คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ดำรุพงศ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 636 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2395/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความโทษปรับตาม พ.ร.บ.ศุลกากร: ความผิดต่อเนื่องและขอบเขตโทษสูงสุด
แม้ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 ทวิ จะมิได้บัญญัติข้อความเจาะจงลงไปว่าสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วเช่นเดียวกับที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27 ก็ตาม แต่มาตรา 27 ทวิ นี้เป็นบทบัญญัติต่อท้ายและเป็นความผิดต่อเนื่องจากมาตรา 27 ดังนั้นในเรื่องโทษปรับนี้จึงย่อมมีความหมายเช่นเดียวกับที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27 ว่า สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ นั่นเอง การที่ศาลอุทธรณ์ปรับจำเลยเรียงตัวคนละสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว จึงเป็นการปรับจำเลยสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆเกินกว่าสี่เท่า ขัดต่อบทบัญญัติมาตราดังกล่าว ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2395/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษปรับตาม พ.ร.บ.ศุลกากร มาตรา 27 ทวิ ต้องไม่เกินสี่เท่าราคาของซึ่งรวมค่าอากร การปรับเกินกว่าสี่เท่าขัดต่อกฎหมาย
แม้ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิจะมิได้บัญญัติข้อความเจาะจงลงไปว่าสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วเช่นเดียวกับที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27 ก็ตาม แต่มาตรา 27 ทวินี้เป็นบทบัญญัติต่อท้ายและเป็นความผิดต่อเนื่องจากมาตรา 27ดังนั้น ในเรื่องโทษปรับนี้จึงย่อมมีความหมายเช่นเดียวกับที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27 ว่า สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆนั่นเอง การที่ศาลอุทธรณ์ปรับจำเลยเรียงตัวคนละสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว จึงเป็นการปรับจำเลยสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ เกินกว่าสี่เท่า ขัดต่อบทบัญญัติมาตราดังกล่าว ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2350/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานเดี่ยวประกอบกับพยานหลักฐานอื่น เชื่อได้ถึงความผิดฐานฉ้อโกงและซ่องโจร
แม้โจทก์จะมีผู้เสียหายเป็นประจักษ์พยานที่สำคัญเพียงคนเดียว ซึ่งโดยปกติพยานเดี่ยว เช่นนี้จะมีน้ำหนักในการรับฟังน้อย แต่หาใช่ว่าจะรับฟังไม่ได้เลย หากโจทก์มี พยานหลักฐานอื่นที่ดีมาร่วมวินิจฉัยเข้าด้วยกันแล้วพยานเดี่ยว ดังกล่าวก็สามารถรับฟังได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2070/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบเงินที่ได้จากการกระทำผิด แม้ไม่ใช่เงินที่ได้จากการกระทำผิดในคดีปัจจุบัน ศาลมีอำนาจริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา
ธนบัตรของกลางจำนวน 700 บาท เป็นเงินที่จำเลยได้จากการขายเมทแอมเฟตามีนก่อนหน้าที่จะถูกจับ กรณีจึงเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้มาโดยได้กระทำความผิด ทั้งคดีนี้โจทก์ได้ฟ้องจำเลยในข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายและขายเมทแอมเฟตามีน แม้ศาลจะไม่มีอำนาจสั่งริบเงินสดของกลางจำนวน 700 บาท ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 102 ซึ่งเป็นบทเฉพาะก็ตาม และแม้ธนบัตรของกลางจะไม่ได้มาโดยการขายเมทแอมเฟตามีนในคดีนี้โดยตรงก็ตาม ศาลก็มีอำนาจริบได้ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2070/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์สินจากความผิด: ศาลมีอำนาจริบเงินได้จากการกระทำผิด แม้ไม่ใช่ของกลางในคดีปัจจุบัน
