คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 224 วรรคสอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 70 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2300/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อสู้กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์และผลกระทบต่อการอุทธรณ์คดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้แสดงว่าที่ดินและบ้านพิพาทซึ่งโจทก์ให้จำเลยอยู่อาศัยเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินและบ้านพิพาท และห้ามจำเลยกับบริวาร เข้าเกี่ยวข้อง จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินเป็นของบุตรจำเลยส่วนบ้านพิพาทเป็นของจำเลย จึงต้องถือว่าจำเลยได้โต้แย้งสิทธิในบ้านพิพาทแล้ว และศาลชั้นต้นก็ได้กำหนดทุนทรัพย์บ้านพิพาทไว้ในราคา 70,000 บาท ดังนี้ แม้จะเป็นคดีฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละสี่พันบาท แต่เมื่อจำเลยต่อสู้กรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทว่าเป็นของตน จึงเป็นกรณีที่ราคาทรัพย์พิพาทในชั้นอุทธรณ์เกินห้าหมื่นบาท ฉะนั้นจึงไม่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2300/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อสู้กรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาททำให้ราคาทรัพย์เกินเกณฑ์อุทธรณ์ได้ แม้คดีเดิมเป็นคดีขับไล่
โจทก์ฟ้องขอให้แสดงว่าที่ดินและบ้านพิพาทซึ่งโจทก์ให้จำเลยอยู่อาศัยเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินและบ้านพิพาท และห้ามจำเลยกับบริวารเข้าเกี่ยวข้อง จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินเป็นของบุตรจำเลย ส่วนบ้านพิพาทเป็นของจำเลย จึงต้องถือว่าจำเลยได้โต้แย้งสิทธิในบ้านพิพาทแล้ว และศาลชั้นต้นก็ได้กำหนดทุนทรัพย์บ้านพิพาทไว้ในราคา 70,000บาท ดังนี้ แม้จะเป็นคดีฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละสี่พันบาท แต่เมื่อจำเลยต่อสู้กรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทว่าเป็นของตน จึงเป็นกรณีที่ราคาทรัพย์พิพาทในชั้นอุทธรณ์เกินห้าหมื่นบาท ฉะนั้นจึงไม่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5613/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอม การใช้สิทธิเจ้าของสามยทรัพย์ การรบกวนปกติสุขและอำนาจฟ้อง
จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยร่วมกันรื้อเหล็กปิดกั้นซอยในหมู่บ้านและห้ามขัดขวางรบกวนการใช้ซอยของโจทก์ เป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสอง ปัญหาว่าคดีต้องห้ามอุทธรณ์หรือไม่ เป็นเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ คู่ความก็ยกขึ้นฎีกาได้ ศาลฎีกาวินิจฉัยให้
ข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ในชั้นไต่สวนคำร้องที่จำเลยขอให้เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้คุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาในเหตุฉุกเฉินตามคำขอของโจทก์ถือเป็นข้อเท็จจริงในสำนวน
โจทก์ในฐานะเจ้าของสามยทรัพย์ได้ใช้ทางพิพาทซึ่งเป็นภารยทรัพย์ในลักษณะเกินขอบเขตปกติแห่งการใช้รถยนต์สัญจรไปมาเข้าออกทางพิพาท โดยโจทก์ใช้รถยนต์บรรทุกขนาดใหญ่จำนวนมากบรรทุกสินค้าเข้าออกผ่านทางพิพาท อันเป็นที่เห็นได้ว่าทางพิพาทจะชำรุดเสียหาย ไม่สะดวกและน่าเป็นอันตรายต่อผู้อื่นที่ใช้ทาง เสียงเครื่องยนต์ รถยนต์บรรทุก กรรมกรบนรถยนต์บรรทุก ควันเสียจากรถยนต์บรรทุกรบกวนสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อยู่ในหมู่บ้านจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ถือได้ว่าทำการเปลี่ยนแปลงในภารยทรัพย์อันทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ ย่อมเป็นการกระทำโดยไม่มีสิทธิหรือไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1388 การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าของภารยทรัพย์ และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 15 