นกระทำการแทนโจทก์ในคดีนี้ ดังนั้น การถอนฟ้องของโจทก์ในคดีก่อนจึงไม่ผูกพันโจทก์ในคดีนี้ โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ได้ไม่ต้องห้ามตามป.วิ.พ.มาตรา 176
ที่จำเลยอ้างว่า โจทก์ฟ้องขอคืนซึ่งการครอบครองในที่ดินพิพาทเกินหนึ่งปีนับแต่วันถูกแย่งการครอบครอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ในประเด็นดังกล่าวไว้ แม้ปัญหาดังกล่าวจะเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลจะยกขึ้นอ้างเองได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142(5) ก็ตาม แต่ก็ต้องเป็นข้อกฎหมายอันเกิดจากข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ และต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ได้จากพยานหลักฐานซึ่งเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในคดีจะต้องนำสืบเท่านั้น หากเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากพยานนอกเรื่องนอกประเด็นแล้ว ศาลจะรับฟังและยกขึ้นวินิจฉัยเป็นข้อกฎหมายไม่ได้ เป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 87
คดีนี้จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่า จำเลยมิได้เข้าปลูกบ้านอาศัยในที่ดินพิพาท บ้านเลขที่ตามฟ้องมิใช่บ้านของจำเลย และจำเลยนำสืบว่าจำเลยเข้าไปดูแลบุตรสาวและหลานจำเลยเป็นบางครั้งเท่านั้น ดังนั้นข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์จึงเป็นข้อเท็จจริงนอกประเด็น ศาลฎีกาจึงไม่อาจยกข้อเท็จจริงดังกล่าวมาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายในเรื่องอำนาจฟ้องตามที่จำเลยฎีกาขึ้นมาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2888/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีเยาวชนและครอบครัว: ข้อจำกัดในการอุทธรณ์การกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ
ศาลเยาวชนและครอบครัวซึ่งเป็นศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335(1)(3)(11) วรรคสาม ประกอบด้วยมาตรา 83ขณะกระทำความผิดจำเลยมีอายุ 15 ปีเศษ ลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่ง ลงโทษจำคุก 2 ปี ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปควบคุม เพื่อฝึกและอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน มีกำหนดขั้นต่ำ 1 ปี ขั้นสูง 1 ปี 6 เดือน อันเป็นกรณีที่ศาลเยาวชนและครอบครัวกำหนดให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดี เยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 104 มิใช่เป็นกรณีที่ ศาลเยาวชนและครอบครัวพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ส่งเด็กหรือเยาวชน ไปเพื่อกักและอบรมมีกำหนดระยะเวลาเกินสามปี ซึ่งต้องห้ามมิให้ อุทธรณ์ในข้อที่ศาลเยาวชนและครอบครัวใช้ดุลพินิจกำหนด วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 121 คดีจึงไม่ต้องห้ามมิให้จำเลยอุทธรณ์ ว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบแตกต่างขัดแย้งกันและไม่มีน้ำหนัก ให้ฟังว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิด เพราะเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงที่มิได้เกี่ยวกับการใช้ดุลพินิจกำหนด วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2744/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินหลังสัญญาเช่าสิ้นสุด และสภาพที่ดินชายตลิ่งไม่เป็นสาธารณสมบัติ
จำเลยได้ปลูกบ้านในที่ดินพิพาทที่เช่ามาจากโจทก์ ด้านติดแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองบางสีทอง ในเขตโฉนดที่ดินของโจทก์ ซึ่งเดิมมีหลักเขตที่ดินแน่นอน แต่ต่อมาแนวเขตที่ดินด้านติดแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองบางสีทองถูกน้ำเซาะตลิ่งอยู่เสมอและเป็นเวลานาน ทำให้ตลิ่งใต้อาคารที่จำเลยปลูกบ้านบนที่ดินพิพาทพังลงและหลักเขตที่ดินหายไปทำให้ที่ดินพิพาทใต้อาคารกลายสภาพเป็นที่ชายตลิ่งโดยจำเลยยังคงครอบครองอาคารนั้นอยู่ และจำเลยยังเช่าที่ดินพิพาทของโจทก์ตลอดมา จึงถือได้ว่าโจทก์ยังคงใช้สิทธิแห่งความเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทนั้นอยู่ โดยมิได้ทิ้งปล่อยให้เป็นที่ชายตลิ่งสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ที่ดินพิพาทจึงยังมิได้เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.พ.พ.มาตรา 1304 (2) เมื่อสัญญาเช่าที่ดินพิพาทสิ้นสุดลง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองได้