ธนบัตรของกลางจำนวน 700 บาท เป็นเงินที่จำเลยได้จากการขายเมทแอมเฟตามีนก่อนหน้าที่จะถูกจับ กรณีจึงเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้มาโดยได้กระทำความผิด ทั้งคดีนี้โจทก์ได้ฟ้องจำเลยในข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายและขายเมทแอมเฟตามีน แม้ศาลจะไม่มีอำนาจสั่งริบเงินสดของกลางจำนวน 700 บาท ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา102 ซึ่งเป็นบทเฉพาะก็ตาม และแม้ธนบัตรของกลางจะไม่ได้มาโดยการขายเมทแอมเฟตามีนในคดีนี้โดยตรงก็ตาม ศาลก็มีอำนาจริบได้ตาม ป.อ.มาตรา 33(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1986/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้จัดการสหกรณ์ต่อความเสียหายจากสินค้าขาดบัญชี และขอบเขตความรับผิดของจำนอง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 รับจ้างเป็นผู้จัดการของโจทก์ตามสัญญาจ้างผู้จัดการ โดยสัญญามีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 1 รับชดใช้ค่าเสียหายหรือหนี้สินที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายหรือก่อให้เกิดหนี้สินต่อโจทก์ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆระหว่างจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการของโจทก์ สินค้าโจทก์ขาดบัญชีไป จำเลยที่ 1 มีหน้าที่รับผิดชดใช้ค่าสินค้าที่ขาดบัญชีดังกล่าวตามข้อตกลง เป็นการเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามข้อตกลงที่มีต่อกันตามสัญญาที่ทำกันไว้ และอายุความในกรณีนี้มิได้มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องมีอายุความ 10 ปี นับแต่โจทก์ทราบว่าสินค้าโจทก์ขาดบัญชีตาม มาตรา 169 เดิม อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ
สัญญาจ้างฉบับพิพาทมีข้อความว่า ผู้รับจ้างได้รับทราบและตกลงที่จะปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการตามระเบียบข้อบังคับของร้านสหกรณ์และหน้าที่อื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการดำเนินการจะมอบหมายให้ ถ้าผู้รับจ้างก่อให้เกิดความเสียหายหรือก่อให้เกิดหนี้สินขึ้นต่อผู้จ้างไม่ว่าด้วยเหตุใด ผู้รับจ้างยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายหรือหนี้สินนั้น ๆ โดยสิ้นเชิงให้แก่ผู้จ้างตามที่ผู้จ้างจะเรียกร้อง และข้อบังคับของโจทก์เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการระบุว่า ผู้จัดการมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการจัดการทั่วไปในส่วนที่เกี่ยวกับบรรดากิจการค้าของสหกรณ์ รวมทั้งเป็นผู้บังคับบัญชาเจ้าหน้าที่ทั้งหลายของสหกรณ์ จัดการวางระเบียบเกี่ยวกับการปกครองและการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตามที่เห็นสมควร ทั้งนี้โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการดำเนินการ รับผิดชอบในการจัดทำบัญชีและทะเบียนต่าง ๆ ของสหกรณ์ให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ ตรวจตราดูแลสถานที่ สำนักงาน ร้าน และอุปกรณ์ต่าง ๆ ตลอดจนบรรดาสินค้าของสหกรณ์ให้อยู่ในสภาพอันดีและปลอดภัย ดังนั้นเมื่อสินค้าของโจทก์ในช่วงระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการของโจทก์ขาดบัญชีไปและไม่ปรากฏว่าที่สินค้าขาดบัญชีไปดังกล่าวเกิดจากการกระทำของผู้อื่น ย่อมเป็นกรณีที่ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการ ทำให้สินค้าของโจทก์ที่อยู่ในความครอบครองสอดส่องดูแลของตนขาดบัญชีไปโดยประมาทเลินเล่อและเกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 จึงต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์โดยสิ้นเชิง
