พบผลลัพธ์ทั้งหมด 70 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5371/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่: ศาลวินิจฉัยตามประเด็นที่กำหนดได้ แม้ค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ต่ำกว่าเกณฑ์อุทธรณ์
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่พิพาท จำเลยเข้าไปปลูกบ้านในที่พิพาทโดยไม่ชอบ ขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาท จำเลยให้การต่อสู้ว่า โจทก์รับโอนที่พิพาทมาโดยไม่สุจริต ภรรยาจำเลยเป็นผู้เช่าที่พิพาท สิทธิการเช่าไม่ระงับไปเพราะโจทก์ผู้รับโอนต้องรับไปซึ่งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอน จำเลยไม่ได้เกี่ยวข้องกับที่พิพาท ถือว่าจำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์ เมื่ออสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคสอง
ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้แล้วว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่พิพาทหรือไม่ และจำเลยปลูกบ้านพิพาทรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์หรือไม่ ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่พิพาทและจำเลยปลูกบ้านพิพาทรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ก็ย่อมพิพากษาให้ขับไล่จำเลยและให้รื้อถอนบ้านพิพาทออกไปจากที่ดินของโจทก์ตามคำขอท้ายฟ้องได้เพราะเป็นการวินิจฉัยเพื่อจะนำไปสู่ประเด็นข้อพิพาทที่ได้กำหนดไว้ ถือไม่ได้ว่าเป็นการกำหนดประเด็นเพิ่มในคำพิพากษา
ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้แล้วว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่พิพาทหรือไม่ และจำเลยปลูกบ้านพิพาทรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์หรือไม่ ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่พิพาทและจำเลยปลูกบ้านพิพาทรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ก็ย่อมพิพากษาให้ขับไล่จำเลยและให้รื้อถอนบ้านพิพาทออกไปจากที่ดินของโจทก์ตามคำขอท้ายฟ้องได้เพราะเป็นการวินิจฉัยเพื่อจะนำไปสู่ประเด็นข้อพิพาทที่ได้กำหนดไว้ ถือไม่ได้ว่าเป็นการกำหนดประเด็นเพิ่มในคำพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5371/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่รุกล้ำที่ดิน: ศาลยืนตามประเด็นเดิม ไม่ถือเป็นการกำหนดประเด็นเพิ่ม
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่พิพาทจำเลยเข้าไปปลูกบ้านในที่พิพาทโดยไม่ชอบขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทจำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์รับโอนที่พิพาทมาโดยไม่สุจริตภรรยาจำเลยเป็นผู้เช่าที่พิพาทสิทธิการเช่าไม่ระงับไปเพราะโจทก์ผู้รับโอนต้องรับไปซึ่งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนจำเลยไม่ได้เกี่ยวข้องกับที่พิพาทถือว่าจำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์เมื่ออสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละ4,000บาทจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคสอง ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้แล้วว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่พิพาทหรือไม่และจำเลยปลูกบ้านพิพาทรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์หรือไม่ดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่พิพาทและจำเลยปลูกบ้านพิพาทรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ก็ย่อมพิพากษาให้ขับไล่จำเลยและให้รื้อถอนบ้านพิพาทออกไปจากที่ดินของโจทก์ตามคำขอท้ายฟ้องได้เพราะเป็นการวินิจฉัยเพื่อจะนำไปสู่ประเด็นข้อพิพาทที่ได้กำหนดไว้ถือไม่ได้ว่าเป็นการกำหนดประเด็นเพิ่มในคำพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5083/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์/ฎีกาในคดีบุกรุกและคดีมีทุนทรัพย์แยกจากกัน
