คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 224 วรรคสอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 70 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2612/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีไม่มีทุนทรัพย์: คำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกที่ไม่กระทบกรรมสิทธิ์ในทรัพย์มรดก
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ป.ผู้ตายโดยอ้างว่าเป็นผู้รับพินัยกรรมผู้คัดค้านคัดค้านว่าพินัยกรรมไม่ชอบด้วยกฎหมายผู้ร้องไม่มีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดกดังนี้เป็นเรื่องผู้ร้องยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกเท่านั้นมิใช่พิพาทกันในเรื่องทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมผลของคดีไม่ทำให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์มรดกเปลี่ยนแปลงไปจึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2612/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีขอเป็นผู้จัดการมรดกที่ไม่กระทบกรรมสิทธิ์ในทรัพย์มรดก จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ป.ผู้ตาย โดยอ้างว่าเป็นผู้รับพินัยกรรม ผู้คัดค้านคัดค้านว่าพินัยกรรมไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ร้องไม่มีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดก ดังนี้ เป็นเรื่องผู้ร้องยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกเท่านั้น มิใช่พิพาทกันในเรื่องทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม ผลของคดีไม่ทำให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์มรดกเปลี่ยนแปลงไป จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8370/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าที่ดินทำบ่อเลี้ยงปลาไม่เข้าข่ายการเช่านาตามพ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ไม่ได้รับการคุ้มครอง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละสี่พันบาท จึงห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์หรือฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสองและมาตรา 248 วรรคสอง คดีจึงอุทธรณ์ฎีกาได้แต่ในปัญหาข้อกฎหมาย และการวินิจฉัยข้อกฎหมายดังกล่าวศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 238 ประกอบมาตรา 247 ศาลฎีกาจึงต้องฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 3 มิได้เป็นผู้เช่าที่ดินพิพาท แต่ ก. มารดาเป็นผู้เช่าและเป็นการเช่าเพื่อทำบ่อเลี้ยงปลา
การเช่าที่ดินเพื่อทำบ่อเลี้ยงปลาถือไม่ได้ว่าเป็นการเช่านาตามความหมายในพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 และยังไม่มีการตราพระราชกฤษฎีกาออกมาโดยอาศัย มาตรา 63 แห่งพระราชบัญญัติ-ดังกล่าว กำหนดให้การเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมประเภทใดนอกจากการเช่านาเป็นการเช่าที่ดินที่ต้องมีการควบคุมตามพระราชบัญญัตินี้ การที่จำเลยเช่าที่ดินพิพาทเพื่อทำบ่อเลี้ยงปลาจึงไม่ได้ความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7481/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ฎีกาในคดีขับไล่: ข้อจำกัดการโต้แย้งดุลพินิจ และอำนาจศาลในการงดบังคับคดี
แม้เป็นชั้นบังคับคดี แต่เป็นคดีฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่ดินของโจทก์อันอาจให้ผู้อื่นเช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องเพียงเดือนละ1,000 บาท ไม่มีการต่อสู้เรื่องกรรมสิทธิ์ อุทธรณ์ฎีกาของจำเลยเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลชั้นต้นถึงพฤติการณ์แห่งคดีว่ามีเหตุให้งดการบังคับคดีไว้ได้หรือไม่เพียงใด จึงเป็นอุทธรณ์ฎีกาในข้อเท็จจริง ซึ่งในชั้นอุทธรณ์ต้องห้ามตามป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคสอง จำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้จึงไม่ชอบ ถือว่าข้อเท็จจริงเป็นอันยุติตามคำวินิจฉัยในคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้ว จำเลยไม่มีสิทธิฎีกา
การออกคำสั่งอนุญาตตามคำขอหรือให้งดการบังคับคดีตามป.วิ.พ. มาตรา 293 หรือไม่ ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ศาลจะต้องทำการไต่สวนเสียก่อน ดังนั้นแม้ ป.วิ.พ. มาตรา 21 (4) จะให้อำนาจศาลทำการไต่สวนตามที่เห็นสมควรก่อนมีคำสั่งได้ แต่กรณีตามคำร้องของจำเลยดังกล่าวไม่มีเหตุที่ศาลจะมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 293 ได้ จึงไม่มีเหตุสมควรที่ศาลจะทำการไต่สวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7481/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดบังคับคดีและการวินิจฉัยข้อเท็จจริงในชั้นบังคับคดี จำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์ข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้ว
