พบผลลัพธ์ทั้งหมด 189 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3614/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทำของ vs. สัญญาตัวแทน: การบังคับชำระค่าจ้างตามข้อตกลงและหลักฐาน
หนังสือเสนอราคาที่โจทก์มีไปถึงจำเลยถือเป็นคำเสนอตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 355 ส่วนหนังสือแต่งตั้งและว่าจ้างโจทก์ให้ดำเนินการพิธีการทางศุลกากรและนำเครื่องจักรไปส่งให้จำเลยที่จำเลยมีไปถึงโจทก์หลังได้รับคำเสนอแล้ว แม้จะไม่ได้อ้างถึงหนังสือเสนอราคาแต่ก็มิได้มีข้อความเพิ่มเติม มีข้อจำกัด หรือมีข้อแก้ไขอย่างอื่นประกอบด้วยแต่อย่างใดจึงย่อมเป็นคำสนองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 359 วรรคสอง และเมื่อคำบอกกล่าวสนองของจำเลยไปถึงโจทก์ผู้เสนอแล้วย่อมเป็นสัญญาขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 361 วรรคแรก ในสัญญาตัวแทน ตัวการและตัวแทนมักมีความเกี่ยวพันกันเป็นส่วนตัวหรือหน้าที่การงานประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 803 จึงวางหลักไว้ว่าตัวแทนไม่มีสิทธิจะได้รับบำเหน็จจากกิจการที่ตนทำไปแทนตัวการ แต่สำหรับสัญญาจ้างทำของนั้น มีอยู่เสมอที่ผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างมิได้รู้จักผูกพันกันมาก่อนเหตุที่ทำสัญญากันก็เนื่องมาจากผู้ว่าจ้างต้องการผลสำเร็จของงานซึ่งผู้รับจ้างมีความถนัดและมักประกอบเป็นอาชีพโดยหวังสินจ้างเป็นสำคัญอันเป็นเรื่องของธุรกิจการค้าการบริการ โจทก์และจำเลยไม่รู้จักเกี่ยวพันกันมาก่อนต่างเป็นนิติบุคคลประกอบธุรกิจการค้าการให้บริการโดยมุ่งหวังผลกำไร สัญญาที่เกิดขึ้นระหว่างโจทก์จำเลยจึงเป็นสัญญาจ้างทำของ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2074/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินหลังสัญญาซื้อขาย-อายุความมรดก: สิทธิยังไม่โอน-ขาดอายุความฟ้อง
ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 4 ทวิ ซึ่งเพิ่มเติมโดยข้อ 2 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96(พ.ศ. 2515) บัญญัติว่า "นับตั้งแต่วันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับ การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดิน ซึ่งมีโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่"เมื่อหนังสือสัญญาการซื้อขายที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ระหว่างโจทก์และ ผ. ทำขึ้นเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2520 และมีบันทึกที่ด้านหลังของเอกสารว่า โจทก์และ ผ. นัดจะไปจดทะเบียนโอนกันภายในวันที่ 2 มิถุนายน 2520 หากผู้ขายบิดพลิ้วประการใดประการหนึ่ง ผู้ขายยินยอมให้ผู้ซื้อปรับสามเท่าของราคาหลังจากทำสัญญาซื้อขายแล้ว โจทก์ได้ติดต่อ ผ. เพื่อขอรับโอนที่ดินพิพาท แต่ ผ. แจ้งว่ายังไม่พร้อม หลังจากที่ ผ. เสียชีวิต โจทก์ไปติดต่อ จ. ภริยาของ ผ. จ. แจ้งว่าจะโอนให้ภายหลัง ดังนี้หนังสือสัญญาที่โจทก์และ ผ. ทำขึ้นจึงเป็นเพียงสัญญาจะซื้อจะขายและคู่สัญญามุ่งถึงการจดทะเบียนเป็นสำคัญในการโอนสิทธิครอบครอง ตราบใดที่โจทก์และ ผ. ยังไม่ได้ไปจดทะเบียนโอนกัน การครอบครองที่ดินตามหนังสือสัญญาการซื้อขายของโจทก์ก็ย่อมเป็นการครอบครองแทน ผ. ผู้ขายอยู่ตราบนั้น เมื่อ ผ. ถึงแก่ความตาย ที่ดินพิพาทย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทของ ผ. และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม บัญญัติให้เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเรียกร้องต่อเจ้ามรดกฟ้องร้องภายในหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องร้องภายในกำหนดเวลาดังกล่าว คดีของโจทก์ย่อมเป็นอันขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2074/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน & อายุความฟ้องคดีมรดก: สิทธิครอบครองยังไม่โอน การฟ้องข้ามปีขาดอายุความ