โจทก์ฟ้องว่าเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันบุกรุกทำให้เสียหาย หากนำไปให้บุคคลอื่นเช่าจะได้ค่าเช่าปีละ 24,000 บาทจำเลยทั้งเจ็ดให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 3 และที่ 5 ต่างแยกการครอบครอง ดังนั้นคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ที่ 6 และที่ 7 จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท ในขณะยื่นฟ้อง ซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง ส่วนคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 และที่ 5 เป็นคดีมีทุนทรัพย์ แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ 3 และที่ 5 รวมกันมา ทั้งจำเลยที่ 3 และที่ 5 จะยื่นคำให้การรวมกันมาในคำให้การเดียวกันก็ตาม แต่ที่ดินพิพาทในส่วนของจำเลยที่ 3 และที่ 5 ซึ่งพิพาทกับโจทก์แยกต่างหากจากกัน เพราะฉะนั้นค่าขึ้นศาลสำหรับจำเลยที่ 3 และที่ 5 ต้องคิดแยกต่างหากจากกันด้วย เมื่อที่ดินพิพาทในส่วนที่จำเลยที่ 3 และที่ 5 พิพาทกับโจทก์มีราคา 111,199.25 บาท และ52,037.58 บาท ตามลำดับ คดีสำหรับจำเลยที่ 3 และที่ 5 จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาของแต่ละคนไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5070/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนมรดกตามพินัยกรรมเกินขนาดที่ดิน และการฟ้องขับไล่จากผู้ซื้อสิทธิในมรดก
คดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224วรรคสอง การที่จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ทราบดีว่าที่ดินพิพาทมีคดีจนสู่ศาลฎีกาการรับโอนที่ดินจากการซื้อขายมาเป็นของโจทก์แล้วฟ้องขับไล่จำเลย จึงมิได้เป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตนั้น เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง และการกระทำใดสุจริตหรือไม่เป็นข้อเท็จจริงและมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในข้อนี้จึงชอบแล้ว
พินัยกรรมระบุเนื้อที่ดินตามที่ปรากฏในโฉนด และกำหนดจำนวนเนื้อที่ของผู้รับพินัยกรรมแต่ละคนไว้ชัดแจ้งแน่นอน แม้เจ้ามรดกจะระบุเนื้อที่ที่ดินที่ยกให้โดยพินัยกรรมมากกว่าที่เจ้ามรดกมีอยู่ก็ตาม ก็ยังมีผลในส่วนของเจ้ามรดกโดยส่วนแบ่งของผู้รับพินัยกรรมก็ต้องลดลงตามสัดส่วนที่เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกให้นั้น พินัยกรรมไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 1706 (3) จึงไม่เป็นโมฆะ เมื่อเจ้ามรดกไม่ได้ระบุให้แบ่งให้แก่จำเลย จำเลยย่อมไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกนั้น เมื่อโจทก์ได้ซื้อที่ดินเฉพาะส่วนของ ส. ที่มีสิทธิได้รับตามพินัยกรรมจากส. โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