จำเลยที่ 2 จำนองที่ดินเป็นประกันความเสียหายที่จำเลยที่ 1อาจเป็นผู้ก่อในวงเงินจำนวน 200,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนจำกัด จำเลยที่ 2จึงไม่ต้องรับผิดเกินไปกว่าวงเงินที่จำนองที่ดินเป็นประกัน การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินแทน และหากจำเลยที่ 2 ไม่ชำระ ให้ยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ให้โจทก์จนครบนั้น ยังไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1986/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้จัดการสหกรณ์ต่อความเสียหายของสินค้า และขอบเขตความรับผิดของประกันจำนอง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 รับจ้างเป็นผู้จัดการของโจทก์ตามสัญญาจ้างผู้จัดการ โดยสัญญามีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 1รับชดใช้ค่าเสียหายหรือหนี้สินที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายหรือก่อให้เกิดหนี้สินต่อโจทก์ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ระหว่างจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการของโจทก์ สินค้าโจทก์ขาดบัญชีไป จำเลยที่ 1 มีหน้าที่รับผิดชดใช้ค่าสินค้าที่ขาดบัญชีดังกล่าวตามข้อตกลง เป็นการเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามข้อตกลงที่มี ข้อตกลงที่มีต่อกันตามสัญญาที่ทำกันไว้ และอายุความในกรณีนี้มิได้มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องมีอายุความ10 ปี นับแต่โจทก์ทราบว่าสินค้าโจทก์ขาดบัญชีตามมาตรา 169 เดิม อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ สัญญาจ้างฉบับพิพาทมีข้อความว่า ผู้รับจ้างได้รับทราบและตกลงที่จะปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการตามระเบียบข้อบังคับ ของร้านสหกรณ์และหน้าที่อื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการดำเนินการจะ มอบหมายให้ ถ้าผู้รับจ้างก่อให้เกิดความเสียหายหรือก่อให้เกิดหนี้สินขึ้นต่อผู้จ้างไม่ว่าด้วยเหตุใด ผู้รับจ้างยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายหรือหนี้สินนั้น ๆ โดยสิ้นเชิงให้แก่ผู้จ้างตามที่ผู้จ้างจะเรียกร้อง และข้อบังคับของ โจทก์เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการระบุว่า ผู้จัดการ มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการจัดการทั่วไปในส่วนที่เกี่ยวกับบรรดากิจการค้าของสหกรณ์ รวมทั้งเป็นผู้บังคับบัญชาเจ้าหน้าที่ทั้งหลายของสหกรณ์ จัดการวางระเบียบเกี่ยวกับการปกครองและการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตามที่เห็นสมควรทั้งนี้โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการดำเนินการรับผิดชอบในการจัดทำบัญชีและทะเบียนต่าง ๆ ของสหกรณ์ให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ ตรวจตราดูแลสถานที่ สำนักงานร้าน และอุปกรณ์ต่าง ๆ ตลอดจนบรรดาสินค้าของสหกรณ์ให้อยู่ในสภาพอันดีและปลอดภัย ดังนั้น เมื่อสินค้าของโจทก์ในช่วงระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการของโจทก์ขาดบัญชีไปและไม่ปรากฏว่าที่สินค้าขาดบัญชีไปดังกล่าวเกิดจากการ กระทำของผู้อื่น ย่อมเป็นกรณีที่ถือได้ว่าจำเลยที่ 1ไม่ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการ ทำให้สินค้าของ โจทก์ที่อยู่ในความครอบครองสอดส่องดูแลของตนขาดบัญชีไปโดยประมาทเลินเล่อและเกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 1จึงต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์โดยสิ้นเชิง จำเลยที่ 2 จำนองที่ดินเป็นประกันความเสียหายที่จำเลยที่ 1 อาจเป็นผู้ก่อในวงเงินจำนวน 200,000 บาทซึ่งเป็นจำนวนจำกัด จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดเกินไปกว่าวงเงินที่จำนองที่ดินเป็นประกัน การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินแทน และหากจำเลยที่ 2 ไม่ชำระให้ยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ให้โจทก์จนครบนั้น ยังไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1892/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายที่ดินเพื่อชำระหนี้จำนอง ไม่ถือเป็นการโกงเจ้าหนี้ แม้คดีแพ่งยังไม่ถึงที่สุด
ในวันที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 4 จำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองจาก อ.ด้วยหากจำเลยที่ 1 ไม่ขายที่ดินดังกล่าวก็ต้องชำระดอกเบี้ยจำนองปีละหลายสิบล้านบาท การที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้จำนองและได้ขายที่ดินที่จำนองได้เงินรวมทั้งสิ้น 721,600,000 บาทจึงเป็นการขายเพื่อชำระหนี้จำนองตามปกติ แม้จะเป็นการขายภายหลังศาลแพ่งมีคำพิพากษาให้จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันชำระหนี้ให้แก่โจทก์ก็ตามก็ยังเป็นการขายเพื่อปลดเปลื้องภาระหนี้จำนอง และในคดีดังกล่าวแม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษายืนแต่จำเลยที่ 1 ก็มิได้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์จะเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1หรือไม่ยังโต้เถียงกันอยู่ นอกจากนี้ หากศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยนับถึงวันฟ้องเพียงประมาณ80,000,000 บาท แต่จำเลยที่ 1 มีสินทรัพย์ 107,701,733.41 บาทหากจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีแพ่งดังกล่าว จำเลยที่ 1 ก็ยังมีสินทรัพย์พอชำระหนี้แก่โจทก์ การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 4 มิใช่มีเจตนาเพื่อมิให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน การกระทำของจำเลยทั้งหกไม่มีมูลความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1819/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการปรับและบอกเลิกสัญญาซื้อขาย: การใช้สิทธิควบคู่กันและการยินยอมของคู่สัญญา
สัญญาซื้อขายได้กำหนดเหตุที่ทำให้ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ตลอดจนผลในกรณีที่ผู้ซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา และในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาไว้แตกต่างกัน กล่าวคือ หากโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามข้อ 8 จำเลยยอมให้โจทก์ริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7 และถ้าโจทก์จัดซื้อสิ่งของจากบุคคลอื่นภายในกำหนด 12 เดือน นับแต่วันที่บอกเลิกสัญญา จำเลยยอมรับผิดชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นจากราคาที่กำหนดไว้ในสัญญานี้ด้วย ส่วนข้อ 9 นั้น ต้องเป็นกรณีที่โจทก์ไม่ได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 8ในข้อนี้จำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์ปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบ นับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่จำเลยได้นำสิ่งของมาส่งให้แก่โจทก์จนถูกต้องครบถ้วน และตามสัญญาข้อ 9 วรรคสองในระหว่างที่มีการปรับนั้น ถ้าโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้โจทก์จะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7 กับเรียกร้องให้ชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นตามที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 8 วรรคสอง นอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้คดีนี้จำเลยไม่ส่งมอบยางแอสฟัลต์ให้แก่โจทก์ภายในกำหนดเวลาตามสัญญา และก่อนที่โจทก์จะบอกเลิกสัญญา โจทก์ก็มิได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาตามข้อ 8 ทันที โดยโจทก์มีหนังสือทวงถามและกำหนดเวลาใหม่ให้โอกาสแก่จำเลยในการดำเนินการส่งยางแอสฟัลต์ให้แก่โจทก์ ในขณะเดียวกันโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยทราบด้วยว่าโจทก์สงวนสิทธิการปรับตามสัญญาและให้จำเลยแจ้งการยินยอมชำระค่าปรับมาด้วย ซึ่งจำเลยก็มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่ายอมให้โจทก์ปรับตามสัญญาตามที่เคยปฏิบัติมาเป็นประจำอยู่แล้ว นอกจากนี้จำเลยยังมีหนังสือยืนยันมาว่าจะส่งยางแอสฟัลต์ให้แก่โจทก์ให้แล้วเสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2533 และโจทก์มีหนังสือแจ้งการปรับในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาพัสดุที่ยังไม่ได้รับมอบไปให้จำเลยทราบ เมื่อจำเลยผิดสัญญาโจทก์ได้เลือกใช้สิทธิในการปรับจำเลยเป็นรายวันไปก่อนเพื่อให้โอกาสจำเลยส่งมอบยางแอสฟัลต์ให้แก่โจทก์ภายในเวลาที่โจทก์กำหนดให้ใหม่ ซึ่งจำเลยก็ยินยอมตลอดมา ครั้นเมื่อโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่สามารถส่งมอบยางแอสฟัลต์ให้ตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์จึงใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา การกระทำของโจทก์เช่นนี้ต้องด้วยข้อ 9วรรคสอง ของสัญญาซื้อขาย โจทก์จึงมีสิทธิปรับจำเลย เป็นรายวันในอัตราร้อยละ0.20 ของราคายางแอสฟัลต์ที่ยังไม่ได้รับมอบ นับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่จำเลยได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1819/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิปรับรายวันจากสัญญาซื้อขาย: การใช้สิทธิปรับก่อนบอกเลิกสัญญาชอบด้วยข้อตกลง
สัญญาซื้อขายได้กำหนดเหตุที่ทำให้ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ตลอดจนในกรณีที่ผู้ซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาไว้แตกต่างกันกล่าวคือ หากโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามข้อ 8 จำเลยยอม ให้โจทก์ริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7 และถ้าโจทก์จัดซื้อสิ่งของจากบุคคลอื่นภายในกำหนด 12 เดือน นับแต่วันที่บอกเลิกสัญญาจำเลยยอมรับผิดชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นจากราคาที่กำหนดไว้ใน สัญญานี้ด้วย ส่วนข้อ 9 นั้น ต้องเป็นกรณีที่โจทก์ไม่ได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 8 ในข้อนี้จำเลยที่ 1ยอมให้โจทก์ปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของ ที่ยังไม่ได้รับมอบ นับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญา จนถึงวันที่จำเลยได้นำสิ่งของมาส่งให้แก่โจทก์จนถูกต้อง ครบถ้วน และตามสัญญาข้อ 9 วรรคสอง ในระหว่างที่มีการปรับนั้น ถ้าโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์จะ ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันหรือเรียกร้องจาก ธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7 กับเรียกร้องให้ ชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นตามที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 8 วรรคสอง นอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้คดีนี้ จำเลยไม่ส่งมอบยางแอสฟัลต์ให้แก่โจทก์ภายในกำหนดเวลาตามสัญญา และก่อนที่โจทก์จะบอกเลิกสัญญา โจทก์ก็มิได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาตามข้อ 8 ทันที โดยโจทก์มีหนังสือทวงถามและกำหนดเวลาใหม่ให้โอกาสแก่จำเลยในการดำเนินการส่งยางแอสฟัลต์ให้แก่โจทก์ ในขณะเดียวกันโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยทราบด้วยว่าโจทก์สงวนสิทธิการปรับตามสัญญาและให้จำเลยแจ้ง การยินยอมชำระค่าปรับมาด้วย ซึ่งจำเลยก็มีหนังสือแจ้งให้ โจทก์ทราบว่ายอมให้โจทก์ปรับตามสัญญาตามที่เคยปฏิบัติมา เป็นประจำอยู่แล้ว นอกจากนี้จำเลยยังมีหนังสือยืนยันมาว่า จะส่งยางแอสฟัลต์ให้แก่โจทก์ให้แล้วเสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2533 และโจทก์มีหนังสือแจ้งการปรับในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาพัสดุที่ยังไม่ได้รับมอบไปให้จำเลยทราบเมื่อจำเลยผิดสัญญาโจทก์ได้เลือกใช้สิทธิในการปรับจำเลยเป็นรายวันไปก่อนเพื่อให้โอกาสจำเลยส่งมอบยางแอสฟัลต์ให้แก่โจทก์ภายในเวลาที่โจทก์กำหนดให้ใหม่ ซึ่งจำเลยก็ยินยอมตลอดมา ครั้นเมื่อโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่สามารถส่งมอบยางแอสฟัลต์ให้ตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์จึงใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา การกระทำของโจทก์เช่นนี้ต้องด้วยข้อ 9 วรรคสองของสัญญาซื้อขาย โจทก์จึงมีสิทธิปรับจำเลย เป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.20 ของราคายางแอสฟัลต์ที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่จำเลยได้รับ หนังสือบอกเลิกสัญญาด้วย
of 64