คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ดำรุพงศ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 636 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1816/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความสามารถในการต่อสู้คดีของผู้ต้องหาที่มีอาการเจ็บป่วยทางจิต และการรับฟังพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความผิด
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 14 ในกรณีที่ศาลเห็นว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นผู้วิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้ ให้ศาลงดการไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาไว้ จนกว่าผู้นั้นหายวิกลจริตหรือสามารถจะต่อสู้คดีได้ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจตามกฎหมายที่จะชี้ขาดในกรณีมีเหตุควรเชื่อว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นผู้วิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้หรือไม่เมื่อศาลชั้นต้นชี้ขาดว่าจำเลยสามารถต่อสู้คดีได้ และจำเลยก็มิได้โต้แย้งคัดค้านการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นต่อมาจึงชอบด้วยกฎหมาย การที่แพทย์เบิกความเป็นพยานในชั้นที่ศาลชั้นต้นจะต้องชี้ขาดว่า สภาพของจำเลยในขณะที่ถูกฟ้องคดีนี้สามารถต่อสู้คดีได้หรือไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 14โดยแพทย์เบิกความเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2536 ว่า จำเลยเข้ารับการรักษาตั้งแต่ปี 2532 ตรวจพบว่าจำเลยเป็นโรคจิตเภทขณะตรวจพบว่าจำเลยมีอาการวิตกกังวล ไม่สามารถตอบคำถามได้อย่างต่อเนื่อง จากสภาพของจำเลยขณะที่ตรวจ แพทย์วินิจฉัยว่าจำเลยเป็นโรคทางจิตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้เมื่อไม่มีปรากฏความเห็นของแพทย์ที่ตรวจอาการของจำเลยระหว่างเกิดเหตุ และเมื่อศาลชั้นต้นนัดพร้อมกลับปรากฏข้อเท็จจริงต่อหน้าศาลว่า จำเลยสามารถถามตอบต่อศาลได้ ดังนี้ ความเห็นของแพทย์ดังกล่าวจึงยังไม่สามารถรับฟังเป็นยุติได้ว่า ขณะกระทำความผิดจำเลยมีจิตบกพร่อง โรคจิต หรือจิตฟั่นเฟือน อันจะทำให้จำเลยไม่ต้องรับโทษตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1816/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยภาวะวิกลจริตของผู้ต้องหา/จำเลยและการต่อสู้คดีตาม ป.วิ.อ.มาตรา 14
ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 14 ในกรณีที่ศาลเห็นว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นผู้วิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้ ให้ศาลงดการไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาไว้ จนกว่าผู้นั้นหายวิกลจริตหรือสามารถจะต่อสู้คดีได้ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจตามกฎหมายที่จะชี้ขาดในกรณีมีเหตุควรเชื่อว่า ผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นผู้วิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้หรือไม่ เมื่อศาลชั้นต้นชี้ขาดว่าจำเลยสามารถต่อสู้คดีได้ และจำเลยก็มิได้โต้แย้งคัดค้านการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นต่อมาจึงชอบด้วยกฎหมาย