พินัยกรรมระบุเนื้อที่ดินตามที่ปรากฏในโฉนด และกำหนดจำนวนเนื้อที่ของผู้รับพินัยกรรมแต่ละคนไว้ชัดแจ้งแน่นอน แม้เจ้ามรดกจะระบุเนื้อที่ที่ดินที่ยกให้โดยพินัยกรรมมากกว่าที่เจ้ามรดกมีอยู่ก็ตาม ก็ยังมีผลในส่วนของเจ้ามรดกโดยส่วนแบ่งของผู้รับพินัยกรรมก็ต้องลดลงตามสัดส่วนที่เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกให้นั้น พินัยกรรมไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 1706 (3) จึงไม่เป็นโมฆะ เมื่อเจ้ามรดกไม่ได้ระบุให้แบ่งให้แก่จำเลย จำเลยย่อมไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกนั้น เมื่อโจทก์ได้ซื้อที่ดินเฉพาะส่วนของ ส. ที่มีสิทธิได้รับตามพินัยกรรมจากส. โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4754/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาข้อห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงแยกตามฟ้องโจทก์และฟ้องแย้ง
การพิจารณาว่าคดีตามคำฟ้องของโจทก์และฟ้องแย้งของจำเลยจะต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงหรือไม่ ต้องแยกพิจารณาต่างหากเป็นคนละส่วนกัน
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์มีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท คดีตามฟ้องโจทก์จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อ-เท็จจริง ส่วนคดีตามฟ้องแย้งจำเลยเป็นคดีที่จำเลยขอให้บังคับโจทก์ดำเนินการทำสัญญาเช่ากับเทศบาลเมืองเพื่อให้โจทก์ทำสัญญาเช่ากับจำเลยจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ซึ่งต้องด้วยข้อยกเว้นที่ให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง ตอนต้น
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์มีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท คดีตามฟ้องโจทก์จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อ-เท็จจริง ส่วนคดีตามฟ้องแย้งจำเลยเป็นคดีที่จำเลยขอให้บังคับโจทก์ดำเนินการทำสัญญาเช่ากับเทศบาลเมืองเพื่อให้โจทก์ทำสัญญาเช่ากับจำเลยจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ซึ่งต้องด้วยข้อยกเว้นที่ให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง ตอนต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3657/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีผสมทุนทรัพย์: ข้อจำกัดเรื่องจำนวนเงินทุนทรัพย์และเจตนาการเช่าเริ่มต้นจากสัญญาจอง
คดีนี้โจทก์ฟ้องขับไล่พร้อมกับเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระจากจำเลยถือได้ว่าเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ส่วนหนึ่งกับคดีมีทุนทรัพย์อีกส่วนหนึ่งปนกันมาดังนี้จะอุทธรณ์ข้อเท็จจริงได้หรือไม่ต้องแยกจากกันถ้าหากอุทธรณ์ประเด็นเรื่องขับไล่ต้องพิจารณาว่าค่าเช่าเกินเดือนละ4,000บาทหรือไม่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยมีอัตราค่าเช่าห้องละ200บาทต่อเดือนจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคสองส่วนที่ฟ้องเรียกค่าเช่าค้างชำระนั้นต้องพิจารณาว่าเกิน50,000บาทหรือไม่เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระค่าเช่าเป็นเงิน28,320บาทแก่โจทก์โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้เป็นไปตามคำขอท้ายฟ้องเป็นจำนวนเงิน51,600บาทจึงเท่ากับขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนเงิน23,280บาทเท่านั้นดังนั้นคงเหลือทุนทรัพย์ที่พิพาทกันมาในชั้นอุทธรณ์มีจำนวนไม่เกิน50,000บาทต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวเช่นกัน สัญญาจองอาคารข้อ5ระบุว่าเมื่อผู้รับจองทำการก่อสร้างอาคารที่จองแล้วเสร็จผู้จองต้องเสียค่าอาคารและค่าบำรุงให้แก่ผู้รับจองตั้งแต่นั้นเป็นต้นไปดังนี้เจตนาของผู้จองและผู้รับจองหรือผู้เช่ากับผู้ให้เช่ามีเจตนาให้ผู้ที่จองอาคารได้อยู่ในอาคารเมื่อทำการก่อสร้างอาคารเสร็จแล้วและนับแต่อาคารที่ให้จองสร้างเสร็จโจทก์ในฐานะผู้รับจองหรือผู้ให้เช่าก็จะเรียกเก็บค่าเช่ากับค่าบำรุงจากผู้จองอาคารหรือผู้เช่าในทันทีจำเลยทำสัญญาจองอาคารแล้วให้ ส.