แม้เป็นชั้นบังคับคดีแต่เป็นคดีฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่ดินของโจทก์อันอาจให้ผู้อื่นเช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องเพียงเดือนละ1,000บาทไม่มีการต่อสู้เรื่องกรรมสิทธิ์อุทธรณ์ฎีกาของจำเลยเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลชั้นต้นถึงพฤติการณ์แห่งคดีว่ามีเหตุให้งดการบังคับคดีไว้ได้หรือไม่เพียงใดจึงเป็นอุทธรณ์ฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งในชั้นอุทธรณ์ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคสองจำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้จึงไม่ชอบถือว่าข้อเท็จจริงเป็นอันยุติตามคำวินิจฉัยในคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วจำเลยไม่มีสิทธิฎีกา การออกคำสั่งอนุญาตตามคำขอหรือให้งดการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา293หรือไม่ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ศาลจะต้องทำการไต่สวนเสียก่อนดังนั้นแม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา21(4)จะให้อำนาจศาลทำการไต่สวนตามเห็นสมควรก่อนมีคำสั่งได้แต่กรณีตามคำร้องของจำเลยดังกล่าวไม่มีเหตุที่ศาลจะมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา293ได้จึงไม่มีเหตุสมควรที่ศาลจะทำการไต่สวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6928/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสืบสิทธิสัญญาเช่าและขอบเขตการอุทธรณ์ค่าเช่า
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์ตามสัญญาเช่าและเรียกค่าเสียหาย แม้โจทก์จะกล่าวมาในฟ้องว่า หากโจทก์นำไปให้ผู้อื่นเช่าจะได้ค่าเช่าเดือนละ 10,000 บาท และโจทก์ใช้เป็นเกณฑ์คำนวณในการเรียกร้องค่าเสียหายตามอัตรานั้นเดือนละ 10,000 บาท ก็ตาม ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นค่าเช่าของที่ดินพิพาทในขณะยื่นคำฟ้อง เพราะเป็นแต่อาจให้เช่าได้ในอัตราดังกล่าวเท่านั้น
ข้อเท็จจริงตามที่โจทก์จำเลยแถลงรับกันได้ความว่าสัญญาเช่าที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์และ ค.ผู้เช่าเดิมตกลงอัตราค่าเช่าปีละ 10,000 บาทและศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยว่า จำเลยเป็นทายาทผู้รับมรดกตามพินัยกรรมของ ค.สัญญาเช่ามีข้อตกลงให้ผูกพันถึงทายาทผู้รับมรดกตามพินัยกรรม และสัญญาเช่าระหว่างโจทก์และ ค.เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาจึงเป็นสิทธิในทรัพย์สินย่อมตกเป็นมรดกแก่จำเลยในฐานะผู้รับมรดกตามพินัยกรรมของ ค. ดังนี้ ถือว่าจำเลยเป็นผู้สืบสิทธิการเช่าจาก ค. และต้องฟังว่าที่ดินพิพาทมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องปีละ 10,000 บาท จึงไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคสอง
การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อเท็จจริงของโจทก์ที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์เป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์หามีผลบังคับแก่คดีไม่ การที่ฎีกาจำเลยฎีกาต่อมาในข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาว่าสัญญาเช่าระหว่างโจทก์และ ค.เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาหรือไม่ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย และพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยให้บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและยกฎีกาจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6452/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีขับไล่, สิทธิเจ้าของร่วม, ความรับผิดของผู้เช่าช่วง