การที่แพทย์เบิกความเป็นพยานในชั้นที่ศาลชั้นต้นจะต้องชี้ขาดว่า สภาพของจำเลยในขณะที่ถูกฟ้องคดีนี้สามารถต่อสู้คดีได้หรือไม่ตามป.วิ.อ.มาตรา 14 โดยแพทย์เบิกความเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2536 ว่า จำเลยเข้ารับการรักษาตั้งแต่ปี 2532 ตรวจพบว่าจำเลยเป็นโรคจิตเภท ขณะตรวจพบว่าจำเลยมีอาการวิตกกังวล ไม่สามารถตอบคำถามได้อย่างต่อเนื่อง จากสภาพของจำเลยขณะที่ตรวจ แพทย์วินิจฉัยว่าจำเลยเป็นโรคทางจิตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้เมื่อไม่ปรากฏความเห็นของแพทย์ที่ตรวจอาการของจำเลยระหว่างเกิดเหตุ และเมื่อศาลชั้นต้นนัดพร้อมกลับปรากฏข้อเท็จจริงต่อหน้าศาลว่า จำเลยสามารถถามตอบต่อศาลได้ ดังนี้ ความเห็นของแพทย์ดังกล่าวจึงยังไม่สามารถรับฟังเป็นยุติได้ว่าขณะกระทำความผิดจำเลยมีจิตบกพร่อง โรคจิต หรือจิตฟั่นเฟือน อันจะทำให้จำเลยไม่ต้องรับโทษตาม ป.อ.มาตรา 65 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1416/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิด, ความรับผิดร่วม, คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา, ค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์, การจดทะเบียนซ้ำ, การยุยงพนักงาน
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชดใช้ค่าเสียหายในส่วนที่ยุยงพนักงานโจทก์ให้ทำงานกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นเงิน 1,000,000 บาท และให้จำเลยทั้งสามชดใช้ค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์จากการจำหน่ายยาปีละ 500,000 บาท นับแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2534 จนกว่าจำเลยที่ 3 จะส่งยาให้โจทก์จำหน่าย โจทก์มิได้อุทธรณ์ คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่เกี่ยวกับจำนวนค่าเสียหายในส่วนนี้จึงถึงที่สุด โจทก์จะฎีกาขอให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 และจำเลยทั้งสามชดใช้ค่าเสียหายเพิ่มขึ้นอีกไม่ได้ แต่ในส่วนค่าเสียหายที่เป็นค่าขาดประโยชน์จากการจำหน่ายยาปีละ 500,000 บาท ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้นับจนถึงวันที่ 1 มกราคม 2539 โจทก์มีสิทธิฎีกาได้
จำเลยที่ 3 ไม่ส่งยาให้โจทก์จำหน่ายตามสัญญาตั้งแต่ประมาณเดือนมิถุนายน 2534 และตามสัญญาตั้งโจทก์เป็นตัวแทนจำหน่ายยาของจำเลยที่ 3 แต่ผู้เดียวในประเทศไทยจะสิ้นสุดสัญญาอีกครั้งในวันที่ 1 มกราคม 2539 ประกอบกับตามคำขอท้ายฟ้อง โจทก์ขอให้จำเลยที่ 3 ส่งยาให้แก่โจทก์ตามปกติ นับแต่วันฟ้องจนถึงวันที่ 1 มกราคม 2539 อันตรงกับวันสิ้นสุดของสัญญาดังกล่าว เมื่อปรากฏว่าสัญญาสิ้นสุดลงแล้ว โจทก์ย่อมไม่อาจบังคับให้จำเลยที่ 3 ส่งยาให้โจทก์จำหน่ายได้อีก และจำเลยที่ 3 มีสิทธิส่งยาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จำหน่ายได้ คำขอโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด กรรมการโจทก์มี 6 คน คือ ว. ส. และ พ. กับกรรมการอื่นอีก 3 คน กรรมการ 2 คน ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของโจทก์มีผลผูกพันโจทก์ได้ เมื่อคำฟ้องโจทก์ในช่องคู่ความระบุว่าโจทก์โดย ส. และ พ. กรรมการผู้มีอำนาจ แม้จะแตกต่างจากที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า กรรมการผู้มีอำนาจโจทก์คือ ว. และ พ. ก็ตาม แต่บุคคลทั้งสามตามที่ระบุชื่อต่างก็เป็นกรรมการโจทก์มีอำนาจลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของโจทก์มีผลผูกพันโจทก์ได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