เข้าอยู่ในอาคารที่จองทันทีหากจะนับระยะเวลาการเช่าโดยเริ่มนับตั้งแต่โจทก์จำเลยทำสัญญาเช่ากันตามสัญญาข้อ4ก็ไม่เป็นการแน่นอนว่าจะทำสัญญากันได้เมื่อใดเพราะเทศบาลเมืองฉะเชิงเทราเช่าที่ดินพิพาทแปลงนี้จากกรมธนารักษ์ซึ่งต่อมาเกิดมีข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดินระหว่างกรมธนารักษ์กับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ต้องรอผลชี้ขาดถึงที่สุดก่อนจึงจะสามารถทำสัญญาเช่าต่อกันได้เมื่อจำเลยให้ส. เข้าอยู่ในอาคารที่จองและเสียค่าเช่าให้แก่โจทก์ตลอดมาเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า10ปีจนกระทั่งโจทก์มาฟ้องขับไล่พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์และจำเลยไม่ถือเป็นข้อสาระสำคัญที่จะทำสัญญาเช่าต่อกันหรือไม่ข้อสำคัญน่าจะถือการเข้าอยู่ในอาคารที่จองด้วยเจตนาที่จะให้มีอายุการเช่า20ปีการทำสัญญาจองอาคารไว้โดยยังไม่ทำสัญญาเช่าต่อกันแต่ผู้จองและผู้รับจองก็ได้ปฏิบัติเสมือนหนึ่งมีการเช่าทรัพย์แล้วจึงต้องถือเจตนาของคู่สัญญาเป็นข้อสำคัญอายุการเช่าจึงสมควรเริ่มนับแต่วันที่ทำสัญญาจองอาคารพิพาทเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3657/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีรวมทุนทรัพย์ และเจตนาการเช่าจากสัญญาจองอาคาร
คดีนี้โจทก์ฟ้องขับไล่พร้อมกับเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระจากจำเลยถือได้ว่าเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ส่วนหนึ่ง กับคดีมีทุนทรัพย์อีกส่วนหนึ่งปนกันมา ดังนี้จะอุทธรณ์ข้อเท็จจริงได้หรือไม่ ต้องแยกจากกัน ถ้าหากอุทธรณ์ประเด็นเรื่องขับไล่ต้องพิจารณาว่า ค่าเช่าเกินเดือนละ 4,000 บาท หรือไม่ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลย มีอัตราค่าเช่าห้องละ 200 บาท ต่อเดือน จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสองส่วนที่ฟ้องเรียกค่าเช่าค้างชำระนั้น ต้องพิจารณาว่าเกิน 50,000 บาท หรือไม่เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระค่าเช่าเป็นเงิน 28,320 บาท แก่โจทก์ โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้เป็นไปตามคำขอท้ายฟ้องเป็นจำนวนเงิน 51,600 บาท จึงเท่ากับขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนเงิน 23,280 บาท เท่านั้น ดังนั้น คงเหลือทุนทรัพย์ที่พิพาทกันมาในชั้นอุทธรณ์มีจำนวนไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวเช่นกัน