หนังสือสัญญาการซื้อขายที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ระหว่างโจทก์และ ผ. ทำขึ้น เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2520 มีบันทึกที่ด้านหลังของเอกสารว่าโจทก์และ ผ. นัดจะไปจดทะเบียนโอนกันภายในวันที่ 2 มิถุนายน 2520 หากผู้ขายบิดพลิ้ว ผู้ขายยินยอมให้ผู้ซื้อปรับสามเท่าของราคา หลังจากทำสัญญาซื้อขายแล้ว โจทก์ได้ติดต่อ ผ. เพื่อขอรับโอนที่ดินพิพาท แต่ ผ. แจ้งว่ายังไม่พร้อม หลังจากที่ ผ. เสียชีวิต โจทก์ไปติดต่อ จ. ภริยาของ ผ. จ. แจ้งว่าจะโอนให้ภายหลัง ดังนี้หนังสือสัญญาที่โจทก์และ ผ. ทำขึ้นจึงเป็นเพียงสัญญาจะซื้อจะขายและคู่สัญญามุ่งถึงการจดทะเบียนเป็นสำคัญในการโอนสิทธิครอบครอง ตราบใดที่โจทก์และ ผ. ยังไม่ได้ไปจดทะเบียนโอนกัน การครอบครองที่ดินตามหนังสือสัญญาการซื้อขายของโจทก์ก็ย่อมเป็นการครอบครองแทน ผ. ผู้ขายอยู่ตราบนั้น
เมื่อ ผ. ถึงแก่ความตาย ที่ดินพิพาทย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทของ ผ. และ ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม บัญญัติให้เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเรียกร้องต่อเจ้ามรดกฟ้องร้องภายในหนึ่งปี นับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องร้องภายในกำหนดเวลาดังกล่าว คดีของโจทก์ย่อมเป็นอันขาดอายคุวาม
เมื่อ ผ. ถึงแก่ความตาย ที่ดินพิพาทย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทของ ผ. และ ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม บัญญัติให้เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเรียกร้องต่อเจ้ามรดกฟ้องร้องภายในหนึ่งปี นับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องร้องภายในกำหนดเวลาดังกล่าว คดีของโจทก์ย่อมเป็นอันขาดอายคุวาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2042/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการต้องรับผิดเสมือนตัวแทนเมื่อเชิดบริษัทเพื่อกระทำการทางสัญญา และศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นที่ไม่ได้ยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์
โจทก์ได้ว่าจ้างบริษัท อ. ทำการก่อสร้างบ้าน โดยจ้างบริษัท ค. จัดซื้อและคัดเลือกวัสดุก่อสร้าง และ จ้างจำเลยที่ 1 ควบคุมการปลูกสร้างบ้านหลังดังกล่าว โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดให้โจทก์ทำสัญญากับบริษัท อ. และ บริษัท ค. ทั้งที่โจทก์ ไม่รู้จักบริษัททั้งสอง จำเลยที่ 1 เป็นผู้ดำเนินการให้โจทก์ทำสัญญาดังกล่าวและเป็นผู้รับเงินค่าก่อสร้างตามสัญญาจากโจทก์ พฤติการณ์ฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 เชิดบริษัททั้งสองแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตเสมือนว่าบริษัททั้งสองเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1