เมื่อสัญญาเช่าที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยระงับไปแล้วแม้จำเลยยังคงอยู่ในที่ดินพิพาทตลอดมา โจทก์ก็ไม่อาจเรียกค่าเช่าหลังจากนั้นได้คงเรียกได้แต่ค่าเสียหาย และเมื่อจำเลยได้ทำบันทึกข้อตกลงยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เดือนละ 6,000 บาท หากครบกำหนดตามบันทึกข้อตกลงแล้ว ยังไม่ออกไปจากที่ดินพิพาท การกำหนดค่าเสียหายดังกล่าวมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับตามป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งหากกำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลย่อมลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2744/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินชายตลิ่งหลังหมดสัญญาเช่า สิทธิในการฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหาย
จำเลยได้ปลูกบ้านในที่ดินพิพาทที่เช่ามาจากโจทก์ด้านติดแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองบางสีทองในเขตโฉนดที่ดินของโจทก์ซึ่งเดิมมีหลักเขตที่ดินแน่นอน แต่ต่อมาแนวเขตที่ดินด้าน ติดแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองบางสีทองถูกน้ำเซาะตลิ่งอยู่เสมอและเป็นเวลานาน ทำให้ตลิ่ง ใต้อาคารที่จำเลยปลูกบ้านบนที่ดินพิพาทพังลงและหลักเขตที่ดินหายไปทำให้ที่ดินพิพาทใต้อาคารกลายสภาพเป็นที่ชายตลิ่งโดยจำเลยยังคงครอบครองอาคารนั้นอยู่และจำเลยยังเช่าที่ดินพิพาทของโจทก์ตลอดมา จึงถือได้ว่าโจทก์ยังคงใช้สิทธิแห่งความเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทนั้นอยู่ โดยมิได้ทิ้งปล่อยให้เป็นที่ชายตลิ่งสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ที่ดินพิพาทจึงยังมิได้เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2) เมื่อสัญญาเช่าที่ดินพิพาทสิ้นสุดลง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองได้ เมื่อสัญญาเช่าที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยระงับไป แล้ว จำเลยผู้เช่ายังคงอยู่ในที่ดินพิพาทตลอดมาโจทก์ย่อมไม่อาจเรียกค่าเช่าจากจำเลยหลังจากนั้นได้คงเรียกได้แต่ค่าเสียหายการที่จำเลยได้ทำบันทึกข้อตกลงยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เป็นรายเดือนหากจำเลยไม่ยอมออกไปจากที่ดินพิพาทตามที่กำหนดการกำหนดค่าเสียหายดังกล่าวเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 ซึ่งหากกำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลย่อมลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2699/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไต่สวนคำร้องแต่งตั้ง/ถอดถอนกรรมการชั่วคราว: ศาลชั้นต้นต้องไต่สวนก่อนส่งสำนวน
ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งตั้งผู้ร้องและ ต.เป็นกรรมการของบริษัทม.ชั่วคราวคดีถึงที่สุดแล้ว ต่อมาผู้คัดค้านยื่นคำร้องเป็นคดีนี้ แม้ในคำร้องจะขอให้ศาลอุทธรณ์ไต่สวนคำร้องและมีคำสั่งก็ตาม แต่จากข้ออ้างในคำร้องประกอบด้วยพฤติการณ์แห่งคดีเมื่อเป็นที่เข้าใจได้ว่าผู้คัดค้านประสงค์ที่จะให้ศาลมีคำสั่งถอดถอนผู้ร้องและ ต.ออกจากการเป็นกรรมการชั่วคราวของบริษัท ม. แล้วตั้งผู้คัดค้านเป็นกรรมการชั่วคราวของบริษัท ม.แทน ซึ่งผู้ร้องและ ต.คัดค้านคำร้องดังกล่าวของผู้คัดค้าน เมื่อมูลคดีเป็นเรื่องผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้แทนชั่วคราวของนิติบุคคล กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 70, 73 กรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นชอบที่จะไต่สวนข้อเท็จจริงให้ได้ความว่ามีเหตุสมควรที่จะถอดถอนผู้ร้องและ ต.ออกจากการเป็นกรรมการชั่วคราวแล้วตั้งผู้คัดค้านเป็นกรรมการชั่วคราวของบริษัทม.แทนหรือไม่ และมีคำสั่งต่อไปตามรูปคดี การที่ศาลชั้นต้นด่วนมีคำสั่งงดการไต่สวนและส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณานั้น เป็นการไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา
คดีจะขึ้นมาสู่การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ได้ก็ต่อเมื่อมีการอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ทั้งนี้ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์ แต่คดีนี้กลับขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์โดยคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดการไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้านและส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณา และศาลอุทธรณ์ก็มีคำสั่งยกคำร้องของผู้คัดค้านโดยไม่มีการวินิจฉัยถึงคำสั่งศาลชั้นต้น คำสั่งศาลอุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา แม้ผู้คัดค้านจะไม่ฎีกามาก็ตาม แต่ก็เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน กรณีต้องด้วย ป.วิ.พ.มาตรา142 (5), 243, 247 ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและเห็นสมควรย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี และให้ยกคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกคำร้องของผู้คัดค้าน ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้าน แล้วมีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดีต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2699/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอดถอนกรรมการชั่วคราวและการส่งสำนวนไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา ศาลฎีกายกคำสั่งเดิมให้ไต่สวนใหม่
ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วให้ตั้งผู้ร้องและต.เป็นกรรมการของบริษัทม.ชั่วคราว ต่อมาผู้คัดค้านยื่นคำร้อง ซึ่งแม้ในคำร้องจะขอให้ศาลอุทธรณ์ไต่สวนคำร้องและมีคำสั่งก็ตาม แต่จากข้ออ้างในคำร้องประกอบด้วยพฤติการณ์แห่งคดีเป็นที่เข้าใจได้ว่าผู้คัดค้านประสงค์ที่จะให้ศาลมีคำสั่งถอดถอนผู้ร้องและต.ออกจากการเป็นกรรมการชั่วคราวของบริษัทม.แล้วตั้งผู้คัดค้านเป็นกรรมการชั่วคราวแทนนั่นเอง ซึ่งผู้ร้องและต.คัดค้านคำร้องดังกล่าวของผู้คัดค้านกรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นชอบที่จะไต่สวนข้อเท็จจริงให้ได้ความว่ามีเหตุสมควรที่จะถอดถอนผู้ร้องและต.ออกจากการเป็นกรรมการชั่วคราวแล้วตั้งให้ผู้คัดค้านเป็นแทนหรือไม่และมีคำสั่งต่อไปตามรูปคดี การที่ศาลชั้นต้นด่วนมี คำสั่งงดการไต่สวนและส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณานั้นจึงไม่ชอบ เพราะโดยปกติคดีจะขึ้นมาสู่การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ได้ก็ต่อเมื่อมีการอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งหรือ คำพิพากษาของศาลชั้นต้นภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในภาค 3 ลักษณะ 1ว่าด้วยอุทธรณ์ แต่คดีกลับขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์โดยคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าว และศาลอุทธรณ์ก็มีคำสั่งยกคำร้อง ของผู้คัดค้านโดยไม่มีการวินิจฉัยถึงคำสั่งศาลชั้นต้นแต่ประการใดคำสั่งศาลอุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาเช่นกันแม้ผู้คัดค้านจะไม่ฎีกามาก็ตามแต่เนื่องจากเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน กรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),243,247 ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ และเห็นสมควรย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2699/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลชั้นต้นมีอำนาจไต่สวนคำร้องถอดถอนกรรมการชั่วคราว การส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์โดยไม่ไต่สวนไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา
ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งตั้งผู้ร้องและ ต. เป็นกรรมการของบริษัท ม. ชั่วคราวคดีถึงที่สุดแล้ว ต่อมาผู้คัดค้านยื่นคำร้องเป็นคดีนี้ แม้ในคำร้องจะขอให้ศาลอุทธรณ์ไต่สวนคำร้องและมีคำสั่งก็ตาม แต่จากข้ออ้างในคำร้องประกอบด้วยพฤติการณ์แห่งคดีเมื่อเป็นที่เข้าใจได้ว่าผู้คัดค้านประสงค์ที่จะให้ศาลมีคำสั่งถอดถอนผู้ร้องและ ต. ออกจากการเป็นกรรมการชั่วคราวของบริษัท ม. แล้วตั้งผู้คัดค้านเป็นกรรมการชั่วคราวของบริษัท ม. แทน ซึ่งผู้ร้องและ ต. คัดค้านคำร้องดังกล่าวของผู้คัดค้าน เมื่อมูลคดีเป็นเรื่องผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้แทนชั่วคราวของนิติบุคคล กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 70,73 กรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นชอบที่จะไต่สวนข้อเท็จจริงให้ได้ความว่ามีเหตุสมควรที่จะถอดถอนผู้ร้องและ ต. ออกจากการเป็นกรรมการชั่วคราวแล้วตั้งผู้คัดค้านเป็นกรรมการชั่วคราวของบริษัท ม. แทนหรือไม่ และมีคำสั่งต่อไปตามรูปคดี การที่ศาลชั้นต้นด่วนมีคำสั่งงดการไต่สวนและส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณานั้น เป็นการไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา
คดีจะขึ้นมาสู่การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ได้ก็ต่อเมื่อมีการอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ทั้งนี้ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์ แต่คดีนี้กลับขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์โดยคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดการไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้านและส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณา และศาลอุทธรณ์ก็มีคำสั่งยกคำร้องของผู้คัดค้านโดยไม่มีการวินิจฉัยถึงคำสั่งศาลชั้นต้น คำสั่งศาลอุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาแม้ผู้คัดค้านจะไม่ฎีกามาก็ตาม แต่ก็เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนกรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),243,247 ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและเห็นสมควรย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี และให้ยกคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกคำร้องของผู้คัดค้าน ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้าน แล้วมีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดีต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2594/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมให้เช่าที่ดินช่วงเทศกาล ไม่ถือเป็นความผิดฐานบุกรุก หากมีข้อพิพาทเรื่องค่าเช่า
โจทก์ยินยอมให้บุคคลภายนอกเข้ามาเช่าปลูกร้านค้าเพื่อขายของในที่ดินของโจทก์ ดังนี้การที่จำเลยเข้าปลูกร้านค้าเพื่อขายของในที่ดินของโจทก์จึงไม่มีความผิดฐานบุกรุกคดีโจทก์จึงไม่มีมูลที่ศาลจะรับไว้พิจารณา เหตุที่โจทก์ให้จำเลยรื้อถอนเต็นท์ออกไปจากที่ดินของโจทก์เนื่องมาจากโจทก์ขอเก็บเงินค่าที่ดินตามเจตนาของโจทก์ที่ประสงค์ให้บุคคลภายนอกเข้ามาเช่าปลูกร้านค้าขายของ แต่จำเลยไม่ยอมจ่ายค่าเช่าที่ดินแก่โจทก์จึงเป็นกรณีที่มีข้อพิพาทกันในทางแพ่ง เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ให้เช่าที่ดินเป็นรายวันและในวันเกิดเหตุโจทก์ให้จำเลยรื้อถอนเต็นท์ออกไปจากที่ดินของโจทก์ แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตาม เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยออกไปจากที่ดินของโจทก์แล้วกลับเข้ามาใหม่อีกพฤติการณ์จึงเป็นกรณีที่จำเลยกระทำต่อเนื่องมาจากวันเกิดเหตุ ย่อมไม่มีความผิดฐานบุกรุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2594/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมให้ใช้ที่ดินไม่ถือเป็นการบุกรุก กรณีพิพาทค่าเช่าเป็นเรื่องแพ่ง
โจทก์ยินยอมให้บุคคลภายนอกเข้ามาเช่าปลูกร้านค้าเพื่อขายของในที่ดินของโจทก์ ดังนี้การที่จำเลยเข้าปลูกร้านค้าเพื่อขายของในที่ดินของโจทก์จึงไม่มีความผิดฐานบุกรุก คดีโจทก์จึงไม่มีมูลที่ศาลจะรับไว้พิจารณา
เหตุที่โจทก์ให้จำเลยรื้อถอนเต็นท์ออกไปจากที่ดินของโจทก์เนื่องมาจากโจทก์ขอเก็บเงินค่าที่ดินตามเจตนาของโจทก์ที่ประสงค์ให้บุคคลภายนอกเข้ามาเช่าปลูกร้านค้าขายของ แต่จำเลยไม่ยอมจ่ายค่าเช่าที่ดินแก่โจทก์จึงเป็นกรณีที่มีข้อพิพาทกันในทางแพ่ง เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ให้เช่าที่ดินเป็นรายวันและในวันเกิดเหตุโจทก์ให้จำเลยรื้อถอนเต็นท์ออกไปจากที่ดินของโจทก์ แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตาม เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยออกไปจากที่ดินของโจทก์แล้วกลับเข้ามาใหม่อีกพฤติการณ์จึงเป็นกรณีที่จำเลยกระทำต่อเนื่องมาจากวันเกิดเหตุ ย่อมไม่มีความผิดฐานบุกรุก
of 64