การพิจารณาว่าคดีฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์จะอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้หรือไม่ ต้องถือตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคสองกล่าวคือ หากมีค่าเช่าในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละสองพันบาท ก็ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง โดยถือเอาค่าเช่าจริง ๆ ที่ตกลงกันไว้ในสัญญา ส่วนที่จะฟังว่าอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละสองพันบาทนั้น เป็นเรื่องการฟ้องผู้อาศัยหรือบุคคลอื่นซึ่งมิได้กำหนดค่าเช่ากันไว้ คดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าให้ออกจากตึกแถวพิพาท และตามสัญญาเช่ากำหนดค่าเช่าไว้ในอัตราเดือนละ 100 บาทซึ่งไม่เกินเดือนละสองพันบาท จึงต้องห้ามคู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามบทบัญญัติดังกล่าว ส่วนที่โจทก์ฟ้องว่าหากนำตึกแถวและที่ดินไปปรับปรุงแล้วนำออกให้เช่าจะได้ค่าเช่าไม่ต่ำกว่าวันละ 1,000 บาท และศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจะได้ค่าเช่าประมาณอัตราเดือนละ 4,000 บาท นั้น เป็นการกำหนดค่าเสียหายในอนาคตอันเป็นส่วนหนึ่งของการฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกแถวพิพาทเท่านั้น จะนำมาเป็นเกณฑ์พิจารณาคดีต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคสอง ไม่ได้
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1359 เมื่อมีบุคคลภายนอกมายุ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าของรวมคนใดคนหนึ่งอาจฟ้องร้องว่ากล่าวหรือต่อสู้คดีโดยลำพังได้ ดังนั้น เมื่อโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของรวมในตึกแถวพิพาทที่ให้จำเลยเช่าไม่ประสงค์จะให้จำเลยเช่าต่อไป โจทก์ที่ 1 ก็มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
แม้จำเลยจะไม่ได้ทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทจากโจทก์ที่ 1ก็ตาม แต่จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าช่วงตึกแถวพิพาทจากโจทก์ที่ 2 ย่อมต้องรับผิดต่อผู้ให้เช่าเดิมคือโจทก์ที่ 1 โดยตรง ตาม ป.พ.พ.มาตรา 545 ดังนั้น เมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดและโจทก์ทั้งสองบอกกล่าวให้จำเลยออกไปจากตึกแถวพิพาทแล้วจำเลยก็มีหน้าที่ต้องส่งคืนตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสอง การที่จำเลยยังคงครอบครองตึกแถวพิพาทต่อไปอีกย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสอง ทำให้โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของตึกแถวพิพาทไม่อาจใช้ประโยชน์จากตึกแถวพิพาทได้และโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นคู่สัญญากับจำเลยไม่สามารถส่งคืนตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 1 ได้ ฟ้องโจทก์ได้แสดงให้เห็นอยู่ในตัวแล้วว่าโจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายอย่างไร เป็นฟ้องที่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสองแล้วฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6452/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีขับไล่ผู้เช่า: ค่าเช่าไม่เกิน 2,000 บาท ห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริง และเจ้าของรวมมีอำนาจฟ้อง
การพิจารณาว่าคดีฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์จะอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้หรือไม่ ต้องถือตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสอง กล่าวคือหากมีค่าเช่าในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละสองพันบาท ก็ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง โดยถือเอาค่าเช่าจริง ๆ ที่ตกลงกันไว้ในสัญญา ส่วนที่จะฟังว่าอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละสองพันบาทนั้น เป็นเรื่องการฟ้องผู้อาศัยหรือบุคคลอื่นซึ่งมิได้กำหนดค่าเช่ากันไว้ คดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าให้ออกจากตึกแถวพิพาท และตามสัญญาเช่ากำหนดค่าเช่าไว้ในอัตราเดือนละ 100 บาท ซึ่งไม่เกินเดือนละสองพันบาท จึงต้องห้ามคู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามบทบัญญัติดังกล่าว ส่วนที่โจทก์ฟ้องว่าหากนำตึกแถวและที่ดินไปปรับปรุงแล้วนำออกให้เช่าจะได้ค่าเช่าไม่ต่ำกว่าวันละ 1,000 บาท และศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจะได้ค่าเช่าประมาณอัตราเดือนละ 4,000 บาท นั้น เป็นการกำหนดค่าเสียหายในอนาคตอันเป็นส่วนหนึ่งของการฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกแถวพิพาทเท่านั้น จะนำมาเป็นเกณฑ์พิจารณาคดีต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสองไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1359 เมื่อมีบุคคลภายนอกมายุ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าของรวมคนใดคนหนึ่งอาจฟ้องร้องว่ากล่าวหรือต่อสู้คดีโดยลำพังได้ดังนั้น