ในฐานะเจ้าของสามยทรัพย์ได้ร่วมกันตั้งเสาทำคานปิดกั้นทางพิพาท มิให้รถยนต์บรรทุกขนาดใหญ่ผ่านเข้าออก ส่วนรถยนต์นั่ง รถยนต์บรรทุกเล็กผ่านไปมาได้ ย่อมเป็นการกระทำของผู้มีอำนาจในทางพิพาทที่จะปกป้องเยียวยาต่อการกระทำอันไม่ชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ดังกล่าวและเป็นการใช้สิทธิของเจ้าของสามยทรัพย์ทำการทุกอย่างอันจำเป็นเพื่อรักษาภารจำยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1391 และการกระทำของจำเลยไม่เป็นการประกอบกรรมใด ๆ อันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1390 จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2995/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีครอบครัวมีทุนทรัพย์: การชำระค่าขึ้นศาลเฉพาะส่วนไม่ถือเป็นการทิ้งฟ้องทั้งคดี
ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224วรรคสองที่บัญญัติยกเว้นให้มีสิทธิที่จะอุทธรณ์ได้ไว้ว่า"บทบัญญัติในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับในคดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครอง" นั้น มีความหมายว่าถ้าเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัวแล้วมีสิทธิที่จะอุทธรณ์ได้เท่านั้นแต่หาได้มีความหมายไปถึงว่าคดีเกี่ยวกับสิทธิสภาพบุคคลและสิทธิในครอบครัวดังกล่าวเป็นคดีที่ไม่มีทุนทรัพย์เสมอไปไม่ โจทก์ฟ้องหย่าและเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูค่าทดแทนและค่าเลี้ยงชีพอันเป็นการฟ้องตั้งสิทธิอันเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์หรือความเกี่ยวข้องในครอบครัวระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นสามีภริยากันจึงเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในครอบครัวซึ่งมีสิทธิที่จะอุทธรณ์ฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224วรรคสองและ248วรรคสองแต่การที่โจทก์เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูมาจำนวน180,000บาทและเรียกค่าทดแทนมาจำนวน200,000บาทรวม380,000บาทอันเป็นการฟ้องเรียกร้องทรัพย์สินมีค่าเป็นจำนวนเงินเข้ามาด้วยกรณีสีจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ซึ่งโจทก์จำต้องจำต้องชำระค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์ชำระค่าขึ้นศาลเฉพาะเกี่ยวกับค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าทดแทนที่โจทก์มีหน้าที่จะต้องชำระตามกฎหมายเท่านั้นเมื่อโจทก์ไม่ชำระจึงเป็นการทิ้งฟ้องเฉพาะในส่วนข้อกำหนดตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไว้เท่านั้นคำฟ้องเฉพาะเรื่องขอหย่าเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ไม่จำต้องชำระค่าขึ้นศาลส่วนคำฟ้องเกี่ยวกับคำขอค่าเลี้ยงชีพเป็นคำฟ้องเรียกค่าเสียหายในอนาคตซึ่งโจทก์ได้ชำระค่าขึ้นศาลในอนาคตไว้ถูกต้องแล้วเมื่อฟ้องของโจทก์ในสองส่วนนี้ซึ่งเป็นฟ้องที่สมบูรณ์และชอบด้วยกฎหมายอยู่และแยกเป็นคนละส่วนจากคำฟ้องที่โจทก์ทิ้งฟ้องได้เช่นนี้จึงไม่มีเหตุที่จะถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องในสองส่วนนี้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2682/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องให้เปิดทางตามสัญญาซื้อขาย และการกำหนดค่าเสียหายที่เหมาะสม
คำฟ้องและคำขอท้ายคำฟ้องของโจทก์ระบุว่าขอให้จำเลยทั้งห้าเปิดทางให้โจทก์1ทางใน3ทางตามแผนที่เอกสารท้ายฟ้องแสดงว่าโจทก์พอใจในเส้นทางใดเส้นทางหนึ่งใน3เส้นทางนั้นแล้วฉะนั้นเมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยที่1ที่2เปิดทางที่1ให้โจทก์ซึ่งตรงตามคำขอของโจทก์แล้วโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฎีกาอ้างว่าทางที่1ไม่สะดวกเพราะเป็นทางคดหักมุมไม่สะดวกในการใช้อีกได้เพราะเป็นการขัดกับคำฟ้องและคำขอท้ายคำฟ้องของโจทก์นั้นเอง ฟ้องของโจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งห้าร่วมกันเปิดทางเดินให้โจทก์ตามสัญญาจะซื้อขายเป็นคำขอหลักแห่งคดีคำขอที่เรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งห้าอันเนื่องจากการไม่เปิดทางเดินให้โจทก์นั้นเป็นคำขอต่อเนื่องเมื่อคำขอหลักเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงคำขอต่อเนื่องแม้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทก็ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงด้วย โจทก์ไม่อยู่ในฐานะที่จะฟ้องหรือถูกจ.และส.ผู้รับโอนที่ดินโฉนดที่จำเลยทำสัญญาจะซื้อจากโจทก์ฟ้องเพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยหรือใช้ค่าทดแทนแต่อย่างใดคงเป็นสิทธิของจ. และส.ที่จะร้องสอดเข้าในคดีหากเห็นว่าตนมีส่วนตนมีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีนี้จึงยังไม่มีเหตุที่จะเรียกคนทั้งสองเข้ามาเป็นจำเลยร่วมตามคำร้องของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2682/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทเรื่องทางสิทธิและการบังคับคดี ค่าเสียหายที่เหมาะสม และการไม่ชอบที่จะเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วม
คำฟ้องและคำขอท้ายคำฟ้องของโจทก์ระบุว่า ขอให้จำเลยทั้งห้าเปิดทางให้โจทก์ 1 ทาง ใน 3 ทาง ตามแผนที่เอกสารท้ายฟ้องแสดงว่าโจทก์พอใจในเส้นทางใดเส้นทางหนึ่งใน 3 เส้นทางนั้นแล้วฉะนั้น เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 เปิดทางที่ 1 ให้โจทก์ซึ่งตรงตามคำขอของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฎีกาอ้างว่าทางที่ 1 ไม่สะดวกเพราะเป็นทางคดหักมุมไม่สะดวกในการใช้อีกได้เพราะเป็นการขัดกับคำฟ้องและคำขอท้ายคำฟ้องของโจทก์นั้นเอง ฟ้องของโจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งห้าร่วมกันเปิดทางเดินให้โจทก์ตามสัญญาจะซื้อขาย เป็นคำขอหลักแห่งคดี คำขอที่เรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งห้าอันเนื่องจากการไม่เปิดทางเดินให้โจทก์นั้นเป็นคำขอต่อเนื่อง เมื่อคำขอหลักเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง คำขอต่อเนื่องแม้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท ก็ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงด้วย โจทก์ไม่อยู่ในฐานะที่จะฟ้องหรือถูก จ.และ ส.ผู้รับโอนที่ดินโฉนดที่จำเลยทำสัญญาจะซื้อจากโจทก์ฟ้องเพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยหรือใช้ค่าทดแทนแต่อย่างใด คงเป็นสิทธิของ จ. และ ส.ที่จะร้องสอดเข้าในคดี หากเห็นว่าตนมีส่วนตนมีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีนี้ จึงยังไม่มีเหตุที่จะเรียกคนทั้งสองเข้ามาเป็นจำเลยร่วมตามคำร้องของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2682/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดคำฟ้อง, สิทธิในการอุทธรณ์, และการไม่จำเป็นต้องเพิ่มจำเลยร่วม
คำฟ้องและคำขอท้ายคำฟ้องของโจทก์ระบุว่า ขอให้จำเลยทั้งห้าเปิดทางให้โจทก์ 1 ทาง ใน 3 ทาง ตามแผนที่เอกสารท้ายฟ้อง แสดงว่าโจทก์พอใจในเส้นทางใดเส้นทางหนึ่งใน 3 เส้นทางนั้นแล้ว ฉะนั้น เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 เปิดทางที่ 1 ให้โจทก์ซึ่งตรงตามคำขอของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฎีกาอ้างว่า ทางที่ 1 ไม่สะดวกเพราะเป็นทางคดหักมุมไม่สะดวกในการใช้อีกได้ เพราะเป็นการขัดกับคำฟ้องและคำขอท้ายคำฟ้องของโจทก์นั้นเอง
ฟ้องของโจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งห้าร่วมกันเปิดทางเดินให้โจทก์ตามสัญญาจะซื้อขาย เป็นคำขอหลักแห่งคดี คำขอที่เรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งห้าอันเนื่องจากการไม่เปิดทางเดินให้โจทก์นั้นเป็นคำขอต่อเนื่อง เมื่อคำขอหลักเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง คำขอต่อเนื่องแม้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท ก็ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงด้วย
โจทก์ไม่อยู่ในฐานะที่จะฟ้องหรือถูก จ.และ ส.ผู้รับโอนที่ดินโฉนดที่จำเลยทำสัญญาจะซื้อจากโจทก์ฟ้องเพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยหรือใช้ค่าทดแทนแต่อย่างใด คงเป็นสิทธิของ จ.และ ส.ที่จะร้องสอดเข้ามาในคดี หากเห็นว่าตนมีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีนี้ จึงยังไม่มีเหตุที่จะเรียกคนทั้งสองเข้ามาเป็นจำเลยร่วมตามคำร้องของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 647/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นการอุทธรณ์คดีขับไล่: ข้อจำกัดด้านค่าเช่า และการบังคับใช้กับคู่ความทั้งสองฝ่าย
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคสองนั้นเป็นการบัญญัติถึงข้อยกเว้นในการอุทธรณ์หรือห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเฉพาะที่เกี่ยวกับประเภทหรือลักษณะของคดีที่ฟ้องร้องกันเท่านั้นหาได้บัญญัติเป็นข้อยกเว้นเกี่ยวกับตัวบุคคลผู้ฟ้องคดีหรือผู้ถูกฟ้องคดีเป็นผู้อุทธรณ์ด้วยแต่อย่างใดไม่ทั้งบทบัญญัติดังกล่าวก็มิได้มีข้อความตอนใดที่บัญญัติให้ใช้บังคับเฉพาะกรณีที่ผู้ถูกฟ้องคือจำเลยเป็นผู้อุทธรณ์เท่านั้นจึงต้องใช้บังคับแก่ทั้งฝ่ายโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่ความในคดีด้วยเมื่อที่ดินพิพาทมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นฟ้องเพียงเดือนละ500บาทจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9686/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์/ฎีกาในคดีขับไล่และค่าเสียหาย: มูลค่าเช่า/ความเสียหายที่แท้จริงเป็นข้อจำกัด
เมื่อได้ความว่าขณะยื่นคำฟ้องที่ดินและตึกแถวพิพาทตามสัญญาเช่า ให้จำเลยเช่าเดือนละ 1,000 บาท ดังนั้นที่ดินและตึกแถวพิพาทที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยจึงมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท จึงเป็นคดีที่ต้องห้ามคู่ความมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสอง ที่จำเลยฎีกาว่าสัญญาเช่าตึกแถวเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่าธรรมดา และโจทก์ได้รับความเสียหายเพียงเดือนละ 1,000 บาทนั้น ล้วนเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงแม้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ก็เป็นการไม่ชอบถือว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวมิใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 2 ต้องห้ามมิให้ฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 คดีฟ้องขับไล่โจทก์ฎีกาว่าได้รับความเสียหายเดือนละ50,000 บาท เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6937/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการอุทธรณ์ในคดีฟ้องขับไล่: แยกพิจารณาคำฟ้องหลักและคำฟ้องแย้ง
แม้คดีในส่วนคำฟ้องของโจทก์เป็นคดีฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคสอง ก็ตาม แต่ในส่วนคำฟ้องแย้ง จำเลยฟ้องแย้งโดยอ้างว่า สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่า และขอให้บังคับโจทก์จดทะเบียนการเช่าให้จำเลยซึ่งมิใช่การเรียกร้องเอาทรัพย์สินจากโจทก์ จึงเป็นคดีที่ขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ซึ่งไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามบทกฎหมายดังกล่าว และต้องแยกพิจารณาการต้องห้ามอุทธรณ์ของคดีในส่วนตามคำฟ้องแย้งของจำเลยต่างหากจากส่วนคำฟ้องของโจทก์ จำเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงว่า สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยมีข้อตกลงให้สิ่งปลูกสร้างที่จำเลยปลูกสร้างลงในที่ดินตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์เมื่อครบกำหนดเวลาเช่าแล้วเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่าได้ ส่วนอุทธรณ์ของจำเลยข้ออื่นนอกจากนี้เป็นอุทธรณ์ในข้อที่ว่า จำเลยไม่ได้กระทำผิดสัญญาเช่า ไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยนั้นเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงในส่วนที่เกี่ยวกับคำฟ้องโจทก์โดยเฉพาะไม่เกี่ยวกับคำฟ้องแย้งของจำเลย จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
of 7