แม้สัญญาตั้งโจทก์เป็นตัวแทนจำหน่ายยาแต่ผู้เดียวในประเทศไทยของจำเลยที่ 3 จะมิได้มีกรรมการ 2 คน ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราของโจทก์ตามข้อบังคับของโจทก์ก็ตาม แต่ก็มีข้อความระบุชื่อคู่สัญญาไว้ชัดเจนว่าเป็นสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างจำเลยที่ 3 กับโจทก์โดยมีจำเลยที่ 1 ทำสัญญาในนามโจทก์ จึงต้องถือว่าโจทก์เป็นคู่สัญญา ทั้งภายหลังทำสัญญาโจทก์และจำเลยที่ 3 ต่างถือเอาสัญญานั้นมาใช้เป็นประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจของตน ย่อมถือว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันและมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 3 แล้ว
ปัญหาว่า จำเลยทั้งสามได้ร่วมทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยที่ 1 และที่ 2 และมีสิทธิขอให้จำเลยทั้งสามชดใช้ค่าเสียหายที่เป็นค่าขาดประโยชน์จากการจำหน่ายยาโดยนับแต่ปี 2532 จนกว่าจำเลยที่ 3 จะหยุดส่งยาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จำหน่ายหรือไม่นั้น เป็นมูลคดีเดียวกับคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานยักยอกและความผิดต่อ พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2499 จึงเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจะต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 46
ศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญาโดยฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ร่วมก่อการตั้งจำเลยที่ 2 ในขณะที่จำเลยที่ 1 ยังเป็นกรรมการโจทก์อยู่ แต่จำเลยที่ 2 ยังมิได้ประกอบกิจการอันใด จึงไม่เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของโจทก์ และระหว่างที่จำเลยที่ 1 เป็นกรรมการโจทก์อยู่ จำเลยที่ 1 ไม่ได้จัดให้จำเลยที่ 3 ยกเลิกไม่ส่งยาให้โจทก์จำหน่ายหรือชักนำให้จำเลยที่ 3 แต่งตั้งจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนจำหน่ายยาแต่ผู้เดียวในประเทศไทยแทนโจทก์ และการที่จำเลยที่ 1 นำยาของจำเลยที่ 3 ที่โจทก์จำหน่ายอยู่ก่อนไปจดทะเบียนซ้ำต่อคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข หรือเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2534 จำเลยที่ 1 ได้สั่งยาหรือนำเข้ายาชนิดเดียวกันกับยาที่จำเลยที่ 3 ส่งให้โจทก์จำหน่ายอยู่ก่อนมาจำหน่ายแทนโจทก์ ทำให้โจทก์ขาดรายได้ปกติและไม่มียาดังกล่าวจำหน่าย ล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่จำเลยที่ 1 พ้นจากการเป็นกรรมการโจทก์ทั้งสิ้น ดังนี้ ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง จึงต้องถือข้อเท็จจริงในคดีอาญาที่ฟังยุติดังกล่าวว่า จำเลยที่ 1 ร่วมก่อการตั้งจำเลยที่ 2 ในขณะที่จำเลยที่ 1 ยังเป็นกรรมการโจทก์อยู่ แต่จำเลยที่ 2 ยังมิได้ประกอบกิจการอันใด ไม่เป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ และจำเลยที่ 1 และที่ 2 สั่งหรือนำเข้ายาชนิดเดียวกันกับที่จำเลยที่ 3 ส่งให้โจทก์จำหน่ายอยู่ก่อนมาจำหน่ายแทนโจทก์ เป็นการกระทำภายหลังจากที่จำเลยที่ 1 พ้นจากการเป็นกรรมการโจทก์ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีอำนาจกระทำได้ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายที่เป็นค่าขาดประโยชน์จากการจำหน่ายยา
เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 แม้จำเลยที่ 3 มิได้ฎีกาก็ตาม แต่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้ร่วมกันรับผิดในผลแห่งละเมิด กรณีจึงเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันมิอาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 ที่มิได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1236/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งต่อความเสียหายจากอุบัติเหตุที่เกิดจากการมอบหมายให้พนักงานขับรถแทน