เมื่อโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของรวมในตึกแถวพิพาทที่ให้จำเลยเช่าไม่ประสงค์จะให้จำเลยเช่าต่อไป โจทก์ที่ 1 ก็มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้ แม้จำเลยจะไม่ได้ทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทจากโจทก์ที่ 1ก็ตาม แต่จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าช่วงตึกแถวพิพาทจากโจทก์ที่ 2ย่อมต้องรับผิดต่อผู้ให้เช่าเดิมคือโจทก์ที่ 1 โดยตรง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 545 ดังนั้น เมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดและโจทก์ทั้งสองบอกกล่าวให้จำเลยออกไปจากตึกแถวพิพาทแล้วจำเลยก็มีหน้าที่ต้องส่งคืนตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองการที่จำเลยยังคงครอบครองตึกแถวพิพาทต่อไปอีกย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสอง ทำให้โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของตึกแถวพิพาทไม่อาจใช้ประโยชน์จากตึกแถวพิพาทได้และโจทก์ที่ 2ซึ่งเป็นคู่สัญญากับจำเลยไม่สามารถส่งคืนตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 1 ได้ ฟ้องโจทก์ได้แสดงให้เห็นอยู่ในตัวแล้วว่าโจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายอย่างไร เป็นฟ้องที่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสองแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6072/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่หลังขายช่วงสิทธิ – ปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยผู้อาศัยออกจากอาคารพิพาทซึ่งโจทก์เช่าซื้อมาจากการเคหะแห่งชาติในราคา 63,000 บาท หากโจทก์นำอาคารพิพาทไปให้บุคคลอื่นเช่าจะได้ค่าเช่าเดือนละ 1,000 บาท จำเลยให้การว่าโจทก์ได้ขายช่วงสิทธิการเช่าซื้ออาคารพิพาทให้จำเลยแล้ว โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่ผู้อาศัยออกจากอสังหาริมทรัพย์ซึ่งในขณะยื่นคำฟ้องอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละสองพันบาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224วรรคสอง ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ได้ขายช่วงสิทธิการเช่าซื้ออาคารพิพาทให้แก่จำเลยไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยไม่ได้มีหลักฐานการขายช่วงสิทธิอาคารพิพาท กับหลักฐานการรับเงินเป็นพยาน และโจทก์ไม่ได้หลอกลวงเอาใบเสร็จรับเงินจากจำเลยข้อเท็จจริงจึงยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้ขายช่วงสิทธิการเช่าอาคารพิพาทแก่จำเลยแล้วเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตามบทกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์โจทก์มานั้น จึงเป็นการไม่ชอบ และถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ทั้งฎีกาโจทก์ล้วนเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6072/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่หลังขายช่วงสิทธิเช่าซื้อ: อุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้าม
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยผู้อาศัยออกจากอาคารพิพาทซึ่งโจทก์เช่าซื้อมาจากการเคหะแห่งชาติในราคา63,000บาทหากโจทก์นำอาคารพิพาทไปให้บุคคลอื่นเช่าจะได้ค่าเช่าเดือนละ1,000บาทจำเลยให้การว่าโจทก์ได้ขายช่วงสิทธิการเช่าซื้ออาคารพิพาทให้จำเลยแล้วโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจึงเป็นคดีฟ้องขับไล่ผู้อาศัยออกจากอสังหาริมทรัพย์ซึ่งในขณะยื่นคำฟ้องอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละสองพันบาทต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคสองซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้ขายช่วงสิทธิการเช่าซื้ออาคารพิพาทให้แก่จำเลยไปแล้วโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยโจทก์อุทธรณ์ว่าจำเลยไม่ได้มีหลักฐานการขายช่วงสิทธิอาคารพิพาทกับหลักฐานการรับเงินเป็นพยานและโจทก์ไม่ได้หลอกลวงเอาใบเสร็จรับเงินจากจำเลยข้อเท็จจริงจึงยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้ขายช่วงสิทธิการเช่าอาคารพิพาทแก่จำเลยแล้วเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามอุทธรณ์ตามบทกฎหมายดังกล่าวที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์โจทก์มานั้นจึงเป็นการไม่ชอบและถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ทั้งฎีกาโจทก์ล้วนเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคสองศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 7