ประเด็นที่ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่และคดีขาดอายุความหรือไม่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยทั้งสองประเด็นนี้ไว้ในคำพิพากษาและพิพากษายกฟ้องโจทก์ เมื่อโจทก์ฝ่ายเดียวอุทธรณ์และจำเลยที่ 1 ยื่นคำแก้อุทธรณ์โดยมิได้กล่าวอ้างปัญหาทั้งสองข้อนี้ไว้เป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยที่ 1 ทั้งสองประเด็นจึงมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ประเด็นที่ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่และคดีขาดอายุความหรือไม่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยทั้งสองประเด็นนี้ไว้ในคำพิพากษาและพิพากษายกฟ้องโจทก์ เมื่อโจทก์ฝ่ายเดียวอุทธรณ์และจำเลยที่ 1 ยื่นคำแก้อุทธรณ์โดยมิได้กล่าวอ้างปัญหาทั้งสองข้อนี้ไว้เป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยที่ 1 ทั้งสองประเด็นจึงมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2036/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมาดูแลความปลอดภัยมีผลผูกพัน แม้จะยังมิได้ทำเป็นหนังสือ หากมีการปฏิบัติการตามสัญญาแล้ว
จำเลยเสนอราคาค่าจ้างเหมาดูแลรักษาความปลอดภัยตัวทรัพย์สินบริเวณอาคารที่พักข้าราชการกระทรวงยุติธรรม และโจทก์มีหนังสือถึงจำเลยตอบตกลงสนองรับราคาตามรายละเอียด และเงื่อนไขการจ้างที่จำเลยเสนอและให้จำเลยไปลงนามใน สัญญากับโจทก์พร้อมทั้งให้หาหลักประกันเป็นหนังสือมา ค้ำประกันด้วย แสดงว่าโจทก์และจำเลยมีเจตนาว่าสัญญา อันมุ่งจะทำต่อกันนั้นต้องทำเป็นหนังสือ แต่ก่อนที่ทั้งสองฝ่าย จะทำสัญญาเป็นหนังสือ มีเหตุการณ์จำเป็นโจทก์จำเลย จึงตกลงให้จำเลยส่งพนักงานของจำเลยเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ ดูแลรักษาความปลอดภัยในอาคารที่พักข้าราชการกระทรวงยุติธรรม และจำเลยได้ส่งพนักงานของจำเลยเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ ในอาคารดังกล่าวตามข้อตกลงแล้ว ดังนี้ เท่ากับว่าโจทก์ และจำเลยได้ตกลงกันใหม่โดยผ่อนผันไม่ต้องทำสัญญาเป็น หนังสือต่อกันเป็นการชั่วคราว และสัญญาดังกล่าวไม่มีกฎหมาย บังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือมิฉะนั้นเป็นโมฆะจึงถือได้ว่า โจทก์และจำเลยมีสัญญาต่อกันแล้ว โดยมีข้อตกลงตามคำเสนอ และเงื่อนไขการจ้างเดิม ดังนั้น เมื่อพนักงานของจำเลย ไม่สามารถรักษาความปลอดภัยแก่ทรัพย์สินภายในอาคารที่พัก ได้ตามสัญญา จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามเงื่อนไขการจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2006/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับข้อเท็จจริงโดยการไม่ต่อสู้คดี ทำให้ไม่ต้องนำหลักฐานการมอบอำนาจมาแสดง
จำเลยให้การว่า สัญญาจำนองเป็นโมฆะเพราะมิได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์ผู้รับจำนอง จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าการมอบอำนาจของโจทก์ในการทำสัญญาจำนองไม่ถูกต้องหรือผู้รับมอบอำนาจลงลายมือชื่อในสัญญาจำนองแทนโจทก์โดยมิได้มีการมอบอำนาจตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง จึงมีผลเท่ากับจำเลยยอมรับตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องว่าการทำสัญญาจำนองโจทก์มอบอำนาจให้ผู้มีชื่อไปจดทะเบียนในฐานะผู้รับจำนองแทนโจทก์โดยถูกต้องแล้ว โจทก์จึงไม่ต้องนำหนังสือมอบอำนาจมาแสดงต่อศาล และในการสืบพยานของโจทก์โจทก์ก็นำผู้รับมอบอำนาจให้ไปจดทะเบียนในฐานะผู้รับจำนองแทนโจทก์มาเบิกความว่าได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ในการทำสัญญาจำนองกับจำเลยด้วยแล้ว ทางนำสืบของโจทก์จึงไม่ได้ขัด ต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2006/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับข้อเท็จจริงตามฟ้องและผลของการนำสืบพยานเกี่ยวกับหนังสือมอบอำนาจในคดีจำนอง
