พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 788/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีแจ้งความเท็จ และการลงโทษกรรมเดียวผิดหลายบทในคดีบัตรประชาชน
ขณะจำเลยกระทำความผิดเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2525 พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2505(ฉบับเก่า) ยังมีผลบังคับใช้อยู่แม้ต่อมาพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526(ฉบับใหม่) ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2526 มาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนฯ (ฉบับเก่า) แต่การยื่นคำขอรับบัตรโดยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ว่าตนมีสัญชาติไทย พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนฯ (ฉบับใหม่)ก็ยังบัญญัติเป็นความผิดอยู่เช่นเดิม โดยมาตรา 14 ได้ระวางโทษหนักกว่าโทษตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนฯ (ฉบับเก่า) ดังนั้น พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนฯ (ฉบับใหม่) จึงไม่เป็นคุณแก่จำเลยต้องใช้พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนฯ (ฉบับเก่า) มาตรา 17 มาบังคับใช้แก่การกระทำความผิดของจำเลย ซึ่งมีกำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี จึงมีอายุความเพียง5 ปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(4) ฉะนั้น การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2535 ในความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2525 จึงเลยกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่จำเลยกระทำผิด คดีจึงขาดอายุความ ต้องยกฟ้องโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225
การที่จำเลยซึ่งไม่มีสัญชาติไทยยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนโดยแจ้งข้อความหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานว่าตนมีสัญชาติไทย เพื่อขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชน และวันเวลาเดียวกันจำเลยได้แจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในคำขอมีบัตรใหม่ซึ่งเป็นเอกสารราชการและมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐานเพื่อทำบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่จำเลยแล้วใช้ใบคำขอมีบัตรใหม่ดังกล่าวยื่นต่อเจ้าพนักงานเพื่อขอทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่นั้น เป็นการกระทำในวันเวลาเดียวกันต่อเนื่องกัน มีเจตนาเดียวกันที่จะให้ทางราชการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้จำเลย จึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนฯ มาตรา 14 ซึ่งเป็นบทหนักตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความิได้ฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองและ 225
การที่จำเลยซึ่งไม่มีสัญชาติไทยยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนโดยแจ้งข้อความหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานว่าตนมีสัญชาติไทย เพื่อขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชน และวันเวลาเดียวกันจำเลยได้แจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในคำขอมีบัตรใหม่ซึ่งเป็นเอกสารราชการและมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐานเพื่อทำบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่จำเลยแล้วใช้ใบคำขอมีบัตรใหม่ดังกล่าวยื่นต่อเจ้าพนักงานเพื่อขอทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่นั้น เป็นการกระทำในวันเวลาเดียวกันต่อเนื่องกัน มีเจตนาเดียวกันที่จะให้ทางราชการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้จำเลย จึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนฯ มาตรา 14 ซึ่งเป็นบทหนักตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความิได้ฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองและ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 310/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจเจ้าหน้าที่ออกบัตรประจำตัวประชาชน และความผิดแจ้งเท็จต่อเจ้าพนักงาน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2519 ข้อ 1 กำหนดให้เฉพาะแต่นายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอหรือผู้รักษาการแทนเท่านั้น เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน เมื่อปรากฏว่า อ. เป็นเพียงปลัดอำเภอและมิได้เป็นผู้รักษาการแทนนายอำเภอ แม้นายอำเภอจะมีคำสั่งแต่งตั้งให้มีหน้าที่เกี่ยวกับการออกบัตรประจำตัวประชาชน อ. ก็มีฐานะเป็นเพียงผู้ทำการแทนนายอำเภอเท่านั้น หาใช่เป็นผู้รักษาการแทนนายอำเภอตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าวไม่ อ. จึงไม่เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน ดังนั้นการที่จำเลยยื่นคำขอรับบัตรประจำตัวประชาชนโดยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่ อ.จึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2505 มาตรา 17 แต่การที่ อ. ทำการแทนนายอำเภอดังกล่าวนั้น เป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา ถือได้ว่า อ. มีฐานะเป็นเจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ ดังนั้น การที่จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่ อ. และ อ. จดข้อความที่แจ้งลงในเอกสารราชการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 และมาตรา 267 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 310/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน และความผิดต่อเจ้าพนักงาน
น. เป็นเพียงปลัดอำเภอ แม้นายอำเภอจะมีคำสั่งแต่ง ตั้งให้มีหน้าที่เกี่ยวกับการออกบัตรประจำตัวประชาชนก็มีฐานะเป็นเพียงผู้ทำการแทนนายอำเภอเท่านั้น หาใช่เป็นผู้รักษาการแทนนายอำเภอตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 14ตุลาคม 2519 ข้อ 1 ออกตามความในมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2505 ไม่ ดังนั้น น. จึงไม่เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายดังกล่าว การที่จำเลยไปยื่นคำขอรับบัตรประจำตัวประชาชน โดยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่ น. ซึ่งมิใช่พนักงานเจ้าหน้าที่ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2505 มาตรา 17 นายอำเภอมีคำสั่งแต่ง ตั้งให้ น. ปลัดอำเภอเป็นผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับการออกบัตรประจำตัวประชาชนแทนนายอำเภอ จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาถือได้ว่ามีฐานะเป็นเจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่แล้ว การที่จำเลยไปแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน และเจ้าพนักงานผู้รับแจ้งได้จดข้อความที่แจ้งลงในเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137 และ มาตรา 267.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 310/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะพนักงานเจ้าหน้าที่ออกบัตรประจำตัวประชาชน และความผิดต่อเจ้าพนักงาน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2519 ข้อ 1 กำหนดให้เฉพาะแต่นายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอหรือผู้รักษาการแทนเท่านั้น เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน เมื่อปรากฏว่า อ. เป็นเพียงปลัดอำเภอและมิได้เป็นผู้รักษาการแทนนายอำเภอ แม้นายอำเภอจะมีคำสั่งแต่งตั้งให้มีหน้าที่เกี่ยวกับการออกบัตรประจำตัวประชาชน อ. ก็มีฐานะเป็นเพียงผู้ทำการแทนนายอำเภอเท่านั้น หาใช่เป็นผู้รักษาการแทนนายอำเภอตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าวไม่อ. จึงไม่เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน ดังนั้นการที่จำเลยยื่นคำขอรับบัตรประจำตัวประชาชนโดยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่ อ.จึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2505 มาตรา 17 แต่การที่อ. ทำการแทนนายอำเภอดังกล่าวนั้น เป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา ถือได้ว่า อ. มีฐานะเป็นเจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ ดังนั้น การที่จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่ อ.และอ. จดข้อความที่แจ้งลงในเอกสารราชการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 และมาตรา 267 แล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2673/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดแจ้งความเท็จและเอกสารราชการ: อายุความและกรรมเดียวผิดหลายบท
โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดเป็นสองตอนคือการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานเกี่ยวกับสัญชาติของ จำเลยในการยื่นคำขอรับบัตรประจำตัวประชาชน ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 ตอนหนึ่ง และการแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จดังกล่าวลงใน เอกสารราชการตามแบบบ.ป.1 ตามมาตรา 267 อีกตอนหนึ่งข้อหาความผิดทั้งสองตอนตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง ต่อเนื่องเชื่อมโยงกันและอาจเกิดขึ้นในคราวเดียวกันได้หาเป็นการขัดแย้งกันไม่และข้อเท็จจริงตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ก็เป็นไปโดยแจ้งชัดพอสมควรที่จะให้จำเลยเข้าใจ ข้อหาได้ดี คำฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) เมื่อจำเลย ให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยได้โดย โจทก์ไม่จำต้องสืบพยานประกอบ ความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 137 ระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่ เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับและความผิดตาม พระราชบัญญัติ บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2505 มาตรา 17 ระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จำเลยกระทำผิดเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2519 โจทก์ นำตัวจำเลยมายื่นฟ้องต่อศาลในวันที่18 พฤษภาคม 2526 เกินกำหนดห้าปีจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2673/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องแจ้งความเท็จและเอกสารราชการไม่ขัดแย้งกัน แต่ขาดอายุความตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดเป็นสองตอนคือ การแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานเกี่ยวกับสัญชาติของ จำเลยในการยื่นคำขอรับบัตรประจำตัวประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 ตอนหนึ่ง และการแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จดังกล่าวลงในเอกสารราชการตามแบบบ.ป.1 ตามมาตรา 267 อีกตอนหนึ่ง ข้อหาความผิดทั้งสองตอนตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องต่อเนื่องเชื่อมโยงกันและอาจเกิดขึ้นในคราวเดียวกันได้ หาเป็นการขัดแย้งกันไม่ และข้อเท็จจริงตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ก็เป็นไปโดยแจ้งชัดพอสมควรที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี คำฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยได้โดย โจทก์ไม่จำต้องสืบพยานประกอบ
ความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 137 ระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และความผิดตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2505 มาตรา 17 ระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จำเลยกระทำผิดเมื่อวันที่ 27 มกราคม2519 โจทก์ นำตัวจำเลยมายื่นฟ้องต่อศาลในวันที่18 พฤษภาคม 2526 เกินกำหนดห้าปีจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 (4)
ความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 137 ระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และความผิดตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2505 มาตรา 17 ระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จำเลยกระทำผิดเมื่อวันที่ 27 มกราคม2519 โจทก์ นำตัวจำเลยมายื่นฟ้องต่อศาลในวันที่18 พฤษภาคม 2526 เกินกำหนดห้าปีจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2633/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแจ้งความเท็จและจดข้อความเท็จในเอกสารราชการ แม้เป็นคนละกรรม แต่ฟ้องไม่ขัดแย้ง หากขาดอายุความ ศาลฎีกายกฟ้องได้
ฟ้องของโจทก์ที่อ้างว่าจำเลยแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน และให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จ โดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยแจ้งต่อเจ้าพนักงานว่าเป็นคนสัญชาติไทยในการยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชน กับแจ้งต่อเจ้าพนักงานให้จดข้อความลงในเอกสารราชการว่าจำเลยมีสัญชาติไทยอันเป็นความเท็จนั้น หาเป็นการขัดแย้งกันไม่ เพราะต่างก็เป็นการกระทำอันเป็นความผิดในตัวแยกต่างหากจากกันได้จำเลยก็เข้าใจข้อหาได้ดี และให้การรับสารภาพโดยไม่มีข้อโต้แย้งใดๆเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158
ปัญหาเรื่องคดีโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 95 เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
ปัญหาเรื่องคดีโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 95 เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2633/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องและอายุความแจ้งความเท็จ กรณีแจ้งสัญชาติเท็จเพื่อออกบัตรประชาชน
ฟ้องของโจทก์ที่อ้างว่าจำเลยแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานและให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จโดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยแจ้งต่อเจ้าพนักงานว่าเป็นคนสัญชาติไทยในการยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนกับแจ้งต่อเจ้าพนักงานให้จดข้อความลงในเอกสารราชการว่าจำเลยมีสัญชาติไทยอันเป็นความเท็จนั้นหาเป็นการขัดแย้งกันไม่เพราะต่างก็เป็นการกระทำอันเป็นความผิดในตัวแยกต่างหากจากกันได้จำเลยก็เข้าใจข้อหาได้ดี และให้การรับสารภาพโดยไม่มีข้อโต้แย้งใดๆเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 ปัญหาเรื่องคดีโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 95 เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 581/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเท็จเกี่ยวกับสัญชาติเพื่อออกบัตรประชาชน: จำเลยต้องได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นบุคคลสัญชาติญวนก่อนจึงจะลงโทษได้
ความมุ่งหมายที่โจทก์นำคดีมาฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยก็คือโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยเป็นบุคคลสัญชาติญวน บังอาจแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ทะเบียนราษฎร์โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่เจ้าพนักงาน ว่าจำเลยเป็นบุคคลสัญชาติไทยจนในที่สุดจำเลยได้รับบัตรประจำตัวประชาชน แต่เมื่อข้อเท็จจริงไม่พอฟังว่าจำเลยเป็นบุคคลสัญชาติญวนดังฟ้อง ก็ลงโทษจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3472/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานในการยึดบัตรประชาชนเพื่อตรวจสอบสัญชาติกรณีมีพิรุธ ไม่ถือเป็นการละเมิด
การที่จำเลยซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน ตรวจสอบพบว่าพฤติการณ์ของโจทก์มีพิรุธเกี่ยวกับเรื่องการได้สัญชาติไทย จึงได้ยึดบัตรประจำตัวประชาชนของโจทก์ไว้เพื่อดำเนินการสอบสวนและหาหลักฐานต่อไปนั้น ไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ และตราบใดที่การสอบสวนในเรื่องดังกล่าวยังไม่เสร็จสิ้นจำเลยก็ยังหาจำต้องคืนบัตรประจำตัวประชาชนที่ยึดไว้ให้แก่โจทก์ไม่