จำเลยที่ 3 ขับรถยนต์โดยสารชนรถจักรยานยนต์โจทก์ เป็นเหตุให้บุตรโจทก์ถึงแก่ความตาย แม้หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถจะระบุชื่อผู้อื่นเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ใช้รถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุประกอบการขนส่งผู้โดยสาร โดยมีจำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นลูกจ้างกระทำไปในทางการที่จ้างในขณะเกิดเหตุ การที่จำเลยที่ 4 พนักงานขับรถ ใช้ให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นพนักงานเก็บเงินค่าโดยสารขับรถยนต์โดยสารไปส่งผู้โดยสารแทนนั้น เป็นการแสดงออกชัดว่าจำเลยที่ 4 ได้แต่งตั้งให้จำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนตนในการปฏิบัติหน้าที่ผู้ขับรถยนต์ ฉะนั้นในส่วนที่เกี่ยวกับความรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกอันเกิดจากการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 3 เช่นนี้ กรณีต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 420 , 425 , 427 , 797 และ 820 จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 4 จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 3 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 941/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานหลักฐานยืนยัน จำเลยร่วมปล้นทรัพย์ พยานระบุตัวได้ ชี้ตัวได้ และหลบหนีหลังเกิดเหตุ
แม้ผู้เสียหายจะเบิกความว่าขณะเกิดเหตุมีโอกาสเห็นหน้าคนร้ายชัดเจนอยู่นานพอสมควรจึงจำคนร้ายได้แต่ขณะเบิกความคดีนี้จำคนร้ายไม่ได้เพราะเวลาล่วงเลยมานานถึง 5 ปีเศษแล้วก็ตาม แต่ผู้เสียหายเคยเบิกความไว้ในคดีอาญาก่อนว่าในคืนเกิดเหตุจำคนร้ายได้ 1 คน ทราบชื่อภายหลังว่า ชื่อ อ.และได้ชี้บุคคลที่ศาลทำเครื่องหมายดอกจันไว้ในภาพถ่ายในคดีดังกล่าวประกอบคำเบิกความว่าคือ อ.จำเลยคดีนี้ ซึ่งจำเลยก็ยอมรับว่าบุคคลที่ศาลทำเครื่องหมายดอกจันไว้ในภาพถ่ายคือจำเลย จึงมีเหตุให้น่าเชื่อว่าขณะเกิดเหตุพยานจำคนร้ายได้ว่าเป็นจำเลยและสามารถชี้ภาพถ่ายจำเลยได้ถูกต้อง ส่วนประจักษ์พยานโจทก์อีก 3 ปาก เป็นเจ้าพนักงานตำรวจที่ออกตรวจท้องที่ในคืนเกิดเหตุก็เพราะได้รับแจ้งเหตุว่ามีคนร้าย ซึ่งในภาวะและพฤติการณ์เช่นนั้นประจักษ์พยานย่อมมีความระมัดระวังต่อเหตุการณ์ทุกขณะ การที่รถแล่นมาถึงที่เกิดเหตุซึ่งเป็นที่เปลี่ยวและมีคนออกมายืนข้างถนนส่องไฟฉายขึ้นลงเป็นสัญญาณ ให้รถหยุดย่อมมีเหตุให้ระแวงสงสัยว่าอาจจะเป็นคนร้ายที่มาดักปล้นรถยนต์ทั้งคนร้ายที่ส่องไฟฉายให้สัญญาณรถยนต์ซึ่งกระทำอยู่หน้ารถย่อมจะหันหน้าเข้าหารถและแสงไฟจากหน้ารถ ก็จะส่องไปที่หน้าคนร้าย ประจักษ์พยานทั้งสามซึ่งคอยระมัดระวังเหตุอยู่แล้วย่อมสนใจมองไปที่คนร้ายที่ส่องไฟฉายว่าจะเป็นพวกที่มาดักปล้นรถหรือไม่ เพราะขณะนั้นก็มีรถจักรยานยนต์จอดอยู่คนละฟากถนน 1 คันและมีชายยืนอยู่ข้างรถ 2 คน แสงไฟหน้ารถที่ส่องสว่างก็สามารถเห็นได้ ตั้งแต่ระยะ 50 เมตรจนกระทั่งรถแล่นเข้าไปใกล้และจอดในระยะห่าง จากคนร้ายประมาณ 10 เมตร ในพฤติการณ์ดังกล่าวประจักษ์พยานโจทก์ทั้งสามย่อมมีโอกาสเห็นหน้าคนร้ายชัดเจน ประกอบกับประจักษ์พยานโจทก์ต่างก็รู้จักจำเลยดีเพราะเคยจับกุมจำเลยมาก่อน ดังนั้น ที่ประจักษ์พยานยืนยันว่า จำหน้าคนร้ายที่ส่องไฟฉายขึ้นลงเป็นสัญญาณให้หยุดได้ว่าเป็นจำเลยและชี้ตัวจำเลยในชั้นสอบสวนได้ถูกต้องด้วยจึงน่าเชื่อถือนอกจากนี้ ในคืนเกิดเหตุเจ้าพนักงานตำรวจได้ยิงต่อสู้กับคนร้ายด้วย ซึ่งต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจก็ติดตามจับ ส. ได้เพราะถูกยิงได้รับบาดเจ็บไปรักษาอยู่ที่โรงพยาบาล แสดงว่าเจ้าพนักงานตำรวจได้ทราบชื่อคนร้ายตั้งแต่คืนเกิดเหตุจึงช่วยสนับสนุนให้คำเบิกความของประจักษ์พยานโจทก์มีน้ำหนักน่าเชื่อยิ่งขึ้น อนึ่ง หลังเกิดเหตุแล้วจำเลยหลบหนีไปนานถึง 5 ปีเศษ นับว่าเป็นพิรุธ ที่จำเลยนำสืบปฏิเสธอ้างฐานที่อยู่ก็เป็นการนำสืบลอย ๆ มีน้ำหนักน้อยไม่อาจหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้ ฟังได้ว่าจำเลย กับพวกได้ร่วมกับ ส. กระทำความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์ตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 779/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรวมโทษคดีอาญาต่างสำนวน และข้อยกเว้นการนับโทษเกิน 50 ปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 มิได้บัญญัติห้ามว่า การนับโทษจำคุกของจำเลยคดีหนึ่งต่อจากโทษจำคุกในคดีอื่นของจำเลยที่มีคำฟ้องและคำพิพากษาต่างสำนวนต่างหากออกไปเมื่อนับรวมกันแล้วจะเกินกำหนดในมาตรา 91 ไม่ได้ การขอให้นับโทษจำคุกของจำเลยในคดีหนึ่งต่อจากโทษจำคุก ของจำเลยคดีอื่น เป็นการขอให้ศาลกล่าวไว้ในคำพิพากษา เป็นอย่างอื่นเกี่ยวกับการเริ่มนับโทษจำคุกของจำเลยใน คดีนั้นว่าจะให้เริ่มนับแต่เมื่อใด ซึ่งหากไม่ได้กล่าวไว้เป็นอย่างอื่นก็จะต้องเริ่มแต่วันมีคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22 วรรคหนึ่ง อันขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาลว่าสมควรให้นับต่อหรือไม่ เพียงใด และมิได้อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 คดีทั้งสองสำนวนนี้ศาลชั้นต้นให้รวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน เมื่อฟังว่าจำเลยกระทำผิดทั้งสองสำนวนเป็นหลายกระทงจึงต้องอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ที่ต้องลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิด อันเป็นการนับโทษจำคุกของจำเลยทุกกระทงในสองสำนวนติดต่อกัน แต่ต้องอยู่ในเงื่อนไขที่ว่า เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วโทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนดในมาตรา 91 ดังนั้นเมื่อมีการลงโทษจำคุกทุกกรรมเป็นกระทงความผิดในคดีทั้งสองสำนวนดังกล่าวตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ไปแล้ว จึงไม่อาจนับโทษจำคุกของจำเลยในคดีอาญาเรื่องอื่นของศาลชั้นต้นต่อกัน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22 ได้อีก เป็นการลงโทษจำคุกจำเลยเกินกำหนดที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 บัญญัติไว้ โจทก์มีคำขอให้นับโทษจำคุกของจำเลยในคดีสองสำนวนที่ ศาลชั้นต้นรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันนี้ต่อจากโทษจำคุกของจำเลยในคดีอาญาที่เกิดขึ้นนอกเขตอำนาจศาลชั้นต้น แม้เป็นกรณีที่จำเลยกระทำผิดในข้อหาเดียวกับข้อหาที่จำเลยถูกลงโทษในคดีทั้งสองสำนวนของศาลชั้นต้นที่รวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันนี้ก็ตาม เมื่อในทางปฏิบัติก็ไม่อาจยื่นฟ้องคดีดังกล่าวต่อศาลชั้นต้น และไม่อาจรวมพิจารณาพิพากษากับคดีทั้งสองสำนวนของศาลชั้นต้น จึงเป็นคดีที่มีคำฟ้องและคำพิพากษาต่างสำนวนต่างหากออกไป กรณีไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ถึงแม้ศาลจะพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยในคดีดังกล่าวมีกำหนด 50 ปี เต็มตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3) ศาลก็ชอบที่จะนับโทษจำคุกของจำเลยในคดีทั้งสองสำนวนของศาลชั้นต้นนี้ต่อจากโทษจำคุกของจำเลยในคดีดังกล่าวตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22วรรคหนึ่ง ได้ ฎีกาของจำเลยที่ว่า จำเลยถูกฟ้องต่อศาลชั้นต้นอีก1 สำนวน ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำคุก 7 ปี 6 เดือน จึงต้องพิพากษารวมโทษของจำเลยทั้งสองสำนวนนี้กับโทษของจำเลยในคดีดังกล่าวเป็นจำคุก 50 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91(3) นั้น แต่ตามฎีกาจำเลยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าคดีดังกล่าวมีความเกี่ยวพันกับคดีนี้อย่างไร หรือไม่ ในอัน ที่จะวินิจฉัยว่าจะต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3)หรือไม่ จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ประกอบ มาตรา 225 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 779/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษจำคุกในคดีหลายสำนวน และข้อยกเว้นตาม ป.อ.มาตรา 91 กรณีรวมพิจารณาคดี
ป.อ.มาตรา 91 มิได้บัญญัติห้ามว่า การนับโทษจำคุกของจำเลยคดีหนึ่งต่อจากโทษจำคุกในคดีอื่นของจำเลยที่มีคำฟ้องและคำพิพากษาต่างสำนวนต่างหากออกไปเมื่อนับรวมกันแล้วจะเกินกำหนดในมาตรา 91 ไม่ได้
การขอให้นับโทษจำคุกของจำเลยในคดีหนึ่งต่อจากโทษจำคุกของจำเลยคดีอื่น เป็นการขอให้ศาลกล่าวไว้ในคำพิพากษาเป็นอย่างอื่นเกี่ยวกับการเริ่มนับโทษจำคุกของจำเลยในคดีนั้นว่าจะให้เริ่มนับแต่เมื่อใด ซึ่งหากไม่ได้กล่าวไว้เป็นอย่างอื่นก็จะต้องเริ่มแต่วันมีคำพิพากษาตาม ป.อ.มาตรา 22 วรรคหนึ่ง อันขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาลว่าสมควรให้นับต่อหรือไม่ เพียงใด และมิได้อยู่ในบังคับของป.อ.มาตรา 91
คดีทั้งสองสำนวนนี้ศาลชั้นต้นให้รวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันเมื่อฟังว่าจำเลยกระทำผิดทั้งสองสำนวนเป็นหลายกระทง จึงต้องอยู่ในบังคับของป.อ.มาตรา 91 ที่ต้องลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิด อันเป็นการนับโทษจำคุกของจำเลยทุกกระทงในสองสำนวนติดต่อกัน แต่ต้องอยู่ในเงื่อนไขที่ว่า เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วโทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนดในมาตรา 91 ดังนั้นเมื่อมีการลงโทษจำคุกทุกกรรมเป็นกระทงความผิดในคดีทั้งสองสำนวนดังกล่าวตาม ป.อ.มาตรา 91 ไปแล้ว จึงไม่อาจนับโทษจำคุกของจำเลยในคดีอาญาเรื่องอื่นของศาลชั้นต้นต่อกัน ตาม ป.อ.มาตรา 22 ได้อีก เป็นการลงโทษจำคุกจำเลยเกินกำหนดที่ ป.อ.มาตรา 91 บัญญัติไว้
โจทก์มีคำขอให้นับโทษจำคุกของจำเลยในคดีสองสำนวนที่ศาลชั้นต้นรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันนี้ต่อจากโทษจำคุกของจำเลยในคดีอาญาที่เกิดขึ้นนอกเขตอำนาจศาลชั้นต้น แม้เป็นกรณีที่จำเลยกระทำผิดในข้อหาเดียวกับข้อหาที่จำเลยถูกลงโทษในคดีทั้งสองสำนวนของศาลชั้นต้นที่รวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันนี้ก็ตามเมื่อในทางปฏิบัติก็ไม่อาจยื่นฟ้องคดีดังกล่าวต่อศาลชั้นต้น และไม่อาจรวมพิจารณาพิพากษากับคดีทั้งสองสำนวนของศาลชั้นต้น จึงเป็นคดีที่มีคำฟ้องและคำพิพากษาต่างสำนวนต่างหากออกไป กรณีไม่อยู่ในบังคับของ ป.อ.มาตรา 91 ถึงแม้ศาลจะพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยในคดีดังกล่าวมีกำหนด 50 ปี เต็มตามที่กำหนดไว้ในป.อ.มาตรา 91 (3) ศาลก็ชอบที่จะนับโทษจำคุกของจำเลยในคดีทั้งสองสำนวนของศาลชั้นต้นนี้ต่อจากโทษจำคุกของจำเลยในคดีดังกล่าวตาม ป.อ.มาตรา 22วรรคหนึ่งได้
ฎีกาของจำเลยที่ว่า จำเลยถูกฟ้องต่อศาลชั้นต้นอีก1 สำนวน ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำคุก 7 ปี 6 เดือน จึงต้องพิพากษารวมโทษของจำเลยทั้งสองสำนวนนี้กับโทษของจำเลยในคดีดังกล่าวเป็นจำคุก 50 ปี ตามป.อ.มาตรา 91 (3) นั้น แต่ตามฎีกาจำเลยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า คดีดังกล่าวมีความเกี่ยวพันกับคดีนี้อย่างไร หรือไม่ ในอันที่จะวินิจฉัยว่าจะต้องด้วย ป.อ.มาตรา 91 (3) หรือไม่ จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.อ.มาตรา 193ประกอบมาตรา 225 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 657/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท: ปลอมเอกสารราชการและดวงตราเพื่อใช้ในการทำงานนอกพื้นที่
โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้องว่า จำเลยปลอมหนังสือรับรองที่ อนุญาตทำงานเฉพาะบุคคลอยู่พื้นที่สูงใช้ในกรณีไปทำงาน นอกพื้นที่ควบคุมซึ่งเป็นเอกสารราชการและยังได้ปลอมดวงตรา ของเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองอำเภอส. แล้วประทับดวงตราปลอมดังกล่าวลงในหนังสือรับรองที่อนุญาตทำงานเฉพาะบุคคล อยู่พื้นที่สูงใช้ในกรณีไปทำงานนอกพื้นที่ควบคุมที่ปลอมขึ้น เช่นกันดังกล่าวนั้น พฤติการณ์แห่งคดีเห็นได้ว่าจำเลย กระทำการดังกล่าวก็ด้วยมีเจตนาที่จะปลอมหนังสือรับรอง ที่อนุญาตทำงานเฉพาะบุคคลอยู่พื้นที่สูงใช้ในกรณีไปทำงานนอกพื้นที่ควบคุมทั้งฉบับให้สำเร็จบริบูรณ์เท่านั้น กรณีหาได้มีการกระทำอื่นใดอีกไม่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิด ฐานปลอมเอกสารราชการและทำดวงตราปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265,251 อันเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 657/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท: ปลอมเอกสารราชการและดวงตราเพื่อใช้ในการทำงาน
จำเลยปลอมหนังสือรับรองที่อนุญาตทำงานเฉพาะบุคคลอยู่พื้นที่สูงใช้ในกรณีไปทำงานนอกพื้นที่ควบคุมซึ่งเป็นเอกสารราชการ และยังได้ปลอมดวงตราของเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี แล้วประทับดวงตราปลอมดังกล่าวในหนังสือรับรองที่อนุญาตทำงานเฉพาะบุคคลอยู่พื้นที่สูงใช้ในกรณีไปทำงานนอกพื้นที่ควบคุมที่ปลอมขึ้นนั้นพฤติการณ์แห่งคดีเห็นได้ว่าจำเลยกระทำการดังกล่าวก็ด้วยมีเจตนาที่จะปลอมหนังสือรับรองที่อนุญาตทำงานเฉพาะบุคคลอยู่พื้นที่สูงใช้ในกรณีไปทำงานนอกเหนือพื้นที่ควบคุมทั้งฉบับให้สำเร็จบริบูรณ์เท่านั้น กรณีหาได้มีการกระทำอื่นใดอีกฉะนั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 657/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปลอมเอกสารราชการและทำดวงตราปลอมเพื่อใช้ในการทำงานนอกพื้นที่
โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้องว่า จำเลยปลอมหนังสือรับรองที่อนุญาตทำงานเฉพาะบุคคลอยู่พื้นที่สูงใช้ในกรณีไปทำงานนอกพื้นที่ควบคุมซึ่งเป็นเอกสารราชการและยังได้ปลอมดวงตราของเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองอำเภอ ส.แล้วประทับดวงตราปลอมดังกล่าวลงในหนังสือรับรองที่อนุญาตทำงานเฉพาะบุคคลอยู่พื้นที่สูงใช้ในกรณีไปทำงานนอกพื้นที่ควบคุมที่ปลอมขึ้นเช่นกันดังกล่าวนั้น พฤติการณ์แห่งคดีเห็นได้ว่าจำเลยกระทำการดังกล่าวก็ด้วยมีเจตนาที่จะปลอมหนังสือรับรองที่อนุญาตทำงานเฉพาะบุคคลอยู่พื้นที่สูงใช้ในกรณีไปทำงานนอกพื้นที่ควบคุมทั้งฉบับให้สำเร็จบริบูรณ์เท่านั้น กรณีหาได้มีการกระทำอื่นใดอีกไม่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารราชการและทำดวงตราปลอมตาม ป.อ.มาตรา265, 251 อันเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
of 64