จำเลยให้การว่า สัญญาจำนองเป็นโมฆะเพราะมิได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์ผู้รับจำนอง จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่า การมอบอำนาจของโจทก์ในการทำสัญญาจำนองไม่ถูกต้อง หรือผู้รับมอบอำนาจลงลายมือชื่อในสัญญาจำนองแทนโจทก์โดยมิได้มีการมอบอำนาจตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง จึงมีผลเท่ากับจำเลยยอมรับตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องว่า การทำสัญญาจำนองโจทก์มอบอำนาจให้ผู้มีชื่อไปจดทะเบียนในฐานะผู้รับจำนองแทนโจทก์โดยถูกต้องแล้ว โจทก์จึงไม่ต้องนำหนังสือมอบอำนาจมาแสดงต่อศาล และในการสืบพยานของโจทก์ โจทก์ก็นำผู้รับมอบอำนาจให้ไปจดทะเบียนในฐานะผู้รับจำนองแทนโจทก์มาเบิกความว่าได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ในการทำสัญญาจำนองกับจำเลยด้วยแล้ว ทางนำสืบของโจทก์จึงไม่ได้ขัดต่อป.วิ.พ.มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2006/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบการมอบอำนาจทำสัญญาจำนอง: จำเลยไม่ต่อสู้เรื่องการมอบอำนาจ ถือว่ายอมรับ
จำเลยให้การว่า สัญญาจำนองเป็นโมฆะเพราะมิได้ ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์ผู้รับจำนอง จำเลยมิได้ ให้การต่อสู้ว่า การมอบอำนาจของโจทก์ในการทำสัญญาจำนอง ไม่ถูกต้อง หรือผู้รับมอบอำนาจลงลายมือชื่อในสัญญาจำนอง แทนโจทก์โดยมิได้มีการมอบอำนาจตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องจึงมีผลเท่ากับจำเลยยอมรับตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องว่า การทำสัญญาจำนองโจทก์มอบอำนาจให้ผู้มีชื่อไปจดทะเบียน ในฐานะผู้รับจำนองแทนโจทก์โดยถูกต้องแล้ว โจทก์จึงไม่ต้อง นำหนังสือมอบอำนาจมาแสดงต่อศาลและในการสืบพยานของโจทก์โจทก์ก็นำผู้รับมอบอำนาจให้ไปจดทะเบียนในฐานะผู้รับจำนอง แทนโจทก์มาเบิกความว่าได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ใน การทำสัญญาจำนองกับจำเลยด้วยแล้ว ทางนำสืบของโจทก์ จึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1955/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของนายจ้างต่อการกระทำของลูกจ้าง และการรับช่วงสิทธิของบริษัทประกันภัย
++ เรื่อง ประกันภัย ละเมิด รับช่วงสิทธิ
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 8 หน้า 53 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 8 หน้า 53 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1955/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของตัวการจากความยินยอมของตัวแทน แม้มีระเบียบภายใน
จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันเกิดเหตุโดยได้รับความยินยอมจากส.เจ้าหน้าที่วิทยาลัยการปกครอง ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 แม้จำเลยที่ 2 จะมีระเบียบว่าด้วยการใช้ รถยนต์เป็นประการใดก็ตาม ก็ไม่อาจนำมาใช้ยันโจทก์ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดในผลแห่ง ละเมิดนั้นด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 427 เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ เอาประกันภัยที่จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดแล้วจึงรับช่วงสิทธิ มาเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดได้