คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 104

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3679/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: หลักการคุ้มครองเจ้าหนี้และอำนาจงดการสอบสวน
พระราชบัญญัติล้มละลายมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของเจ้าหนี้ทั้งหลายให้ได้รับชำระหนี้โดยเป็นธรรม ตามส่วนเฉลี่ยแห่งหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ป้องกันมิให้ลูกหนี้ยักย้ายถ่ายเททรัพย์ของตน.มิให้ถูกบังคับชำระหนี้และให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้โดยรวดเร็ว ที่ลูกหนี้ถูกฟ้องเป็นจำเลยร่วมกับบริษัท อ. ในคดีล้มละลายเมื่อลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ศาลก็ได้จำหน่ายคดีเฉพาะลูกหนี้แล้วลูกหนี้และบริษัท อ. มิได้มีเจ้าหนี้แต่เฉพาะเจ้าหนี้ในคดีนี้ แต่อาจมีเจ้าหนี้หลายรายแตกต่างกันไป ถ้าศาลจะรอมีคำสั่งเกี่ยวกับคำขอรับชำระหนี้รายนี้ไว้จนกว่าคดีล้มละลายถึงที่สุด ก็ย่อมจะเสียหายแก่เจ้าหนี้รายอื่น จึงไม่มีเหตุที่จะรอมีคำสั่งเกี่ยวกับคำขอรับชำระหนี้รายนี้ไว้
การสอบสวน เรื่องหนี้สินเกี่ยวกับคำขอรับชำระหนี้นั้นเมื่อ จ.พ.ท. เห็นว่าพยานหลักฐานเท่าที่ได้สอบสวนมาแล้วเพียงพอที่จะทำความเห็นส่งสำนวนเรื่องหนี้สินที่ขอรับชำระหนี้นั้นต่อศาล หรือพยานที่เจ้าหนี้ หรือลูกหนี้อ้างมาให้การฟุ่มเฟือยเกินสมควรหรือประวิงให้ชักช้าหรือไม่เกี่ยวแก่ประเด็น จ.พ.ท.ย่อมมีอำนาจที่จะงดการสอบสวนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3679/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: การพิจารณาคำขอรับชำระหนี้โดยไม่ต้องรอคดีอื่นถึงที่สุดเพื่อคุ้มครองประโยชน์เจ้าหนี้
พระราชบัญญัติล้มละลายมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของเจ้าหนี้ทั้งหลายให้ได้รับชำระหนี้โดยเป็นธรรม ตามส่วนเฉลี่ยแห่งหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ป้องกันมิให้ลูกหนี้ยักย้ายถ่ายเททรัพย์ของตน.มิให้ถูกบังคับชำระหนี้และให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้โดยรวดเร็ว ที่ลูกหนี้ถูกฟ้องเป็นจำเลยร่วมกับบริษัท อ. ในคดีล้มละลายเมื่อลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ศาลก็ได้จำหน่ายคดีเฉพาะลูกหนี้แล้วลูกหนี้และบริษัท อ. มิได้มีเจ้าหนี้แต่เฉพาะเจ้าหนี้ในคดีนี้ แต่อาจมีเจ้าหนี้หลายรายแตกต่างกันไป ถ้าศาลจะรอมีคำสั่งเกี่ยวกับคำขอรับชำระหนี้รายนี้ไว้จนกว่าคดีล้มละลายถึงที่สุด ก็ย่อมจะเสียหายแก่เจ้าหนี้รายอื่น จึงไม่มีเหตุที่จะรอมีคำสั่งเกี่ยวกับคำขอรับชำระหนี้รายนี้ไว้
การสอบสวน เรื่องหนี้สินเกี่ยวกับคำขอรับชำระหนี้นั้นเมื่อ จ.พ.ท. เห็นว่าพยานหลักฐานเท่าที่ได้สอบสวนมาแล้วเพียงพอที่จะทำความเห็นส่งสำนวนเรื่องหนี้สินที่ขอรับชำระหนี้นั้นต่อศาล หรือพยานที่เจ้าหนี้ หรือลูกหนี้อ้างมาให้การฟุ่มเฟือยเกินสมควรหรือประวิงให้ชักช้าหรือไม่เกี่ยวแก่ประเด็น จ.พ.ท. ย่อมมีอำนาจที่จะงดการสอบสวนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 420/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: การไม่นำพยานหลักฐานมายังไม่ถือขาดนัด
คำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้บัญญัติกระบวนพิจารณาไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 โดยเฉพาะ ไม่อาจนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเรื่องการขาดนัดพิจารณามาอนุโลมใช้ในเรื่องนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2806/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายของนายจ้าง & อายุความเรียกร้องหนี้ภาษี กรณีล้มละลาย
ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 29,30 ได้กำหนดกฎเกณฑ์และวิธีการในการอุทธรณ์การประเมินภาษีของเจ้าพนักงานประเมิน และการอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลแล้ว กล่าวคือให้โอกาสแก่ผู้เสียภาษีปฏิบัติได้เป็นขั้นตอนเมื่อผู้เสียภาษีไม่เห็นด้วยกับการประเมินก็ใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์แล้วผู้เสียภาษียังไม่เห็นด้วยก็ยังมีสิทธิที่จะฟ้องร้องต่อศาลได้ภายในเวลาที่กำหนดไว้ จะนำคดีมาฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีต่อศาลโดยไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ตามวิธีการดังกล่าวเสียก่อนหาได้ไม่
จำเลยมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ไว้ทุกคราวที่จ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่ลูกจ้างของตนตามประมวลรัษฎากรมาตรา 50 และต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่จะต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักและนำส่งดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 54 จึงมีฐานะเช่นเดียวกับผู้มีเงินได้ มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยอุทธรณ์การประเมินของเจ้าพนักงาน จำเลยจึงต้องผูกพันเป็นลูกหนี้ตามที่เจ้าพนักงานทำการประเมินโดยแห่งบทบัญญัติของประมวลรัษฎากรไม่อาจยกขึ้นต่อสู้ได้ว่าเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินไม่ชอบ จำเลยไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายเพราะลูกจ้างมีเงินรายได้พึงประเมินแต่ละปีไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษี
ค่าภาษีอากรประจำปี พ.ศ. 2508 เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ ภายในเดือนมีนาคม 2509 ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 56 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2516 มาตรา 7 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะนั้น เจ้าหนี้ยื่นฟ้องต่อศาลให้ลูกหนี้รับผิดเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2518 จึงเป็นการใช้สิทธิภายในกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 และอายุความย่อมสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 ต่อมาเมื่อลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ศาลจึงจำหน่ายคดีของเจ้าหนี้ อายุความจึงเริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันที่ศาลสั่งจำหน่ายคดี เจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2519 หนี้ของเจ้าหนี้จึงยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2806/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย, อายุความภาษีอากร, การรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 29,30 ได้กำหนดกฎเกณฑ์และวิธีการในการอุทธรณ์การประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานประเมิน และการอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลแล้ว กล่าวคือให้โอกาสแก่ผู้เสียภาษีปฏิบัติได้เป็นขั้นตอนเมื่อผู้เสียภาษีไม่เห็นด้วยกับการประเมินก็ใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์แล้วผู้เสียภาษียังไม่เห็นด้วยก็ยังมีสิทธิที่จะฟ้องร้องต่อศาลได้ภายในเวลาที่กำหนดไว้ จำนำคดีมาฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีต่อศาลโดยไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ตามวิธีการดังกล่าวเสียก่อนหาได้ไม่
จำเลยมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ไว้ทุกคราวที่จ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่ลูกจ้างของตนตามประมวลกฎรัษฎากรมาตรา 50 และต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่จะต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักและนำส่งดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 54 จึงมีฐานะเช่นเดียวกับผู้มีเงินได้ มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยอุทธรณ์การประเมินของเจ้าพนกังาน จำเลยจึงต้องผูกพันเป็นลูกหนี้ตามที่เจ้าพนักงานทำการประเมินโดยผลแห่งบทบัญญัติของประมวลรัษฎากรไม่อาจจะยกขึ้นต่อสู้ได้ว่าเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินไม่ชอบ จำเลยไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายเพราะลูกจ้างมีเงินรายได้พึงประเมินแต่ละปีไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษี
ค่าภาษีอากรประจำปี พ.ศ.2508 เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ ภายในเดือนมีนาคม 2509 ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 56 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2516 มาตรา 7 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะนั้น เจ้าหนี้ยื่นฟ้องต่อศาลให้ลูกหนี้รับผิดเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2518 จึงเป็นการใช้สิทธิภายในกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 และอายุความย่อมสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 ต่อมาเมื่อลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์เด็ดขาด ศาลจึงสั่งจำหน่ายคดีของเจ้าหนี้ อายุความจึงเริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันที่ศาลสั่งจำหน่ายคดี เจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2519 หนี้ของเจ้าหนี้จึงยังไม่ขาดอายุความ
of 2