สัญญาจองอาคารข้อ 5 ระบุว่า เมื่อผู้รับจองทำการก่อสร้างอาคารที่จองแล้วเสร็จ ผู้จองต้องเสียค่าอาคารและค่าบำรุงให้แก่ผู้รับจองตั้งแต่นั้นเป็นต้นไป ดังนี้ เจตนาของผู้จองและผู้รับจองหรือผู้เช่ากับผู้ให้เช่ามีเจตนาให้ผู้ที่จองอาคารได้อยู่ในอาคารเมื่อทำการก่อสร้างอาคารเสร็จแล้ว และนับแต่อาคารที่ให้จองสร้างเสร็จ โจทก์ในฐานะผู้รับจองหรือผู้ให้เช่าก็จะเรียกเก็บค่าเช่ากับค่าบำรุงจากผู้จองอาคารหรือผู้เช่าในทันที จำเลยทำสัญญาจองอาคารแล้วให้ ส.เข้าอยู่ในอาคารที่จองทันที หากจะนับระยะเวลาการเช่าโดยเริ่มนับตั้งแต่โจทก์จำเลยทำสัญญาเช่ากันตามสัญญาข้อ 4 ก็ไม่เป็นการแน่นอนว่าจะทำสัญญากันได้เมื่อใด เพราะเทศบาลเมืองฉะเชิงเทราเช่าที่ดินพิพาทแปลงนี้จากกรมธนารักษ์ซึ่งต่อมาเกิดมีข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดินระหว่างกรมธนารักษ์กับสำนักงานทรัพย์สิน-ส่วนพระมหากษัตริย์ ต้องรอผลชี้ขาดถึงที่สุดก่อนจึงจะสามารถทำสัญญาเช่าต่อกันได้ เมื่อจำเลยให้ ส. เข้าอยู่ในอาคารที่จองและเสียค่าเช่าให้แก่โจทก์ตลอดมาเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปี จนกระทั่งโจทก์มาฟ้องขับไล่ พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์และจำเลยไม่ถือเป็นข้อสาระสำคัญที่จะทำสัญญาเช่าต่อกันหรือไม่ข้อสำคัญน่าจะถือการเข้าอยู่ในอาคารที่จองด้วยเจตนาที่จะให้มีอายุการเช่า20 ปี การทำสัญญาจองอาคารไว้โดยยังไม่ทำสัญญาเช่าต่อกัน แต่ผู้จองและผู้รับจองก็ได้ปฏิบัติเสมือนหนึ่งมีการเช่าทรัพย์แล้ว จึงต้องถือเจตนาของคู่สัญญาเป็นข้อสำคัญ อายุการเช่าจึงสมควรเริ่มนับแต่วันที่ทำสัญญาจองอาคารพิพาทเป็นต้นไป
สัญญาจองอาคารข้อ 5 ระบุว่า เมื่อผู้รับจองทำการก่อสร้างอาคารที่จองแล้วเสร็จ ผู้จองต้องเสียค่าอาคารและค่าบำรุงให้แก่ผู้รับจองตั้งแต่นั้นเป็นต้นไป ดังนี้ เจตนาของผู้จองและผู้รับจองหรือผู้เช่ากับผู้ให้เช่ามีเจตนาให้ผู้ที่จองอาคารได้อยู่ในอาคารเมื่อทำการก่อสร้างอาคารเสร็จแล้ว และนับแต่อาคารที่ให้จองสร้างเสร็จ โจทก์ในฐานะผู้รับจองหรือผู้ให้เช่าก็จะเรียกเก็บค่าเช่ากับค่าบำรุงจากผู้จองอาคารหรือผู้เช่าในทันที จำเลยทำสัญญาจองอาคารแล้วให้ ส.เข้าอยู่ในอาคารที่จองทันที หากจะนับระยะเวลาการเช่าโดยเริ่มนับตั้งแต่โจทก์จำเลยทำสัญญาเช่ากันตามสัญญาข้อ 4 ก็ไม่เป็นการแน่นอนว่าจะทำสัญญากันได้เมื่อใด เพราะเทศบาลเมืองฉะเชิงเทราเช่าที่ดินพิพาทแปลงนี้จากกรมธนารักษ์ซึ่งต่อมาเกิดมีข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดินระหว่างกรมธนารักษ์กับสำนักงานทรัพย์สิน-ส่วนพระมหากษัตริย์ ต้องรอผลชี้ขาดถึงที่สุดก่อนจึงจะสามารถทำสัญญาเช่าต่อกันได้ เมื่อจำเลยให้ ส. เข้าอยู่ในอาคารที่จองและเสียค่าเช่าให้แก่โจทก์ตลอดมาเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปี จนกระทั่งโจทก์มาฟ้องขับไล่ พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์และจำเลยไม่ถือเป็นข้อสาระสำคัญที่จะทำสัญญาเช่าต่อกันหรือไม่ข้อสำคัญน่าจะถือการเข้าอยู่ในอาคารที่จองด้วยเจตนาที่จะให้มีอายุการเช่า20 ปี การทำสัญญาจองอาคารไว้โดยยังไม่ทำสัญญาเช่าต่อกัน แต่ผู้จองและผู้รับจองก็ได้ปฏิบัติเสมือนหนึ่งมีการเช่าทรัพย์แล้ว จึงต้องถือเจตนาของคู่สัญญาเป็นข้อสำคัญ อายุการเช่าจึงสมควรเริ่มนับแต่วันที่ทำสัญญาจองอาคารพิพาทเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1517/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีแพ่ง: ทุนทรัพย์ที่แท้จริงเป็นเกณฑ์พิจารณา มิใช่จำนวนที่ระบุในฟ้อง
จำเลยฎีกาว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ชอบเพราะต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง แม้จำเลยจะขอให้พิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นก็ตามแต่การพิจารณาว่าคดีต้องห้ามอุทธรณ์หรือไม่ ไม่ว่าผลจะเป็นประการใด ก็เป็นแต่เพียงชี้ขาดว่าคำพิพากษาชอบด้วยกฎหมายแล้วหรือถ้าไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ต้องยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และยกฎีกานั้นเสียโดยไม่ต้องวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดี ฎีกาของจำเลยจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาได้ จำเลยเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1(2)(ก)ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จึงถูกต้องครบถ้วนแล้ว ปัญหาว่าคดีต้องห้ามอุทธรณ์หรือไม่ เป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย และแม้ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ก็เป็นฎีกาที่ชอบจึงไม่ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคสอง โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จดทะเบียนโอนที่ดินเนื้อที่ 4 ไร่ 1 งาน 10 ตารางวา ให้แก่โจทก์โดยกำหนดทุนทรัพย์ 3,000 บาท จำเลยที่ 1 คัดค้าน โจทก์กับจำเลยที่ 1รับกันว่าที่ดินตามฟ้องราคา 150,000 บาท จึงเป็นคดีที่มีราคาทรัพย์ที่พิพาทกันในศาลชั้นต้นเป็นเงิน 150,000 บาท ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์แพ้คดี โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงขอให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินส่วนของจำเลยที่ 1 เนื้อที่ครึ่งหนึ่งของที่โจทก์ฟ้องคือเนื้อที่2 ไร่ 55 ตารางวา อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นคดีที่มีราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เกินกว่า 50,000 บาทไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5889/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีขับไล่: คดีละเมิดอสังหาริมทรัพย์ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 224 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ปลูกบ้านให้จำเลยที่ 2 อยู่ในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์โดยไม่มีอำนาจ ขอให้ขับไล่ จำเลยทั้งสองต่อสู้ว่าไม่ใช่ที่ดินของโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ดังนี้เป็นคดีฟ้องขับไล่ผู้ละเมิดออกจากอสังหาริมทรัพย์อันเป็นคดีเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์มิใช่ฟ้องขับไล่ผู้เช่าหรือผู้อาศัย จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2736/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลระหว่างพิจารณาคดี, การบังคับคดี, และการพิพากษาคดีทรัพย์สิน: ข้อจำกัดการอุทธรณ์และดุลพินิจชั่งน้ำหนักพยาน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้พิจารณาคดีชั้นร้องขัดทรัพย์ใหม่โดยไม่ไต่สวนและสั่งให้ผู้ร้องนำพยานมาสืบใหม่โดยอนุญาตให้โจทก์ถามค้าน คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี เมื่อผู้ร้องมิได้โต้แย้งคำสั่งไว้จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226(2) การที่ผู้ร้องอุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงและพิพากษาคดีขัดต่อกฎหมาย เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการชั่งน้ำหนักคำพยาน จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ผู้ร้องร้องขัดทรัพย์บ้านซึ่งปลูกติดอยู่กับที่ดินซึ่งโดยสภาพของบ้านก่อนมีการรื้อถอนย่อมเป็นอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 100 จึงเป็นคดีเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง.